ชุดตรวจแอนติเจนของเชื้อ (Antigen Test Kit, ATK)
ข้อดี
- ใช้เวลาไม่นาน ช่วยลดการรอคอยการตรวจพันธุกรรมของเชื้อ (RT-PCR)
- ถ้าชุดตรวจมีคุณภาพและตรวจได้ถูกต้อง มีผลบวกลวง (false positive) คือไม่มีเชื้อแต่ตรวจ ATK ได้ผลบวก น้อยมาก คือถ้าตรวจได้ผลบวก โอกาสเป็นโควิด 19 สูงมาก
- ถ้าตรวจได้ผลบวก ช่วยแยกผู้ป่วยออกจากผู้ไม่ป่วยได้เร็ว ทำให้ลดการกระจายเชื้อ
ข้อเสีย
- ถึงชุดตรวจมีคุณภาพและตรวจได้ถูกต้อง ยังมีผลลบลวง (false negative) คือมีเชื้อแต่ตรวจ ATK ได้ผลลบ ค่อนข้างมากโดยเฉพาะในผู้ที่ไม่มีอาการ ถ้าชุดตรวจไม่ได้คุณภาพและตรวจไม่ถูกต้อง ยิ่งมีโดยโอกาสได้ผลลบลวงมากขึ้น
- ผู้ที่ตรวจได้ผลลบอาจชะล่าใจคิดว่าตัวเองไม่มีเชื้อโรค ทำให้ยิ่งแพร่กระจายเชื้อ
ปัญหาสำหรับผู้ที่ตรวจ ATK ได้ผลบวก
- พบผู้ป่วยมากขึ้น แต่ระบบรองรับหลังจากที่ได้ผลบวกไม่พอ
- ผู้ทีไม่มีอาการหรืออาการน้อย ใช้ผลตรวจ ATK เป้นบวก เข้าระบบแยกตัวที่บ้าน (home isolation) ได้เลย แต่ถ้าอยู่บ้านไม่ได้ต้องแยกตัวในชุมชน (community isolation) ก็ต้องตรวจ RT-PCR เพื่อยืนยันก่อน เป็นปัญหาให้การแยกตัวได้ล่าช้าไปอีก แล้วยังต้องให้ไปตระเวณหาตรวจ RT-PCR ให้แพร่กระจายเชื้อในที่ตรวจอีก
- ถ้ามีอาการมากหรือรุนแรง ตอนนี้ต้องให้มีการตรวจ RT-PCR เพื่อยืนยัน ทำให้ยังเป็นคอขวดในระบบบริการ เพราะหาที่ตรวจ RT-PCR ไม่ได้หรือกว่าจะได้ก็ใช้เวลาหลายวัน รอผลอีก ได้ผลบวกแล้วก็ต้องรอเตียงอีก เป็นปัญหาให้ผู้ป่วยได้รับการรักษาล่าช้าไปอีก แล้วยังต้องให้ไปตระเวณหาตรวจ RT-PCR ให้แพร่กระจายเชื้อในที่ตรวจอีก
ส่วนตัวคิดว่าถ้าผล ATK เป็นบวกแล้ว น่าจะให้การรักษา COVID-19 ไปก่อนเลย ไม่ต้องรอผล RT-PCR รวมถึงถ้ามีอาการมากต้องนอน รพ.ควรให้เข้าระบบคิวของการรักษาไปได้เลย ระหว่างรอเตียงถ้ามีระบบให้ทำ Chest X-ray ระหว่างรอ admit จะดีมาก ๆ แล้วเมื่อได้รับ admit ค่อยมาตรวจ RT-PCR ถ้ากลัวว่าอาจเป็นผลบวกลวง ก็แยกกลุ่มนี้ไว้ในที่พักคอย เหมือนคนไข้ PUI หรือให้สวม PPE ไว้ก่อนจนกว่าจะได้ผล RT-PCR ผู้ป่วยจะได้รับการรักษาได้เร็วขึ้นครับ
บางครั้งในภาวะวิกฤติการระบาดที่รุนแรงแบบนี้ เราอาจต้องยอมรับความเสี่ยงของกลุ่มที่มีผลบวกลวงซึ่งพบน้อยมาก ที่อาจจะถูกให้อยู่ร่วมกับผู้ที่เป็นโรคแล้วติดโรค ซึ่งน่าจะมีวิธีการป้องกันกลุ่มนี้ด้วย DMHTT ในขณะที่รอผล RT-PCR ในที่แยกตัวหรือใน รพ. รวมทั้งอาจได้รับการรักษาโดยไม่จำเป็น เพื่อรักษาความอยู่รอดของระบบและคนส่วนใหญ่ครับ
พล.อ.ท.นพ.อนุตตร จิตตินันทน์
ประธานราชวิทยาลัยอายุรแพทย์แห่งประเทศไทย
24 กรกฎาคม 2564
แนวคิด-ความเห็น-ข้อเสนอแนะต่อประเด็น
จากข้อเขียนดังกล่าว มีการให้ข้อมูลเพิ่มเติม รวมถึงแสดงความเห็นและเสนอแนะทางออกของปัญหาคอขวดและการได้รับการรักษาล่าช้าได้อย่างน่าสนใจ
ถ้า rapid Ag ให้ผลบวกแล้วเป็นกลุ่มเสี่ยงหรือมีอาการ ควรมีทางเลือกที่ใช้การทำ chest X-ray แทน RT-PCR ในการยืนยันเพื่อรับไว้ใน รพ น่าจะดีกว่าครับ ไม่ติดคอขวด และยังไงก็ต้องประเมินเรื่อง pneumonia อยู่แล้วด้วยครับ คนไข้จะได้รับการรักษาเร็วขึ้น
ถ้าทำได้ก็ดีเลยครับ แต่ผมไม่แน่ใจว่าจะมี mobile CXR ไปได้แค่ไหน เพราะถ้าเข้าในระบบของ รพ.แล้ว จะถูกนัดคิวมาเพื่อ X-ray ประเมินในการ admit ครับ
จากประสบการณ์คนใกล้ชิดหลายคนที่ติดเชื้อ ตอนนี้หาที่ตรวจ RT-PCR ยากมากครับ และถ้าไม่มีผลตรวจจะไม่สามารถเข้าระบบพิจารณารับไว้ใน รพ ได้เลยครับ หลายคนมี SaO2 ต่ำลงถึง 77 บ้าง 83 บ้าง ยังดีได้เครือข่ายภาคประชาชน/มูลนิธิต่าง ๆ จัดหาเครื่องผลิตออกซิเจนไปให้ใช้ก่อนครับ ถ้าสามารถตรวจ chest X-ray ที่ รพ ซักที่นึงก่อนได้จะช่วยได้มากครับอาจารย์
เดี๋ยวผม add ความเห็นเรื่อง chest X-ray เพิ่มเติมครับ ที่อยากให้มีคือไม่ต้องรอตรวจ RT-PCR ให้การรักษาไปเลย แล้วเข้าระบบเพื่อ admit ระหว่างรอก็ควรทำ chest X-ray ไว้ก่อนครับ
ตอนนี้พอตรวจเจอผลบวก ระบบรองรับไม่ไหว แถมแนะนำให้ไปตรวจ RT-PCR ที่ รพ.ปกส.อีกทั้งๆ ที่ไม่สามารถตรวจให้เค้าได้ พอจะไปตรวจแลปนอกยอมเสียตังค์ก็ไม่ให้อีก บอกต้องไปตรวจ รพ.ตามระบบ เฮ้อ !สงสารคนไข้จริงๆค่ะ จิตตกเลย พอดีเมื่อวานเพื่อนมาปรึกษาน่ะค่ะเจอปัญหา
ใช่ครับ กลายเป็นไม่ได้ช่วยแก้ปัญหาอะไร คนยังขวนขวายมารอคิดตรวจ RT-PCR อยู่เลย
เห็นด้วยมากค่ะอาจารย์เมื่อวานรับเคสโทรปรึกษาที่ OPD เรื่องยากดภูมิ เป็นเคส SLE, contact case positive, คนไข้ antigen positive, มีอาการ COVID ชัดเจน (จมูกไม่ได้กลิ่น) เริ่มเหนื่อย ต้องหาที่ทำ RT-PCR ถึงจะเข้าระบบได้ เลยต้องนัดให้คนไข้มาทำที่รามาวันนี้
ใช่เลยครับ ที่จริงเวลาเรารักษาคนไข้ ก็ไม่มีอะไรที่มี specificity 100% นะครับ ผมว่าไม่ควรเอา test อย่างเดียวมาเป็นการวินิจฉัย น่าจะต้องเอา clinical ด้วย อย่างเคสที่มีประวัติ contact และมีอาการชัดเจนนี่ น่าจะวินิจฉัยได้เลยนะครับ
ที่ฉะเชิงเทรา ถ้า pneumonia COVID Ag positive คือ admit รักษาเลยครับไม่รอผล PCR
ในหลายจังหวัดทำแบบนั้นครับ แต่ใน กทม.ยังไม่ได้ รวมถึงแนวทางของกระทรวงก็ออกมาให้ตรวจ RT-PCR ก่อน หลายแห่งก็เลยต้องให้ตรวจก่อนครับ
กำลังจะซื้อมาใช้เองเลยค่ะ
ต้องเลือกที่ได้รับการรับรองนะครับ แล้วถ้าไม่มีอาการหรือไม่มีประวัติเสี่ยงจริง ๆ ก็อย่าตรวจเลย
ปัญหาเรืองการจัดสรรยาอีกนะครับอ. มีข้อจำกัด อยากให้สั่งได้ง่ายกว่านี้ครับบางเคสทั้งบ้านเป็นจะสั่งให้คนอื่นในบ้านที่มีอาการก็ต้องรอหรือมีผลตรวจยืนยันอีก
ติดตามและร่วมแสดงความคิดเห็นได้ที่โพสต์