ข่าวสุขภาพ
ข่าวสุขภาพทั่วไป ข่าวธุรกิจสุขภาพไทย ข่าว/กิจกรรม/สาระ รพ.ต่างๆ ข้อมูลบริการ รพ.ต่างๆ สาระความรู้สุขภาพ กิจกรรม ESG CSR Health Economy บริจาครพ.ต่างๆ
น่าสนใจไทยแลนด์
About us เผยแพร่เนื้อหา สถิติเว็บไซต์ สำรวจความเห็นสุขภาพ โฆษณา
healthserv.net@gmail.com

สธ.แนะ 4 มาตรการลดติดเชื้อ หวั่นติดเชื้อจะพุ่งหลังเปิดกิจการกิจกรรม

สธ.แนะ 4 มาตรการลดติดเชื้อ หวั่นติดเชื้อจะพุ่งหลังเปิดกิจการกิจกรรม Thumb HealthServ.net
สธ.แนะ 4 มาตรการลดติดเชื้อ หวั่นติดเชื้อจะพุ่งหลังเปิดกิจการกิจกรรม ThumbMobile HealthServ.net

กระทรวงสาธารณสุข แนะ 4 มาตรการช่วยลดการติดเชื้อโควิด เปิดกิจการกิจกรรมอย่างปลอดภัยฉีดวัคซีนให้ครบตามเป้าหมาย ป้องกันตนเองสูงสุดตลอดเวลา ตรวจ ATK และใช้มาตรการ COVID Free Setting ส่วนพื้นที่ชายแดนใต้ จัดส่ง ATK ยา และวัคซีนสนับสนุนเพิ่มเติม เพื่อเร่งควบคุมโรค พร้อมออกแนวทางจัดงานศพ งานแต่งงาน สัมมนา และตลาดให้ปลอดภัย

สธ.แนะ 4 มาตรการลดติดเชื้อ หวั่นติดเชื้อจะพุ่งหลังเปิดกิจการกิจกรรม HealthServ
 

ติดเชื้อ 11,200 ราย

         7 ตุลาคม 2564 ที่ศูนย์แถลงข่าวสถานการณ์โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 กระทรวงสาธารณสุข จ.นนทบุรี นายแพทย์เกียรติภูมิ วงศ์รจิต ปลัดกระทรวงสาธารณสุข พร้อมด้วย นายแพทย์สราวุฒิ บุญสุข รองอธิบดีกรมอนามัย และนายแพทย์เฉวตสรร นามวาท ผู้อำนวยการกองควบคุมโรคและภัยสุขภาพในภาวะฉุกเฉิน กรมควบคุมโรค แถลงสถานการณ์โรคโควิด 19 และมาตรการ COVID Free Setting โดยนายแพทย์เกียรติภูมิ กล่าวว่า วันนี้ประเทศไทยมีผู้ติดเชื้อโควิด 19 จำนวน 11,200 ราย เสียชีวิต 113 ราย รักษาหาย 10,087 ราย และอยู่ระหว่างการรักษา 109,022 ราย ภาพรวมผู้ป่วยอาการรุนแรงและใส่ท่อช่วยหายใจลดลงต่อเนื่อง สถานพยาบาลยังมีเตียงเพียงพอ


 
 

4 มาตรการลดติดเชื้อ

         อย่างไรก็ตาม เมื่อมีการเปิดกิจการกิจกรรมมากขึ้น หากไม่มีมาตรการรองรับ คาดการณ์ว่าผู้ติดเชื้อรายวันอาจเพิ่มขึ้นสูงถึง 3 หมื่นราย ซึ่งขณะนี้ประเทศไทยถึงจุดสำคัญที่อาจจะมีผู้ป่วยเพิ่มขึ้นสูงมากหรือยังคงลดลงต่อเนื่อง ดังนั้นจึงมีความจำเป็น ต้องย้ำ การดำเนินมาตราการ 4 มาตรการ ดังนี้

1.ฉีดวัคซีนให้ได้ตามเป้าหมาย
ซึ่งขณะนี้ประเทศไทยฉีดวัคซีนแล้ว 57.3 ล้านโดส เข็มแรกครอบคลุม 46.9% เป้าหมายคือ สิ้นเดือนพฤศจิกายนจะฉีดเข็มแรกให้ครอบคลุม 75% และเข็ม 2 ครอบคลุม 55% และสิ้นเดือนธันวาคม เข็มแรกครอบคลุม 85% และเข็ม 2 ครอบคลุม 70%

2.การป้องกันตนเองแบบครอบจักรวาล (Universal Prevention)

3.การตรวจ ATK ในหน่วยงานต่างๆ รวมถึงประชาชนทั่วไป
เพื่อให้ทราบผลเร็ว ช่วยให้เข้าสู่ระบบการดูแลรักษารวดเร็วและลดการแพร่เชื้อต่อ และ

4.มาตรการ COVID Free Setting
เพื่อให้การเปิดกิจการกิจกรรมต่างๆ มีความปลอดภัย ซึ่งทั้งหมดทุกคน ทุกฝ่ายต้องร่วมมือกัน จะได้ไม่ต้องกลับไปสู่การปิดกิจการกิจกรรมอีกครั้ง และหากทุกอย่างเป็นไปตามแผน คาดว่าปี 2565 สถานการณ์ต่างๆ จะคลี่คลายมากขึ้น กลับไปใช้ชีวิตแบบนิวนอร์มัลได้
 

เร่งรัดคุมโรคภาคใต้

        “ส่วนการติดเชื้อในพื้นที่ชายแดนใต้ ขณะนี้ได้เร่งรัดเรื่องการควบคุมโรค โดยจัดส่งชุดตรวจ ATK ยาฟาวิพิราเวียร์ 1 ล้านเม็ด และวัคซีนลงไปเพิ่มอีกว่าแสนโดส พร้อมทั้งให้ประสานพื้นที่และผู้นำทางศาสนาเร่งทำความเข้าใจเพื่อให้ประชาชนมารับวัคซีนมากขึ้น รวมถึงสร้างความตระหนักเรื่องมาตรการป้องกันตนเองสูงสุดตลอดเวลา และมาตรการ COVID Free Setting ด้วย” นายแพทย์เกียรติภูมิกล่าว
 
 

มาตรการสถานที่ปลอดโควิด (COVID Free Setting)

           นายแพทย์สราวุฒิ กล่าวว่า จากการสำรวจของอนามัยโพล ครั้งที่ 3 ระหว่างวันที่ 31 สิงหาคม - 17 กันยายน 2564 ถึงมาตรการป้องกันตนเองสูงสุดตลอดเวลา จำนวน 5,978 คน พบว่า ภาพรวมทำได้ตามมาตรการ 44% ส่วนการสวมหน้ากากเมื่ออยู่กับคนในบ้าน ทำได้ต่ำกว่าทุกมาตรการ คือ 65% จึงต้องเพิ่มความเข้มข้นในเรื่องนี้
 


           สำหรับมาตรการสถานที่ปลอดโควิด (COVID Free Setting) ได้แก่
1.สถานที่ต้องมีการทำความสะอาด มีการระบายอากาศ เว้นระยะห่าง ลดการใช้ระยะเวลาทำกิจกรรม ผ่านการประเมิน Thai Stop COVID Plus 
2.ส่วนพนักงานและผู้รับบริการต้องมีภูมิคุ้มกันหรือไม่มีเชื้อ คือ รับวัคซีนครบโดส หรือตรวจด้วย ATK และมีการคัดกรองความเสี่ยง

           กิจกรรมที่พบการติดเชื้อเป็นคลัสเตอร์ เช่น งานศพ ต้องงดการประกอบการอาหาร งดรับประทานอาหารร่วมกัน ไม่จัดมหรสพ งดการเล่นพนัน กำหนดระยะเวลางานที่จำเป็น จำกัดจำนวนคนเข้าร่วม, งานแต่งงาน ให้จัดงานขนาดเล็ก เน้นกิจกรรมที่สำคัญ ใช้ระยะเวลาให้สั้นที่สุด เชิญเฉพาะคนใกล้ชิด จัดแบบเว้นระยะห่าง,งานประชุมสัมมนา ใช้เอกสารระบบออนไลน์ กระจายจุดลงทะเบียน กำหนดให้มีเซฟตี้โซน และตลาดสด ให้มีการระบายอากาศ มีทะเบียนแผงค้าผู้ขายและพนักงาน และมีผู้รับผิดชอบติดตามไทม์ไลน์ผู้ขายทุกราย เป็นต้น
 
         ด้านนายแพทย์เฉวตสรร กล่าวว่า การฉีดวัคซีนในนักเรียนจนถึงวันที่ 6 ตุลาคม 2564 ฉีดแล้วประมาณ 74,500 ราย เนื่องจากช่วงนี้โรงเรียนหลายแห่งอยู่ระหว่างการสอบ จึงจัดฉีดวัคซีนตามความพร้อมของโรงเรียน ส่วนข้อกังวลอาการกล้ามเนื้อหัวใจอักเสบและเยื่อหุ้มหัวใจอักเสบ ถือว่าพบต่ำมาก โดยก่อนหน้านี้ที่มีการฉีดวัคซีนในเด็กที่มีโรคประจำตัวกว่าแสนราย พบเพียง 6 ราย แต่ต้องเตือนเพื่อให้สังเกตอาการในช่วง 1-5 วันหลังการฉีด หากมีอาการแน่นหน้าอก ใจสั่น หายใจเหนื่อย ให้บอกผู้ปกครองหรือครูเพื่อไปพบแพทย์ดูแลรักษา ซึ่งอาการดังกล่าวรักษาให้หายได้

ข่าว/บทความล่าสุด
เนื้อหาอ่านล่าสุด