ข่าวสุขภาพ
ข่าวสุขภาพทั่วไป ข่าวธุรกิจสุขภาพไทย ข่าว/กิจกรรม/สาระ รพ.ต่างๆ ข้อมูลบริการ รพ.ต่างๆ สาระความรู้สุขภาพ กิจกรรม ESG CSR Health Economy บริจาครพ.ต่างๆ
น่าสนใจไทยแลนด์
About us เผยแพร่เนื้อหา สถิติเว็บไซต์ สำรวจความเห็นสุขภาพ โฆษณา
healthserv.net@gmail.com

บัตรทองหนุนช่วย ผู้ป่วยโควิดที่รักษาตัวที่บ้าน (Home isolation) จ่ายค่าอุปกรณ์ ค่าอาหารวันละ 1000

บัตรทองหนุนช่วย ผู้ป่วยโควิดที่รักษาตัวที่บ้าน (Home isolation) จ่ายค่าอุปกรณ์ ค่าอาหารวันละ 1000 Thumb HealthServ.net
บัตรทองหนุนช่วย ผู้ป่วยโควิดที่รักษาตัวที่บ้าน (Home isolation) จ่ายค่าอุปกรณ์ ค่าอาหารวันละ 1000 ThumbMobile HealthServ.net

นำร่องที่โรงพยาบาลราชวิถีและวันนี้ (29 มิ.ย. 2564) จะมีการประชุมโรงพยาบาลเพื่อเตรียมพร้อมขยายระบบดังกล่าวไปทั่วประเทศ

บัตรทองหนุนช่วย ผู้ป่วยโควิดที่รักษาตัวที่บ้าน (Home isolation) จ่ายค่าอุปกรณ์ ค่าอาหารวันละ 1000 HealthServ
    สปสช.สนับสนุนแนวทางการรักษาผู้ป่วยโควิดที่บ้าน (Home isolation) จ่ายค่าอุปกรณ์วัดไข้ เครื่องวัดออกซิเจนสำหรับให้คนไข้ไปใช้ที่บ้าน 1,100 บาท พร้อมค่าอาหาร 3 มื้อ ไม่เกิน 1,000 บาท/วัน ย้ำระบบนี้ไม่ใช่การผลักให้ผู้ป่วยไปเผชิญชะตากรรมที่บ้าน แต่ยังดูแลเหมือนอยู่ในโรงพยาบาลเพียงแต่ย้ายไปดูแลที่บ้านเพราะตอนนี้ผู้ป่วยเยอะ เตียงไม่พอ
 
นพ.จเด็จ ธรรมธัชอารี เลขาธิการสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) เปิดเผยว่า จากสถานการณ์การระบาดของโรคโควิด-19 ที่ขณะนี้มีจำนวนคนไข้ปริมาณมาก จำนวนผู้ป่วยที่รักษาหายกับที่เข้ามาใหม่ไม่สมดุลกันทำให้เตียงว่างมีไม่พอ การเพิ่มโรงพยาบาลสนามไม่ทันกับการเพิ่มจำนวนของคนไข้ในช่วงนี้ และสิ่งสำคัญคือบุคลากรทางการแพทย์ที่ทำงานหนักมาหลายเดือนอยู่แล้วมีไม่พอ
 
ด้วยเหตุนี้จึงมีการนำแนวทางการรักษาผู้ป่วยโควิด-19 ที่บ้าน หรือ Home isolation เข้ามาใช้เพื่อให้จำนวนบุคลากรที่มีสามารถดูแลผู้ป่วยในปริมาณมากๆ ได้ โดยขณะนี้มีการนำร่องที่โรงพยาบาลราชวิถีและวันนี้ (29 มิ.ย. 2564) จะมีการประชุมโรงพยาบาลเพื่อเตรียมพร้อมขยายระบบดังกล่าวไปทั่วประเทศ

Home isolation และการช่วยเหลือ

นพ.จเด็จ กล่าวว่า ระบบ Home isolation ของไทยนี้จะต่างจากของต่างประเทศ ซึ่งต่างประเทศจะให้คนไข้ดูแลตัวเองทุกอย่าง แต่ระบบของไทยจะยังอยู่ในการดูแลของโรงพยาบาล มีการให้อุปกรณ์วัดไข้ เครื่องวัดออกซิเจนไปที่บ้านเพื่อวัดค่าต่างๆ มีแพทย์โทรศัพท์หรือวิดีโอคอลตรวจสอบอาการทุกวัน มีการส่งอาหารและน้ำให้วันละ 3 มื้อ หากอาการทรุดลงก็จะส่งยาฟ้าทะลายโจรและยาฟาวิพิราเวียร์ไปให้ที่บ้านหรือส่งรถไปรับมานอนที่โรงพยาบาล
 
ดังนั้น ระบบของไทยจึงไม่ใช่การผลักผู้ป่วยให้ไปเผชิญชะตากรรมเดียวดายอยู่ที่บ้าน แต่ดูแลเหมือนอยู่ในโรงพยาบาลเพียงแต่เปลี่ยนสถานที่เป็นที่บ้าน ซึ่งคนไข้ที่จะทำแบบนี้ก็ไม่ได้ทำกับผู้ป่วยทั้งหมดแต่ขึ้นอยู่กับการประเมินของแพทย์และลักษณะบ้านว่ามีความเหมาะสมที่จะกักตัวได้หรือไม่
 
"สปสช.เราจะสนับสนุนค่าบริการให้แก่โรงพยาบาลตั้งแต่ค่าตรวจหาเชื้อ ค่ารักษา ค่ายา และยังจะสนับสนุนค่าอุปกรณ์ไม่เกิน 1,100 บาท และค่าดูแลผู้ป่วยรวมอาหาร 3 มื้อ ไม่เกิน 1,000 บาท/วัน เป็นเวลา 14 วันให้ด้วย สิ่งที่เรากลัวคือท่านไม่อยู่บ้านแต่ออกมาข้างนอก แต่คนไข้ที่จะทำแบบนี้ก็ต้องมีการแนะนำแนวทางการปฏิบัติตัวกันระดับหนึ่งเพื่อให้ปฏิบัติตามกฎและอยู่บ้านจริงๆ เราคิดว่าถ้ามีการส่งอาหารส่งน้ำให้ทุกวันก็ไม่น่าจะมีเหตุผลอะไรให้ออกจากบ้าน ส่วนอาหารจะส่งยังไงขึ้นอยู่กับการบริหารจัดการของโรงพยาบาล เช่น ประกอบอาหารจากโรงครัวแล้วส่งให้ผู้ป่วยที่บ้าน หรืออาจสั่งซื้ออาหารจากร้านค้าแล้วใช้บริการจัดส่งอาหารไปส่งให้ผู้ป่วยก็ได้" นพ.จเด็จ กล่าว

Community isolation แยกกักเฉพาะในชุมชน

ทั้งนี้ นอกจากการทำ Home isolation ในบางสถานที่ที่มีผู้ติดเชื้อหลายคนก็อาจทำเป็นลักษณะ Community isolation ก็ได้ คือนำผู้ป่วยหลายๆ คนไปดูแลในสถานที่ที่จัดไว้เป็นการเฉพาะในชุมชน เช่น ในโรงงาน ในวัด เป็นต้น มีรถเอกซเรย์ รถแล็บไปตรวจ มีแพทย์ใช้ระบบ teleconference ดูแลสอบถามอาการทุกวัน ทาง สปสช.ก็จะสนับสนุนค่าใช้จ่ายให้เช่นเดียวกัน
 
"ดังนั้น หลักการคือดูแลเสมือนอยู่ในโรงพยาบาล มีอุปกรณ์ให้ มีระบบการดูแลติดตามอาการทุกวัน และมีการส่งข้าว ส่งน้ำให้ 3 มื้อ นอกจากนี้แล้วก็ไม่ได้หมายความว่า ถ้าตรวจพบเชื้อแล้วจะให้ไปอยู่บ้านทันที อาจจะเข้าไปรักษาตัวในโรงพยาบาลก่อน 7 วัน พอเชื้อในตัวหมดลง อาการดีขึ้นก็กลับไปดูแลตัวเองที่บ้านให้ครบ 14 วันก็ได้ และแนวทางนี้ก็ไม่ได้หมายความว่าจะทำตลอดไปแต่เอามาใช้ในสถานการณ์ที่เตียงเริ่มมีความตึงตัวเท่านั้น" นพ.จเด็จ กล่าว

ข่าว/บทความล่าสุด
เนื้อหาอ่านล่าสุด