ตลอดช่วงเวลาของการระบาดของโรคโควิด-19 ในประเทศไทย สปสช. เป็นหน่วยงานที่ได้รับมอบหมายภารกิจสำคัญจากรัฐบาล คือ "การเตรียมพร้อมงบประมาณและจัดสรรเงินเพื่อดูแลประชาชนให้เข้าถึงบริการสาธารณสุขที่เกี่ยวข้องกับโรคโควิด-19 ทั้งการบริการคัดกรอง การป้องกัน และการรักษาพยาบาล"
นพ.จเด็จ ธรรมธัชอารี เลขาธิการสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) เปิดเผยข้อมูลว่า ในปีงบประมาณ 2564 สปสช. ได้รับจัดสรรงบประมาณเพิ่มเติมจาก พ.ร.ก.กู้เงิน โควิด-19 จำนวน 4 รอบ รวมเป็นเงินทั้งสิ้น 30,348.35 ล้านบาท สำหรับการบริหารจัดการโควิด-19 แต่จากการแพร่ระบาดที่มากขึ้น ติดเชื้อแพร่กระจายมากขึ้น ส่งผลให้จำนวนผู้ป่วยโควิด-19 มีจำนวนเพิ่มมากขึ้น ทำให้ค่าใช้จ่ายดูแลและรักษาพยาบาล มีสูงขึ้นตามไปด้วย ทำให้ปีงบประมาณ 2564 มียอดการเบิกจ่ายค่าบริการกรณีโควิด-19 สูงถึงจำนวน 50,180.41 ล้านบาท ซึ่ง เกินจากงบประมาณที่จัดเตรียมรองรับถึงจำนวน 20,829.23 ล้านบาท ขณะนี้ สปสช. อยู่ระหว่างของบประมาณเพิ่มเติมภายใต้ พ.ร.ก.กู้เงินฯ เพื่อนำมาจ่ายชดเชยค่าบริการที่ยังคงค้างแล้ว
"สปสช. ต้องขอขอบคุณทุกหน่วยบริการที่ได้รวมกันดูแลประชาชนในช่วงสถานการณ์วิกฤตโควิด-19 ที่ผ่านมา จนทำให้ประเทศไทยเดินหน้าต่อไปได้"
การใช้งบประมาณของ สปสช.ด้านโควิด-19
สปสช. ได้เปิดเผยรายชื่อหน่วยบริการสาธารณสุข ที่ร่วมให้บริการดูแลประชาชนในช่วงโควิด-19 ในรูปแบบต่างๆ ดังนี้
1. หน่วยบริการที่ "ร่วมให้บริการ" กรณีโควิด-19 - หมายถึงยอดรวมการให้บริการ 2-6
2. หน่วยบริการที่ให้บริการ "คัดกรอง" เชื้อโควิด-19
3. หน่วยบริการที่ให้บริการ "รักษาพยาบาลผู้ติดเชื้อและผู้ป่วย" โควิด-19
4. หน่วยบริการที่ "ดูแลผู้ติดเชื้อโควิด-19 ที่บ้าน" (Home Isolation : HI)
5. หน่วยบริการที่ให้บริการ "วิกฤตฉุกเฉิน" กรณีโรคโควิด-19
6. หน่วยบริการที่ร่วมให้บริการ "ฉีดวัคซีนโควิด-19" ตามนโยบายรัฐบาล
ตัวเลขน่าสนใจ
1. หน่วยบริการที่ร่วมให้บริการ จำนวน 1,933 หน่วย ครอบคลุมทุกระดับ ตั้งแต่ รพ.รัฐขนาดใหญ่ รพ.ศูนย์ รพ.เอกชน รพ.ทั่วไป/ชุมชน ศูนย์บริการสาธารณสุข สถาบันการแพทย์ ศูนย์การแพทย์ คลินิก/คลินิกเวชกรรม/สหคลินิก
2. หน่วยบริการ ที่เบิกจ่ายสูงสุด คือ รพ.มหาราชนครราชสีมา รวมทั้งสิ้น 910,267,725 บาท
3. หน่วยบริการที่เบิกจ่ายน้อยที่สุด จำนวน 40 บาท เป็นค่าฉีดวัคซีน
4. มีหน่วยบริการที่เบิกจ่าย ไม่เกิน 500 บาท จำนวน 15 หน่วย เป็นค่าฉีดวัคซีนหรือค่าตรวจคัดกรอง
5. มีหน่วยบริการที่เบิกจ่าย ไม่เกิน 1,000 บาท จำนวน 24 หน่วย เป็นค่าฉีดวัคซีนหรือค่าตรวจคัดกรอง
6. กรุงเทพฯ มีหน่วยบริการมากที่สุด 450 หน่วย
7. หน่วยบริการในกรุงเทพฯ ที่เบิกจ่ายน้อยที่สุด จำนวน 400 บาท เป็นค่าฉีดวัคซีน
สปสช.ได้เปิดเผยรายชื่อ 10 อันดับแรก ของบริการแต่ละรูปแบบ พร้อมตัวเลขงบประมาณที่เบิกจ่ายไป มีดังนี้
1. หน่วยบริการที่ "ร่วมให้บริการ" กรณีโควิด-19
หมายถึงยอดรวมการให้บริการทั้ง 5 ด้าน (คัดกรอง-รักษา-ดูแล HI-ฉุกเฉิน-ฉีดวัคซีน) โดย 10 อันดับที่มียอดการเบิกจ่ายสูดสุด ดังนี้
- รพ.มหาราชนครราชสีมา รวมทั้งสิ้น 910,267,725 บาท
- รพ.สมุทรปราการ รวมทั้งสิ้น 807,853,029 บาท
- สถาบันป้องกันควบคุมโรคเขตเมือง รวมทั้งสิ้น 791,352,806 บาท
- รพ.ชลบุรี รวมทั้งสิ้น 746,895,589 บาท
- รพ.สมุทรสาคร รวมทั้งสิ้น 583,629,286 บาท
- รพ.เกษมราษฎร์อินเตอร์เนชั่นแนล รัตนาธิเบศร์ รวมทั้งสิ้น 547,431,303 บาท
- สำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 4 จังหวัดสระบุรี รวมทั้งสิ้น 544,371,936 บาท
- รพ. เวิลด์ เมดิคอล เซ็นเตอร์ รวมทั้งสิ้น 540,798,934 บาท
- รพ. มงกุฏวัฒนะ รวมทั้งสิ้น 501,915,299 บาท
- รพ.จุฬาลงกรณ์สภากาชาดไทย รวมทั้งสิ้น 492,655,396 บาท
รวมเป็นเงิน 6,467,171,303 บาท
2. หน่วยบริการที่ให้บริการ "คัดกรอง" เชื้อโควิด-19
10 อันดับที่มียอดการเบิกจ่ายสูดสุด ดังนี้
- สถาบันป้องกันควบคุมโรคเขตเมือง 789,512,006 บาท
- สำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 4 จังหวัดสระบุรี 544,247,036 บาท
- รพ.สมุทรปราการ 478,422,661 บาท
- รพ.มหาราชนครราชสีมา 403,434,481 บาท
- รพ.ชลบุรี 379,960,074 บาท
- รพ.ระยอง 348,046,220 บาท
- คลินิกเทคนิคการแพทย์วิประกษิต 338,696,820 บาท
- รพ.บางละมุง 329,408,592 บาท
- สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์สาธารณสุข 316,493,985 บาท
- รพ.เกษมราษฎร์อินเตอร์เนชั่นแนล รัตนาธิเบศร์ 316,159,220 บาท
รวมเป็นเงิน 4,244,381,095 บาท
3. หน่วยบริการที่ให้บริการ "รักษาพยาบาลผู้ติดเชื้อและผู้ป่วย" โควิด-19
10 อันดับที่มียอดการเบิกจ่ายสูดสุด ดังนี้
- รพ.มหาราชนครราชสีมา 494,608,364.49 บาท
- รพ.ชลบุรี 354,748,172 บาท
- รพ.มงกุฏวัฒนะ 354,018,099 บาท
- รพ.สมุทรปราการ 317,229,169 บาท
- รพ.จุฬาลงกรณ์สภากาชาดไทย 315,761,431 บาท
- รพ.สมุทรสาคร 315,106,772 บาท
- รพ.เลิดสิน 262,654,973 บาท
- รพ.พระนั่งเกล้า 230,003,949 บาท
- รพ.ปัตตานี 223,189,459 บาท
- รพ.สวรรค์ประชารักษ์ 211,038,071 บาท
รวมเป็นเงิน 3,078,358,459.49 บาท
4. หน่วยบริการที่ "ดูแลผู้ติดเชื้อโควิด-19 ที่บ้าน" (Home Isolation : HI)
10 อันดับที่มียอดการเบิกจ่ายสูดสุด ดังนี้
- พริบตาแทนเจอรีนสหคลินิก 19,450,800 บาท
- สถานีกาชาดที่ 11 วิเศษนิยม 19,306,400 บาท
- รพ.กระทุ่มแบน 11,751,420 บาท
- รพ.นครปฐม 10,963,730 บาท
- รพ.ท่าสองยาง 8,145,710 บาท
- รพ.บางละมุง 7,083,830 บาท
- รพ.ศิริราช 7,031,780 บาท
- รพ.ราชพิพัฒน์ 6,768,568 บาท
- รพ.บ้านโป่ง 6,559,347 บาท
- รพ.สิชล 6,327,000 บาท
รวมเป็นเงิน 103,388,585 บาท
5. หน่วยบริการที่ให้บริการ "วิกฤตฉุกเฉิน" กรณีโรคโควิด-19
ที่มียอดการเบิกจ่ายสูงสุด 10 อันดับแรก ดังนี้
- รพ.ธนบุรี บำรุงเมือง 459,154,251 บาท
- รพ.ปิยะเวท 331,784,171 บาท
- รพ.เวิลด์ เมดิคอล เซ็นเตอร์ 287,014,673 บาท
- รพ.วิภาราม 262,079,633 บาท
- รพ.เกษมราษฎร์อินเตอร์เนชั่นแนล รัตนาธิเบศร์ 230,569,923 บาท
- รพ.จุฬารัตน์ 3 อินเตอร์ 204,782,237 บาท
- รพ.วิภาวดี 193,972,990 บาท
- รพ.จุฬารัตน์9 จำนวน 159,701,790 บาท
- รพ.เกษมราษฎร์ประชาชื่น 159,222,223 บาท
- รพ.เกษมราษฎร์ บางแค 143,877,606 บาท
รวมเป็นเงิน 2,432,159,497 บาท
6. หน่วยบริการที่ร่วมให้บริการ "ฉีดวัคซีนโควิด-19" ตามนโยบายรัฐบาล
ที่มียอดการเบิกจ่ายสูงสุด 10 อันดับแรก ดังนี้
- สถาบันโรคผิวหนัง 58,790,280 บาท
- รพ.ปิยะเวท 25,253,200 บาท
- สำนักอนามัยกรุงเทพมหานคร 23,812,880 บาท
- รพ.แพทย์รังสิต 20,299,920 บาท
- รพ.บุรีรัมย์ 20,293,440 บาท
- รพ.จุฬารัตน์ 3 อินเตอร์ 18,919,880 บาท
- รพ.จุฬา 18,173,280 บาท
- รพ.สมุทรสาคร 12,620,800 บาท
- รพ.บางปะกอก 8 จำนวน 12,206,280 บาท
- รพ.รามาธิบดี 11,895,440 บาท
รวมเป็นเงิน 222,265,400 บาท
15 อันดับที่เบิกจ่ายน้อยที่สุด
ตรวจสอบจากยอดเบิกจ่ายไม่เกิน 500 บาท พบว่ามี 15 หน่วยบริการที่เบิกจ่ายน้อยที่สุด ดังนี้
- เชียงใหม่ สํานักงานสาธารณสุขจังหวัดเชียงใหม่ จำนวน 40 บาท ค่าฉีดวัคซีน
- ศรีสะเกษ รพ.สต.บ้านชํา หมู่ที่ 01 ตําบลชํา จำนวน 100 บาท ค่าตรวจคัดกรอง
- สระแก้ว รพ.กองบิน กองบิน 3 จำนวน 120 บาท ค่าฉีดวัคซีน
- นครสวรรค์รพ.ปากนํ้าโพ ๒ จำนวน 200 บาท ค่าฉีดวัคซีน
- ศรีสะเกษ รพ.สต.บ้านโคกเจริญ หมู่ที่ 06 ตําบลละลาย จำนวน 300 บาท ค่าตรวจคัดกรอง
- ศรีสะเกษ รพ.สต.บ้านเสาธงชัย หมู่ที่ 01 ตําบลเสาธงชัย จำนวน 300 บาท ค่าตรวจคัดกรอง
- นครราชสีมา คลินิกเวชกรรมชุมชนอบอุ่นปากช่อง 1 จำนวน 400 บาท ค่าฉีดวัคซีน
- กรุงเทพฯ รพ.เฉพาะทางศัลยกรรมตกแต่งและทันตกรรมขนาดเล็ก เอสแอลซี จำนวน 400 บาท ค่าฉีดวัคซีน
- นนทบุรี คลินิกเวชกรรม เอพีไอ จำนวน 450 บาท ค่าตรวจคัดกรอง
- ปทุมธานี รพ.สต.บ้านทรัพย์-บุญชูหมู่ที่ 06 ตําบลลําลูกกา จำนวน 450 บาท ค่าตรวจคัดกรอง
- สุพรรณบุรีรพ.สต.บ้านย่านซื้อ หมู่ที่ 04 ตําบลบ้านช้างจำนวน 450 บาท ค่าตรวจคัดกรอง
- ร้อยเอ็ด รพ.สต.บ้านโพนดวน หมู่ที่ 01 ตําบลศรีสว่าง จำนวน 450 บาท ค่าตรวจคัดกรอง
- สุรินทร์ รพ.สต.ช่างปี้ หมู่ที่ 02 ตําบลช่างปี้ จำนวน 450 บาท ค่าตรวจคัดกรอง
- สุรินทร์ รพ.สต.นารุ่ง หมู่ที่ 02 ตําบลนารุ่ง จำนวน0 450 บาท ค่าตรวจคัดกรอง
- ศรีสะเกษ รพ.สต.ทับทิมสยาม หมู่ที่ 13 ตําบลปรือใหญ่ จำนวน 450 บาท ค่าตรวจคัดกรอง
ทั้งนี้ สปสช.ได้นำข้อมูลรายรับค่าบริการโรคโควิด-19 ในระบบหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ ปีงบประมาณ 2564 ที่แต่ละหน่วยบริการได้รับ ทั้งคัดกรอง, รักษา, ฉีดวัคซีน, การดูแลผู้ติดเชื้อโควิดที่บ้านและที่ชุมชน (HI-CI) และ UCEP หรือเจ็บป่วยฉุกเฉินวิกฤติเฉพาะสิทธิ UC หรือสิทธิบัตรทอง เผยแพร่ทางเว็บไซต์ สปสช.แล้ว สามารถเข้าดูได้ที่ www.nhso.go.th