แน่นอนว่าเกษตรอินทรีย์นั้น ส่วนประกอบในการเพาะปลูกทั้งหมดจะต้องมาจากธรรมชาติ แม้กระทั่งสิ่งที่จะนำ มาย่อยสลายวัตถุอินทรีย์ในดินก็มีส่วนสำ คัญไม่แพ้กัน แต่ส่วนที่เป็นหัวใจหลักของเกษตรอินทรีย์นั้นคงหนีไม่พ้น “จุลินทรีย์” ที่ใช้ในการย่อยวัตถุอินทรีย์นั่นเอง
จุลินทรีย์ที่มีบทบาทต่อการทำ เกษตรกรรมมีอยู่หลายชนิดด้วยกัน ได้แก่ แบคทีเรีย เชื้อรา แอกติโนมัยซีต สาหร่าย โปรโตซัวและไวรัส จุลินทรีย์บางชนิดเป็นจุลินทรีย์ที่ดีมีประโยชน์ต่อการทำ การเกษตร แต่บางชนิดก็เป็นจุลินทรีย์ที่ก่อให้เกิดโรคต่อพืช แต่หากทุกอย่างเป็นไปอย่างสมดุล พืชพันธุ์ต่างๆ ก็จะแข็งแรง เจริญเติบโตได้ดี
1. จุลินทรีย์กลุ่มแบคทีเรีย (Bacteria) จุลินทรีย์กลุ่มนี้มีหลากหลายสายพันธุ์ที่รวมตัวกันอยู่ในกองปุ๋ยหมัก และในหัวเชื้อจุลินทรีย์ที่ทำ ขายเป็นการค้า มักมีลักษณะรูปร่างของจุลินทรีย์เป็นแบบง่ายๆ 3 รูปแบบคือ กลมเป็นท่อน และเป็นเกลียว อาศัยอยู่ทั่วไปในธรรมชาติ โดยเฉพาะในดินป่าที่ชื้นมีบทบาทในการย่อยสลายอินทรียวัตถุและปลดปล่อยธาตุอาหารที่สำ คัญให้กับพืช
2. จุลินทรีย์ที่เป็นเชื้อรา (Funji) จุลินทรีย์กลุ่มเชื้อรามักจะพบในกองปุ๋ยหมักเสมอ มักจะพบเติบโตในช่วงแรกๆ ในการหมักปุ๋ย และจะพบบริเวณด้านนอกผิวของกองปุ๋ยหมักเป็นจำ นวนมาก เชื้อรามีประโยชน์ในการย่อยสลายเศษวัสดุอินทรีย์ในกองปุ๋ยหมักให้มีขนาดเล็กลงในระยะแรกๆ ของการหมักปุ๋ย จุลินทรีย์ที่เป็นเชื้อราแบ่งออกเป็น 2 ชนิด คือ ยีสต์ (Yeasts)และราเส้นใย
3. จุลินทรีย์กลุ่มยีสต์ (Yeasts) ยีสต์เป็นเชื้อราที่ทำ ให้เกิดกระบวนการหมัก โดยจะเปลี่ยนน้ำ ตาลให้เป็นเอทิลแอลกอฮอล์และคาร์บอนไดออกไซด์ ปกติยีสต์จะอยู่ที่ผิวหน้าของวัสดุที่หมัก โดยจะเป็นฟองที่ลอยเป็นฝ้าอยู่ที่ผิวของน้ำ หมักนอกจากนี้ยีสต์ยังผลิตวิตามินและฮอร์โมนในระหว่างกระบวนการหมักด้วย ยีสต์จะสามารถเจริญเติบโตได้ดีในค่าความเป็นกรดสูงระหว่าง 4.0-6.5 ดังนั้น ในการหมักเมื่อเกิดกลิ่นแอลกอฮอล์ขึ้น จึงแสดงให้เห็นว่ากระบวนการหมักมีคุณภาพและเป็นการหมักที่สมบูรณ์
4. จุลินทรียกลุ่มที่เป็นราเส้นใย เชื้อรากลุ่มนี้เป็นจุลินทรีย์ที่มีความหลากหลาย มีความแตกต่างกันมากในด้านขนาดและรูปร่าง อาศัยการสืบพันธุ์ด้วยการสร้างสปอร์ ซึ่งมีทั้งสปอร์ที่อาศัยเพศและไม่อาศัยเพศ เป็นจุลินทรีย์ที่ต้องการอากาศ พบเห็นอยู่ที่ริมผิวหน้าของน้ำ หมักหรือปุ๋ยหมัก
5. จุลินทรีย์แอกติโนมัยชีต เป็นจุลินทรีย์จำ พวกเซลล์เดียว มักพบบนกองปุ๋ยหมัก จะเจริญเติบโตเป็นกลุ่ม เห็นเป็นจุดสีขาวคล้ายๆ ผงปูน หลังจากที่อุณหภูมิของกองปุ๋ยสูงขึ้นมาก เชื้อแอกโนมัยชีตนี้มีบทบาทที่สำ คัญในการย่อยอินทรียสารเช่น เซลลูโลส ลิกนิน ไคติน และโปรตีน ที่อยู่ในกองปุ๋ยหมักขณะที่อุณหภูมิสูง
6. จุลินทรีย์สาหร่ายสีเขียวแกมน้ำเงิน แตกต่างจากจุลินทรีย์ชนิดอื่น ตรงที่มีคลอโรฟิลล์ มักเห็นเซลล์เป็นสีเขียว เจริญเติบโตได้ดีในนาข้าว สามารถตรึงไนโตรเจนจากอากาศได้ถึงประมาณ 10-20 กิโลกรัมต่อไร่ มักอาศัยพึ่งพาอยู่กับแหนแดง ซึ่งเป็นเฟิร์นน้ำ ขนาดเล็กๆ ทำ ให้แหนแดงเป็นปุ๋ยพืชสดอย่างดีในนาข้าว
7. จุลินทรีย์โปรโตซัว (Protozoa) โปรโตซัวเป็นสิ่งมีชีวิตเซลล์เดียวขนาดเล็ก ที่จัดได้ว่ามีความสำ คัญมากในระบบนิเวศ อาศัยอยู่ในน้ำ ดิน หรือเป็นปรสิตสำ หรับชนิดที่เป็นปรสิตบางชนิดอาศัยอยู่ในทางเดินอาหารของปลวกเพื่อช่วยย่อยเนื้อไม้จุลินทรีย์โปรโตซัวมีความสำ คัญมาก เพราะสามารถย่อยสลายอินทรียวัตถุได้อย่างรวดเร็ว ปัจจุบันจึงมีเกษตรกรนำ เอาจาวปลวกมาหมักหัวเชื้อจุลินทรีย์ เพื่อนำ ไปย่อยสลายฟางข้าวในนาและทำปุ๋ยหมัก
บทความจาก
คู่มือเกษตรกร...รู้ไว้ใช้จริง การเพาะปลูกพืช-ผัก
จัดทำโดย สถาบันส่งเสริมและพัฒนากิจกรรมปิดทองหลังพระ สืบสานแนวพระราชดำริ