โอมิครอน ล่าสุด 19 ธันวาคม 64
จากระบบ CO-LAB2 ณ วันที่ 19 ธันวาคม 64 เวลา 12.00 น.
สรุปจำนวนเคสที่สงสัย 63 ราย*
แบ่งเป็นรายงานผลจาก
- กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ 54 ราย
- คณะแพทย์ฯ จุฬาลงกรณ์ 9 ราย
ทั้ง 63 ราย จากการตรวจพบจาก 2 ช่วงเวลาสังเกตการณ์ ดังนี้
1. ช่วงแรก เมษายน - 10 ธันวาคม 64 พบ 11 ราย
แบ่งเป็นในกรุงเทพ 9 ราย ต่างจังหวัด 2 ราย
2. ช่วงวันที่ 11-19 ธันวาคม 64 พบ ทั้งหมด 52 ราย
จำแนกตามเขตสุขภาพได้ดังนี้
เขต 1 จำนวน 1 ราย (พื้นที่ภาคเหนือ)
เขต 4 จำนวน 2 ราย (ภาคกลาง)
เขต 5 จำนวน 4 ราย (ภาคตะวันตก)
เขต 6 จำนวน 3 ราย (ภาคตะวันออก)
เขต 11 จำนวน 9 ราย (ภาคใต้ตอนบน)
เขต 13 กรุงเทพ จำนวน 33 ราย
*จำนวนรายงานมีเพิ่มรอตรวจสอบยืนยันอีกราว 30 ราย (ณ 20 ธันวาคม)
จำแนกสัดส่วนสายพันธุ์ โอมิครอนที่พบเทียบกับสายพันธุ์อื่นๆ (ตามภาพกราฟวงกลม)
- ภาพรวมทั้งประเทศ จำนวน 1,595 ตัวอย่าง เป็นโอมิครอน 3.26% ราว 52 ราย
- กลุ่มผู้เดินทางจากต่างประเทศ จำนวน 227 ตัวอย่าง เป็นโอมิครอน 22.5% ราว 51 ราย
- กลุ่มอื่นๆ ในประเทศ จำนวน 1,368 ตัวอย่าง เป็นโอมิครอน 0.1% ราว 1 ราย
"สำหรับการตรวจสายพันธุ์โควิดช่วงระหว่างวันที่ 11-19 ธันวาคม 2564 จำนวน 1,595 ตัวอย่าง ส่วนใหญ่ยังเป็นสายพันธุ์เดลตา 1,541 ตัวอย่างคิดเป็น 6.61%, อัลฟา 1 ตัวอย่าง คิดเป็น 0.06%, เบตา 1 ตัวอย่าง คิดเป็น 0.06% และโอมิครอน 52 ตัวอย่าง คิดเป็น 3.26% เมื่อรวมกับผลตรวจก่อนหน้านี้ พบโอมิครอนแล้ว 63 ราย ตรวจยืนยันแล้ว 20 ราย ถือว่าพบการติดเชื้อโอมิครอนค่อนข้างเร็วสอดคล้องกับสถานการณ์โลก และการติดเชื้อในผู้เดินทางเข้าประเทศทุกระบบ เป็นโอมิครอน 25% โดยพบ 1 รายในระบบ Test&Go ที่ผล RT-PCR ก่อนมาไทย 72 ชั่วโมงเป็นลบ เมื่อมาถึงประเทศไทยตรวจอีกครั้งยังเป็นลบ หลังจากนั้น 2-3 วันพบว่าป่วย และเป็นสายพันธุ์โอมิครอน ซึ่งเกิดขึ้นได้เนื่องจากยังอยู่ในช่วงระยะฟักตัว
กรณีดังกล่าวหากไม่สามารถตรวจจับได้ทัน อาจเกิดการติดเชื้อในประเทศได้ จึงควรมีการทบทวนมาตรการให้เข้มงวดมากขึ้น โดยอยู่ที่ ศบค.จะพิจารณาดำเนินการ อย่างไรก็ตาม การตรวจสายพันธุ์แบบเบื้องต้นและแบบยืนยัน ยังสามารถตรวจจับโอมิครอนได้ และการฉีดวัคซีนเข็มกระตุ้นจำเป็นต้องฉีดโดยเร็ว และผู้ที่ยังไม่เคยฉีดวัคซีนเลยควรรีบมาฉีดเพื่อให้มีภูมิต้านทานเพิ่มขึ้น" นพ.ศุภกิจ ศิริลักษณ์ อธิบดีกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์
แถลงข่าว
ประสิทธิผลของวัคซีนต่อโอมิครอน
ตามข้อมูลจากองค์การอนามัยโลก
1. Omicron ทำให้ประสิทธิผลของวัคซีนชัดเจนลดลง การป้องกันอาการรุนแรงลดลง และยังหมายความว่าวัคซีนจะป้องกันการระบาดได้น้อยลง
2. Omicron ไม่เปลี่ยนระดับ T-cell response และ memory B cell ซึ่ง
สำคัญต่อการป้องกันเชื้อ
3. วัคซีนเข็มกระตุ้น (Booster) ช่วยเพิ่มระดับประสิทธิผลของวัคซีนชัดเจน
4. Loss of neutralization ในกลุ่มที่เคยติดเชื้อมาก่อน การฉีดเข็มกระตุ้นจะ
ช่วยเพิ่มภูมิคุ้มกันได้ชัดเจน ไม่ว่าจะเป็นวัคซีนตระกูลใดก็ตาม ก็ได้ผลการกระตุ้นภูมิได้ดีทั้งสิ้น
- Pfizer effectiveness vs omicron in UK vs. symptomatic illness <40% increased to ~75% with boost
- AZ vaccine had negative effectiveness point estimate vs. symptomatic illness increased to ~75% with boost
Vaccine boosters ทำให้ระดับ Antibody กลับมามีค่าสูงขึ้น ซึ่งสามารถป้องกันการติดเชื้อหรืออย่างน้อยที่สุดก็สามารถป้องกันการเสียชีวิตหรือการเกิดอาการรุนแรงจากการติดเชื้อได้ (Leo Poon, a virologist at the University of Hong Kong)
สรุป
1. พบผู้ติดเชื้อ Omicron เพิ่มเร็วในช่วงสัปดาห์ที่ผ่านมา สอดคล้องกับสถานการณ์โลก
2. ทุกรายยังมีความเชื่อมโยงกับการเดินทางกลับมาจาก ตปท. ไม่มี Index case ในประเทศไทย
3. สัดส่วนของผู้เดินทางเข้าประเทศ (Test and Go, Sandbox, AQ) ที่ติดเชื้อเป็นสายพันธุ์ Omicron ถึง 1 ใน 4
4. การตรวจ RT PCR 72 ชม. ก่อนมา และตรวจ RT PCR เพียงครั้งเดียว เมื่อมาถึงประเทศไทย ยังทำให้ ผู้ป่วยหลุดไปได้ เนื่องจากอยู่ในระยะฟักตัว (Window Period) อาจพิจารณาปรับมาตรการ Test and Go
5. การตรวจจับสายพันธุ์ ยังทำได้ตามปกติ ทั้งแบบเบื้องต้น (Potentially) และแบบยืนยัน (Confirmed)