13 มกราคม 2566 เว็บไซต์ราชกิจจานุเบกษาเผยแพร่ ประกาศกระทรวงคมนาคม เรื่อง "กำหนดเขตระบบรถไฟฟ้าตามโครงการรถไฟฟ้าสายสีชมพู ช่วงแคราย-มีนบุรี ในท้องที่ ตำบลบางกระสอ ตำบลท่าทราย อำเภอเมืองนนทบุรี และแขวงทุ่งสองห้อง แขวงตลาดบางเขน เขตหลักสี่ แขวงอนุสาวรีย์ แขวงท่าแร้ง แขวงมีนบุรี เขตมีนบุรี กรุงเทพมหานคร และโครงการรถไฟฟ้าสายสีชมพูส่วนต่อขยาย ช่วงสถานีศรีรัช-เมืองทองธานี ในท้องที่ตำบลบางตลาด ตำบลคลองเกลือ และตำบลบ้านใหม่ อำเภอปากเกร็ด จังหวัดนนทบุรี"
ประกาศระบุเส้นทางเดินรถของโครงการรถไฟฟ้าสายสีชมพู ช่วงแคราย-มีนบุรี และ ส่วนต่อขยาย ช่วงสถานีศรีรัช-เมืองทองธานี ไว้ชัดเจน ดังนี้
1. เส้นทางโครงการรถไฟฟ้าสายสีชมพู ช่วงแคราย-มีนบุรี
ระยะทางรวมประมาณ 34.5 กิโลเมตร
- เริ่มต้นที่จุดเชื่อมต่อ "รถไฟฟ้ามหานคร สายฉลองรัชธรรม (สายสีม่วง)" ที่สถานีศูนย์ราชการนนทบุรี บนถนนรัตนาธิเบศร์ บริเวณแยกแคราย
- เลี้ยวซ้ายเข้าสู่ถนนติวานนท์ เส้นทางไปตามถนนติวานนท์
- เลี้ยวขวาที่แยกปากเกร็ด เข้าสู่ถนนแจ้งวัฒนะ
- เส้นทางไปตามถนนแจ้งวัฒนะ ผ่านแยกหลักสี่
- เชื่อมต่อกับ "รถไฟชานเมืองสายสีแดง" ช่วงบางซื่อ-รังสิต ที่สถานีหลักสี่
- ผ่านวงเวียนอนุสาวรีย์พิทักษ์รัฐธรรมนูญ
- เชื่อมต่อ "รถไฟฟ้าสายสีเขียว" ช่วงหมอชิต-สะพานใหม่-คูคต ที่สถานีวัดพระศรีมหาธาตุ
- เส้นทางไปตามถนนรามอินทรา-จนถึงแยกเมืองมีน
- เส้นทางวิ่งตรงเข้าสู่ถนนสีหบุรานุกิจ
- เลี้ยวขวาไปทางทิศใต้ข้ามคลองสามวา คลองแสนแสบและถนนรามคําแหง
- สิ้นสุดเส้นทาง ที่สถานีมีนบุรี ที่เป็นจุดเชื่อมต่อกับ "โครงการรถไฟฟ้าสายสีส้ม" ช่วงศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทย-มีนบุรี (สุวินทวงศ์)
เส้นทางอยู่ใน 2 จังหวัด 7 แขวง 5 เขต 5 ตำบล 2 อำเภอ ได้แก่
กรุงเทพมหานคร - แขวงตลาดบางเขน เขตหลักสี่, แขวงอนุสาวรีย์ แขวงท่าแร้ง เขตบางเขน, แขวงนวลจันทร์ เขตบึงกุ่ม, แขวงรามอินทรา แขวงคันนายาว เขตคันนายาว, แขวงมีนบุรี เขตมีนบุรี
นนทบุรี - ตําบลบางกระสอ ตําบลท่าทราย อําเภอเมืองนนทบุรี และ ตําบลบางตลาด ตําบลปากเกร็ด ตําบลคลองเกลือ อําเภอปากเกร็ด
2. เส้นทางโครงการรถไฟฟ้าสายสีชมพู "ส่วนต่อขยาย" ช่วงสถานีศรีรัช-เมืองทองธานี
ระยะทางรวมประมาณ 3 กิโลเมตร
- เริ่มต้นที่จุดเชื่อมต่อกับ "โครงการรถไฟฟ้าสายสีชมพู ช่วงแคราย-มีนบุรี" บริเวณสถานีเมืองทองธานี
- เลี้ยวขวา เข้าสู่ซอยแจ้งวัฒนะ ปากเกร็ด 39
- ผ่านวงเวียนเมืองทองธานี
- สิ้นสุดเส้นทางบริเวณทะเลสาบในเมืองทองธานี
เส้นทางอยู่ใน 3 ตำบล ได้แก่ ตําบลบางตลาด ตําบลคลองเกลือ และตําบลบ้านใหม่ อําเภอปากเกร็ด จังหวัดนนทบุรี
สถานีรถไฟฟ้ารวม 32 สถานี
ทั้งเส้นทางมี "อาณาบริเวณสถานีรถไฟฟ้า" หมายถึง สถานีรถไฟฟ้าและบริเวณโดยรอบสถานีรถไฟฟ้าและให้รวมถึงอาคารทางขึ้น-ลงของคนโดยสาร และทางเดินระหว่างอาคารสถานีรถไฟฟ้ากับอาคารทางขึ้น-ลงของคนโดยสารด้วย ภายในแนวเขตที่มีเครื่องหมายแสดงเขตระบบรถไฟฟ้า กําหนดให้เป็นเขตระบบรถไฟฟ้า
ตลอดเส้นทาง รวม 32 สถานี ดังนี้
ช่วงแคราย-มีนบุรี
1) สถานีศูนย์ราชการนนทบุรี
2) สถานีแคราย
3) สถานีสนามบินน้ำ
4) สถานีสามัคคี
5) สถานีกรมชลประทาน
6) สถานีแยกปากเกร็ด
7) สถานีเลี่ยงเมืองปากเกร็ด
8) สถานีแจ้งวัฒนะ-ปากเกร็ด 28
9) สถานีศรีรัช
10) สถานีเมืองทองธานี
11) สถานีแจ้งวัฒนะ 14
12) สถานีศูนย์ราชการเฉลิมพระเกียรติ
13) สถานีโทรคมนาคมแห่งชาติ
14) สถานีหลักสี่
15) สถานีราชภัฏพระนคร
16) สถานีวัดพระศรีมหาธาตุ
17) สถานีรามอินทรา 3
18) สถานีลาดปลาเค้า
19) สถานีรามอินทรา กม.4
20) สถานีมัยลาภ
21) สถานีวัชรพล
22) สถานีรามอินทรา กม.6
23) สถานีคู้บอน
24) สถานีรามอินทรา กม.9
25) สถานีวงแหวนรามอินทรา
26) สถานีนพรัตน์
27) สถานีบางชัน
28) สถานีเศรษฐบุตรบําเพ็ญ
29) สถานีตลาดมีนบุรี
30) สถานีมีนบุรี
ช่วงสถานีศรีรัช-เมืองทองธานี
31) สถานีอิมแพ็ค เมืองทองธานี
32) สถานีทะเลสาบเมืองทองธานี
นอกจากสถานี เขตระบบรถไฟฟ้า ยังรวมถึง
- ศูนย์ซ่อมบํารุง
- อาคารจอดรถพร้อมทั้งบริเวณโดยรอบอาคารจอดรถ
- ทางรถไฟฟ้า
- อาคารโรงไฟฟ้าย่อย
ศูนย์ซ่อมบำรุงอาคารจอดแล้วจร
ศูนย์ซ่อมบำรุงอาคารจอดแล้วจรของโครงการรถไฟฟ้าสายสีชมพู ช่วงแคราย-มีนบุรี มีจำนวน 1 แห่ง ตั้งอยู่บริเวณแยกร่มเกล้า เป็นศูนย์ซ่อมบำรุงหลักของโครงการประกอบด้วยอาคารจอดรถ 3 ชั้น จอดรถยนต์ได้ประมาณ 3,000 คัน (1,000 คัน/ชั้น) อาคารซ่อมบำรุงหลักและอาคารควบคุมการเดินรถสำหรับรองรับการซ่อมบำรุง 7 ช่องทาง
การออกแบบเพื่อมวลชน
ทุกสถานีออกแบบการสร้างสถานที่และสิ่งของต่างๆ เพื่ออำนวยความสะดวกแก่ผู้ใช้บริการทุกประเภทสามารถใช้ประโยชน์ได้อย่างเต็มที่และเท่าเทียมกัน
การจัดสิ่งอำนวยความสะดวกให้แก่ผู้สูงอายุและผู้พิการ จัดให้ครบตามมาตรฐาน และกฎหมายต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับคนพิการ ดังนี้
- ตู้โทรศัพท์สาธารณะสามารถปรับระดับความสูงได้
- ตู้โทรศัพท์สาธารณะสำหรับผู้ใช้รถเข็น
- ATM ที่ปรับระดับความสูงได้
- ทางลาดสำหรับรถเข็นและผู้สูงอายุ
- ห้องน้ำสำหรับผู้พิการ ผู้สูงอายุ และสตรีมีครรภ์
- ทางเดินผิวสัมผัสสำหรับผู้พิการทางสายตา
- ลิฟต์สำหรับผู้พิการ มีแผ่นพื้นนำทางสำหรับผู้พิการทางสายตาและมีปุ่มสวิตซ์พร้อมอักษรเบรลล์
- บันไดขึ้น-ลงสถานีรถไฟฟ้า บริเวณราวจับมีอักษรเบรลล์สำหรับผู้พิการทางสายตา
- ช่องทาง-ออกพื้นที่สถานี มีทางกว้าง 1 ช่องเพื่อผู้พิการหรือรถเข็นเด็ก
- ที่นั่งในรถไฟฟ้า มีการแบ่งโซนสีเหลืองสำหรับ คนชรา สตรีมีครรภ์ และผู้พิการ
ความปลอดภัยในกรณีฉุกเฉิน
1. ระบบป้องกันไฟ โครงสร้างรถไฟฟ้าผลิตจากวัสดุที่เป็นฉนวน ไม่ติดไฟ ในกรณีที่เกิดไฟไหม้จะหยุดอัตโนมัติที่สถานีปัจจุบัน
2. การอพยพผู้โดยสาร
- ทางเดินฉุกเฉิน มีการติดตั้งไว้ด้านข้างระหว่างคาน เมื่อเกิดเหตุจึงสามารถอพยพผู้โดยสารไปยังสถานีที่ใกล้ที่สุดได้
- การอพยพโดยรถไฟอพยพ ซึ่งรถไฟอพยพจะเข้ามาทางเดียวกันหรือทิศทางตรงข้ามกับรถไฟที่มีปัญหา
- การอพยพลงสู่พื้นดิน อาจทำได้ด้วยการใช้รถยก เชือก เพื่ออพยพผู้โดยสารลงจากราง
ท้ายประกาศ มีคำสั่ง ให้การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย จัดทําแผนที่แสดงเขตระบบรถไฟฟ้า ในมาตราส่วนที่แสดงรายละเอียดได้ชัดเจนไว้ ณ ที่ทําการของการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย และให้ประชาชนตรวจดูได้ โดยไม่ต้องเสียค่าใช้จ่าย
ประกาศ ณ วันที่ 15 ธันวาคม พ.ศ. 2565
ความคืบหน้าโครงการ
1) ช่วงแคราย-มีนบุรี
ความก้าวหน้ารวม 94.48%
- งานโยธา 94.43%
- งานระบบรถไฟฟ้า 94.49%
2) ส่วนต่อขยายเมืองทองธานี
ความก้าวหน้ารวม 10.48%
- งานโยธา 13.45%
- งานระบบรถไฟฟ้า 4.59%
กำหนดเปิดให้บริการ
เต็มรูปแบบในปี 2566 มีขบวนรถไฟฟ้า 42 ขบวน รับมอบแล้ว 34 ขบวน [
Thaigov] และคาดว่าจะเปิดใช้พร้อมๆ กับโครงการรถไฟฟ้าสายสีเหลือง (ช่วงลาดพร้าว – สำโรง)