เมื่อมีการแต่งงาน ก็ต้องมีการตั้งครรภ์เกิดขึ้นกับเจ้าสาวส่วนใหญ่ อันเป็นปรากฏการณ์ตามธรรมชาติ แต่อย่างไรก็ตาม ถ้าคู่สมรสได้เข้าใจกระบวนการของการตั้งครรภ์ ก็น่าจะเป็นประโยชน์ต่อการดูแลสุขภาพทั้งมารดาและทารก
การตั้งครรภ์คือการฝังตัวของไข่ที่ปฏิสนธิแล้วในมดลูกจนกระทั่งถึงคลอดระยะของการตั้งครรภ์ส่วนใหญ่จะกินเวลาประมาณ280วัน หรือ40สัปดาห์ นับตั้งแต่วันแรกของประจำเดือนครั้งสุดท้ายแต่อาจจะแตกต่างกันบ้างในหญิงแต่ละคนหญิงที่ออกกำลังกายมากมักจะคลอดบุตรเร็วกว่าหญิงที่ไม่ค่อยได้ออกกำลังกาย ทารกหญิงอาจคลอดเร็วกว่าทารกชาย เพราะโดยเฉลี่ยน้ำหนักน้อยกว่า บางครั้งการตั้งครรภ์อาจเกินกำหนดไป ซึ่งมักเกิดในครรภ์แรก แต่การปล่อยให้การตั้งครรภ์เกินกำหนดมากเกินไปอาจเสี่ยงต่อการเสี่ยงชีวิตของทารกในครรภ์ เพราะรกอาจหมดอายุและทำงานได้ไม่ดี แพทย์จึงมักจะไม่ให้การตั้งครรภ์ผ่านวันครอบกำหนดเกิน10วัน
ขนาดของเด็กไทยปกติเมื่อแรกคลอดจะหลักประมาณ3กิโลกรัม ทารกชายจะหนักเฉลี่ย 3.2 กิโลกรัม และทารกหญิงเฉลี่ย 3.1 กิโลกรัม แต่น้ำหนักทารกอาจแตกต่างกันได้ตั้งแต่ 2.5 กิโลกรัม ถึง 4 กิโลกรัม เด็กผู้ชายมักมีน้ำหนักมากกว่าเด็กผู้หญิง ลูกคนแรกหนักน้อยกว่าลูกคนต่อๆ ไป และเด็กแฝดหนักน้อยกว่าเด็กคนเดียว
อาการแสดงของการตั้งครรภ์อาจแบ่งเป็น3กลุ่ม คือ
ระหว่างการตั้งครรภ์จะมีการเปลี่ยนแปลงที่น่าสนใจเกิดขึ้นในร่างกายหลายอย่าง และสิ่งหนึ่งที่พิเศษมากคือ มดลูกจะขยายตัวใหญ่ขึ้นหลายเท่าภายในระยะเวลาไม่กี่เดือน จากโพรงมดลูกซึ่งจุประมาณ10มิลลิลิตร จะขยายใหญ่ขึ้นเป็น5 - 10ลิตร หรือเพิ่มขึ้น500 - 1,000เท่า และน้ำหนักของมดลูกเพิ่มขึ้นจาก70กรัมเป็น1,000กรัม การที่มดลูกขยายตัวใหญ่ขึ้นก็เพราะกล้ามเนื้อของมดลูกขยายตัวใหญ่ขึ้นและยืดยาวออกส่วนจำนวนของกล้ามเนื้อเพิ่มขึ้นไม่มากนอกจากกล้ามเนื้อแล้ว เส้นเลือด เส้นประสาท และหลอดน้ำเหลืองจะเพิ่มขึ้นด้วย การขยายตัวใหญ่ขึ้นนี้เป็นผลจากฮอร์โมนเอสโตรเจนเป็นส่วนใหญ่ โปรเจสเตอโรนมีส่วนเพียงเล็กน้อยเท่านั้น
ในระยะแรกๆ มดลูกจะอยู่ในอุ้งเชิงกราน เมื่อมดลูกใหญ่ขึ้น ก็จะเจริญขึ้นมาในช่องท้องในระหว่างการตั้งครรภ์ มดลูกจะรัดตัวเป็นระยะๆ แต่ไม่สม่ำเสมอ ซึ่งตามปกติจะไม่มีความเจ็บปวดแต่อย่างใด ในเดือนหลังๆ ของการตั้งครรภ์ การรัดตัวนี้จะบ่อยขึ้นทุก10 - 20นาที ทำให้รู้สึกเจ็บ และหญิงบางคนอาจเข้าใจผิดว่าเป็นการเจ็บครรภ์ เส้นโลหิตและจำนวนโลหิตที่ไหลเวียนหล่อเลี้ยงตัวมดลูกจะค่อยๆ เพิ่มขึ้นเพื่อนำอาหารมาสู่เด็ก จำนวนโลหิตในระยะหลังของการตั้งครรภ์อาจมีมากถึง500มิลลิลิตรต่อนาที
ในระยะแรกของการตั้งครรภ์ ปากมดลูกจะนุ่มและมีสีคล้ำ รวมทั้งมีการพัฒนาของต่อมในบริเวณปากมดลูก ซึ่งจะผลิตมุกออกมาจุกที่ปากมดลูก และถูกขับออกมาให้เห็นก่อนจะมีการคลอดในระหว่างการตั้งครรภ์ ปากมดลูกอาจมีลักษณะเป็นแผลแดง (erosion)ซึ่งเป็นการเปลี่ยนแปลงที่ปกติ ไม่ได้หมายถึงการอักเสบหรือเป็นแผลร้ายแรง แต่บางครั้งอาจทำให้เลือดไหลซึมออกมาจากบริเวณนี้ได้เมื่อมีการร่วมเพศ
สำหรับช่องคลอดและปากช่องคลอดจะมีการไหลเวียนของกระแสโลหิตเพิ่มขึ้นทำให้บริเวณนี้นุ่มและมีความชื้นมากขึ้นกล้ามเนื้อและเนื้อเยื่อก็มีการเจริญเติบโตมากขึ้น ทำให้ช่องคลอดอาจจะยาวออกการมีมูกมากในช่องคลอดทำให้สภาวะเป็นกรดของช่องคลอดน้อยลง จึงอาจติดเชื้อหรือเกิดการอักเสบในช่องคลอดได้ง่ายระหว่างการตั้งครรภ์ โดยเฉพาะเชื้อรา
ในเดือนหลังๆ ของการตั้งครรภ์จะสังเกตได้ว่าผู้หญิงบางคนมีรอยแดงๆ ปรากฎขึ้นบริเวณผิวหนังหน้าท้อง เต้านมและสะโพก ดูคล้ายกับผิวหนังจะแตกการเปลี่ยนแปลงนี้เกิดจากการฮอร์โมนคอร์ตโยนในร่างกายเพิ่มขึ้น พร้อมทั้งมีการยืดของผิวหนังหน้าท้องด้วย
โดยพบประมาณครึ่งหนึ่งของหญิงที่ตั้งครรภ์หญิงบางคนอาจจะมีฝ้าเกิดขึ้นบนในหน้าระหว่างการตั้งครรภ์ และผิวหนังบริเวณกลางตัวที่หน้าท้องอาจมีสีคล้ำขึ้นเต้านมก็มีการเปลี่ยนแปลงอย่างเห็นได้ชัด คือ ในสัปดาห์แรกของการตั้งครรภ์ เต้านมอาจจะตึงและมีอาการเจ็บเล็กน้อย เมื่อเข้าเดือนที่2เต้านมจะเริ่มขยายใหญ่ขึ้น แต่การขยายตัวของเต้านมจะแตกต่างกันในแต่ละคนเส้นเลือดที่เต้านมก็อาจมองเห็นได้ชัดขึ้นหัวนมก็ใหญ่ขึ้นด้วยและมีสีคล้ำ อาจจะมีน้ำนมไหลออกมาจากหัวนมในระหว่างการตั้งครรภ์ ซึ่งเรียกว่า โคลอสตรุม (Colostrums)
ในระหว่างตั้งครรภ์ ร่างกายจะมีความต้องการอาหารประเภทโปรตีนสูงเพื่อใช้ในการพัฒนาเด็ก รก และตัวมดลูกรวมทั้งจำนวนโลหิตที่เพิ่มขึ้น นอกจากนั้นความต้องการธาตุเหล็กจะมากขึ้นกว่าธรรมดา เพราะใช้ในการสร้างเม็ดเลือดและการเจริญเติบโตของทารกในครรภ์ แคลเซียมก็จำเป็นต่อการโตของกระดูก
ในกรณีที่แม่ขาดจำพวกแคลเซียม เด็กจะดึงแคลเซียมที่มีอยู่ในร่างกายแม่ ทำให้เกิดอาการตะคริวหรือฟันผุ ฯลฯ ในระหว่างการคลอด ร่างกายจะเสียโลหิตไปจำนวนหนึ่ง มากน้อยขึ้นกับวิธีคลอด และอาจมากถึง500มิลลิลิตร ดังนั้นร่างกายจึงต้องการแร่ธาตุอย่างเพียงพอสำหรับทดแทนโลหิตที่เสียไป
ระหว่างการตั้งครรภ์หัวใจจะทำงานเพิ่มขึ้น ดังจะเห็นได้จากชีพจรเพิ่มขึ้นและขนาดของหัวใจก็โตขึ้นเล็กน้อย จำนวนโลหิตที่หัวใจต้องบีบออกไปแต่ละครั้งหรือในระยะเวลาหนึ่งก็เพิ่มขึ้น การเปลี่ยนแปลงนี้จะมากขึ้นเรื่อยๆ จนกระทั่งครบกำหนด และโดยเฉพาะอย่างยิ่งระหว่างการคลอดแต่จะกลับเป็นปกติหลังคลอด
การไหลเวียนของโลหิตก็มีการเปลี่ยนแปลงและเกี่ยวข้องกับอริยาบถของร่างกาย ความดันโลหิตจะสูงที่สุดขณะนั่ง การนอนหงายบางครั้งก็ทำให้ความดันโลหิตต่ำกว่าปกติเมื่อเทียบกับการนอนตะแคงจึงอาจทำให้หน้ามืดและรู้สึกอึดอัด โดยเฉพาะในระยะหลังของการตั้งครรภ์ การหมุนเวียนของโลหิตในช่วงต่ำกว่าเอวขณะตั้งครรภ์มักไม่ค่อยดีเมื่อมดลูกใหญ่ขึ้น เพราะการไหลกลับของโลหิตไปสู่หัวใจจะลดน้อยลงหรือช้าลง ดังนั้นจึงพบว่าหญิงบางคนมีอาการบวมที่ขา เส้นเลือดขอดที่ขา และริดสีดวงทวารเกิดขึ้นระหว่างตั้งครรภ์
การตั้งครรภ์ของคนบางคน โดยเฉพาะครรภ์แรก อาจมีความดันโลหิตสูง ซึ่งเรียกว่าเกิดโรคพิษแห่งครรภ์ บางรายความดันโลหิตสูงมากจนเส้นโลหิตในสมองแตก อาการอื่นของโรคนี้คือ มีไข่ขาวในปัสสาวะ บวม และชัก
ในระหว่างการตั้งครรภ์ ความวิตกกังวลและความตึงเครียดอาจเกิดขึ้นได้กับหญิงมีครรภ์และสามี เพราะทั้งคู่จะต้องมีความรับผิดชอบเพิ่มขึ้น ผู้หญิงบางคนอาจรู้สึกว่าตนขาดความดึงดูดใจสามี เพราะท้องใหญ่ขึ้น อ้วนไป มีสิวฝ้าบนใบหน้าทำให้ไม่สวย และหน้าท้องลาย ฯลฯ ยิ่งกว่านั้น ในระยะหลังๆ ของการตั้งครรภ์ความสัมพันธ์ทางเพศระหว่างสามีภรรยามักลดน้อยลง ทำให้ความสัมพันธ์ระหว่างสามีภรรยาลดน้อยลงด้วย สามีบางคนอาจหันไปหาผู้หญิงอื่น ดังนั้นในระยะนี้หญิงมีครรภ์จึงมักต้องการกำลังใจอย่างมากโดยเฉพาะจากสามี
ข้อเขียนโดย
นพ.ธีรศักดิ์ ธำรงธีระกุล
และทีมแพทย์ศูนย์รักษาผู้มีบุตรยากวิภาวดี
โทร0-2941-2800 , 0-2561-1111กด1