ข่าวสุขภาพ
ข่าวสุขภาพทั่วไป ข่าวธุรกิจสุขภาพไทย ข่าว/กิจกรรม/สาระ รพ.ต่างๆ ข้อมูลบริการ รพ.ต่างๆ สาระความรู้สุขภาพ กิจกรรม ESG CSR Health Economy บริจาครพ.ต่างๆ
น่าสนใจไทยแลนด์
About us เผยแพร่เนื้อหา สถิติเว็บไซต์ สำรวจความเห็นสุขภาพ โฆษณา
healthserv.net@gmail.com

หลักเกณฑ์แนวทาง การเดินทางทางบก ของผู้ป่วยที่จะเข้ามารักษาพยาบาลในสถานพยาบาล Alternative Hospital Quarantine (AHQ)

หลักเกณฑ์แนวทาง การเดินทางทางบก ของผู้ป่วยที่จะเข้ามารักษาพยาบาลในสถานพยาบาล Alternative Hospital Quarantine (AHQ) Thumb HealthServ.net
หลักเกณฑ์แนวทาง การเดินทางทางบก ของผู้ป่วยที่จะเข้ามารักษาพยาบาลในสถานพยาบาล Alternative Hospital Quarantine (AHQ) ThumbMobile HealthServ.net

การเดินทาง 3 วิธี รวมถึงกำหนดประเภทและมาตรฐานรถโดยสาร พนักงานขับรถ ผู้ให้บริการบนรถ และระบบต่างๆที่จำเป็น

หลักเกณฑ์แนวทาง การเดินทางทางบก ของผู้ป่วยที่จะเข้ามารักษาพยาบาลในสถานพยาบาล Alternative Hospital Quarantine (AHQ) HealthServ
ประกาศศูนย์ปฏิบัติการฉุกเฉินด้านการแพทย์และสาธารณสุข กรณีโรคติดเชื้อโควิด - 19
เรื่อง หลักเกณฑ์แนวทางการกำหนดสถานที่กักกันที่รัฐกำหนด พ.ศ. 2563 ฉบับที่ 3
 

ตามที่นายกรัฐมนตรีได้มีคำสั่ง ที่ 4/2563 เรื่อง แต่งตั้งผู้กำกับการปฏิบัติงาน หัวหน้าผู้รับผิดชอบและพนักงานเจ้าหน้าที่ในการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉิน ลงวันที่ 25 มีนาคม พ.ศ. 2563 ที่มอบหมายให้ปลัดกระทรวงสาธารณสุขเป็นหัวหน้าผู้รับผิดชอบในการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉินในส่วนที่ เกี่ยวกับการสาธารณสุขทุกเขตท้องที่ทั่วราชอาณาจักร
 
 
 อาศัยอำนาจตามคำสั่งศูนย์ปฏิบัติการฉุกเฉินด้านการแพทย์และสาธารณสุข กรณีโรคติดเชื้อโควิด –19 ที่ 2/2563 ลงวันที่ 21 เมษายน พ.ศ. 2563 เรื่องกำหนดองค์ประกอบของศูนย์ปฏิบัติการฉุกเฉินด้านการแพทย์และสาธารณสุข กรณีโรคติดเชื้อโควิด – 19 ประกอบกับคำสั่งศูนย์บริหารสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด - 19) ที่ 8/2563 เรื่อง แนวปฏิบัติตามข้อกำหนดออกตามความในมาตรา 9 แห่งพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. 2548 (ฉบับที่ 7) ลงวันที่ 31 กรกฎาคม พ.ศ. 2563 ข้อ 1 (10) ให้ผู้ไม่มีสัญชาติไทย ซึ่งมีความจำเป็นต้องเข้ามารับการตรวจรักษาพยาบาลในประเทศไทย และผู้ติดตามของบุคคลดังกล่าว แต่ต้องไม่เป็นกรณีเข้ามาเพื่อการรักษาพยาบาลโรคโควิด - 19 ทั้งนี้ เฉพาะผู้มีความจำเป็นต้องเข้ามารับการตรวจรักษาพยาบาลในประเทศไทย ซึ่งจำกัดจำนวนผู้ติดตามได้ไม่เกิน 3 คน และให้เข้ารับการกักกันในสถานพยาบาลเดียวกันรวมถึงต้องมีระยะเวลาที่อยู่ในราชอาณาจักรไม่น้อยกว่า 14 วัน โดยมีหลักเกณฑ์แนวทางปฏิบัติ ดังนี้ 
ข้อ 1 หลักการและเหตุผล
ตามที่มีประกาศให้โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 หรือโรคโควิด-19 (Coronavirus Disease
2019 (COVID-19)) เป็นโรคติดต่ออันตรายตามพระราชบัญญัติโรคติดต่อ พ.ศ. 2558 และศูนย์บริหารสถานการณ์โควิด-19 (ศบค.) กำหนดให้ผู้ที่เดินทางมาจากต่างประเทศทุกคน ต้องได้รับการตรวจคัดกรองแยกกักหรือกักกัน เพื่อการเฝ้าระวัง ป้องกัน และควบคุมโรคซึ่งมาจากท้องถิ่นอื่น หรือเมืองท่านอกราชอาณาจักร กรณีโรคโควิด-19
 
พร้อมนี้ หน่วยงานภาครัฐได้จัดเตรียมและจัดหาสถานที่สำหรับเป็นที่กักกันผู้ที่เดินทางมาจากต่างประเทศให้อยู่ในการกำกับ ดูแล เพื่อการเฝ้าระวังการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 เรียบร้อยแล้ว
 
 
อนึ่ง พบว่า ปัจจุบันมีชาวไทยและชาวต่างชาติที่มีภาวะเจ็บป่วย และมีความจำเป็นต้องได้รับการดูแลรักษาอย่างต่อเนื่อง แจ้งความประสงค์จะเดินทางเข้ามารักษาพยาบาลในประเทศไทย ขณะนี้ได้เปิดระบบรับผู้ป่วยและผู้ติดตามที่เดินทางเข้าสู่ประเทศไทยผ่านด่านพรมแดนทางบก เมื่อวันที่ 3 กันยายน 2563 จึงจำเป็นต้องจัดเตรียมสถานพยาบาลเอกชนที่สมัครเข้าร่วม (Alternative Hospital Quarantine) รองรับการกักกันตัว และการรักษาพยาบาล โดยถือปฏิบัติตามข้อกำหนดอย่างเคร่งครัด


 
ข้อ 2 การเคลื่อนย้ายผู้ป่วยและผู้ติดตามผ่านทางด่านพรมแดนทางบกสามารถเดินทางได้ดังนี้
 
(1) ผู้ป่วยและผู้ติดตามประสงค์เข้าด่านพรมแดนทางบกตามที่หน่วยงานกำหนดรายละเอียดแนบท้าย
 
(2) การเดินทางของผู้ป่วยและผู้ติดตามประสงค์เข้ามารักษาพยาบาลในสถานพยาบาล Alternative Hospital Quarantine สามารถเดินทางได้ 3 วิธี ดังนี้
 
(2.1) เดินทางโดยรถยนต์จากด่านพรมแดนทางบกเข้ามารักษาพยาบาลในสถานพยาบาลโดยไม่แวะพัก (กรณีที่ 1)
 
(2.2) เดินทางโดยรถยนต์จากด่านพรมแดนทางบกเข้ามารักษาพยาบาลในสถานพยาบาลโดยแวะพักได้ตามจุดที่กำหนด (กรณีที่ 2)
 
(2.3) เดินทางจากด่านพรมแดนทางบกจากประเทศต้นทาง และโดยสารเครื่องบินเที่ยวบินเช่าเหมาล า (Charter Flight) ณ ท่าอากาศยานที่กำหนดเดินทางเข้ามารักษาพยาบาลในสถานพยาบาล Alternative Hospital Quarantine (กรณีที่ 3)


 
ข้อ 3 ยานพาหนะในการรับ-ส่งผู้ป่วยและผู้ติดตาม ดังนี้
 
(1) ประเภทของรถโดยสาร
(1.1) รถพยาบาล (Ambulance)
(1.2) รถตู้ผลิตจากโรงงาน ไม่เกิน 11 ที่นั่ง ไม่มีห้องน้ำ
(1.3) รถตู้แบบมีห้องน้ำ ไม่น้อยกว่า 5 ที่นั่ง
(1.4) รถมินิบัส/ รถบัสมีห้องน้ำ (วิ่งระยะทางไกล) ต้องมี2 ประตูโดยแยกพนักงานขับรถกับผู้โดยสาร


 
(2) มาตรฐานรถโดยสาร
(2.1) รถโดยสารทุกประเภท ต้องจดทะเบียนและพนักงานขับรถมีใบอนุญาตขับขี่ประเภท 2 ตามมาตรฐานที่กรมการขนส่งทางบกกำหนด
(2.2) หากใช้รถพยาบาล (Ambulance) ตามข้อ (1.1) ต้องมีมาตรฐานตามที่สถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติหรือสถาบันบำราศนราดูร กรมควบคุมโรคกำหนด
(2.3) รถโดยสารตามข้อ (1.2 - 1.4) ให้เป็นไปตามมาตรฐานความปลอดภัยด้านสุขอนามัย (Amazing Thailand Safety and Health Administration: SHA) ของการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย
(2.4) รถโดยสารตามข้อ (1.4) ต้องมีพนักงานขับรถอย่างน้อย 2 คน
(2.5) รถโดยสารตามข้อ (1.4) สามารถจอดเติมน้ำมัน/ จอดพักรถได้โดยต้องแจ้งจุดพักรถมายังกรมสนับสนุนบริการสุขภาพให้รับทราบด้วย
(2.6) มีประกันอุบัติเหตุตามที่กฎหมายกำหนด รวมประกันภัยรถยนต์ภาคสมัครใจ
(2.7) มีอุปกรณ์ติดตามรถโดยสาร


 
(3) บุคลากร
(3.1) พนักงานขับรถและผู้ให้บริการบนรถต้องมีความรู้ในหลักสูตรที่จัดโดยกรมควบคุมโรคและหลักสูตรที่สถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติ 
(3.2) สามารถสื่อสารภาษาต่างประเทศได้ 


 
(4) ระบบ
(4.1) มีฉากกั้นมิดชิดระหว่างพื้นที่พนักงานขับรถและผู้โดยสาร
(4.2) ระบบปรับอากาศภายในรถโดยสารเป็นไปตามหลักเกณฑ์ของสถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติหรือสถาบันบำราศนราดูร กรมควบคุมโรคกำหนด
(4.3) พนักงานขับรถและผู้ให้บริการบนรถต้องสวมชุด Semi-PPE (ชุดกันเปื้อน ชุดกันฝน หมวก ถุงมือ และรองเท้าบูท) และมีผลตรวจคัดกรองเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) เป็นลบ (Undetectable) ไม่เกิน 72 ชั่วโมง
(4.4) จัดเตรียมเจล แอลกอฮอล์หน้ากากอนามัย และอุปกรณ์ช่วยเหลือเบื้องต้นสำหรับการทำความสะอาดรถโดยสาร เป็นไปตามหลักเกณฑ์ของสถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติพร้อมให้ผู้โดยสารสวมหน้ากากอนามัยตลอดเวลา
(4.5) ถุงขยะภายในรถโดยสารให้ใช้ถุงขยะสีแดงตามเกณฑ์ของกรมควบคุมโรค
(4.6) จัดที่นั่งให้รักษาระยะห่าง (Distancing) หรือจัดที่นั่งติดกันได้แต่ต้องสวมหน้ากากอนามัย
(4.7) ผู้ป่วยและผู้ติดตามจัดเตรียมอาหารมาเอง หากไม่สามารถเตรียมได้บริษัทจะต้องจัดเตรียมอาหารว่างให้พร้อมและต้องเป็นอุปกรณ์ที่ใช้แล้วทิ้ง
(4.8) กรณีเกิดอุบัติเหตุ/เหตุฉุกเฉินจากตัวรถ ผู้โดยสารสามารถลงจากรถได้ตามแนวปฏิบัติของสถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติ ซึ่งสามารถติดต่อฉุกเฉินได้ที่สายด่วน 1669 และพร้อมส่งต่อผู้ป่วยไปยังโรงพยาบาลใกล้เคียง
 
 
ประกาศ ณ วันที่ ตุลาคม พ.ศ. 2563
(นายเกียรติภูมิวงศ์รจิต)
ปลัดกระทรวงสาธารณสุข
หัวหน้าศูนย์ปฏิบัติการฉุกเฉินด้านการแพทย์และสาธารณสุข 
 
 

หลักเกณฑ์แนวทาง 3 กรณี

 

กรณีที่ 1 ด่านพรมแดนทางบก (ไม่แวะพัก)

 หมายเหตุ 
  1. รถพยาบาล (Ambulance) ต้องมีมาตรฐานตามที่สถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติ หรือสถาบันบำราศนราดูร กรมควบคุมโรคกำหนด หรือ
  2. รถตู้ผลิตจากโรงงาน ไม่เกิน 11 ที่นั่ง ไม่มีห้องน้ำ เป็นไปตามมาตรฐานความปลอดภัยด้านสุขอนามัย (Amazing Thailand Safety and Health Administration: SHA) ของการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย

กรณีที่ 2 ด่านพรมแดนทางบก (แวะพัก)

หมายเหตุ
  1. รถมินิบัส/ รถบัสมีห้องน้ำ (วิ่งระยะทางไกล) ต้องมี 2 ประตู
  2.  แยกพนักงานขับรถกับผู้โดยสาร ให้ปฏิบัติตามมาตรฐานความปลอดภัยด้านสุขอนามัย (Amazing Thailand Safety and Health Administration: SHA) ของการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย
  3. ต้องมีพนักงานขับรถอย่างน้อย 2 คน
  4. รถโดยสารสามารถจอดเติมน้ำมัน/ จอดพักรถได้โดยต้องแจ้งจุดพักรถมายังกรมสนับสนุนบริการสุขภาพให้รับทราบด้วย

กรณีที่ 3 ด่านพรมแดนทางบก ประเภทเที่ยวบินเช่าเหมาลำ (Charter Flight)

หมายเหตุ
  1. รถพยาบาล (Ambulance) ต้องมีมาตรฐานตามที่สถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติ หรือสถาบันบำราศนราดูร กรมควบคุมโรคกำหนด หรือ
  2. รถตู้ผลิตจากโรงงาน ไม่เกิน 11 ที่นั่ง ไม่มีห้องน้ำ เป็นไปตามมาตรฐานความปลอดภัยด้านสุขอนามัย (Amazing Thailand Safety and Health Administration: SHA) ของการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย
  3. เครื่องบินเช่าเหมาลำ (Charter Flight) ตามสำนักงานการบินพลเรือนแห่งประเทศไทยกำหนด

ข่าว/บทความล่าสุด
เนื้อหาอ่านล่าสุด