ข่าวสุขภาพ
ข่าวสุขภาพทั่วไป ข่าวธุรกิจสุขภาพไทย ข่าว/กิจกรรม/สาระ รพ.ต่างๆ ข้อมูลบริการ รพ.ต่างๆ สาระความรู้สุขภาพ กิจกรรม ESG CSR Health Economy บริจาครพ.ต่างๆ
น่าสนใจไทยแลนด์
About us เผยแพร่เนื้อหา สถิติเว็บไซต์ สำรวจความเห็นสุขภาพ โฆษณา
healthserv.net@gmail.com

รู้จักสถาบันโรคหัวใจ (HEART INSTITUTE) บำรุงราษฎร์

รู้จักสถาบันโรคหัวใจ (HEART INSTITUTE) บำรุงราษฎร์ Thumb HealthServ.net
รู้จักสถาบันโรคหัวใจ (HEART INSTITUTE) บำรุงราษฎร์ ThumbMobile HealthServ.net

ประเทศไทยกำลังเข้าสู่สังคมผู้สุงอายุ จากข้อมูลกระทรวงสาธารณสุขของไทยในปี 2561 พบว่าคนไทยมีอัตราการตายจากโรคหลอดเลือดหัวใจเพิ่มขึ้นทุกปีอย่างต่อเนื่อง แสดงให้เห็นว่าโรคหัวใจและหลอดเลือดมีความรุนแรงเพิ่มขึ้นและจะยิ่งมีความซับซ้อนมากขึ้นในอนาคต เนื่องจากผู้ป่วยส่วนใหญ่เป็นผู้สูงวัยที่มีภาวะหัวใจเสื่อมลง นี่จึงเป็นหนึ่งในเหตุผลสำคัญที่ตอบว่า ทำไมบำรุงราษฎร์จึงก่อตั้งสถาบันโรคหัวใจ (HEART INSTITUTE) แห่งนี้ขึ้นมา

 
สถาบันโรคหัวใจ (Heart Institute) บำรุงราษฎร์ ก่อตั้งขึ้นได้จากการที่เรามีบุคลากรทางการแพทย์เฉพาะทางที่พรั่งพร้อม สามารถรักษาผู้ป่วยที่มีอาการซับซ้อน ต้องการการรักษาขั้นสูง รวมถึงการทำงานร่วมมือกันอย่างแข็งแกร่งทีมแพทย์และทีมสหสาขาวิชาชีพหลากหลายสาขาที่มีเป้าหมายเดียวกัน คือ ความปลอดภัยสูงสุดของผู้ป่วยและการทำให้ผู้ป่วยและครอบครัวกลับมาใช้ชีวิตประจำวันได้ดีที่สุดและมีคุณภาพมากที่สุด
 
องค์ประกอบสำคัญ 3 ประการที่ทำให้เราประสบความสำเร็จในการจัดตั้งสถาบันโรคหัวใจ (Heart Institute) คือ
 
  • การทำงานร่วมกันของแพทย์ผู้ชำนาญการในหลากหลายสาขา (Many subspecialties)
  • การทำงานที่สอดประสานกันระหว่างทีมแพทย์และสหสาขาวิชาชีพ (Team approach is needed)
  • การทำงานที่ใกล้ชิดแบบไร้รอยต่อระหว่างแพทย์สาขาต่างๆ (Multiorgan involvement) เนื่องจากหัวใจเป็นอวัยวะที่สำคัญ หากหัวใจทำงานได้ไม่ดี จะมีผลกระทบต่ออวัยวะอื่นๆ ตามมา ทำให้เกิดโรคต่างๆ เช่น ไตวายเรื้อรัง โรคหลอดเลือดสมองหรือมีเส้นเลือดอุดตันบริเวณต่างๆของร่างกาย ดังนั้นการดูแลรักษาที่มีประสิทธิภาพต้องอาศัยการทำงานที่ใกล้ชิดและการสื่อสารอย่างมีประสิทธิภาพ
 
 
 
 

 

 

ศ. นพ. กุลวี เนตรมณี ผู้อำนวยการสถาบันโรคหัวใจบำรุงราษฎร์ LINK

ศ. นพ. กุลวี เนตรมณี ผู้อำนวยการสถาบันโรคหัวใจบำรุงราษฎร์ รู้จักสถาบันโรคหัวใจ (HEART INSTITUTE) บำรุงราษฎร์
ศ. นพ. กุลวี เนตรมณี ผู้อำนวยการสถาบันโรคหัวใจบำรุงราษฎร์ รู้จักสถาบันโรคหัวใจ (HEART INSTITUTE) บำรุงราษฎร์
ศ. นพ. กุลวี เนตรมณี ผู้อำนวยการสถาบันโรคหัวใจบำรุงราษฎร์ และผู้อำนวยการสถาบันวิจัยหัวใจเต้นผิดจังหวะ แปซิฟิกริม ลอสแองเจลีส สหรัฐอเมริกา ผู้นำโมเดลของสถาบันวิจัยจากสหรัฐอเมริกา มาสู่โรงพยาบาลบำรุงราษฎร์ เพื่อยกระดับ "การวิจัย" ให้มีการพัฒนาขึ้นสู่ระดับสากล และยกระดับทัดเทียมกับมาตรฐานโลก
   
 
7 เสาหลักในการดูแลรักษาของสถาบันโรคหัวใจ (HEART INSTITUTE)
 
 
1.โรคหัวใจขาดเลือด (Coronary artery disease)
 
โรคคุ้นหูที่พบได้บ่อย คือ ภาวะกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดจากหลอดเลือดหัวใจอุดตันเฉียบพลัน ที่มาจากการรักษาโรคที่ไม่ติดต่อเรื้อรัง (NCDs) ไม่ดีหรืออายุที่มากขึ้น รักษาได้โดยการเปิดหลอดเลือด (revascilarization) การรักษานี้ทำได้ด้วยการใส่ขดลวด (stent) ผ่านสายสวน หรือการผ่าตัดบายพาสโดยทีมแพทย์ผู้ชำนาญการและการดูแลจากทีมพยาบาลเฉพาะทางด้านการบำบัดโรคหัวใจ
 
 
 
2.โรคหัวใจเต้นผิดจังหวะ(Cardiac arrhythmia)
 
เป็นภาวะความผิดปกติที่พบได้มากขึ้นเรื่อย ๆในผู้สูงอายุ โรคหัวใจเต้นผิดจังหวะรุนแรงที่อาจทำให้เสียชีวิตได้ทันที (Ventricular tachycardia, ventricular fibrillation) หรือโรคหัวใจห้องบนเต้นพริ้ว (Atrial fibrillation)  ซึ่งเป็นปัจจัยเสี่ยงสำคัญที่ทำให้เกิดโรคอัมพฤกษ์อัมพาต แนวทางการรักษาที่มีประสิทธิภาพคือการศึกษาและการจี้ไฟฟ้าหัวใจ โดยทีมแพทย์ผู้ชำนาญการและมีประสบการณ์ในการรักษา
 
 
 
3.ภาวะหัวใจล้มเหลว (Heart failure)
 
คือภาวะที่กล้ามเนื้อหัวใจทำงานลดลง ส่งผลกระทบต่อการสูบฉีดเลือดไปเลี้ยงส่วนต่าง ๆของร่างกาย พบได้มากขึ้นเรื่อยๆ ตามการเปลี่ยนแปลงสู่สังคมผู้สูงอายุ แนวทางการรักษาคนไข้กลุ่มนี้เปลี่ยนแปลงไปมากในช่วงทศวรรษที่ผ่านมา การใช้ยาหรือการใช้เครื่องพยุงหัวใจในแบบต่าง ๆ ภายใต้การดูแลของแพทย์ผู้ชำนาญการด้านภาวะหัวใจล้มเหลว ผู้ป่วยสามารถเพิ่มคุณภาพชีวิต และลดอาการลงไปได้แม้ในรายที่มีภาวะรุนแรง
 
 
 
4.โครงสร้างของหัวใจผิดปกติ (structural heart disease)
 
นอกจากระบบหลอดเลือดหัวใจและระบบไฟฟ้าหัวใจแล้ว หัวใจยังประกอบด้วยโครงสร้างอื่น ๆ เช่น ลิ้นหัวใจและเยื่อบุเยื่อหุ้มหัวใจ  ซึ่งอาจเกิดความผิดปกติขึ้นได้จากสภาวะความเสื่อมของร่างกาย การติดเชื้อหรือสาเหตุอื่น ๆ คนไข้กลุ่มนี้จำเป็นต้องได้รับการตรวจติดตามผลอย่างต่อเนื่องเพื่อรักษาหรือผ่าตัดแก้ไขให้ทันถ่วงทีในช่วงเวลาที่เหมาะสม ที่บำรุงราษฎร์เรามีทีมแพทย์ผ่าตัดผู้ชำนาญการ และทีมแพทย์อายุรกรรมหัวใจให้คำแนะนำแนวทางการรักษาในกรณีที่ไม่จำเป็นต้องทำการผ่าตัดแบบเปิดหน้าอก
 
 
 
5.โรคหัวใจที่ถ่ายทอดทางพันธุกรรม (Cardiogenetics)
 
ในปัจจุบัน  ความก้าวหน้าของเทคโนโลยีและความรู้ทางพันธุศาสตร์ ทำให้สามารถระบุและตรวจหายีนที่มีโอกาสส่งผ่านโรคหัวใจในครอบครัวได้มากขึ้น เช่น โรคหัวใจเต้นผิดจังหวะ โรคไหลตาย โรคไขมันในเลือดสูงและโรคอื่น ๆ การระบุยีนก่อโรคเหล่านี้ สามารถช่วยชีวิตผู้ที่ยังไม่แสดงอาการของโรคหรือช่วยในการวางแผนครอบครัวได้ดี การพบแพทย์โรคหัวใจที่มีความรู้เฉพาะทางด้านพันธุศาสตร์จึงเป็นประโยชน์อย่างมากในการช่วยวางแผนและป้องกันการเกิดโรคหัวใจที่ถ่ายทอดทางพันธุกรรรมนี้
 
 
 
6.โรคหัวใจพิการแต่กำเนิด (Congenital heart disease)
 
โรคหัวใจพิการแต่กำเนิดจำเป็นต้องได้รับการรักษา และดูแลอย่างต่อเนื่องไปตลอดชีวิต ดังนั้นเป้าหมายของการรักษานอกจากการผ่าตัดแก้ไข (total correction) โดยแพทย์ผ่าตัดผู้ชำนาญการแล้ว เรายังมีความพร้อมให้การดูแลผู้ป่วยกลุ่มนี้ไปตลอดชีวิตโดยทีมสหสาขาวิชาชีพ ซึ่งประกอบด้วย แพทย์ พยาบาล เภสัชกร และทีมสนับสนุนอื่น
 
 
 
7.การคัดกรองและการส่งเสริมสุขภาวะของหัวใจ (Cardiac Preventive and enhancing)
 
ที่บำรุงราษฎร์เรามีบริการตรวจคัดกรองโรคหัวใจที่เฉพาะเจาะจงสำหรับผู้ที่มีความเสี่ยงโรคหัวใจ รวมถึงผู้ที่ต้องการเสริมสมรรถภาพการออกกำลังกาย เรามีทีมแพทย์โรคหัวใจที่มีความชำนาญด้านเวชศาสตร์การกีฬา (sport cardiology) โดยเฉพาะ เพื่อช่วยประเมินสุขภาพหัวใจ วางแผนการออกกำลังกายที่ถูกต้องและเหมาะสม อีกทั้งทีมแพทย์โรคหัวใจ และเวชพันธุศาสตร์ ที่มีความชำนาญในการถอดรหัสดีเอ็นเอและแปลผลได้อย่างแม่นยำ
 
 
 
 
 
ทีมแพทย์และทีมสหสาขาวิชาชีพเฉพาะทางด้านโรคหัวใจของสถาบันโรคหัวใจ (HEART INSTITUTE)
ทีมแพทย์และทีมสหสาขาวิชาชีพของเรามีความชำนาญในการดูแลรักษาผู้ป่วยโรคหัวใจ โดยเฉพาะในรายที่ต้องการการดูแลรักษาโรคที่ยากและซับซ้อน ทีมของเราประกอบด้วย
 
อายุรแพทย์หัวใจ (Medicine, Cardiology)
ศัลยแพทย์ทรวงอก (Cardio-thoracic surgeon)
แพทย์กายภาพบำบัด (Cardiac rehabilitation) ผู้ชำนาญด้านการฟื้นฟูผู้ป่วยโรคหัวใจและกลุ่มนักกีฬา
การดูแลป่วยหนักระบบหัวใจและหลอดเลือด (Clinical care service) สามารถดูแลรักษาผู้ป่วยโรคหัวใจที่มีความซับซ้อนได้อย่างครอบคลุม
เภสัชกร (Clinical Pharmacist) ผู้ชำนาญด้านยารักษาโรคหัวใจโดยเฉพาะ
พยาบาล (Special nurse) ผู้ได้รับการอบรมและมีประสบการณ์ในการดูแลผู้ป่วยโรคหัวใจ
สหสาขาวิชาชีพอื่นๆที่เกี่ยวข้อง เช่น นักโภชนาการ นักกายภาพบำบัด
 





 ภาวะเจ็บป่วยที่สถาบันโรคหัวใจดูแล
 
โรคหลอดเลือดหัวใจ
 เยื่อหุ้มหัวใจอักเสบ
 โรคลิ้นหัวใจเอออร์ติกตีบ
 โรคหัวใจ
 โรคหัวใจกับการเดินทาง
 โรคหัวใจพิการหรือผิดปกติแต่กำเนิด
 ไขมันในเลือดสูง คอเลสเตอรอลและโรคหัวใจ
 ความดันโลหิตต่ำ
 ภาวะลิ่มเลือดอุดตันในหลอดเลือดดำ
 ภาวะลิ่มเลือดอุดตันในหลอดเลือดดำส่วนลึก
 ภาวะหลอดเลือดแดงใหญ่ในช่องท้องโป่งพอง
 ภาวะหัวใจโต
 ภาวะหัวใจล้มเหลว
 ภาวะหัวใจห้องบนสั่นพลิ้ว
 มะเร็งหัวใจ
 ลิ้นหัวใจรั่ว
 หัวใจเต้นผิดจังหวะ
 หัวใจวาย หรือกล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลัน
 
 
 
การรักษา
 
 CARDIAC ELECTROPHYSIOLOGY LAB (EP LAB)
 การเปลี่ยนลิ้นหัวใจเอออร์ติกผ่านสายสวนโดยไม่ต้องผ่าตัด (TAVI)
 การใส่เครื่องกระตุ้นไฟฟ้าหัวใจ
 การขยายหลอดเลือดหัวใจด้วยบอลลูน
 การตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจ (EKG)
 การตรวจทางสรีรวิทยาไฟฟ้าหัวใจ
 การตรวจสมรรถภาพหัวใจด้วยการออกกำลังกาย (EXERCISE STRESS TEST)
 การตรวจสวนหัวใจ (การฉีดสีหัวใจ)
 การตรวจหลอดเลือดหัวใจด้วยเครื่องเอกซเรย์คอมพิวเตอร์
 การตรวจหัวใจด้วยเตียงปรับระดับ (TILT TABLE TEST)
 การตรวจหัวใจด้วยคลื่นเสียงสะท้อนความถี่สูงร่วมกับการออกกำลังกาย
 การปิดรยางค์หัวใจห้องบนซ้าย (LAAC)
 การผ่าตัด FONTAN’S OPERATION
 การผ่าตัดต่อหลอดเลือดเลี้ยงหัวใจหรือการผ่าตัดบายพาส
 การรักษาด้วยยาต้านการแข็งตัวของเลือด


 
 
สถิติความสำเร็จในการรักษาของสถาบันโรคหัวใจ (HEART INSTITUTE)
1.    ทำบอลลูน > 350 ราย/ปี
 
2.    ฉีดสีเพื่อดูเส้นเลือดหัวใจ > 600 ราย/ปี
 
3.    การเกิดหลอดเลือดตีบ และแตกขณะทำบอลลูน 0%  (สถิติประเทศไทย 0.22%)
 
4.    ใส่ห้องไฟฟ้าหัวใจ > 30 ราย/ปี ตรวจทางสรีรวิทยาไฟฟ้าหัวใจ > 80 ราย/ปี
 
5.    อัตราการเสียชีวิตจากการจี้ไฟฟ้าหัวใจ (AF & VT) = 0
 
6.    อัตราการเสียชีวิตจากเปลี่ยนลิ้นหัวใจเออร์ติกด้วยเทคโนโลยี TAVI ตั้งแต่ปี 2559 = 0
 
7.    ผ่าตัดหัวใจแบบเปิด > 70 ราย/ปี
 
 

 
 
 

 

Related Package  ประเมินความเสี่ยง โรคหลอดเลือดหัวใจ
 
แพ็กเกจเพื่อประเมินภาวะหัวใจล้มเหลว
สำหรับแพคเกจนี้จะช่วยในการประเมินอาการและภาวะหัวใจล้มเหลว เพื่อใช้ในการพิจารณาแนวทางการดูแลรักษาอย่างองค์รวมโดยทีมสหสาขาวิชาชีพของโรงพยาบาลบำรุงราษฎร์
 
 
Heart Screening Echo or Treadmill
แพ็กเกจ Heart Screening Echo or Treadmill : เหมาะสำหรับคนที่ไม่มีอาการ
 
 
Heart Screening Stress Echo
แพ็กเกจ Heart Screening Stress echo : เหมาะสำหรับคนที่มีอาการเช่น เจ็บหน้าอก, เหนื่อยง่าย, ใจสั่น และคนไข้ที่มีความเสี่ยงในการเกิดโรคหัวใจสูง เช่น เบาเหวาน, ความดันโลหิตสูง, สูบบุหรี่ หรือมีประวัติครอบครัวสายตรงเป็นโรคหัวใจและหลอดเลือด
 
 
Heart Screening CT coronary artery
แพ็กเกจ Heart Screening CT coronary artery : เหมาะสำหรับคนที่ต้องการตรวจคัดกรองโรคหัวใจแต่ไม่สามารถเดินสายพานได้
 
 
การตรวจคัดกรองโรคหัวใจ ด้วยคลื่นเสียงสะท้อนความถี่สูง (Echocardiogram)
การตรวจคัดกรองโรคหัวใจ ด้วยคลื่นเสียงสะท้อนความถี่สูง (Echocardiogram) เป็นการตรวจคัดกรองความเสี่ยงต่อการเกิดโรคหัวใจ ในผู้ที่ยังไม่มีอาการ เป็นวิธีที่รวดเร็ว ไม่เจ็บ รู้ผลตรวจภายใน 1 ชั่วโมง
 
 
แพ็กเกจตรวจสุขภาพหัวใจ (อายุมากกว่า 40 ปี)
แนะนำสำหรับผู้ที่ยังไม่ได้รับการวินิจฉัยว่าเป็นโรคหัวใจ และต้องการทราบว่าตนเองมีอาการหรือเป็นโรคหรือไม่  รวมถึงแนะนำในกลุ่มที่มีความเสี่ยงสูง ทั้งนี้เพื่อเป็นการป้องกันหรือรักษาโรคตั้งแต่ระยะแรกๆ ที่ยังไม่มีภาวะแทรกซ้อน  เนื่องจากการป้องกันหรือการรักษาจะได้ผลดีที่สุดที่ เริ่มแรกก่อนที่จะเกิดภาวะแทรกซ้อนใดๆ
 
การตรวจวินิจฉัยด้วยการฉีดสี หลอดเลือดหัวใจ ผ่านสายสวนทางขาหนีบ
การฉีดสีหลอดเลือดหัวใจ คือ การฉีดสารทึบรังสี เพื่อดูหลอดเลือดที่ไปเลี้ยงหัวใจ
 
 
การตรวจวินิจฉัยด้วยการฉีดสี หลอดเลือดหัวใจ ผ่านสายสวนทางข้อมือ
การฉีดสีหลอดเลือดหัวใจ คือ การฉีดสารทึบรังสี เพื่อดูหลอดเลือดที่ไปเลี้ยงหัวใจ


รายละเอียด ติดต่อ 

สถาบันโรคหัวใจ
ชั้น 14 A อาคารบำรุงราษฎร์ อินเตอร์เนชั่นแนล คลินิก (อาคาร A)
065-509-9198 (ระหว่างเวลา 8.00-20.00 น. )
02-066-8888 (ระหว่างเวลา 20.00-8.00 น. )
Email Heartcenter@bumrungrad.com

bumrungrad.com/heart-institute
 

โรงพยาบาลบำรุงราษฎร์

33 สุขุมวิท ซอย 3 เขตวัฒนา กรุงเทพ 10110
Call: 1378    02-0668888     02-0114100
ข่าว/บทความล่าสุด
เนื้อหาอ่านล่าสุด