นับเป็นข่าวดีท่ามกลางความตระหนกต่อไวรัสกลายพันธุ์ตัวใหม่ "ออมิครอน" ที่กำลังแพร่กระจายไปยังประเทศต่างๆ ทั่วโลก และกว่า 60 ประเทศได้ออกมาตรการจำกัดการเดินทางเข้าประเทศ และอีก 2 ประเทศ ประกาศ "ปิดประเทศ" ห้ามชาวต่างชาติเดินทางเข้าโดยสิ้น คือ อิสราเอล และญี่ปุ่น
ในภาวะของการแพร่ระบาดของไวรัสใหม่ บริษัทเทคโนโลยียาและเวชภัณฑ์ระดับโลก จะต้องมีบทบาทนำในการทุ่มความพยายามเพื่อปกป้องสุขภาพและชีวิตของมนุษยชาติ และ "วัคซีน" คือเครื่องมือสำคัญนั้น การประกาศพัฒนาเดินหน้าวิเคราะห์-พัฒนาวัคซีนใหม่ ของ Biotech คือ สิ่งที่โลกและมนุษยชาติต้องการ
"เพื่อไม่ให้เสียเวลา เรากำลังทำงานทั้ง 2 อย่างนี้ไปควบคู่กันไป จนกว่าเราจะมีข้อมูลที่แน่ชัดว่า เราจำเป็นจะต้องปรับปรุงวัคซีนหรือไม่"
รายงานถ้อยแถลงของโฆษกหญิงของ Biontech ที่กล่าวกับสำนักข่าว DPA จากเพจเยอรมันอินไซต์ Germany Insights ฉายแสงแห่งความหวัง และส่งสัญญาณดีให้กับประชาคมโลก
เป้าหมายที่ท้าทาย Biontech
Germany Insights รายงานว่า Biontech ได้เริ่มการทดสอบในห้องแลป เพื่อหาคำตอบที่สำคัญ จากไวรัสกลายพันธุ์ตัวนี้ที่มีการเปลี่ยนแปลงไปจากเดิมในหลายจุด ว่า
- เซรุ่มจะสามารถที่จัดการกับสไปค์โปรตีนได้ดีแค่ไหน
- เซรุ่นจะสามารถที่จะทำลายไวรัสได้หรือไม่
- จำเป็นต้องมีการปรับวัคซีนหรือไม่
Biontech คาดว่า ผลการตรวจสอบน่าจะออกมาภายในสิ้นสัปดาห์หน้า
*อ่านขั้นตอนทั้งหมดได้ที่
Biontech กำลังวิเคราะห์ Omicron และทำการปรับวัคซีนในเวลาเดียวกัน
Biontech เตรียมพร้อมมาก่อนแล้ว
Germany Insights เปิดเผยว่า Biontech และไฟเซอร์ มีการเตรียมพร้อมในกระบวนพัฒนาวัคซีนไว้แล้ว จากความจริงที่ว่า ไวรัสย่อมมีโอกาสกลายพันธุ์ได้เสมอ เมื่อมีการกลายพันธุ์ใหม่ปรากฏขึ้น บริษัทจะสามารถปรับตัวและพัฒนาได้รวดเร็ว และคาดหวังว่าจะสามารถทำวัคซีนชุดใหม่ได้เสร็จภายในเวลา 100 วัน
"กรณีเดลต้าไวรัส เราสามารถพัฒนาวัคซีนเวอร์ชั่นใหม่ได้ภายใน 95 วัน" จากคำกล่าวของ
ซีอีโอไฟเซอร์ นายอัลเบิร์ต บูร์ลา
จากซีอีโอ Biontech
Ugur Sahin ผู้ก่อตั้ง Biontech และพัฒนาวัคซีนโควิด mRNA Pfizer ให้สัมภาษณ์กับวอลสตรีท เจอร์นัล ต่อสถานการณ์ไวรัสออมิครอน ขณะนี้ว่า
"อย่าเพิ่งตกใจเกินไป คนที่ฉีดวัคซีนแล้วอาจจะติดออมิครอนได้ แต่ยังไงเสีย วัคซีนก็ยังป้องกันการเจ็บป่วยรุนแรงได้แน่นอน สิ่งที่เราจะบอกก็คือ แผนการยังคงเป็นไปตามเดิม คือ เร่งฉีดเข็มกระตุ้น"
เขาเสริมว่า ไวรัสออมิครอน ที่ดูเหมือนว่าจะสามารถฝ่าด่านภูมิคุ้มกันที่เกิดจากวัคซีนได้เก่งกว่าเดลต้า จากที่มันมีการกลายพันธุ์ไปในหลายจุดมากกว่าเดลต้า แต่ก็ดูเหมือนวันมันจะไม่สามารถฝ่าด่านระบบภูมิคุ้มกันจากที-เซลล์ของร่างกายมนุษย์ไปได้ เรายึดมั่นในวิทยาศาสตร์ หากไวรัสเอาชนะภูมิคุ้มกันได้ เอาชนะภูมิต้านทานได้ แต่อีกขั้นหนึ่งร่างกายยังมีระบบภูมิคุ้มกันที่เรียกว่า ที-เซลล์ เพื่อจัดการกับเชื้อได้อีก
ซาฮินกล่าวถึงการปรับวัคซีนเพื่อพุ่งเป้าไปยังโอมิครอนโดยเฉพาะเจาะจง อาจจะใช้เวลาไม่ถึง 100 วัน แต่บางที "อาจจะไม่จำเป็น" ก็ได้ "เรามีแผนจะให้มีการฉีดเข็มที่สาม และจะยึดตามแผนนี้เคร่งครัดต่อไปพร้อมๆ กับเร่งสปีดให้ฉีดได้เร็วขึ้น แต่ไม่ว่าอย่างไรก็ตาม เราก็ต้องมีสูตรพิเศษ เป็นวัคซีนสูตรที่ปรับใหม่ ซึ่งต้องรอดูต่อไป" เขาทิ้งท้าย
บทพิสูจน์ mRNA
"วัคซีนที่มีพื้นฐานมาเทคโนโลยีของ mRNA อย่าง Biontech หรือ Moderna นั้นมีข้อดีกว่าเทคโนโลยีอื่น คือ สามารถที่จะผลิตได้เร็วกว่าวัคซีนทั่วไป เพียงพิมพ์เขียวต้นแบบใหม่เท่านั้น"
โอมิครอนไวรัส จะเป็นตัวพิสูจน์ความสามารถของเทคโนโลยี mRNA อีกครั้ง ว่าจะสามารถพัฒนาได้รวดเร็ว ได้ผล มีประสิทธิภาพ และทันการณ์ กับการแพร่ระบาดของไวรัสได้หรือไม่
โลกกำลังรอคำตอบด้วยความหวัง
ติดตามข้อมูลข่าวสารเน้นๆ จากเยอรมัน
ต้องติดตามที่
เยอรมันอินไซต์ Germany Insights
อ้างอิง: