โรคสมาธิสั้นเป็นโรคที่เด็กมีความผิดปกติที่สำคัญ 3 ด้าน คือ อาการขาด สมาธิพฤติกรรมหุนหันพลันแล่น และอยู่ไม่นิ่งหรือซนผิดปกติการปรับตัวเข้ากับผู้อื่นได้ไม่ดี พบทั่วโลก อัตราความชุกของโรคสมาธิสั้นทั่วโลกอยู่ที่ประมาณร้อยละ 3 – 5 สำหรับประเทศไทยพบจำนวนเด็กที่มีอาการโรคสมาธิสั้นอยู่ประมาณร้อยละ 5 – 8 [
กรมสุขภาพจิต] อาการของสมาธิสั้น ก็อย่างที่พบเห็นและรับโดยทั่วไปทางกายภาพ เช่น ไม่อยู่นิ่ง ไม่นั่งติดที่ ชอบเดินไปมา ชอบวิ่ง ปีนป่าย เล่นมาก เล่นผาดโผน เล่นแรง ไม่รู้เหน็ดเหนื่อย พูดเร็ว พูดไม่หยุด ฯลฯ และอาการทางพฤติกรรม เช่น ไม่ทนรอคอย หุนหัน ทำเร็ว ตกหล่น สับเพร่า เหม่อลอย ทำอะไรนานๆ ไม่ได้ ทำอะไรๆไม่เสร็จ วอกแวกง่าย ฯลฯ เป็นต้น
ทางการแพทย์ ชี้ว่า โรคสมาธิสั้นเกิดจากสมองส่วนหน้าที่มีหน้าที่ควบคุมเรื่องการสมาธิจดจ่อ การยับยั้งชั่งใจและการเคลื่อนไหวของร่างกาย ทำงานน้อยกว่าเด็กปกติ เหตุเพราะสารสื่อประสาทหลั่งออกมาน้อยกว่าคนปกติ [
มหิดล]
สาเหตุ
ปัจจุบันยังไม่มีการอธิบายสาเหตุการเกิดโรคสมาธิสั้นที่ระบุได้ ชัดเจน ผลวิจัยปัจจุบันพบว่า เด็กที่เป็นโรคสมาธิสั้นจะมีความบกพร่อง ของสมองส่วนหน้า (Prefrontal lobes) ที่ไม่สามารถทำหน้าที่เกี่ยวกับ การแก้ปัญหาสร้างสมาธิการใช้เหตุผลการวางแผน และการทำงานตาม ขั้นตอนได้เหมือนสมองของเด็กปกติอีกทั้งยังพบว่าผู้ที่เป็นสมาธิสั้นยังมี ขนาดของโครงสร้างทางสมองแตกต่างจากคนทั่วไป รวมถึงมีปริมาณสารเคมีที่สำคัญบางตัว (Dopamine, Norepinephrine) ในสมองน้อยกว่าเด็กปกติโดยมีการถ่ายทอดทางกรรมพันธุ์
การรักษาเด็กที่เป็นโรคสมาธิสั้น ที่ได้ผลที่สุด คือการรักษาแบบผสมผสาน บนความร่วมมือของทุกฝ่าย ตั้งแต่แพทย์ พ่อแม่ และคุณครู ทั้งการปรับพฤติกรรม การปรับมุมมอง ปรับวิธีการเลี้ยงดู แนวทางการช่วยเหลือในห้องเรียน และร่วมกับการใช้ยา ตามความจำเป็น
เทคนิคการสื่อสารกับเด็กสมาธิสั้น
1. สื่อสารเพื่อความจริงจัง เพื่อลดการใช้โทนเสียงดังและการพูดซ้ำย้ำ โดยไม่เกิดอะไรขึ้น ให้เปลี่ยนรูปแบบ การสื่อสารแบบ Passive คือ ผู้ปกครองนั่งอยู่กับที่แล้วพูดคุยกับเด็ก เป็นแบบ Active คือ การเดินเข้าหาเด็กเพื่อเกิดความจริงจังและเมื่อถึงตัวเด็กให้สัมผัสตัวเด็ก หรือเรียกชื่อเด็กให้ รู้ตัว
2. การสื่อสารเพื่อการประเมินความพร้อม เมื่อเด็กรู้ตัวแล้วอย่ารีบใช้คำสั่งหรือบอกให้เด็กทำตามเพราะจะเป็นการทำลายสมาธิ เด็กขณะที่เขาทำกิจกรรมยังไม่เสร็จ โดยเริ่มจากการพูดคุยถึงเรื่องราว หรือรายละเอียดของ กิจกรรมที่เด็กกำลังมีสมาธิอยู่ หรือทำกิจกรรมที่ต่อเนื่องอยู่นั้น เป็นการสร้างสัมพันธภาพ รวม ถึงความรู้สึกได้รับความใส่ใจและความสำคัญในกิจกรรมที่ทำที่ได้รับจากผู้ปกครองคำพูดสำคัญ ในขั้นตอนนี้ที่จะส่งต่อไปยังการสื่อสารขั้นตอนต่อไป คือ “เสร็จจากนี้เราจะทำอะไรต่อ”
3. การสื่อสารฝึกการตัดสินใจ เป็นสิ่งที่จะทำต ่อเนื่องจากกิจกรรมที่สร้างสมาธิจนเสร็จแล้ว มีเป้าหมายหรือ กิจกรรมอะไรทำต่อไปอีก เป็นการฝึกให้เด็กคิดเชื่อมโยงกิจกรรมในปัจจุบันไปยังกิจกรรมใน อนาคต มีการสื่อสารย่อย 3 รูปแบบ คือ รูปแบบที่ 1 คำถามปลายปิด รูปแบบที่ 2 คำถามที่มี 2 ตัวเลือก รูปแบบที่ 3 คำถามปลายเปิด
4. การสื่อสารเพื่อสร้างกติกาและเงื่อนไข ประกอบด้วยการกำหนดแผน ระยะเวลา ความรับผิดชอบ รูปแบบการกำกับวินัย การกระตุ้นแรงจูงอย่างสม ่ำเสมอ และการกำหนดเป้าหมายที่ชัดเจน โดยใช้หลักการและเทคนิคทางจิตวิทยา การให้รางวัล การงดรางวัล การฝึกทำ ตารางกิจกรรมในแต่ละวัน บันทึกข้อตกลงร่วมกันมาบูรณาการในการฝึกเด็กให้ทำตามเงื่อนไข
5. การชมเชย (Affirmation) -หลักการสื่อสารเมื่อทำกิจกรรมสำเร็จตามการตัดสินใจของเด็ก และเงื่อนไขที่ตกลง ร่วมกัน โดยมีองค์ประกอบของการชมดังนี้
5.1. ใช้คำพูดชื่นชมเด็กเมื่อทำสำเร็จ เช่น เก่งมาก ดีมาก สุดยอด เพื่อสร้างแรงจูงให้ เด็กอยากทำพฤติกรรมนั้นอีก
5.2. บอกพฤติกรรมที่เด็กทำได้สำเร็จเป็นรูปธรรม เช่น ทำการบ้านเสร็จ รักษาเวลาใน การเล่นเกม หรือวาดรูปสวย ต่อเลโก้เป็นรูปปราสาท เป็นต้น ตัวอย่างคำชมเชยเช่น ลูกเก่งมากที่ทำการบ้านจนเสร็จลูกเป็นคนที่รักษาคำพูดและ รักษาเวลาได้ดีเยี่ยมเลย
คำแนะนำสำหรับครูในการดูแลเด็กสมาธิสั้น
พญ. อัจฉรา ตราชู สาขาจิตเวชศาสตร์เด็กและวัยรุ่น
รพ.สมิติเวช ให้คำแนะนำสำหรับครูในการช่วยเหลือเด็ก สมาธิสั้น ดังนี้
- จัดให้เด็กนั่งหน้าหรือใกล้ครูให้มากที่สุดในขณะสอน
- จัดให้เด็กนั่งให้ไกลจากประตู หน้าต่าง
- เขียนการบ้านหรืองานที่เด็กต้องทำในชั้นเรียนให้ชัดเจนบนกระดานดำ
- ตรวจสมุดจดงานของเด็กเพื่อให้แน่ใจว่าเด็กจดงานได้ครบ
- อย่าสั่งงานให้เด็กทำ พร้อมกันทีเดียวหลายอย่าง ให้เด็กทำงานเสร็จทีละอย่าง ก่อนให้คำสั่งต่อไป
- คิดรูปแบบวิธีเตือนหรือเรียกให้เด็กกลับมาสนใจบทเรียนโดยไม่ให้เด็กเสียหน้า
- เพิ่มงานที่ใช้แรงสำหรับกลุ่มที่อยู่ไม่นิ่ง เช่น เพิ่มเวลาเล่นกีฬา มอบหมายหน้าที่ให้ลบกระดาน ช่วยครูแจกงาน ให้ทำกิจกรรมที่ใช้แรง ให้เป็นนักกีฬาวิ่งเร็ว เป็นต้น
- ชมหรือรางวัลเมื่อเด็กทำตัวดีหรือทำสิ่งที่เป็นประโยชน์ทันที
- หลีกเลี่ยงการตำหนิ ว่ากล่าวรุนแรง หรือทำให้อาย ขายหน้า หรือการลงโทษทางร่างการ(ตี)เมื่อเด็กทำผิด
- เมื่อเด็กทำผิดพลาด ควรใช้วิธีการตัดคะแนน งดเวลาพัก ทำเวร หรืออยู่ต่อหลังเลิกเรียน(เพื่อทำงานที่ค้างอยู่ให้เสร็จ)
- ให้เวลากับเด็กนานขึ้นกว่าเด็กปกติระหว่างการสอบ
วิธีบำบัดเด็กสมาธิสั้น
พญ.ศุภรา เชาว์ปรีชา จิตแพทย์ และแพทย์ที่ปรึกษา รพ.วิภาวดี แนะนำวิธีบำบัดเด็กสมาธิสั้น ไว้ดังนี้
- อย่าเปิดทีวี ให้มีเสียงดังจนเกินไป หรือสภาพแวดล้อมในบ้านต้องไม่วุ่นวายหรือมีการทะเลาะกันบ่อยครั้ง
- หามุมสงบสำหรับเด็ก เพื่อให้เกิดสมาธิในการทำการบ้าน
- ฝึกฝนวินัยให้เด็ก สร้างกรอบกฎเกณฑ์ มีตารางเวลาชัดเจน ไม่ปล่อยละเลยหรือตามใจจนทำให้เด็กติดเกม
- มีการสื่อสารที่สั้น กระชับ ชัดเจน หากไม่แน่ใจให้เด็กทบทวนว่าสิ่งที่สั่งสอนไปคืออะไรบ้าง
- มีความเข้าใจในพฤติกรรมของเด็กสมาธิสั้นอย่างจริงจังและจริงใจ
- จัดสภาพแวดล้อมในบ้านให้เกิดความมีระเบียบ ไม่ปล่อยให้บ้านรกรุงรัง
- อย่าทำให้เด็กรู้สึกว่าตนเองมีปมด้อย
- ไม่ควรจับกลุ่มให้เด็กสมาธิสั้นอยู่ใกล้ชิดกับเด็กที่มีปัญหาแบบเดียวกัน เพราะจะทำให้กลายเป็นเด็กที่เกเรก้าวร้าวได้
- ส่งเสริมจุดแข็งข้อดีในตัวเด็ก เพื่อให้เด็กรู้สึกดี และเกิดความภาคภูมิใจในตัวเอง
- จัดกิจกรรมที่สร้างสรรค์ให้ได้ใช้เวลาว่างอย่างมีประโยชน์ และใช้พลังงานส่วนเกินอย่างเหมาะสม รวมถึงเป็นการฝึกสมาธิไปในตัว เช่น ออกกำลังกาย หรือเล่นดนตรี ตามที่เด็กสนใจ “สุขภาพใจ” ของเด็กๆ มีความสำคัญต่อพัฒนาทางอารมณ์และจิตใจของเด็ก ผู้ปกครองควรอย่างใกล้ชิด แล้วอนาคตของชาติ ก็จะสดใสทั้งกายและใจได้ไม่ยาก”