Endocannabinoid system (ECS) เป็นระบบทางสรีรวิทยาที่พบทั่วไปในร่างกาย ทั้งในระบบประสาทส่วนกลางและระบบส่วนปลายโดย ECS มีบทบาทสำคัญต่อการควบคุมการกินอาหาร น้ำหนักตัว และกระบวนการเมแทบอลิซึมในร่างกาย ทั้งนี้เพื่อรักษาสมดุลของพลังงานในร่างกาย endocannabinoids หรือ endogenous cannabinoids หมายถึง สารที่ร่างกายสร้างขึ้นและสามารถจับกับ cannabinoid receptor (CB receptor) ซึ่ง endocannabinoids ที่สำคัญในร่างกาย ได้แก่ anandamide (arachidonylethanolamide; AEA) และ 2-arachidonoyl-glycerol (2-AG) ECS มีบทบาทสำคัญต่อการควบคุมสมดุลของพลังงานในร่างกาย ผ่านทางการควบคุมของระบบประสาทส่วนกลางต่อการกินอาหาร และผ่านทางการควบคุมของระบบส่วนปลายต่อการสร้างไขมัน การจับของ endocannabinoid ที่ CB1 receptor ในระบบประสาทส่วนกลางจะมีบทบาทต่อการควบคุมการกินอาหาร ความอิ่ม ความเจ็บปวด ความจำ การติดยา และการเคลื่อนไหว นอกจากนี้ การจับของ endocannabinoid ที่ CB1 receptor ที่อวัยวะรอบนอก เช่น ตับ กล้ามเนื้อ ทางเดินอาหาร เนื้อเยื่อไขมัน และ Islets of Langerhans ของตับอ่อน มีบทบาทต่อการควบคุมกระบวนการเมแทบอลิซึมของไขมันและกลูโคส เพื่อรักษาสมดุลของพลังงานในร่างกาย ในขณะที่การจับของ endocannabinoid ที่ CB2 receptor ในระบบภูมิคุ้มกัน ไม่มีบทบาทควบคุมการกินอาหาร แต่มีผลควบคุมการหลั่ง cytokine ในระบบภูมิคุ้มกัน ผลการทดลองทั้งในสัตว์ทดลองและในมนุษย์แสดงความสัมพันธ์ของภาวะอ้วนกับการทำงานที่มากเกินของ ECS โดยพบ ECS ที่ผิดปกติในภาวะน้ำตาลในเลือดสูงด้วย เช่น ผู้ป่วยโรคเบาหวานชนิดที่ 2 มีปริมาณ endocannabinoids ใน serum สูงกว่าผู้ที่มีระดับน้ำตาลในเลือดปกติ ภาวะ ECS ทำงานมากเกินของไม่เพียง แต่กระตุ้นการสะสมไขมันในเซลล์ไขมัน แต่ยังสัมพันธ์กับภาวะดื้อต่ออินซูลิน glucose intolerance ระดับ triglycerides ในเลือดสูง อีกทั้งระดับ HDL-C ในเลือดต่ำ ซึ่งทั้งหมดเป็นปัจจัยเสี่ยงที่นำไปสู่การเกิด cardiometabolic diseases
Endocannabinoid system (ECS)
วิมล พันธุเวทย์
สาขาวิชาชีวเภสัชศาสตร์ คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ
Corresponding author: wimon@swu.ac.th
จุดเริ่มต้นและการค้นพบ Endocannabinoid System LINK
จุดเริ่มต้นมาจากปี ค.ศ. 1964 โดยนักเคมีชื่อ Rapheal Machoulam และทีมวิจัยจากสถาบันวิทยาศาสตร์ไวซ์แมนประเทศอิสราเอล ได้สกัดสารประกอบต่างๆในกัญชาเรียกว่าสาร Cannabiniods แยกเป็นหลายชุดและฉีดแต่ละชุดเข้าไปในลิงเพื่อค้นหาสารสำคัญที่ออกฤทธิ์ต่อจิตประสาท จนได้พบสารชุดหนึ่ง เมื่อฉีดเข้าไปในลิงที่ปรกติจะมีความก้าวร้าวกลับสงบลงอย่างมีนัยยะสำคัญ และนั่นเป็นจุดเริ่มต้นของการค้นพบสารสำคัญในกัญชาชื่อว่า Delta-9-tetrahydrocannabinol หรือ △9-THC ที่เรารู้จักกันทุกวันนี้นั่นเอง การค้นพบ THC ของ Machoulam นั้น ก่อให้เกิดการค้นพบสาร Cannabinoids ในกัญชาต่างๆเพิ่มมากขึ้น มีงานวิจัยออกมาอีกมากมาย แต่นักวิทยาศาสตร์ยังคงไม่สามารถเข้าใจระบบการทำงานที่ซับซ้อนของ Cannabinoid ได้เพราะยังขาดตัวแปลสำคัญ จนกินเวลาไปเกือบ 30 ปี จึงได้มีการค้นพบครั้งสำคัญขึ้นอีกครั้ง
ในปี ค.ศ.1991 Miles Herkenham และทีมวิจัย ได้ค้นพบตัวรับสารสื่อประสาท (Receptor) ของ THC ในร่างกายมนุษย์ชื่อว่า CB1 ทีมวิจัยได้พบต่อมรับสารสื่อประสาทนี้ในระบบสำคัญสำหรับการทำงานของสมองและร่างกายคือ Hippocampus (ความจำ), Cerebral Cortex (การรับรู้), Cerebellum (การทำงานรวมกันของระบบประสาทเพื่อให้เกิดการเคลื่อนไหวของร่างกาย), Hypothalamus (ความต้องการพื้นฐานเช่น ความหิว การสืบพันธุ์ และ การพักผ่อน), Amygdala (อารมณ์) และที่อื่นๆ ไม่นานหลังจากนั้นได้ค้นพบตัวรับสารสื่อประสาทตัวที่สอง ชื่อว่า CB2 ในระบบภูมิคุ้มกันและระบบประสาทส่วนปลายและยังพบใน กระเพาะ ม้าม ตับ หัวใจ ไต กระดูก เส้นเลือด เซลล์น้ำเหลือง ต่อมไร้ท่อต่างๆ และ อวัยวะสืบพันธุ์
การค้นพบ CB1 และ CB2 ทำให้นักวิทยาศาสตร์เชื่อว่า ร่างกายมนุษย์เองก็น่าจะสามารถผลิตสารสื่อประสาทที่ทำงานกับตัวรับ CB1 และ CB2 แบบเดียวกันกับกัญชาได้ และ Raphael Machoulam บิดาแห่ง THC ก็ได้ค้นพบ Cannabinoids ที่ร่างกายสามารถผลิตขึ้นมาได้เอง ชื่อว่า Anandamide (อนันดามายด์) ในปี ค.ศ.1992 และได้ค้นพบสารตัวที่สองชื่อว่า 2-AG (2-arachidonoylglycerol) ในปี ค.ศ.1995 และเรียกระบบการทำงานของสาร Cannabinoids กับสาร CB1 และ CB2 ที่กระจายอยู่ทั่วร่างกายว่า “Endocannabinoid System”
[Cannabit Addict]
หน้าที่ของ ECS
มนุษย์มีระบบตัวรับสารแคนนาบินอยด์โดยเฉพาะ เช่นเดียวกับกรณีของระบบโอปิ ออยด์ที่ตอบสนองต่อสารโอปิออยด์ต่างๆ (มอร์ฟีน โคเดอีน) ส่วนระบบเอ็นโดแคนนาบินอยด์ (ECS) ประกอบไปด้วยตัวรับสารแคนนาบินอยด์ (CB) และส่งผลต่อกิจกรรมของระบบร่างกายต่าง ๆ มากมาย สารไฟโตแคนนาบินอยด์ ในต้นกัญชาทำงานเช่นเดียวกับเอ็นโดแคนนาบินอยด์ที่ผลิตขึ้นเองในร่างกาย
สมองของมนุษย์และอวัยวะอื่นๆ มีตัวรับสารแคนนาบินอยด์ (CB) ที่เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติ และสารเคมีที่จับกับตัวรับเหล่านั้น เราเรียกระบบนี้ว่า ระบบเอ็นโดแคนนาบินอยด์ของมนุษย์ (ECS) หน้าที่ของ ECS คือการรักษาความสมดุลของร่างกายให้ทำงานเป็นปกติ โดยการควบคุมการทำงานของระบบต่างๆ ระบบนี้มีหน้าที่สำคัญในระบบประสาทของเรา และควบคุมหลาย ๆ กระบวนการทางกายภาพซึ่งรวมถึงการปรับเปลี่ยนอาการตอบสนองต่อความปวด ความอยากอาหาร การย่อยอาหาร การนอน อารมณ์ การอักเสบ และการจดจำ ECS ยังช่วยลดระดับชัก (หรือโรคลมชัก) รวมถึงส่งผลต่อการทำงานร่วมกัน และกระบวนการอื่น ๆ เช่น ระบบภูมิคุ้มกัน การทำงานของหัวใจ ระบบประสาทสัมผัส (การสัมผัส ความสมดุล การรับรู้พื้นที่) การเจริญพันธุ์ สรีระของกระดูก และระบบตอบสนองต่อความเครียดส่วนกลาง (HPAA) การพัฒนาระบบประสาท และความดันลูกตา
ในร่างกายมนุษย์สามารถสร้างสารแคนนาบินอยด์เองได้ คือสารเอ็นโดแคนนาบินอยด์ สารชนิดนี้สามารถออกฤทธิ์หรือกระตุ้นตัวรับแคนนาบินอยด์ ซึ่งมีกลไกการทำงานเช่นเดียวกับสารไฟโตแคนนาบินอยด์ ซึ่งจับกับตัวรับเหล่านั้น
สารแคนนาบินอยด์ที่ได้จากพืชมีชื่อเรียกว่าสารไฟโตแคนนาบินอยด์ ซึ่งเป็นส่วนประกอบเฉพาะที่พบในต้นกัญชา โดยมีสารเตตร้าไฮโดรแคนนาบินอล (THC) และแคนนาบิไดออล (CBD) เป็นองค์ประกอบหลัก เรายังพบสารแคนนาบินอยด์ชนิดอื่น ๆ แต่ยังไม่มีรายละเอียดที่ชัดเจนในปัจจุบัน
[Cannabit Addict]
กลไกในการออกฤทธิ์ของสารประกอบในกัญชาในร่างกาย LINK
การค้นพบ Endocannabinoid systems ซึ่งเป็นระบบกุญแจสำคัญที่ปลดล้อกนำสารเข้าสู่ร่างกาย ช่วยเพิ่มความก้าวหน้าในการใช้สารกลุ่มนี้เพื่อป้องกันและรักษาความปกติต่างๆ ทางสมองได้ดียิ่งขึ้น รวมทั้งช่วยให้นักวิทยาศาสตร์สามารถเข้าใจกลไกการออกฤทธิ์ของสารกัญชาในกลุ่มนี้ได้มากขึ้นอีกด้วย
Endocannabinoid system (ECS) เป็นระบบทางสรีรวิทยาที่พบทั่วไปในร่างกาย ทั้งในระบบประสาทส่วนกลางและระบบส่วนปลายโดย ECS มีบทบาทสำคัญต่อการควบคุมการทำงานทั้งหมด มีบทบาทสำคัญต่อการควบคุมสมดุลของพลังงานในร่างกาย ผ่านทางการควบคุมของระบบประสาทส่วนกลางต่อการกินอาหาร และผ่านทางการควบคุมของระบบส่วนปลายต่อการสร้างไขมัน
เนื่องจากสารประกอบ cannabinoids ที่อยู่ในกัญชาสามารถใช้ในการรักษาโรคได้ โดยสารที่ออกฤทธิ์หลักที่นำมาใช้ในทางการแพทย์ คือ delta-9-Tetrahydrocannabinol (THC) ที่ออกฤทธิ์ต่อจิตประสาท และ cannabidiol (CBD) ที่ไม่มีฤทธิ์เสพติด สารประกอบ cannabinoids ออกฤทธิ์ผ่าน cannabinoid receptor หลัก 2 ชนิด คือ CB1 receptor ซึ่งพบมากในสมองและร่างกาย มีความสัมพันธ์กับการตัดสินใจ ความจำ ความเข้าใจ อารมณ์ การรับรู้ความปวดและการเคลื่อนไหว ส่วน CB2 receptor พบที่ระบบภูมิคุ้มกัน และระบบประสาทส่วนปลาย ม้าม ทอนซิล ต่อมไทมัส กระดูก ผิวหนัง และเลือด monocyte, macrophages, B-cells และ T-cells
ในร่างกายสามารถสร้าง endocannabinoid ซึ่งเป็น cannabinoids โดยธรรมชาติ (ที่มีการศึกษาส่วนใหญ่ คือ anandamide และ arachidonoyl-glycerol (2-AG)) endocannabinoid ถูกสร้างขึ้น เพื่อกำกับการทำงานต่างๆ ของร่างกายโดยจะไปจับกับ CB1 และ CB2 receptor นอกจากนี้การศึกษาต่างๆ พบว่า endocannabinoids ส่งผลเกี่ยวข้องกับการทำงานของร่างกาย อาทิ ความจำ อารมณ์ ความอยากอาหาร การนอนหลับ ความปวด ความเครียด การติดยา และการอักเสบ รวมถึงอาจมีบทบาทในการป้องกันที่เกี่ยวข้องกับการทางานของสมอง ระบบ metabolism ของร่างกาย อาทิ lipolysis, glucose metabolism และ energy balance
โดย CB1 นั้นจะพบอยู่ในสมองและไขสันหลังส่วน Cortex, nucleus accumbens, basal ganglia, hypothalamus, cerebellum, hippocampus, amygdala and spinal cord ปอด เส้นเลือด กล้ามเนื้อ ทางเดินอาหาร ไขมัน และอวัยวะเพศ
การจับของ endocannabinoid ที่ CB1 receptor ในระบบประสาทส่วนกลางจะมีบทบาทต่อการควบคุมการกินอาหาร ความอิ่ม ความเจ็บปวด ความจำ การติดยา และการเคลื่อนไหว นอกจากนี้ การจับของ endocannabinoid ที่ CB1 receptor ที่อวัยวะรอบนอก เช่น ตับ กล้ามเนื้อ ทางเดินอาหาร เนื้อเยื่อไขมัน และ Islets of Langerhans ของตับอ่อน มีบทบาทต่อการควบคุมกระบวนการเมแทบอลิซึมของไขมันและกลูโคส เพื่อรักษาสมดุลของพลังงานในร่างกาย
CB2 พบในอยู่ในเซลล์เกลีย (Glial cell) ของสมองซึ่งทํางานร่วมกับเซลล์ประสาท ส่วนอวัยวะที่มีทั้ง CB1 และ CB2 ประกอบด้วย ก้านสมอง ระบบภูมิคุ้มกัน ตับ ไขกระดูก และตับอ่อน การจับของ endocannabinoid ที่ CB2 receptor ในระบบภูมิคุ้มกัน ไม่มีบทบาทควบคุมการกินอาหาร แต่มีผลควบคุมการหลั่ง cytokine ในระบบภูมิคุ้มกัน
ระบบ Endocannabinoid ทำการควบคุมระบบต่างๆเหล่านี้ เมื่อร่างกายเกิดอาการผิดปกติ ระบบ endocannabinoid ก็จะพยายามปรับร่างกายสู่การทำงานปกติ หรือร่างกายเสื่อมลงการทำงานเดิมไม่สมบูรณ์ ตัวยากัญชาที่มี cannabinoid ก็จะเข้ามาช่วยทำงานเสริมได้อย่างสมบูรณ์ เนื่องจากเข้าในระบบของเราได้ทันที
- ความจำ
- ความอยากอาหาร
- การนอนหลับ
- ความเครียด
- การปวด
- ระบบความจำ และการเรียนรู้
- การรักษาสมดุลย์ของร่างกาย
- ความวิตกกังวล
- ระบบภูมิคุ้มกัน
- การสืบพันธ์
- การทำงานของกล้ามเนื้อ
- ระบบประสาท และผิวหนัง
- การควบคุมอุณหภูมิ การควบคุมพลังงาน
- อื่นๆ
กลไกในการออกฤทธิ์ของสารประกอบในกัญชาในร่างกายมีความแตกต่างกัน โดย CBD มีสัมพรรคภาพ (affinity) กับ CB1 และ CB2 ต่ำมาก แต่ตัวจับสัญญาณกัญชาสองตัวนี้จะจับกับ THC ได้เป็นอย่างดี และเมื่อออกฤทธิ์ในสมองส่วน rewarding pathway ทําให้เกิดการมึนเมาและเสพติด ส่วน CBD จะไม่จับตัวจับสัญญาณ นอกจากนั้นมันยังไปลดการส่งสัญญาณของ CB1 อีกด้วย ผลลัพธ์ก็คือสมองจะสั่งการให้เพิ่มการปล่อย GABA ซึ่งเป็นสารกดระบบไฟฟ้าของสมองและน่าจะเป็นส่วนหนึ่งของกลไลการช่วยลดปวด ควบคุมลมชัก และลดการกระวนกระวาย ข้อดีอีกอย่างหนึ่งของ CBD ก็คือ ไม่มีผลต่อความคิด ความเฉียบแหลมของสมองและความผิดปกติของการเคลื่อนไหวควบคุมร่างกาย
[]
การทำงานของสารแคนนาบินอยด์ LINK
การทำงานของสารแคนนาบินอยด์
สารแคนนาบินอยด์ออกฤทธิ์ โดยการจับกับตัวรับ CB ที่รับสารนี้โดยเฉพาะ ตัวรับสารแคนนาบินอยด์เป็นหนึ่งในกลุ่มตัวรับที่จับคู่กับ จีโปรตีน (G-protein-coupled receptors) ในปัจจุบันพบว่ามีตัวรับสารแคนนาบินอยด์ 2 ชนิด (CB1 และ CB2) ที่สามารถยืนยันได้
ตัวรับ CB2 ส่วนใหญ่พบได้ ในเซลล์บางชนิดของระบบภูมิคุ้มกัน ระบบทางเดินอาหาร และในอวัยวะที่เกี่ยวข้องกับระบบภูมิคุ้มกัน เช่น ม้าม และต่อมทอนซิล
สารไฟโตแคนนาบินอยด์ THC จะกระตุ้นตัวรับ CB1 และ CB2 ซึ่งส่งผลควบคุมต่อกิจกรรมในระบบกายภาพต่าง ๆ เมื่อเปรียบเทียบกับ THC แล้ว CBD จะมีความสามารถในการจับกับตัวรับ CB น้อยกว่าและทำหน้าที่ยับยั้งกิจกรรมของตัวรับเป็นหลัก
ตัวอย่างเช่น ตัวรับ CB1 มีอยู่ ในพื้นที่สมองหลายส่วนซึ่งควบคุมการทำงานของสมองและพฤติกรรม สารแคนนาบินอยด์มีผลต่อการตอบสนองทางประสาทสัมผัสและและการสั่งการ (การเคลื่อนไหว) อัตราการเต้นของหัวใจ การตอบสนองทางอารมณ์ ความอยากอาหารและอาการคลื่นไส้หรืออาเจียน ความไวต่อความปวด การเรียนรู้ การจดจำและการตัดสินใจขั้นสูง
หากมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการพัฒนาของ ECS ในมนุษย์มากขึ้น เราก็จะสามารถทำความเข้าใจการทำงานของสารไฟโตแคนนาบินอยด์ THC, CBD และสารแคนนาบินอยด์ชนิดอื่น ๆ ได้ดียิ่งขึ้นเช่นกันซึ่งความรู้ความเข้าใจนี้จะนำไปสู่การคิดค้นยาที่ดีขึ้น
[Cannabit Addict]
Tetrahydrocannabinol (THC) LINK
Tetrahydrocannabinol (THC)
สารสำคัญ THC เป็นสารหลักในกัญชาทที่มีองค์ประกอบมีฤทธิ์ทางจิตประสาท มีประสิทธิภาพเป็นยาแก้ปวด นำไปสู่การยอมรับกัญชาอย่างกว้างขวางในฐานะการรักษาทางการแพทย์ เป็นที่นิยมในหมู่ผู้ใช้ทางสันทนาการ และใช้ในการรักษาคนไข้กลุ่มปวดเรื้อรัง ผู้ต้องการลดผลข้างเคียงของเคมีบำบัด ผู้ป่วยลมชัก หรือต้องการเพิ่มความอยากอาหารในกลุ่มผู้ป่วยเรื้อรังหรือ HIV ทั้งนี้ การทำงานของยายังไม่ได้วิจัยในการใช้อย่างปลอดภัยทางเภสัชกรรมเป็นวงกว้างจากความกังวัลถึงผลข้างเคียงต่อจิตประสาท ปัจจุบันมีการค้นพบเกี่ยวกับการใช้ CBD ควบคู่กับ THC เพื่อช่วยต่อต้านอาการหวาดระแวงและผลกระทบทางจิตประสาทได้
THC เป็น psychoactive compound ซึ่งส่วนใหญ่จะจับกับ cannabinoid receptors ซึ่งพบอยู่ 2 กลุ่มหลักคือ CB1 และ CB2 โดย CB1 จะพบมากที่ (1) ระบบประสาทส่วนกลาง (Central nerve system) โดยเฉพาะในส่วน basal ganglia, hippocampus, cerebellum และ cortex ซึ่งสะท้อนกลไกการเกิด psychotropic effect ของ THC ซึ่งเป็นองค์ประกอบหลักในสารสกัดกัญชา และ (2) ในระบบประสาทส่วนปลาย (Peripheral nerve system) ในขณะที่ CB2 receptors จะพบที่เนื้อเยื่อระบบภูมิคุ้มกันของร่างกาย (Immune system)4,5 ดังนั้นจึงมีผลต่อ ความอยากอาหาร การย่อยอาหาร อารมณ์ ความรู้สึก ความจำ การเรียนรู้ และพฤติกรรม นอกจากนี้ยังมีการค้นพบว่าอาจมี receptors อื่นๆ ที่อาจมาทำหน้าที่เช่นเดียวกับ cannabinoids receptors
[สวัสดีคลินิกเวชกรรม]
Cannabidiol (CBD) LINK
Cannabidiol (CBD)
มีความสามารถในการจับกับ CB1 และ CB2 receptors แบบโดยตรงได้เพียงเล็กน้อย แต่มีลักษณะเป็น negative allosteric modulator กับ CB1 receptor ซึ่งส่งผลกับการทำงานกับ receptors อื่นๆ ทำให้สามารถลดอาการปวด อาการอักเสบ และลดความกังวลได้ การค้นพบกลไกการออกฤทธิ์ของสารกลุ่มนี้ รวมถึงการค้นพบ endocannabinoids ซึ่งเป็น endogenous agonists ของ cannabinoids receptors เช่น N-arachidonoyl-ethanolamine (AEA; anandamide) และ 2-arachidonoylglycerol (2-AG)5 ทำให้มีความเข้าใจในกลไกการออกฤทธิ์ของสารกลุ่มนี้รวมถึงผลข้างเคียงมากยิ่งขึ้น และมีการนำมาวิจัยเพื่อประโยชน์ในการรักษาอาการหรือโรคต่างๆ อาทิ อาการปวดเรื้อรัง ปลอกประสาทเสื่อม มะเร็ง โรคลมชัก อาการวิตกกังวล และช่วยกระตุ้นความอยากอาหาร ความผิดปกติด้านการนอน ต้อหิน โรคโครห์นและลำไส้อักเสบ โรคพาร์กินสัน โรคข้ออักเสบรูมาตอยด์ โรคสมาธิสั้น (ADD) และภาวะป่วยทางจิตจากเหตุการณ์รุนแรง (PTSD) ซึ่งแต่ละอาการ ก็มีระดับการตอบสนองที่แตกต่างกัน ผู้ใช้จึงควรอยู่ในการดูแลของแพทย์
Cannabidiol ถูกค้นพบครั้งแรกในปีพ. ศ. 2483 แต่เพิ่งได้รับการอนุมัติจากองค์การอาหารและยาเป็นยาต้านอาการชักไม่นานมานี้ CBD ได้สนใจมากขึ้นอย่างรวดเร็วจากการศึกษาผลลัพย์ต่ออาการโรควิตกกังวล ความเจ็บปวด ตลอดจนกรณีการรักษาด้วยกัญชาและ CBD สามารถใช้ได้ผลกับผู้ป่วย PTSD หรือโรคจิต ที่นำไปสู่การขยายผลิตภัณฑ์ CBD ในตลาดสุขภาพจำนวนมาก
Cannabidiol หรือ CBD เป็นเพียงหนึ่งในสารประกอบที่มีฤทธิ์มากกว่า 100 ชนิดในพืชกัญชาที่ทำหน้าที่เกี่ยวกับระบบเอนโดแคนนาบินอยด์ในร่างกายซึ่งเป็นระบบที่สร้างความสมดุล ซึ่งมีตัวรับในสมองระบบประสาทและระบบภูมิคุ้มกัน พร้อมคุณสมบัติที่เป็นเอกลักษณ์และศักยภาพในด้านสุขภาพการแพทย์จากธรรมชาติ
[สวัสดีคลินิกเวชกรรม]
Cannabinol (CBN) Cannabigirol (CBG) Cannabichromene (CBC) LINK
Cannabinol (CBN)
สารประกอบสำคัญที่มีผลการทำงานเป็นยาช่วยในการนอนหลับ cannabinol มีอยู่เป็นสัดส่วนน้อย และพร้อมใช้งานน้อยกว่า CBD หรือ THC แม้ว่าจะเป็นหนึ่งใน cannabinoids แรกที่ถูกค้นพบ CBN ผลิตขึ้นเมื่อ THC ถูกออกซิไดซ์ซึ่งเป็นสาเหตุที่ทำให้ดอกกัญชาแห้งที่สัมผัสกับออกซิเจนสามารถเป็นแหล่งที่ดีสำหรับการสกัด CBN นอกเหนือจากการเป็นตัวช่วยในการนอนหลับที่มีประสิทธิภาพแล้ว CBN ยังร่วมกับ CBD และ THC ในคุณสมบัติต้านการอักเสบที่มีประสิทธิภาพ การบรรเทาอาการซึมเศร้า และภาวะทางระบบประสาทเช่นโรคลมชักและอัลไซเมอร์
Cannabigirol (CBG)
CBG เป็น cannabinoid ที่มีจำนวนน้อยมาก แต่มีประโยชน์ต่อการรักษาปัญหาที่เกี่ยวข้องกับโรคต้อหิน ภาวะซึมเศร้า และการบรรเทาอาการปวด รวมถึงมีส่วนเสริมความชุ่มชื้นให้ผิวตามธรรมชาติ CBD เป็นสารตั้งต้นทางเคมีให้กับ cannabinoids อื่น ๆ เช่น CBD และ THC เนื่องจากผ่านกระบวนแปรเคมีระหว่างการเจริญเติบโตของพืช ด้วยเหตุนี้จึงมักมีความสัมพันธ์ผกผันระหว่าง CBG ระดับสูงและ THC ระดับต่ำ CBG ไม่ทำให้มึนเมา
CBG ถูกค้นพบว่ามีประสิทธิภาพในการรักษาโรคต้อหินเนื่องจากช่วยลดความดันในลูกตา เป็นยาขยายหลอดเลือด และมีฤทธิ์ป้องกันระบบประสาท ในการทดลองพบว่า CBG มีประสิทธิภาพในการลดลักษณะการอักเสบของโรคลำไส้อักเสบ และ สามารถปกป้องเซลล์ประสาทในหนูที่เป็นโรคฮันติงตันซึ่งมีลักษณะการเสื่อมของเซลล์ประสาทในสมอง รวมถึงมีผลวิจัยเบื้องต้นที่บ่งชี้ว่า CBG อาจสามารถยับยั้งการเติบโตของเซลล์มะเร็งลำไส้ใหญ่และทวารหนัก
Cannabichromene (CBC)
CBC เป็นอีกหนึ่ง cannabinoid ที่ไม่ออกฤทธิ์ต่อจิตประสาทซึ่งแม้จะมีการค้นพบในทศวรรษที่ 1960 แต่ก็ยังไม่ได้รับการศึกษาอย่างละเอียด มีงานศึกษาบางตัวที่ชี้ว่า CBC เพิ่มคุณสมบัติในการบรรเทาอาการปวดของ THC และอาจมีคุณสมบัติในการต้านอาการซึมเศร้าที่มีประสิทธิภาพมากกว่า CBD นอกจากนี้ยังเกี่ยวข้องกับการรักษาอาการคลื่นไส้อาเจียน เป็นเรื่องของการศึกษาทางการแพทย์ต่อไป
สารประกอบอื่นๆ cannabinol (CBN), cannabigerol (CBG) และ cannabichromene (CBC) และการมีปฏิสัมพันธ์กับระบบ endocannabinoid ทั้งหมด ยังอยู่ในขั้นการศึกษาเพื่อดูว่าการนำมาใช้ประโยชน์จะมีผลที่ดีเช่นเดียวกับที่สาร THC ที่มีฤทธิ์ในการรักษาโรคหรือไม่
[สวัสดีคลินิกเวชกรรม]
ประเภทและรูปแบบของกัญชาในปัจจุบัน LINK
ประเภทและรูปแบบของกัญชาในปัจจุบัน
- ยากัญชาทางเภสัชกรรมที่ผลิตสังเคราะห์ อาทิ nabiximols (Sativex®) Sativex ซึ่งเป็นสเปรย์ฉีดจมูกหรือช่องปากได้รับการรับรองในกว่า 24 ประเทศในการรักษาอาการเกร็งเนื่องจากโรคระบบประสาทส่วนกลางเสื่อม และ cannabinoids สังเคราะห์เช่น Dronabinol®
- กัญชาสมุนไพรที่ควบคุมและได้มาตรฐาน (ผลิตภัณฑ์จากพืช) เช่นผลิตภัณฑ์ยาจากองค์การเภสัชกรรม ตำรับยาสมุนไพรที่มีส่วนผสมจากกัญชาโดยการวิจัยในมหาวิทยาลัย และคลินิกที่ถูกกฏหมาย
- กัญชาสมุนไพรที่ไม่ได้รับการควบคุมและผิดกฎหมาย (ผลิตภัณฑ์จากพืช) ซึ่งมีความเข้มข้นของสารสำคัญที่ไม่แน่นอน มีสิ่งสกปรกที่อาจเป็นอันตรายเช่นแบคทีเรียและเชื้อรา
บทความ ภัทรเพ็ญ มโนรมย์ภัทรสาร
[สวัสดีคลินิกเวชกรรม]