คอเลสเตอรอลเป็นไขมันที่พบได้ในเลือด ซึ่งมีแหล่งที่มา 2 ที่ คือ ภายในร่างกายคนสามารถสังเคราะห์ได้ที่ตับ และ ภายนอก จากอาหารที่รับประทานเข้าไปในแต่ละวัน เช่น ไข่แดง เนื้อสัตว์ นมสัตว์ เนย ถ้ามีคอเลสตอรอลในเลือดสูง จะไปเกาะที่ผนังหลอดเลือดมีลักษณะเป็นตะกรัน (plaque) ทำให้ผนังหลอดเลือดมีการอักเสบและทำให้เกิดภาวะหลอดเลือดแดงแข็ง เมื่อมีการสะสมเพิ่มมากขึ้นจะทำให้หลอดเลือดมีการตีบ เช่น หลอดเลือดหัวใจและหลอดเลือดสมอง ทำให้เกิดกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดและกล้ามเนื้อหัวใจตาย ทำให้เสียชีวิตได้
ชนิดของไขมันในเลือดมี 4 ชนิด
คลอเลสตอรอล (Total Cholesterol)
เป็นสารประเภทไขมัน ร่างกายสามารถสังเคราะห์ขึ้นได้ ปกติค่าโคเลสเตอรอลในเลือดไม่ควรเกิน 200 มิลลิกรัมต่อเลือด 1 เดซิลิตร ถ้ามีมากเกินไปจะก่อให้เกิดภาวะเส้นเลือดแข็งตัวและตีบตัน
ไตรกลีเซอไรด์ (Triglyceride)
เป็นไขมันที่ร่างกายสังเคราะห์ขึ้นจากตับและลำไส้เล็ก และจากอาหาร สาเหตุของไตรกลีเซอไรด์สูง มาจากการรับประทานอาหารที่มีไขมันหรือขนมหวานในปริมาณมาก จากโรคต่าง ๆ เช่น โรคเบาหวาน โรคไต เกิดจากกรรมพันธุ์ ดื่มสุราเป็นประจำ การขาดการออกกำลังกาย ระดับไตรกลีเซอไรด์ที่เหมาะสมคือ ไม่ควรเกิน 150 mg/ดล
เอชดีแอล คอลเลสเตอรอล (HDL-C)
ไขมันในเลือดชนิดดี ช่วยลดการตีบตันของหลอดเลือด สร้างขึ้นได้เองที่ตับและลำไส้เล็ก ไขมันชนิดนี้สามารถเพิ่มระดับได้ โดยการออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ และการงดสูบบุหรี่ ค่า HDL ควรมากกว่า 60 มก/ดล
แอลดีแอล คลอเลสเตอรอล (LDL-C)
ไขมันชนิดร้าย ถ้า LDLมากเกินไปจะไปเกาะอยู่ตามผนังหลอดเลือดและพอกพูนจนทำให้เหลอดเลือดแดงแคบลง ค่าปกติ 130 - 160 มก/ดล และผู้ที่เป็นโรคหลอดเลือดหัวใจ ควรให้ต่ำกว่า 100 มก/ดล
โคเลสเตอรรอลมาจากไหน
- 1 ใน 3 ได้รับมาจากอาหาร ไขมันจากอาหารที่กินเข้าไปจะถูย่อยและส่งไปที่ตับแล้วส่งต่อไปทั่วร่างกาย
- 2 ใน 3 ร่างกายสร้างขึ้นเองที่ตับของเรา ตับจะสร้างโคเลสเตอรรอลที่ร่างกายต้องการเพื่อช่วยขนส่งไขมันไปยังส่วนต่าง ๆ ของร่างกาย
อันตรายจากโคเลสเตอรรอล
- หลอดเลือดแดงปกติ
- เริ่มมีโคเลสเตอรรอลจับที่ผนังหลอดเลือดด้านใน
- ไขมันสะสมมากขึ้นจนเริ่มก่อตัวเป็นคราบจนอาจเกิดหัวใจวายเฉียบพลันและโรคหลอดเลือดสมอง
- โคเลสเตอรรอลจับตัวเป็นคราบที่ใหญ่ขึ้นจนกระทั่วหลอดเลือดแดงอาจถูกปิดกั้นทั้งหมด ก่อให้เกิดลิ่มเลือดอุดตันเฉียบพลันและเกิดหัวใจวายเฉียบพลัน
โคเลสเตอรรอลและไตรกลีเซอไรด์ ก่อให้เกิดคราบไขมัน (Plaque)
- สมอง เกิดหลอดเลือดสมองตีบเป็นอัมพฤกษ์ อัมพาต
- หัวใจ หลอดเลือดหัวใจตีบ กล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลัน
- ไต หลอดเลือดไตอุดตัน เกิดไตวาย
- ขา เลือดไปเลี้ยงขาไม่สะดวก เกิดอาการปวดขาเวลาเดิน
อาหารที่ควรหลีกเลี่ยง
ได้แก่ อาหารไขมันสูงโดยเฉพาะอย่างยิ่งไขมันชนิดอิ่มตัวและโคเลสเตอรรอล
- เนื้อสัตว์ที่ติดมัน เบคอน ไส้กรอก
- ตับ สมองสัตว์ เครื่องในสัตว์
- ไข่แดง (กินเฉพาะไข่ขาวได้)
- หอยนางรม ปลาหมึก กุ้ง ไข่ปลา
- ชีส ครีม เนย
- เค้ก คุกกี้ โดนัท
- อาหารทอด และอาหารที่ปรุงจากน้ำมันหมู น้ำมันปาล์ม น้ำมันมะพร้าว กะทิ
ปริมาณโคเลสเตอรรอล ในอาหารบางชนิด
อาหารส่วนที่กินได้ 100 กรัม ปริมาณโคเลสเตอรรอล (มิลลิกรัม)
- ไก่, อก ไม่ติดมัน 63
- เป็ด, เนื้อ 82
- วัว, เนื้อ 65
- ปลากะพงขาว 69
- ปลาทูน่า 51
- กุ้งกุลาดำ 175
- ปลาหมึกกล้วย, ตัว 251
- ไข่ไก่, ทั้งฟอง 508
- ซึ่โครงหมู 105
- เนื้อปู 145
*ที่มา: กองโภชนาการ กรมอนามัย
ผู้ที่ควรตรวจวัดระดับไขมันในเลือดได้แก่
- ชายอายุ 45 ปีขึ้นไป หญิงอายุ 55 ปีขึ้นไป
- มีประวัติครอบครัว คือ พี่ น้อง เป็นโรคหัวใจขาดเลือด
- ความดันโลหิต เท่ากับหรือมากกว่า 140/90 มม. ปรอท
- ดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮล์
- โรคเบาหวาน
- สูบบุหรี่
- มีภาวะอ้วนลงพุง
- ผู้ที่ป่วยเป็นโรคหัวใจและหลอดเลือด เช่น โรคหัวใจขาดเลือด อัมพาต อัมพฤกษ์
วิธีการควบคุมระดับไขมัน
- ควบคุมอาหาร เลือกใช้น้ำมันพืชปรุงอาหาร เลือกปรุงอาหารด้วยวิธีนึ่ง
- ควบคุมน้ำหนักตัวไม่ให้อ้วนลงพุง เช่น รอบเอวมากกว่า 36 นิ้ว ในผู้ชาย 32 นิ้วในผู้หญิง
- การออกกำลังกายอย่างเหมาะสม
- รับประทานยาอย่างสม่ำเสมอ ในรายที่ระดับไขมันสูงมาก
- รักษาโรคประจำตัวที่มีปัญหาไขมันสูงและโรคที่เป็นปัจจัยเสี่ยงต่อภาวะหลอดเลือดแข็ง เช่น โรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูง