☰
ข้อมูลบริการสุขภาพ
ข่าวสุขภาพ
|
โรงพยาบาล
|
justView
×
ข่าวสุขภาพ
โรงพยาบาล [+]
รพ.รายจังหวัด (รัฐ-เอกชน)
รพ.รัฐบาล
รพ.เอกชน
รพ.เอกชน ประกันสังคม
รพ.เอกชน บัตรทอง
รพ.มหาวิทยาลัย
ศูนย์แพทย์มหาวิทยาลัย
สถาบัน/ศูนย์แพทย์
รพ.สังกัดกทม.
ศูนย์สาธารณสุข กทม.
รพ.ศูนย์
รพ.ทั่วไป (จังหวัด)
รพ.ชุมชน (อำเภอ)
รพ.สต.(ตำบล)
รพ.กองทัพ
รพ.สมเด็จพระยุพราช
รพ.จิตเวช
รพ.มะเร็ง
รพ.แพทย์แผนไทย
รพ.รัฐวิสาหกิจ/กระทรวงอื่น
คลินิกรัฐบาล-ศูนย์อนามัย
ข่าวสุขภาพ [+]
ข่าวสุขภาพทั่วไป
ข่าวธุรกิจสุขภาพไทย
ข่าว/กิจกรรม/สาระ รพ.ต่างๆ
ข้อมูลบริการ รพ.ต่างๆ
สาระความรู้สุขภาพ
กิจกรรม ESG CSR
Health Economy
บริจาครพ.ต่างๆ
น่าสนใจไทยแลนด์
About us
เผยแพร่เนื้อหา
สถิติเว็บไซต์
สำรวจความเห็นสุขภาพ
โฆษณา
healthserv.net@gmail.com
@healthserv
อยู่ในอาคารโอกาสติดโควิดสูงพอกัน ไม่ว่าใกล้ไกล แม้จะสวมหน้ากาก
การเปิดหน้าต่างหรือการติดตั้งพัดลมเพื่อให้อากาศมีการเคลื่อนที่ถ่ายเทมากขึ้นนั้น อาจมีประสิทธิภาพมากกว่าระบบกรองอากาศ
Home
/
ข่าว COVID-19
/
Update: 25.04.2564
นักวิจัยชี้อยู่ห่าง 6 หรือ 60 ฟุต มีโอกาสติดโควิดในอาคารเท่ากัน
นักวิจัยชี้อยู่ห่าง 6 หรือ 60 ฟุต มีโอกาสติดโควิดในอาคารเท่ากัน แม้จะสวมหน้ากากอนามัยก็ตาม
สำนักข่าวซีเอ็นบีซี รายงานว่า ศาสตราจารย์มาร์ติน บาแซนท์และศาสตราจารย์จอห์น บุชจากสถาบันเทคโนโลยีแมสซาชูเซตส์ (MIT) ของสหรัฐเปิดเผยผลการวิจัยระบุว่า ความเสี่ยงต่อการติดเชื้อไวรัสโควิด-19 ภายในอาคารนั้นเท่ากัน ไม่ว่าบุคคลจะอยู่ห่างกัน 6 (1.83 เมตร) หรือ 60 ฟุต (18.29 เมตร) แม้จะสวมหน้ากากอนามัยก็ตาม และระบุว่า ความเสี่ยงดังกล่าวจะอยู่ในระดับต่ำในพื้นที่ซึ่งมีการถ่ายเทอากาศได้ดี
ผลการวิจัยดังกล่าวเท่ากับเป็นการท้าทายคำแนะนำที่ใช้กันทั่วโลกที่ให้ประชาชนเว้นระยะห่างทางสังคมราว 6 ฟุต (six-foot rule) เพื่อป้องกันการติดเชื้อโควิด-19
ศาสตราจารย์บาแซนท์และศาสตราจารย์บุชได้พัฒนาแบบจำลองเพื่อคำนวณความเสี่ยงจากการติดเชื้อไวรัสโควิด-19 ภายในอาคารโดยพิจารณาจากระยะเวลาที่อยู่ภายในอาคาร, การกรองและการไหลเวียนของอากาศ, การสร้างภูมิคุ้มกัน, ไวรัสสายพันธุ์ต่างๆ และการใช้หน้ากากอนามัย รวมไปถึงกิจกรรมต่างๆ ที่มีการสูดอากาศเข้าสู่ร่างกาย เช่น การหายใจ, การรับประทานอาหาร, การพูด หรือการร้องเพลง
ทีมงานวิจัยระบุว่า กฎ 6 ฟุตนั้นไม่ได้มีพื้นฐานสนับสนุนทางกายภาพ เพราะอากาศที่บุคคลสูดหายใจเข้าไปในขณะที่สวมหน้ากากอนามัยนั้นมีแนวโน้มที่จะเคลื่อนที่ขึ้นและลงอยู่ภายในห้อง ดังนั้นบุคคลจึงมีความเสี่ยงที่จะติดเชื้อโควิด-19 จากอากาศรอบๆ ตัวมากกว่าจากการเว้นระยะห่างระหว่างบุคคล
นอกจากนี้ การวิจัยระบุว่า การเปิดหน้าต่างหรือการติดตั้งพัดลมเพื่อให้อากาศมีการเคลื่อนที่ถ่ายเทมากขึ้นนั้น อาจมีประสิทธิภาพมากกว่าการใช้จ่ายเงินจำนวนมากเพื่อติดตั้งระบบกรองอากาศใหม่
ผลการวิจัยนี้บ่งชี้ให้เห็นว่า หากพื้นที่ใดที่มีการระบายอากาศอย่างเหมาะสม พื้นที่นั้นๆ ก็สามารถทำให้เป็นสถานที่ซึ่งปลอดภัยได้ แม้ว่าจะมีจำนวนคนเต็มความจุของสถานที่ก็ตาม
กรุงเทพธุรกิจ
25 เมย 64
A guideline to limit indoor airborne transmission of COVID-19
- Martin Z. Bazant and View ORCID ProfileJohn W. M. Bush
A method to assess Covid-19 transmission risks in indoor settings
- MIT
COVID-19 Indoor Safety Guideline
- Kasim Khan, John W. M. Bush, and Martin Z. Bazant
MIT researchers say you’re no safer from Covid indoors at 6 feet or 60 feet in new study challenging social distancing policies
- CNBC
Distancing isn't helping you: Indoor COVID-19 exposure risk same at 6, 60 feet, MIT researcher says
- Becker's Healthcare
ข่าว/บทความล่าสุด
ดันนโยบาย 1 จังหวัด 1 โรงพยาบาล เลิกบุหรี่และบุหรี่ไฟฟ้า
ไทยตั้งเป้า ลดเจ็บ-ตายจากอุบัติเหตุทางถนนลงร้อยละ 50 ภายในปี 2573 ตามปฏิญญาสตอกโฮล์ม
4 มาตรการคุมแอลกอฮอล์ ปีใหม่ 2568 เน้นย้ำ “ขับไม่ดื่ม ดื่มไม่ขับ”
รพ.บุรีรัมย์ พบผู้ป่วยปอดอักเสบรุนแรง ไอเป็นเลือด สาเหตุจากสูบบุหรี่ไฟฟ้า
BDMS Wellness Clinic ส่งเสริมองค์ความรู้ด้าน Preventive Medicine
บำรุงราษฎร์ ร่วมฉลองความสำเร็จงาน FNM 2024 ย้ำศักยภาพการแพทย์ระดับโลกของไทย
Timeless Living & Longevity สะท้อนแนวคิด อยู่อาศัยผสานดูแลสุขภาพองค์รวม
รวมข้อควรรู้เกี่ยวกับ ‘การผ่าตัดไขมันกระพุ้งแก้ม’ เทคนิคศัลยกรรมที่ช่วยปรับรูปหน้าให้เรียว กระชับขึ้น
จดหมายเปิดผนึก สภาเภสัชกรรม กรณีแพทยสภาฟ้องศาลปกครอง โครงการเจ็บป่วยเล็กน้อย ๑๖ อาการ
แถลงการณ์แพทยสภา กรณีการฟ้องศาลปกครอง โครงการเจ็บป่วยเล็กน้อย ๑๖ อาการ
กทม.ประกาศพบสัตว์ป่วยโรคพิษสุนัขบ้า บริเวณศูนย์กำจัดขยะอ่อนนุช86
บำรุงราษฎร์ รับรางวัล Outstanding Company Performance Awards ปีที่2
เครือข่ายพยาบาลมหิดล ประชุมนานาชาติ รับมือภาวะโรคซ้ำซ้อน มกราคม 2568
Durex ทำถึง ใช้คาราวานตุ๊กตุ๊ก โปรโมตถุงยางทั่วกรุงเทพฯ
ปัญหาดื้อโบใหญ่โตระดับโลก
[ ทั้งหมด]
เนื้อหาอ่านล่าสุด
กรมทางหลวง มอบที่ดิน 105 ไร่ รพ.มหาราชนครราชสีมา เตรียมขยายรับอนาคต
9 วิธี ดูแลผู้สูงอายุสุขภาพดี
เกษตรกร เชียร์รัฐแก้ปัญหาหมูทั้งระบบ ขอเร่งเยียวยา-หาสินเชื่อช่วยเกษตรกร
ครม.สัญจรอนุมัติหลักการ งบ 359 ลบ.โครงการบริบาลคุ้มครองสิทธิผู้สูงอายุในชุมชน ภาคอีสาน
รวมโลโก้ครบรอบปี โรงพยาบาลตากสิน เอกลัษณ์ผ่านการออกแบบที่สวยงาม
[update] การรับยาทางไปรษณีย์ โรงพยาบาลชลบุรี
คลินิกเครือข่ายประกันสังคม โรงพยาบาลบางปะกอก 3
รายชื่อโรงพยาบาลที่มีหน่วยตรวจตา (Refraction unit) ปี 2565 จำนวน 133 แห่ง
รถเคลื่อนที่ Mobile Stroke Unit รักษาผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง
จริงหรือที่เราควรเลิกดื่มนมวัว
เขตบางกอกใหญ่ : กำหนดการหน่วยเคลื่อนที่ฉีดวัคซีนป้องกันโรคพิษสุนัขบ้า ปี 2566
ถอดรหัสพันธุกรรมตรวจหามะเร็ง ด้วยการแพทย์จีโนมิกส์
อาการปวดคอ... แก้ไขได้ ด้วยการบริหารที่ถูกวิธี
การบริหาร...สำหรับผู้ป่วยโรคหัวใจ
ข้อเสนอเชิงนโยบาย กฎหมายว่าด้วยการกระทำความผิดต่อเด็กผ่านสื่อออนไลน์
[ทั้งหมด]
🔝