แต่ ข้อมูลจากแอฟริกาใต้ยังมีตัวอย่างที่น้อยเกินไปก่อนจะสรุปใหญ่ขนาดนั้นครับ ทำไมผมถึงคิดอย่างนั้น ลองดูงานวิจัยชิ้นนี้จากทีมฮ่องกงนะครับ ที่เค้ามีผู้ป่วยโอมิครอน 2 คน ที่รับเชื้อเข้ามาตอนช่วงแรก (น่าจะเป็น 2 คน ที่อยู่ในโรงแรมตอนกักตัว แล้วพบว่าติดหากันได้ทางอากาศ และติดโอมิครอนตัวเดียวกัน) โดยคนแรก (OP1) ได้ Pfizer ครบ 2 เข็ม ส่วนคนที่สอง (OP2) ได้ Moderna ครบ 2 เข็ม คนแรกได้เข็มสองมานานกว่าคนที่ 2 ทีมวิจัยเก็บเลือดทั้ง 2 คน มาเปรียบเทียบกับ เลือดคนที่ได้วัคซีน Pfizer ครบ 2 เข็ม แล้ว ถามคำถามว่า ติดโอมิครอนไปแล้ว ภูมิที่ได้จากโอมิครอนยับยั้งไวรัสสายพันธุ์อื่นๆได้หรือไม่?
ผลการทดลองในกราฟด้านล่างน่าสนใจครับ OP1 คือ เคสแรก เหมือนจะถูกกระตุ้นจากโอมิครอนได้ดี เพราะภูมิหลังติดเชื้อสามารถยับยั้งไวรัสทุกสายพันธุ์ได้ดี กรณีเดลต้ายับยั้งดีกว่าคนปกติที่ได้วัคซีนถึง 9.58 เท่า แต่ถ้าดูใน OP2 ที่เห็นชัดคือภูมิต่อโอมิครอนที่ 17.61 เท่า เพราะการติดโอมิครอนย่อมทำให้เค้ามีภูมิต่อไวรัสชนิดนี้มากกว่าคนปกติตรงไปตรงมา... แต่ภูมิในร่างกายของเค้าต่อเดลต้าสูงกว่าคนปกติแค่ 1.42 เท่า ซึ่งดูแล้วไม่แตกต่างจาก คนก่อนติดเชื้อครับ แบบนี้ก็แสดงว่าติดโอมิครอนแล้วภูมิต่อเดลต้าก็ไม่ต่างไปจากคนที่ไม่เคยติด?
ตัวอย่างงานวิจัยนี้ใช้ n=2 ก็สามารถเห็นความแตกต่างแบบ 50% ได้แล้วครับ ผลจากแอฟริกาใต้ก็ไม่ต่างกันมากเท่าไหร่ ยังมีความรู้สึกว่าข้อมูลยังไม่มากพอที่จะสรุปอะไรใหญ่ๆ มีตัวแปรหลายอย่างที่ยังไม่ได้ควบคุมให้ดีครับ...สำหรับผมงานวิจัยที่ออกมาจากแอฟริกาใต้น่าสนใจ แต่ไม่ถึงกับ อึ้ง!! เหมือนพาดหัวข่าว เพราะภูมิจากการติดเชื้อโอมิครอนยังไงก็กระตุ้นภูมิจากวัคซีนได้ไม่มากก็น้อยครับ ไม่แปลกใจอะไรครับ
Anan Jongkaewwattana
30 ธันวาคม 64