สำหรับการจัดอันดับโรงพยาบาลที่ดีที่สุดในโลก 250 อันดับนั้น แบ่งเป็น 150 อันดับแรกจากคะแนนที่ได้รับจากคณะกรรมการ และอีก 100 อันดับถัดมาเป็นอันดับจากแต่ละประเทศ นำมาจัดเรียงตามลำดับอักษร
ระเบียบวิธีการจัดอันดับ
โรงพยาบาลที่อยู่ในการจัดอันดับครั้งนี้ มาจาก 27 ประเทศทั่วโลก (รวมไทย) พิจารณาจากปัจจัยเปรียบเทียบหลายๆ ประกาศ อาทิ คุณภาพชีวิต อายุขัย จำนวนประชากร จำนวนโรงพยาบาล และระดับของข้อมูลที่มีและเข้าถึงได้ ทั้งนี้ ข้อมูลที่ได้มาจาก 3 แห่งหลัก ได้แก่
1. จากผู้เชี่ยวชาญทั่วโลก กว่า 80,000 ราย ที่เป็นกลุ่มแพทย์ กลุ่มบุคลากรวิชาชีพด้านการแพทย์ และกลุ่มผู้บริหารโรงพยาบาล โดยได้รับเชิญให้เข้าร่วมแสดงความคิดเห็นผ่านระบบสำรวจที่จัดทำขึ้น ทิศทางของการคำถามคือการขอให้ผู้ร่วมสำรวจให้ความเห็น/คำแนะนำถึงโรงพยาบาลต่างๆ ทั้งในประเทศของตนและในต่างประเทศ ยกเว้นกรณีผู้บริหารจะแนะนำโรงพยาบาลของตนเองไม่ได้
2. จากการสำรวจประสบการณ์ของผู้ป่วย เป็นข้อมูลอีกด้านที่มีน้ำหนักต่อการจัดอันดับอย่างมากเช่นกัน การสำรวจข้อมูลส่วนนี้จะทำผ่านบริษัทประกัน ที่จะทำการสอบถามผู้ป่วยหลังจากผ่านพ้นการเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลแล้ว ตัวอย่างคำถามอาทิ ความพึงพอใจต่อการได้รับบริการ จากการให้บริการของโรงพยาบาล จากการให้บริการทางการแพทย์ต่างๆ เป็นต้น
3. จากดัชนีชี้วัด (KPIs) สำหรับโรงพยาบาลในด้านต่างๆ บางดัชนีเป็นมาตรฐานที่ใช้กับโรงพยาบาลทั่วโลก ขณะที่บางดัชนีอาจใช้กับเฉพาะบางประเทศ ตัวอย่างดัชนีที่ใช้พิจารณา อาทิ ข้อมูลด้านสุขอนามัย ด้านการวิเคราะห์คุณภาพการรักษาโรคเฉพาะอย่าง ข้อมูลด้านความปลอดภัยของผู้ป่วย หรือจำนวนแพทย์ พยาบาล ต่อจำนวนผู้ป่วย เป็นต้น
ทั้ง 3 ปัจจัย มีผลต่อคะแนนรวมของโรงพยาบาลแต่ละแห่ง ในอัตราส่วน 55-15-30
- 55% สำหรับความเห็นของกลุ่มผู้เชี่ยวชาญ จำแนกย่อยเป็นระดับประเทศ 50% และ นานาชาติ 5%
- 15% สำหรับความเห็นจากผู้ป่วย
- 30% จากดัชนี
ข้อมูลน่ารู้จากการจัดอันดับ
การจัดอันดับทำเฉพาะโรงพยาบาลในประเทศนั้นๆ เนื่องจากความแตกต่างของข้อมูลและดัชนีต่างๆ ที่ใช้ในแต่ละประเทศที่แตกต่างกันไป และเป็นการยากที่จะนำดัชนีปัจจัยเหล่านั้นมาเทียบเคียงกัน
ร่างการจัดอันดับได้ผ่านการตรวจสอบจากเครือข่ายสื่อสารมวลชนด้านการแพทย์ทั่วโลก ก่อนที่คณะกรรมการคัดสรรจะอนุมัติผลการจัดอันดับครั้งนี้อย่างเป็นทางการ
สำหรับการจัดอันดับในปีที่ 4 นี้ มีโรงพยาบาล 2,200 แห่งทั่วโลกที่ได้รับการจัดอันดับ (ในแต่ละประเทศ) จำนวนของโรงพยาบาลที่ได้รับการคัดสรรขึ้นกับจำนวนโรงพยาบาลและข้อมูลที่มีในแต่ละประเทศ ผลคือสหรัฐอเมริกามีโรงพยาบาลที่ได้รับการคัดสรรมากที่สุดจำนวน 420 แห่ง อิสราเอลและสิงคโปร์ ประเทศละ 10 แห่ง
*ภาพจาก Newsweek
World Best Hospitals 2022
จาก 250 อันดับโรงพยาบาลที่ดีที่สุดในโลก ปี 2022 โดย Newsweek
Hospital |
Country |
City |
1 Mayo Clinic - Rochester |
United States |
Rochester |
2 Cleveland Clinic |
United States |
Cleveland |
3 Massachusetts General Hospital |
United States |
Boston |
4 Toronto General - University Health Network |
Canada |
Toronto |
5 Charité - Universitätsmedizin Berlin |
Germany |
Berlin |
6 The Johns Hopkins Hospital |
United States |
Baltimore |
7 AP-HP - Hôpital Universitaire Pitié Salpêtrière |
France |
Paris |
8 Karolinska Universitetssjukhuset |
Sweden |
Solna |
9 UCLA Health - Ronald Reagan Medical Center |
United States |
Los Angeles |
10 Sheba Medical Center |
Israel |
Ramat Gan |
11 Centre Hospitalier Universitaire Vaudois |
Switzerland |
Lausanne |
12 Singapore General Hospital |
Singapore |
Singapore |
13 The University of Tokyo Hospital |
Japan |
Tokyo |
14 Universitätsspital Basel |
Switzerland |
Basel |
15 Universitätsspital Zürich |
Switzerland |
Zürich |
16 Universitätsklinikum Heidelberg |
Germany |
Heidelberg |
17 Brigham And Women’s Hospital |
United States |
Boston |
18 AP-HP - Hôpital Européen Georges Pompidou |
France |
Paris |
19 Aarhus Universitetshospital |
Denmark |
Aarhus |
20 Stanford Health Care - Stanford Hospital |
United States |
Stanford |
Best Hospitals 2022 Thailand
30 อันดับโรงพยาบาลที่ดีที่สุดในประเทศไทย ประจำปี 2022 โดยการจัดอันดับของ Newsweek
Hospital |
Score |
1 รพ.บำรุงราษฏร์ อินเตอร์ฯ |
94.79% |
2 รพ.ศิริราช ปิยะมหาราชการุณย์ |
90.24% |
3 รพ.กรุงเทพ |
88.42% |
4 รพ.รามาธิบดี |
82.83% |
5 รพ.สมิติเวช สุขุมวิท |
82.82% |
6 รพ.ธนบุรี |
82.64% |
7 รพ.จุฬาลงกรณ์ |
82.64% |
8 รพ.พระราม9 |
76.23% |
9 รพ.บางปะกอก9 อินเตอร์ฯ |
75.74% |
10 รพ.เมดพาร์ค |
75.17% |
11 รพ.ราชวิถี |
75.04% |
12 รพ.มหาราชนครเชียงใหม่ |
75.03% (เชียงใหม่) |
13 รพ.รามคำแหง |
74.99% |
14 รพ.พญาไท 1 |
74.96% |
15 รพ.ยันฮี |
74.96% |
16 รพ.กรุงเทพคริสเตียน |
74.93% |
17 รพ.วชิระ |
74.85% |
18 รพ.กรุงเทพอินเตอร์ |
74.83% |
19 รพ.พญาไท 2 |
74.65% |
20 รพ.ศรีนครินทร์ |
74.58% (ขอนแก่น) |
21 รพ.สมิติเวช ศรีนครินทร์ |
74.41% |
22 รพ.สงขลานครินทร์ |
74.29% (สงขลา) |
23 รพ.พระมงกุฏเกล้า |
74.26% |
24 รพ.ขอนแก่น |
74.25% (ขอนแก่น) |
25 รพ.พระพุทธชินราช |
74.19% (พิษณุโลก) |
26 รพ.เซนต์หลุยส์ |
74.14% |
27 สถาบันจักรีนฤบดินทร์ |
74.14% (สมุทรปราการ) |
28 รพ.สงขลา |
74.09% (สงขลา) |
29 รพ.หาดใหญ่ |
74.03% (สงขลา) |
30 รพ.ซีจีเอส พหลโยธิน |
74.00% |