ข่าวสุขภาพ
ข่าวสุขภาพทั่วไป ข่าวธุรกิจสุขภาพไทย ข่าว/กิจกรรม/สาระ รพ.ต่างๆ ข้อมูลบริการ รพ.ต่างๆ สาระความรู้สุขภาพ กิจกรรม ESG CSR Health Economy บริจาครพ.ต่างๆ
น่าสนใจไทยแลนด์
About us เผยแพร่เนื้อหา สถิติเว็บไซต์ สำรวจความเห็นสุขภาพ โฆษณา
healthserv.net@gmail.com

ปวดหลังเรื้อรังมีความเสี่ยง โรคกระดูกสันหลังอักเสบยึดติด

เป็นกลุ่มโรคข้ออักเสบที่มีการอักเสบของกระดูกสันหลังร่วมกับมีการอักเสบของข้ออื่น ๆ ของร่างกาย เมื่อเป็นไปนานๆ จะมีกระดูกงอกออกมาเชื่อมกระดูกสันหลัง ข้อสะโพกให้ติดกัน เกิดความพิการตามมา

โรคข้อสันหลังอักเสบติดยึด เป็นกลุ่มโรคข้ออักเสบที่มีการอักเสบของกระดูกสันหลังร่วมกับมีการอักเสบของข้ออื่น ๆ ของร่างกาย เมื่อเป็นไปนาน ๆ จะมีกระดูกงอกออกมาเชื่อมกระดูกสันหลัง ข้อสะโพกให้ติดกัน เกิดความพิการตามมา
 
สาเหตุของโรค

สาเหตุของโรคนี้ไม่เป็นที่ทราบแน่ชัด แต่พบว่ามีส่วนเกี่ยวข้องกับพันธุกรรม

ผู้ใดบ้างที่มีโอกาสเป็นโรค  โรคนี้พบได้ตั้งแต่เด็กถึงผู้ใหญ่ พบในเพศชายมากกว่าเพศหญิงประมาณ 10-20 เท่า โดยเฉพาะช่วงอายุ 20-30ปี
 
อาการและอาการแสดงของโรค  ผู้ป่วยจะมีอาการปวดหลังเรื้อรัง ติดต่อกันนานกว่า 3 เดือน
 
มีอาการมากในตอนเช้า และอาการจะดีขึ้นเมื่อมีการเคลื่อนไหวหรือได้ออกกำลังกาย เมื่อกระดูกสันหลังอักเสบนาน ๆ จะมีหินปูนมาจับบริเวณกระดูกสันหลัง ทำให้กระดูกสันหลังเชื่อมติดกัน หลังจะแข็ง ก้มไม่ได้ ในบางรรายอาจมีการเชื่อมกันของกระดูกซี่โครง ทำให้หายใจลำบาก อาจมีการอักเสบของข้ออื่น ๆ ร่วมด้วย เช่น ข้อเข่า ข้อสะโพก หรือมีการอักเสบของเส้นเอ็น เช่น เส้นเอ็นร้อยหวาย เส้นเอ็นฝ่าเท้า บางรายเมื่อเป็นนาน ๆ อาจมีอาการนอนกระบบข้อ เช่น ปอดอักเสบ หรือหัวใจอักเสบได้
 
การวินิจฉัยโรค

แพทย์จะอาศัยการซักประวัติ ร่วมกับ การตรวจร่างกาย การถ่ายภาพรังสีมีประโยชน์ในการช่วยการวินิจฉัย โดยจะพบการอักเสบและเชื่อมติดกันของข้อ โดยเฉพาะกระดูกกระเบนเหน็บ และกระดูกสันหลัง

การรักษา
 
การรักษาทางยา 
โดยส่วนใหญ่แพทย์จะให้ยาแก้ปวดลดการอักเสบที่ไม่ใช่สเตียรอยด์ เพื่อบรรเทาอาการปวด ทำให้ผู้ป่วยเคลื่อนไหวดีขึ้นและสามารถทำกายบริหารได้ ปัจจุบันได้มียาในกลุ่มใหม่ ๆ ที่อาจช่วยให้โรคสงบได้ แต่มีราคาค่อนข้างแพง ผลข้างเคียงมาก ต้องรับประทานติดต่อกันเป็นเวลานาน แต่ก็ยังไม่ได้รักษาโรคให้หายขาด
 
การบริหารร่างกาย
มีความสำคัญมาก นอกจากจะทำให้ข้อเคลื่อนไหวได้ดีแล้ว ยังช่วยป้องกันข้อติดอีกด้วย ขณะบริหารอาจปวดมากขึ้น แต่ต้องพยายามอดทนบริหารต่อไป ควรเปลี่ยนอิริยาบถบ่อย ๆ ให้ข้อได้เคลื่อนไหว
ปฏิบัติตัวให้ถูกสุขลักษณะ  โดยต้องพยายามให้หลังตรงอยู่เสมอ เช่น ควรนั่งพิงพนักหลังตรง ยืนเดินให้หลังตรง ควรนอนหงายบนพื้นแข็ง ไม่ควรนอนตะแคง และไม่ควรหนุนหมอนสูงเพราะทำให้คอก้มมากเกินไป

การผ่าตัด
เช่น ผ่าตัดใส่ข้อสะโพกเทียม ข้อเข่าเทียม ผ่าตัดกระดูกสันหลังเพื่อแก้ไขอาการหลังโก่ง
 
โรคนี้จะมีการดำเนินของโรคอยู่นานประมาณ 10 ปี ในระยะนี้ผู้ป่วยจะมีอาการปวดหลังเรื้อรัง เมื่อเป็นไปนาน ๆ จนกระดูกเชื่อมติดกัน อาการปวดจะลดลง แต่จะเกิดความพิการตามมา โดยเฉพาะอาการคอแหงนไม่ได้ หลังโก่ง สะโพกงอ ซึ่งถ้าเกิดข้อติดผิดรูปขึ้นแล้ว การรักษามักจะได้ผลไม่ค่อยดีนัก ดังนั้นถ้าสามารถรักษาอย่างถูกต้องตั้งแต่เริ่มแรก ถึงแม้ว่าจะไม่สามารถรักษาให้โรคหายขาดได้ แต่ก็จะช่วยบรรเทาอาการและลดความพิการที่อาจเกิดตามมาในภายหลัง
 
ด้วยความปรารถนาดีจาก ศูนย์ศัลยกรรมกระดูกและข้อ รพ.วิภาวดี
 

ข่าว/บทความล่าสุด
เนื้อหาอ่านล่าสุด