โรงพยาบาลเจ้าพระยาอภัยภูเบศร ผลิตยาตำรับกัญชา ดังนี้
- ยาน้ำมันกัญชาหยอดใต้ลิ้น 5 ml (THC 1.7% W/V (THC 0.5mg/drop))
- ยาน้ำมันกัญชาหยอดใต้ลิ้น 5 ml (CBD 10%W/V ( 100 mg/ml) (2.94 mg/drop))
- ยาน้ำมันกัญชาหยอดใต้ลิ้น 5 ml (THC2.7% w/v : CBD 2.5% w/v)
- ยาศุขไสยาศน์ (แคปซูล) กัญชา 76.92 มิลลิกรัม ในผงยา 500 มิลลิกรัม
- ยาน้ำมันกัญชาทั้ง 5 (สูตรรับประทาน) อภัยภูเบศร 5 ml
- ยาน้ำมันกัญชาทั้ง 5 (สูตรใช้ภายนอก) อภัยภูเบศร 30 ml
1.น้ำมันกัญชาหยอดใต้ลิ้น 5 ml THC
น้ำมันกัญชาหยอดใต้ลิ้น 5 ml THC (THC 1.7% W/V (THC 0.5mg/drop))
รหัส SAS1
ส่วนประกอบ THC 1.7% W/V (THC 0.5mg/drop)
ขนาดบรรจุ 5 มิลลิลิตร/ขวด
รูปแบบของผลิตภัณฑ์ น้้ามันกัญชาหยดใต้ลิ้น
ข้อบ่งใช้
1.เพิ่มคุณภาพชีวิตผู้ป่วยมะเร็งระยะสุดท้าย เช่น ลดปวด ลดผลข้างเคียงต่อการใช้เคมีบำบัดหรือ
รังสีรักษา ท้าให้กินข้าวได้ นอนหลับ
2.บรรเทาอาการปวดในผู้ปวดปลายประสาทที่ไม่ตอบสนองในรักษา (intractable neuropatic pain) และโรคอื่นๆที่มีหลักฐานการใช้ว่าได้ประโยชน์และอยู่ในการพิจารณาของแพทย์ผู้ทำการรักษา
ผู้ผลิต โรงพยาบาลเจ้าพระยาอภัยภูเบศร
ประเภทใบอนุญาต ผลิต (แปรรูปหรือสกัด) ซึ่งยาเสพติดให้โทษในประเภท 5
เลขที่ใบอนุญาต 10/2562
รายละเอียด
ผลิตภัณฑ์กัญชานี้ได้รับยกเว้นการรับรองตำรับจากสำนักงาน อย. เพื่อใช้สำหรับผู้ป่วยเฉพาะ
ราย ภายใต้รูปแบบพิเศษของการเข้าถึงยา (Special access scheme ) ต้องสั่งจ่ายโดยแพทย์ที่
ผ่านการอบรมหลักสูตรการใช้กัญชาและสารสกัดจากกัญชาในทางการแพทย์จากกระทรวงสาธารณสุขและต้องได้รับการยินยอมจากผู้ป่วยหรือผู้ดูแลผู้ป่วยโดยการลงนามเป็นลายลักษณ์อักษรในเอกสารแสดงความยินยอม
2.น้ำมันกัญชาหยอดใต้ลิ้น 5 ml CBD
น้ำมันกัญชาหยอดใต้ลิ้น 5 ml CBD (CBD 10%W/V ( 100 mg/ml) (2.94 mg/drop))
รหัส SAS6
ส่วนประกอบ CBD 10%W/V ( 100 mg/ml) (2.94 mg/drop)
ขนาดบรรจุ 5 มิลลิลิตร/ขวด
รูปแบบของผลิตภัณฑ์ น้ำมันกัญชาหยดใต้ลิ้น
ข้อบ่งใช้
โรคและกลุ่มอาการพาร์กินสันที่ไม่ตอบสนองต่อยาแผนปัจจุบัน โรคลมชักที่ดื้อต่อยาแผนปัจจุบัน
โรคอื่นๆ ที่มีหลักฐานการใช้ว่าได้ประโยชน์และอยู่ในการพิจารณาของแพทย์ผู้ทำการรักษา
ผู้ผลิต โรงพยาบาลเจ้าพระยาอภัยภูเบศร
ประเภทใบอนุญาต ผลิต (แปรรูปหรือสกัด) ซึ่งยาเสพติด
ให้โทษในประเภท 5
เลขที่ใบอนุญาต 10/2562
รายละเอียด
ผลิตภัณฑ์กัญชานี้ได้รับยกเว้นการรับรองต้ารับจากส้านักงาน อย. เพื่อใช้ส้าหรับผู้ป่วยเฉพาะราย ภายใต้รูปแบบพิเศษของการเข้าถึงยา ( Special access scheme ) ต้องสั่งจ่ายโดยแพทย์ที่ผ่านการอบรมหลักสูตรการใช้กัญชาและสารสกัดจากกัญชาในทางการแพทย์จากกระทรวงสาธารณสุขและต้องได้รับการยินยอมจากผู้ป่วยหรือผู้ดูแลผู้ป่วย โดยการลงนามเป็นลายลักษณ์อักษรในเอกสารแสดงความยินยอม
3.ศุขไสยาศน์ (แคปซูล) กัญชา 76.92 มิลลิกรัม ในผงยา 500 มิลลิกรัม
ชื่อผลิตภัณฑ์ ยาศุขไสยาสน์ (แคปซูล)
รหัส TP32
ส่วนประกอบ กัญชา 76.92 มิลลิกรัม ในผงยา 500 มิลลิกรัม
ขนาดบรรจุ 60 แคปซูล ใน 1 ขวด
รูปแบบของผลิตภัณฑ์ แคปซูล
ข้อบ่งใช้ ช่วยให้นอนหลับ เจริญอาหาร
ผู้ผลิต โรงพยาบาลเจ้าพระยาอภัยภูเบศร
ประเภทใบอนุญาต ผลิต (แปรรูปหรือสกัด) ซึ่งยาเสพติดให้โทษในประเภท 5
เลขที่ใบอนุญาต 10/2562
รายละเอียด
ผลิตภัณฑ์กัญชานี้ได้รับยกเว้นการรับรองตำรับจากสำนักงาน อย. เพื่อใช้สำหรับผู้ป่วยเฉพาะราย ภายใต้รูปแบบพิเศษของการเข้าถึงยา (Special access scheme) ต้องสั่งจ่ายโดยแพทย์ที่ผ่านการอบรมหลักสูตรการใช้กัญชาและสารสกัดจากกัญชาในทางการแพทย์จากกระทรวงสาธารณสุขและต้องได้รับการยินยอมจากผู้ป่วยหรือผู้ดูแลผู้ป่วย โดยการลงนามเป็นลายลักษณ์อักษรในเอกสารแสดงความยินยอม
4.น้ำมันกัญชาทั้ง 5 (สูตรรับประทาน)อภัยภูเบศร 5 ml
ชื่อผลิตภัณฑ์ ยาน้้ามันกัญชาทั้ง5 (สูตรรับประทาน) อภัยภูเบศร
รหัส TP33
รูปแบบของผลิตภัณฑ์
- ใน 5 มิลลิลิตร มีรากกัญชา, ลำต้นและก้านกัญชา, ใบกัญชาแห้ง, ดอกและเมล็ดกัญชาอย่างละ 312.5 มิลลิกรัม
- รอผลวิเคราะห์จากกรมวิทย์
ขนาดบรรจุ 5 มิลลิลิตร/ขวด
รูปแบบของผลิตภัณฑ์
น้ำมันของเหลวใสใช้สำหรับรับประทาน หรือหยดใต้ลิ้น
ข้อบ่งใช้
ช่วยให้นอนหลับเจริญอาหาร แก้ลมปะกัง บรรเทาปวดเรื้อรัง
ชื่อผู้ผลิต โรงพยาบาลเจ้าพระยาอภัยภูเบศร โดยความร่วมมือมูลนิธิ โรงพยาบาลเจ้าพระยาอภัยภูเบศร
ใบอนุญาตผล ตเลขที่ 8/2563
ข้อห้ามใช้ :
ห้ามสั่งใช้ในกลุ่มผู้ป่่วยดังนี้
1) ผู้ที่มีประวัติ แพ้ผลิตภัณฑ์ ที่ได้จากการสกัดกัญชา หรือส่วนประกอบใดๆ ในยานี้ (ผลิตภัณฑ์นี้มีส่วนผสมของน้้ามันมะพร้าว)
2) ผู้ป่วยโรคหัวใจและหลอดเลือดขั้นรุนแรง หรือไม่สามารถคุมอาการได้
3) ผู้ป่วยที่มีประวัติความผิดปกติทางจิตเวช
4) สตรีมีครรภ์หรือสตรีที่ให้นมบุตร
5) ผู้ที่ใช้ยาละลายลิ่มเลือดวาร์ฟาริน
ข้อควรระวัง :
ระวังการใช้ในกลุ่มผู้ป่วยดังนี้
*ยกเว้นในกรณีที่แพทย์พิจารณาแล้วว่า ผู้ป่วยได้รับประโยชน์มากกว่าความเสี่ยง
1) ผู้ที่ทำงานขับขี่ยานพาหนะหรือเกี่ยวกับเครื่องจักรกลหรือทำงานที่เสี่ยงอันตราย เพราะยานี้อาจทำให้ง่วงซึม
2) บุคคลที่อายุต่ำกว่า25 ปี เพราะอาจมีผลต่อพัฒนาการทางสมอง
3) ผู้ป่วยโรคตับและไต (มีค่าเอนไซม์ตับที่ผิดปกติ สูงเกิน 3 เท่าของค่าบนปกติ , มีค่าอัตราการกรองของไต (GFR) น้อยกว่า 60 มิลลิลิตร/นาที/1.73ตารางเมตร)
4) ผู้ป่วยที่มีประวัติการใช้สารเสพติด รวมถึงนิโคติน หรือเป็นผู้ดื่มสุราอย่างหนัก
5) ผู้ป่วยที่ใช้ยากล่อมประสาท หรือยาที่ออกฤทธิ์ทางจิตอื่นๆ หรือยาโรคประจำตัวเรื้องรังหลายชนิด
อาการไม่พึงประสงค์:
ที่พบบ่อยคือ ง่วงนอน ปากแห้ง เวืยนศีรษะ คลื่นไส้ ทั้งนี้ ส่วนใหญ่ขึ้นกับการตอบสนองของแต่ละคน วิธีการใช้ยา ขนาดยาที่ใช้ (ดังนั้นจึงแนะนำให้เริ่มใช้ในขนาดที่ต่ำที่สุด)
5. ยาน้ำมันกัญชาหยอดใต้ลิ้น 5 ml THC (THC 2.7% w/v : CBD 2.5% w/v)
ชื่อผลิตภัณฑ์ ยาน้ำมันกัญชาหยอดใต้ลิ้น
รหัส SAS14
ส่วนประกอบ THC2.7% w/v : CBD 2.5% w/v
ขนาดบรรจุ 5 มิลลิลิตร/ขวด
รูปแบบของผลิตภัณฑ์ น้ำมันกัญชาหยดใต้ลิ้น
ข้อบ่งใช้
1.เพิ่มคุณภาพชีวิตผู้ป่วยมะเร็งระยะสุดท้าย เช่น ลดปวด ลดผลข้างเคียงต่อการใช้เคมีบำบัด
หรือรังสีรักษา ท้าให้กินข้าวได้ นอนหลับ
2.บรรเทาอาการปวดในผู้ปวดปลายประสาท ที่ไม่ตอบสนองในรักษา (intractable neuropatic
pain) และโรคอื่นๆที่มีหลักฐานการใช้ว่าได้ประโยชน์และอยู่ในการพิจารณาของแพทย์ผู้ท้าการรักษา
ผู้ผลิต โรงพยาบาลเจ้าพระยาอภัยภูเบศร
ประเภทใบอนุญาต ผลิต (แปรรูปหรือสกัด) ซึ่งยาเสพติดให้โทษในประเภท 5
เลขที่ใบอนุญาต 10/2562
รายละเอียด ผลิตภัณฑ์กัญชานี้ได้รับยกเว้นการรับรองตำรับจากส้านักงาน อย. เพื่อใช้สำหรับผู้ป่วยเฉพาะราย ภายใต้รูปแบบพิเศษของการเข้าถึงยา (Special access scheme ) ต้องสั่งจ่ายโดยแพทย์ที่ผ่านการอบรมหลักสูตรการใช้กัญชาและสารสกัดจากกัญชาในทางการแพทย์จากกระทรวงสาธารณสุขและต้องได้รับการยินยอมจากผู้ป่วยหรือผู้ดูแลผู้ป่วย โดยการลงนามเป็นลายลักษณ์อักษรในเอกสารแสดงความยินยอม
ความมาเป็น กัญชาทางการแพทย์ โรงพยาบาลเจ้าพระยาอภัยภูเบศร LINK
ในเดือนมิถุนายน 2562 โรงพยาบาลเจ้าพระยาอภัยภูเบศร ได้รับมอบหมายจากกระทรวงสาธารณสุขให้ปลูกและผลิตยากัญชา จึงจัดทำโครงการ “กัญชาอภัยภูเบศรโมเดล” เพื่อถ่ายทอดองค์ความรู้ให้กับเกษตกร ผู้ประกอบการรายย่อย และสถาบันการแพทย์ที่สนใจทั่วประเทศ เพื่อให้ประชาชนสามารถเข้าถึงยากัญชาที่มีคุณภาพอย่างเท่าเทียม โดยโรงพยาบาลได้ทำความร่วมมือกับหลายภาคส่วน ทั้งหน่วยงานในสังกัดกระทรวงสาธารณสุข เช่น สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ กรมการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก วิสาหกิจชุมชนและ มหาวิทยาลัยต่างๆ
พญ.หญิงโศรยา ธรรมรักษ์ ผู้อำนวยการโรงพยาบาลเจ้าพระยาภัยภูเบศร กล่าวว่า โรงพยาบาลฯ ได้ตั้งคณะทำงานซึ่งประกอบด้วยแพทย์ เภสัชกร แพทย์แผนไทยและพยาบาล ดำเนินการศึกษาและวิจัยต่อยอดกัญชาเพื่อใช้ในทางการแพทย์ ตั้งแต่ต้นทาง กลางทางและปลายทาง จากการทำงานมากว่า 1 ปี เราพบว่า ปัจจุบันมีงานศึกษาวิจัยเกี่ยวกับกัญชานับหมื่นชิ้นทั่วโลก ดังนั้นการหาแนวทางที่จะใช้กัญชาอย่างเหมาะสมและปลอดภัยในบริบทของประเทศไทย จึงเป็นสิ่งที่โรงพยาบาลฯ คำนึงถึงเป็นอย่างแรก ด้วยข้อจำกัดทางกฏหมายที่กัญชายังอยู่ในบัญชียาเสพติดการลงไปทำโดยโดยไม่มีระบบควบคุมที่ดีพออาจนำมาซึ่งปัญหาที่แก้ยาก ดังนั้นจึงเป็นจุดเริ่มต้นของการศึกษาวิจัยเรื่องการใช้ประโยชน์ โดยได้ลงมือปลูกกัญชาเอง และทำอย่างครบวงจร เพื่อให้รู้ว่ากัญชาจะจะใช้ประโยชน์อะไร กับผู้ป่วยกลุ่มไหน และการใช้ต้องมีความรู้อะไรทั้งในส่วนของบุคลากรทางการแพทย์และประชาชน
วัตถุดิบ กระบวนการสกัดและผลิต
ในส่วนต้นน้ำ คือ วัตถุดิบกัญชาที่มีคุณภาพ ด้วยความต้องการของผู้ป่วยในขณะนั้น ทางโรงพยาบาลจึงได้ทำงานร่วมกับกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์และสำนักงานคณะกรรมการปราบรามยาเสพติด นำกัญชาของกลางที่ผ่านเกณฑ์คุณภาพมาสกัดด้วยเทคนิค supercritical fluid extraction โดยผลิตภัณฑ์ผ่านการตรวจสอบคุณภาพจากกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ ได้ยาล๊อตแรกเดือนสิงหาคม 2562 ในขณะเดียวกันก็ทำงานร่วมกับวิสาหกิจเพื่อสังคม มูลนิธิโรงพยาบาลเจ้าพระยาอภัยภูเบศรและวิสาหกิจชุมชนในพื้นที่ปลูกกัญชา 3 ระบบ ได้แก่ ระบบปิด กึ่งปิด และเปิด เพื่อศึกษาสภาวะการปลูก และความคุ้มค่า ในปัจจุบันเราพบว่าระบบปิดน่าจะไม่มีความคุ้มค่าสำหรับเกษตรกรประเทศไทย เนื่องจากค่าใช้จ่ายสูงมาก เพราะต้องลงทุนโรงเรือนและวัสดุต่างๆในราคาสูง อีกทั้งระบบยังใช้ไฟฟ้าตลอด 24 ชั่วโมง ในขณะนี้กำลังศึกษาการปลูกในสภาวะกลางแจ้ง หากประสบความสำเร็จก็จะบดต้นทุนการปลูกได้มาก
ในส่วนกลางน้ำ ได้พัฒนากระบวนการสกัด และผลิต ปัจจุบันเรามียา 4 ตำรับที่ได้รับอนุญาตให้ผลิต และกระจายไปในโรงพยาบาลทั่วประเทศ เกือบ 300 แห่ง ได้แก่ ยาสารสกัด THC 1.7% (สั่งจ่ายโดยแพทย์แผนปัจจุบัน) ยาแคปซูลศุขไสยาศน์ (สั่งจ่ายโดยแพทย์แผนไทย) ยาน้ำมันกัญชาทั้ง 5 ชนิดรับประทาน และชนิดทาภายนอก (สั่งจ่ายโดยแพทย์แผนไทย)
ในส่วนปลายน้ำ เป็นการใช้ในผู้ป่วย เราเป็นโรงพยาบาลแรกของประเทศที่เปิดคลินิกกัญชาทางการแพทย์ ต่อมาเมื่อมียากัญชาทางการแพทย์แผนไทย เราก็พัฒนาเป็นคลินิกกัญชาการแพทย์ผสมผสาน มีแพทย์แผนปัจจุบันและแพทย์แผนไทยทำงานด้วยกัน ในการส่งต่อผู้ป่วยของกันและกัน มีเภสัชกรคัดกรองผู้ป่วย ให้ยาและติดตามความปลอดภัยและผลการรักษา และพยาบาลมีหน้าที่ประเมินสัญญาณชีพและสนับสนุนการตรวจรักษาของแพทย์
ในส่วนปลายน้ำ มีการประเมินผลการรักษาผู้ป่วยอย่างเป็นระบบ และนำผลกลับมาพัฒนาคุณภาพการบริการ เช่น แพทย์แผนไทยร่วมกับเภสัชกรได้วิเคราะห์ข้อมูล พบว่า ยาผงศุขไสยาศน์ที่เรารับมาจากกรมการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก ทำให้เกิดผลข้างเคียงทางเดินอาหารในผู้ป่วยสูงถึง 60% ดังนั้นเมื่อเราได้รับมอบหมายให้ผลิตยาตำรับนี้ เราจึงเปลี่ยนรูปแบบเป็นแคปซูลเพื่อลดผลข้างเคียง จากการติดตามมการใช้อย่างเป็นระบบ เราพบว่า ยาสารสกัดกัญชา THC 1.7% มีแนวโน้มเพิ่มคุณภาพชีวิตในผู้ป่วยมะเร็งระยะท้ายกว่า 100 ราย และช่วยลดปวดในผู้ป่วยที่ปวดปลายประสาทที่ล้มเหลวจากการรักษามาตรฐานอย่างมีนัยสำคัญ ส่วนยาศุขไสยาศน์มีผลเพิ่มคุณภาพการนอนหลับในผู้ป่วยที่นอนไม่หลับมานานกว่า 1 เดือนและใช้ยาหรือผลิตภัณฑ์อื่นแล้วไม่ได้ผล ในส่วนยากัญชาทั้ง 5 เราเพิ่งอบรมผู้สั่งใช้ยาเสร็จ คาดว่าภายในธันวาคมนี้จะมีโรงพยาบาล 100 แห่งที่ให้บริการยานี้
เป้าหมาย กัญชาอภัยภูเบศร ในปี 2564
พญ.โศรยา กล่าวว่า แผนงานที่โรงพยาบาลเจ้าพระยาอภัยภูเบศรจะดำเนินการในปี 2564 คือ ร่วมมือกับสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) พัฒนา chatbot เพื่อให้ผู้ป่วย นักวิชาการ ผู้ประกอบการ และเกษตรกร สามารถเข้าถึงข้อมูลกัญชาที่ถูกต้องอย่างรวดเร็ว โดยแบ่งเป็นฐานข้อมูลทางวิชาการ เพื่อให้นักวิชาการ ผู้ประกอบการ และฐานข้อมูลสำหรับเกษตรกรสามารถเข้าถึงข้อมูลแบบเรียลไทม์
นอกจากนี้ยังร่วมมือกับ อย. อบรมเกษตรกรทั่วประเทศ เพื่อรองรับกฎหมายฉบับใหม่ พร้อมทำคู่มือการปลูก เก็บเกี่ยวและแปรูปกัญชาเบื้องต้น รวมถึงพัฒนาหลักฐานทางวิชาการที่หลากหลาย ทั้งการวิเคราะห์ข้อมูลผู้ป่วยย้อนหลัง การวิจัยทางคลินิกแบบควบคุมตัวแปร เพื่อสนับสนุนให้เกิดการใช้ โดยจะระบุทั้งข้อดีและข้อเสีย เพื่อให้รู้ข้อจำกัดของการใช้ นำไปสู่การใช้อย่างยั่งยืน
ขณะเดียวกัน ก็จะร่วมกับกรมการแพทย์แผนไทยฯ พัฒนาแนวทางการเก็บข้อมูลยาศุขไสยาศน์และยาน้ำมันกัญชาทั้ง 5 เพื่อเสนอต่อคณะผู้เชี่ยวชาญสมุนไพร ในบัญชียาหลักแห่งชาติ เพื่อนำไปสู่ การพัฒนาหลักฐานเพื่อผลักดันเข้าสู่ยาหลักแห่งชาติ
ผู้จัดการออนไลน์