จากการประชุมคณะอนุกรรมการขับเคลื่อนวัคซีน กระทรวงสาธารณสุข วันที่ 3 พ.ค. 2564 ได้กำหนดแนวทางหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไข การจ่ายเงินช่วยเหลือเบื้องต้น กรณีได้รับความเสียหาย หรือได้รับผลกระทบ จากการรับวัคซีนป้องกันโรคโควิด 19 ดังนี้
ที่มาของเงิน
- เป็นเงินที่ได้รับตาม พรก.กู้เงิน สำหรับแก้ไขปัญหา เยียวยา และฟื้นฟูเศรษฐกิจและสังคม ที่ได้รับผลกระทบจากการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (ไม่ใช่เงินกองทุน มาตรา 41)
- วงเงิน 100.32 ล้านบาท
- เป็นการช่วยเหลือเบื้องต้นแก่ คนไทยทุกสิทธิ ที่ได้รับความเสียหายจากการรับวัคซีน
- เป็นวัคซีนที่ฉีดตามแผนงาน โครงการหรือกิจกรรมการป้องกันและขจัดโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนาจากรัฐโดยไม่เสียค่าใช้จ่าย ไม่รวม วัคซีนทางเลือกที่ให้บริการโดยสถานบริการเอกชนที่เรียกเก็บเงินจากผู้รับบริการ
การพิจารณาและดำเนินการ
กระบวนการพิจารณาการจ่ายเงินช่วยเหลือเบื้องต้น ดังนี้
1. ผู้รับบริการที่ได้รับความเสียหายจากการได้รับวัคซีน ยื่นคำร้องกับหน่วยรับคำร้อง ได้แก่
- หน่วยบริการ
- สสจ.
- สปสช.เขตพื้นที่
2. เรื่องเข้าสู่คณะอนุกรรมการเขต 13 คณะ
เป็นการวินิจฉัยขั้นต้น
3. ส่งเลขาธิการ สปสช. (กก.กลั่นกรอง)
4. หากไม่เห็นด้วย จะส่งเรื่องต่อยังกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ แจ้งผลวินิจฉัยอุทธรณ์กับผู้รับบริการ
ผู้รับบริการสามารถยื่นอุทธรณ์กับเลขาธิการ สปสช.ได้
ผลการพิจารณา
ผลการพิจารณา 2 กรณี
1. กรณีพบเป็นความเสียหายจากวัคซีน
- เสียชีวิต จ่ายไม่เกิน 400,000 บาท
- พิการ จ่ายไม่เกิน 240,000 บาท
- เจ็บป่วยต่อเนื่อง จ่ายไม่เกิน 100,000 บาท
2. กรณีไม่ใช่ความเสียหายจากวัคซีน
ไม่จ่ายเงินช่วยเหลือ
ที่มา: จากการประชุมคณะอนุกรรมการขับเคลื่อนวัคซีน กระทรวงสาธารณสุข วันที่ 3 พ.ค. 2564
กองเศรษฐกิจสุขภาพและหลักประกันสุขภาพ ส านักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข
รายงาน