ข่าวสุขภาพ
ค้นหา รพ.-คลินิก-ร้านยาทั่วไทย ร้านยาคุณภาพ รวมโปรแกรมสุขภาพ บริการสุขภาพ คลินิกเอกชน งาน รพ.
บริการวัคซีนโควิดบริการตรวจโควิด
ตำแหน่งงาน
ข่าวสุขภาพทั่วไป ข่าวธุรกิจสุขภาพไทย ข่าว/กิจกรรม/สาระ รพ.ต่างๆ ข้อมูลบริการ รพ.ต่างๆ สิทธิสุขภาพชาวไทย สาระความรู้สุขภาพ ท่องเที่ยวสุขภาพ กิจกรรม ESG CSR กิจกรรม Event Health Economy ข่าวธุรกิจสุขภาพรอบโลก บริจาค
น่าสนใจไทยแลนด์
English
About us เผยแพร่เนื้อหา สถิติเว็บไซต์ สำรวจความเห็นสุขภาพ โฆษณา
healthserv.net@gmail.com

เปิดตัว กัญชาสายพันธุ์ไทยตัวใหม่ "เพชรชมพู 1-5" จุฬาฯ ยื่นขึ้นทะเบียนรับรองพันธุ์แล้ว

เปิดตัว กัญชาสายพันธุ์ไทยตัวใหม่ "เพชรชมพู 1-5" จุฬาฯ ยื่นขึ้นทะเบียนรับรองพันธุ์แล้ว Thumb HealthServ.net
เปิดตัว กัญชาสายพันธุ์ไทยตัวใหม่ "เพชรชมพู 1-5" จุฬาฯ ยื่นขึ้นทะเบียนรับรองพันธุ์แล้ว ThumbMobile HealthServ.net

กำเนิดกัญชาสายพันธุ์ไทยอีกพันธุ์แล้ว "กัญชาสายพันธุ์เพชรชมพู 1-5" ฝืมือการศึกษาวิจัย โดย จุฬาฯ เตรียมขึ้นทะเบียนรับรองพันธุ์พืช มุ่งใช้ประโยชน์ทางการแพทย์ต่อไป ผู้ที่สนใจ ติดต่อได้ที่ศูนย์วิจัยยาเสพติด จุฬาฯ โทร.09-8269-6103

เปิดตัว กัญชาสายพันธุ์ไทยตัวใหม่ "เพชรชมพู 1-5" จุฬาฯ ยื่นขึ้นทะเบียนรับรองพันธุ์แล้ว HealthServ
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โดยศูนย์วิจัยยาเสพติด วิทยาลัยวิทยาศาสตร์สาธารณสุข จุฬาฯ ได้ดำเนินการยื่นคำขอรับหนังสือรับรองพันธุ์พืชขึ้นทะเบียน “กัญชาสายพันธุ์เพชรชมพู” ตามพระราชบัญญัติพันธุ์พืช 2518 กับกรมวิชาการเกษตร จากการที่ศูนย์วิจัยยาเสพติด จุฬาฯ ได้ร่วมมือกับสำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามยาเสพติด ทำการศึกษาวิจัยกัญชาสายพันธุ์ไทย      มาอย่างต่อเนื่องกว่า 3 ปี จนสามารถพัฒนาได้สายพันธุ์ที่ดีตรงตามความต้องการ และใช้ชื่อว่า “เพชรชมพู 1-5”

 
            ศ.ดร.จิตรลดา อารีย์สันติชัย รองคณบดีวิทยาลัยวิทยาศาสตร์สาธารณสุข และผู้อำนวยการศูนย์วิจัยยาเสพติด จุฬาฯ เปิดเผยว่า การขึ้นทะเบียนสายพันธุ์กัญชากับกรมวิชาการการเกษตร เป็นเป้าหมายหนึ่งของศูนย์วิจัยยาเสพติด เนื่องจากเป็นการต่อยอดจากงานวิจัยที่ทางศูนย์ฯ ได้ดำเนินการมา เพื่อยืนยันว่ากัญชาสายพันธุ์นี้เป็นสายพันธุ์ที่จุฬาฯ คิดค้นขึ้น และมีลักษณะโดดเด่นอย่างไร หลังจากการได้รับอนุมัติการขึ้นทะเบียนสายพันธุ์กัญชาแล้ว จะทำให้ศูนย์วิจัยยาเสพติด จุฬาฯ สามารถใช้สายพันธุ์เพชรชมพูดำเนินการต่อไปทั้งในการสกัด และการนำมาพัฒนาเป็นผลิตภัณฑ์ต่างๆ สำหรับใช้รักษาโรค โดยจะทดลองในในสัตว์และมนุษย์ต่อไป

 
เปิดตัว กัญชาสายพันธุ์ไทยตัวใหม่ "เพชรชมพู 1-5" จุฬาฯ ยื่นขึ้นทะเบียนรับรองพันธุ์แล้ว HealthServ

 

ผลงานจากศูนย์วิจัยยาเสพติด จุฬาฯ แก่งคอย สระบุรี


          ศูนย์วิจัยยาเสพติด วิทยาศาสตร์สาธารณสุข จุฬาฯ มีความเชี่ยวชาญเรื่องยาเสพติด โดยได้ศึกษาวิจัยเรื่องยาเสพติดมาเป็นเวลา 50 ปีแล้ว นับเป็นศูนย์แห่งแรกและแห่งเดียวในประเทศไทยที่ได้รับการรับรองจากองค์การอนามัยโลก (WHO Collaborating Centre for Research and Training in Drug Dependence) ในส่วนของการศึกษาวิจัยเรื่องกัญชานั้น เริ่มต้นจากการที่ศูนย์วิจัยยาเสพติดได้รับทุนสนับสนุนจากสำนักงานป้องกันและปราบปรามยาเสพติด กระทรวงยุติธรรม ตั้งแต่ 3 ปีที่แล้ว โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อนำกัญชามาใช้ประโยชน์ทางการแพทย์
 
 
 
            พื้นที่ 1 ไร่ที่ศูนย์เครือข่ายการเรียนรู้เพื่อภูมิภาคโครงการพัฒนาที่ดินจุฬาฯ สระบุรี อ.แก่งคอย จ.สระบุรี เป็นพื้นที่ในการปลูกกัญชา แบ่งพื้นที่การปลูกออกเป็น 3 ระบบได้แก่

ระบบปิด (In-house) มีการควบคุมความชื้น อุณหภูมิและแสงจากภายนอก

ระบบกึ่งปิด (Greenhouse) มีที่กั้นป้องกันแมลง การระบายอากาศ ใช้แสงจากธรรมชาติ และ

ระบบเปิด (Outdoor) ซึ่งเป็นการปลูกกลางแจ้ง มีกล้องวงจรปิด ควบคุมความปลอดภัย

เพื่อดูว่าการปลูกกัญชาทั้งสามระบบนี้ระบบใดที่ให้ผลผลิตกัญชาที่มีประสิทธิภาพ ได้สารสำคัญสูงสุด ปัจจุบันจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยได้เพิ่มพื้นที่อีก 30 ไร่ในการขยายผลต่อยอดงานวิจัยครั้งนี้ เพื่อการดำเนินการอย่างชัดเจนและครบวงจรมากขึ้น
 
 
 
             ศ.ดร.จิตรลดา กล่าวว่าสายพันธุ์กัญชาที่ศูนย์วิจัยยาเสพติด จุฬาฯ ได้ปรับปรุงและพัฒนาขึ้น เป็นการปลูกแบบชีวภาพ ไม่มีการใช้สารเคมีแต่อย่างใด จึงไม่มีสารปนเปื้อนหรือโลหะหนัก ทำให้ได้กัญชาสายพันธุ์ไทยที่มีคุณภาพ เรียกว่าสายพันธุ์เพชรชมพู 1 – 5 ซึ่งมีลักษณะเด่นแตกต่างกัน
 
            ทั้งนี้ ภายหลังการดำเนินการยื่นคำขอรับหนังสือรับรองพันธุ์พืชขึ้นทะเบียน “กัญชาสายพันธุ์เพชรชมพู” ทางกรมวิชาการเกษตรได้ให้ความสนใจร่วมลงนาม MOU กับจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เพื่อสานต่องานวิจัย วิชาการ การจัดการเรียนการสอนและการจัดอบรมร่วมกัน ซึ่งจะทำให้องค์ความรู้ของจุฬาฯ ขยายผลและนำไปใช้ประโยชน์ได้จริง
 

 

ติดต่อได้ที่ศูนย์วิจัยยาเสพติด จุฬาฯ

            กัญชาพันธุ์เพชรชมพูเป็นสายพันธุ์กัญชาที่น่าภาคภูมิใจของจุฬาฯ การที่ได้นำสายพันธุ์กัญชาเพชรชมพูขึ้นทะเบียนสายพันธุ์กัญชาเป็นสายพันธุ์ตั้งต้น นับเป็นก้าวที่ดีในการวิจัยและพัฒนาเพื่อเป้าหมายการใช้ประโยชน์ทางการแพทย์ต่อไป ผู้ที่สนใจในเรื่องนี้ สามารถติดต่อได้ที่ศูนย์วิจัยยาเสพติด จุฬาฯ  โทร. 09-8269-6103 


เปิดตัว กัญชาสายพันธุ์ไทยตัวใหม่ "เพชรชมพู 1-5" จุฬาฯ ยื่นขึ้นทะเบียนรับรองพันธุ์แล้ว HealthServ
 

กรมวิชาการเกษตรรับคำขอ


กรมวิชาการเกษตรรับคำขอให้ออกหนังสือรับรองกัญชาสายพันธุ์เพชรชมพูเป็นพันธุ์พืชขึ้นทะเบียนตามพ.ร.บ.พันธุ์พืช  เผยศูนย์วิจัยยาเสพติดจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยทำวิจัยกว่า 3 ปีได้ 5 สายพันธุ์ดี  มีทั้งสายพันธุ์ที่เจริญเติบโตด้านกิ่งก้านและการสร้างใบที่ดี  และให้ปริมาณสารTHC : CBD ง่ายต่อการสกัดและนำไปใช้ประโยชน์ทางการแพทย์   
 
 
 
นายระพีภัทร์  จันทรศรีวงศ์อธิบดีกรมวิชาการเกษตร เปิดเผยว่า ศ.ดร.จิตรลดา อารีย์สันติชัย รองคณบดีวิทยาลัยวิทยาศาสตร์สาธารณสุข และผู้อำนวยการศูนย์วิจัยยาเสพติด จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย พร้อมคณะ ได้เข้าพบเพื่อหารือและยื่นคำขอรับหนังสือรับรองพันธุ์พืชขึ้นทะเบียน ตาม พรบ.พันธุ์พืช 2518 ซึ่ง ศูนย์วิจัยยาเสพติด จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้ร่วมกับ สำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามยาเสพติด ทำการศึกษาวิจัยกัญชาสายพันธุ์ “ตะนาวศรี” อย่างต่อเนื่องเริ่มตั้งแต่วันที่ 28 กรกฎาคม 2563 เป็นต้นมา จนสามารถพัฒนาได้สายพันธุ์ดีตรงตามความต้องการและให้ชื่อว่า “เพชรชมพู 1-5” ซึ่งทั้ง 5 สายพันธุ์มีลักษณะดีเด่นแตกต่างกันตั้งแต่สายพันธุ์ที่มีการเจริญเติบโตด้านกิ่งก้านและการสร้างใบที่ดี  สายพันธุ์ที่ให้ปริมาณสารสำคัญ THC เด่นและสายพันธุ์ที่ให้ปริมาณสาร THC : CBD อัตรา 1:1 ทำให้ง่ายต่อการสกัดและการใช้ประโยชน์ทางการแพทย์ 
 
 
 
ทั้งนี้ ภายหลังจากได้รับคำขอให้กรมรับรองพันธุ์พืชขึ้นทะเบียนแล้วขั้นตอนต่อไปคือ สำนักคุ้มครองพันธุ์พืช  กรมวิชาการเกษตร จะทำการตรวจสอบเอกสารและลักษณะประจำพันธุ์เบื้องต้นของพืชดังกล่าว  และประชุมคณะทำงานตรวจสอบข้อมูลทางวิชาการเพื่อพิจารณาออกหนังสือรับรองพันธุ์พืชขึ้นทะเบียน  หลังจากนั้นจะออกประกาศโฆษณาเพื่อแจ้งให้สาธารณชนทราบและเปิดโอกาสให้ทักท้วงภายในระยะเวลา 30 วัน  หากไม่มีผู้ใดทักท้วงภายในระยะเวลาดังกล่าว กรมวิชาการเกษตรจึงจะออกหนังสือรับรองพันธุ์เป็นพันธุ์พืชขึ้นทะเบียนตามพระราชบัญญัติพันธุ์พืชพ.ศ. 2518 โดยก่อนหน้านี้กรมวิชาการเกษตรได้ออกหนังสือรับรองพันธุ์พืชขึ้นทะเบียนไปแล้วจำนวน 13 ฉบับแบ่งเป็นพืชกัญชงจำนวน 5 สายพันธุ์และพืชกัญชาจำนวน 8 สายพันธุ์  และอยู่ระหว่างดำเนินการตรวจสอบข้อมูลเพื่อรอออกหนังสือรับรองพันธุ์พืชขึ้นทะเบียนอีก 19 สายพันธุ์  โดยเป็นกัญชง 11 สายพันธุ์และกัญชา 8 สายพันธุ์  
 
 
 
อธิบดีกรมวิชาการเกษตร  กล่าวว่า  การนำพันธุ์พืชมาขอขึ้นทะเบียนกับกรมวิชาการเกษตรจะทำให้พันธุ์พืชที่ผ่านการรับรองได้รับความเชื่อมั่นและการยอมรับในคุณสมบัติของพันธุ์   ซึ่งผู้ที่ต้องการนำพันธุ์พืชมาขอรับการขึ้นทะเบียนสามารถมายื่นคำขอได้ที่สำนักคุ้มครองพันธุ์พืช หรือยื่นคำขอทางไปรษณีย์ โดยจะต้องมีข้อมูลที่มาของพันธุ์พืชที่จะขอขึ้นทะเบียน ได้แก่ ชื่อพันธุ์ แหล่งที่มา ประวัติพันธุ์ วิธีการปรับปรุงพันธุ์ ลักษณะประจำพันธุ์ทางพฤกษศาสตร์ ลักษณะอื่น ๆ และรูปภาพต้น ใบ ดอก และผล เอกสารหลักฐานยืนยันตัวบุคคล   โดยหากผ่านการพิจารณาแล้วกรมวิชาการเกษตรจะบันทึกในฐานข้อมูลและออกหนังสือรับรองเป็นพันธุ์พืชขึ้นทะเบียนพันธุ์ให้ไว้เป็นหลักฐานเพื่อเป็นเกียรติแก่ผู้พัฒนาปรับปรุงพันธุ์พืชและเป็นฐานข้อมูลพันธุ์พืชของประเทศไทยกรมวิชาการเกษตร จึงขอเชิญชวนให้ประชาชน และนักปรับปรุงพันธุ์ที่มีพืชพันธุ์ใหม่มาขอยื่นขึ้นทะเบียนพันธุ์ ตาม พรบ.พันธุ์พืช 2518  ซึ่งใช้ระยะเวลาในการดำเนินการตามขั้นตอนดังกล่าวไม่เกิน 60 วันทำการ
เปิดตัว กัญชาสายพันธุ์ไทยตัวใหม่ "เพชรชมพู 1-5" จุฬาฯ ยื่นขึ้นทะเบียนรับรองพันธุ์แล้ว HealthServ
ข่าว/บทความล่าสุด
เนื้อหาอ่านล่าสุด