24 พค 64 สมาคมโรคตับแห่งประเทศไทยสมาคมโรคตับแห่งประเทศไทย (Thai Association for the Study of the Liver (THASL)) ได้ออกประกาศ "คำแนะนำเรื่องการฉีดวัคซีน COVID-19" ให้ข้อมูลคำแนะนำสำหรับผู้ป่วยโรคตับประเภทต่างๆ ผู้ป่วยโรคตับแข็ง ผู้ป่วยมะเร็งตับ ผู้ป่วยที่ปลูกถ่ายตับ ผู้ป่วยโรคตับอักเสบเรื้อรังจากไวรัสตับอักเสบปีหรือชี ฯลฯ ซึ่งเป็นข้อมูลที่เป็นประโยชน์อย่างยิ่ง รายละเอียดดังนี้
คำแนะนำเรื่องการฉีดวัคซีน COVID-19 โดยสมาคมโรคตับแห่งประเทศไทย
วัคซีน COVID-19 ช่วยลดความรุนแรงและโอกาสเสียชีวิตจากการป่วยด้วยโรค COVID-19 ทั้งในคนทั่วไปและผู้ป่วยโรคตับทุกชนิด
ปัจจุบันยังไม่มีข้อมูลว่าวัคชีน COVID-19 ใดดีกว่ากันทั้งในคนปกติและผู้ป่วยโรคตับ สำหรับวัคซีนของ AstraZeneca ใช้ไวรัสที่ไม่แบ่งตัว จึงไม่นำเกิดข้อเสียจากการฉีดวัคซีน
ผู้ที่สูงอายุ อ้วน และผู้ที่มีโรคเรื้อรัง เช่น เบาหวาน ความดันโลหิตสูง โรคปอด หอบหืด ไตวายเรื้อรัง รวมทั้งโรคตับอักเสบเรื้อรัง ตับแข็ง มะเร็งตับ ผู้ป่วยที่ได้รับยากดภูมิ และผู้ป่วยภายหลัง
ปลูกถ่ายตับมีความเสี่ยงสูงที่จะเกิดโรค COVID-19 ที่รุนแรงและมีโอกาสเสียชีวิตสูงกว่าคนปกติ
ผู้ป่วยโรคตับประเภทต่างๆ และโรคตับแข็งระยะต้นควรฉีดวัคซีน COVID-19 โดยเฉพาะอย่างยิ่งผู้ปวยโรคตับแข็งระยะกลางและระยะท้าย มะเร็งตับ และผู้ป่วยภายหลังปลูกถ่ายตับที่มีอาการคงที่ เนื่องจากมีโอกาสเสี่ยงที่จะเกิดโรค COVID-19 ที่รุนแรงมากขึ้น ผลข้างเคียงของวัคซีนมีโอกาสเกิดขึ้นได้น้อยเมื่อเทียบกับความรุนแรงของโรค ยกเว้นผู้ปวยที่มีประวัติแพ้วัคซีนควรปรึกษาแพทย์ก่อน คนใกล้ชิดในครอบครัวก็ควรฉีดวัคซีน COVID-19 เช่นกัน
ผู้ป่วยกายหลังปลูกถ่ายตับควรฉีดวัคซีน COVID-19 หลังปลูกถ่ายตับอย่างน้อย 3 เดือนขึ้นไป (หรืออย่างเร็วสุดคือ 1 เดือนหลัง ปลูกถ่ายตับ ขึ้นกับดุลยพินิจของแพทย์ผู้ดูแล)
ผู้ป่วยโรคตับอักเสบเรื้อรังจากไวรัสตับอักเสบปีหรือชี ตับอักเสบจากการแพ้ภูมิ มะเร็งตับ และภายหลังปลูกถ่ายตับที่ได้รับยารักษา ไม่จำเป็นต้องหยุดยาต้านไวรัส การรักษาโรคนั้นๆ หรือยากดภูมิ ก่อนและระหว่างฉีดวัคซีน COVID-19
ผู้ปวยโรคตับแข็งที่มีเกล็ดเลือดต่ำหรือเลือดแข็งตัวช้า ควรกดตำแหน่งที่ฉีดยาไว้ 1-2 นาที หลังฉีดวัคซีน COVID-19
ผู้ป่วยโรคตับที่ฉีดวัคซีน COVID-19 แล้วมีไข้ สามารถรับประทานยาลดไข้พาราเซตามอลตามขนาดยาที่ดูกต้องและเหมาะสมได้
ในขณะนี้ ข้อมูลของวัคซีน COVID-19 ในผู้ที่มีอายุต่ำกว่า 18 ปียังอยู่ระหว่างการศึกษา แต่มีแนวโน้มที่วัคซีนจะช่วยป้องกันการติดเชื้อ COVID-19 และลดความรุนแรงของโรค COVID-19 ได้เช่นเดียวกัน
สมาคมโรคตับแห่งประเทศไทย
24 พฤษภาคม 2564