บทความเริ่มต้นด้วยคำถามที่น่าสนใจ
จะรับมืออย่างไร เมื่อข้อมูลโควิด-19 ที่คลาดเคลื่อน แพร่ระบาดยิ่งกว่าไวรัสเอง?
ไวรัสโควิด-19 ติดซ้ำได้ไหม?
หายแล้วต้องทำอย่างไรก่อนไปฉีดเข็มกระตุ้น?
บทความพาย้อนไปยังมูลเหตุที่มาของความพยายามต่อสู้กับข่าวปลอม ที่เริ่มต้นมาพร้อมๆ กับโรคระบาดเลยด้วยซ้ำ โดย องค์การอนามัยโลก (World Health Organization: WHO) ระบุว่าใน 3 เดือนแรกหลังเชื้อโควิด-19 ระบาดเมื่อปี 2563 มีผู้คนกว่า 6,000 คนที่ขาดความรู้ความเข้าใจในโรคระบาดใหม่จนติดเชื้อโควิด-19 และต้องเข้ารักษาตัวในโรงพยาบาล จนมาถึงปัจจุบันที่ "โซเชียลมีเดีย" มีบทบาทมากขึ้น ทั้งด้านดี ที่ข่าวสารสามารถส่งไปได้รวดเร็ว หลากหลายมิติและกว้างไกล ขณะที่ด้านลบที่มีควบคู่ไปคือ ถูกใช้เป็นเครื่องมือ กระพืด "ข้อมูลบิดเบือน" ให้ "แพร่กระจายออกเป็นวงกว้างมากยิ่งขึ้น" เช่นกัน
รวมถึงความคิดที่มีในปัจจุบันที่เชื่อกันว่า "ไวรัสสายพันธุ์โอมิครอนจะเป็นโควิดสายพันธุ์สุดท้าย" ของซีรี่ยส์โควิด-19 และด้วยความหวังที่จะให้มันจบลงในปี 2022 นี้ แต่ ดร.ทีโดรส อัดฮานอม กีบรีเยซุส (Dr. Tedros Adhanom Ghebreyesus) ผู้อำนวยการใหญ่องค์การอนามัยโลก เตือนว่า " ยังเร็วเกินไป ที่ประเทศต่างๆ จะยุติความพยายามที่จะควบคุมการแพร่ระบาดของโรค"
กลับมาที่ 3 หลัก ในการต่อสู้กับข่าวปลอมที่สหประชาชาติ แนะนำ
1. ตรวจสอบความน่าเชื่อถือ และแชร์ข้อมูลโรคระบาดให้เข้าใจง่าย
2. แหล่งข่าว และการเข้าถึงข้อมูลที่ถูกต้อง
3. เมื่อรู้ทันแล้วจะรับมือกับข่าวปลอมได้อย่างไร?
1. ตรวจสอบความน่าเชื่อถือ และแชร์ข้อมูลโรคระบาดให้เข้าใจง่าย
หลังจากมีการประกาศให้ไวรัสโควิด-19 เป็นโรคระบาดครั้งใหญ่ของโลก (pandemic) อย่างเป็นทางการ องค์การอนามัยโลก (WHO) ถือเป็นหน่วยงานหลักของสหประชาชาติที่ให้ข้อมูลเกี่ยวกับไวรัสมาอย่างต่อเนื่อง และเชื่อถือได้
เริ่มตั้งแต่จัดทำรายงานความคืบหน้าสถานการณ์โควิด-19 ประจำสัปดาห์ในประเทศไทย ซึ่งยังคงให้ข้อมูลและวิเคราะห์แนวโน้มการระบาด การรักษา การป้องกัน ทั้งในระดับประเทศและชุมชน โดยประสานข้อมูลร่วมกับศูนย์บริหารสถานการณ์แพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (ศบค.) รวมทั้งเผยแพร่การปฏิบัติตัวเพื่อป้องกันโควิดอย่างง่าย ๆ ผ่านโซเชียลมีเดีย
นอกจากนี้ ยังมีการจัดตั้งเครือข่ายข้อมูลสำหรับโรคระบาด (EPI-WIN) นำเสนอข้อมูลเกี่ยวกับโควิด-19 โดยอ้างอิงจากการศึกษาวิจัยทางวิทยาศาสตร์และการแพทย์ และระดมอาสาสมัครดิจิทัลกว่า 10,000 คน เสริมทีมตรวจสอบและแก้ไขข้อมูลที่บิดเบือนป้องกันความสับสนให้กับผู้ใช้งานโซเชียลมีเดียทั่วโลก
เช่นเมื่อมีการรายงานผู้ป่วยโรคโควิด-19 ครั้งแรกในประเทศหนึ่งในทวีปแอฟริกา ชุมชนบางแห่งของประเทศนั้นเชื่อว่าไวรัสเกิดจากสิ่งชั่วร้าย จึงได้ทำพิธีกรรมขับไล่ โดยที่คนในหมู่บ้านเชื่อว่าสิ่งนี้เป็นฝีมือการทำงานของคนจากภูมิภาคอื่น ความหวาดระแวงกลายเป็นความขัดแย้ง รัฐบาลของประเทศนั้นจึงร่วมมือกับองค์การอนามัยโลกนำข้อมูลที่ถูกต้องมาแปลเป็นภาษาท้องถิ่นเพื่อสร้างความตระหนักรู้ให้กับประชาชน จนสุดท้ายข้อมูลที่บิดเบือนและความขัดแย้งก็ถูกขจัดไปในที่สุด
2. แหล่งข่าว และการเข้าถึงข้อมูลที่ถูกต้อง
สหประชาชาติจับมือหลายภาคส่วน สู้ข่าวปลอมและการกระจายข้อมูลผิด ๆ ในช่วงโควิด ตั้งแต่ผู้นำชุมชนไปจนถึงพันธมิตรทางโซเชียลมีเดียและบริการค้นหาระดับโลก อย่าง Google, Twitter, TikTok และ wikiHow ด้าน Facebook ก็ได้ปรับอัลกอริธึมเพื่อให้ความสำคัญกับข้อมูลทางการแพทย์จากแหล่งข่าวที่เป็นทางการ ซึ่งรวมทั้งจากกระทรวงสาธารณสุข และสหประชาชาติในไทย ส่วนความร่วมมือกับ Rakuten Viber เป็นการเปิดตัว ‘แชทบ็อต’ แบบโต้ตอบอัตโนมัติถึง 20 ภาษา มีผู้ใช้งานค้นหาข้อมูลเรื่องโควิดแล้วกว่า 1 พันล้านคน >> เข้าร่วมระบบแชทบ็อตบนไวเบอร์
นอกจากนี้ ยังมีบริการแจ้งเตือนบน WhatsApp พร้อมให้ข้อมูลการวิจัยใหม่และคำแนะนำ ตั้งแต่ประเด็นการติดเชื้อซ้ำจากไวรัสสายพันธุ์โอมิครอน หรือเรื่องไวรัสกลายพันธุ์ และวัคซีนเข็มกระตุ้นกับหญิงตั้งครรภ์ >> เริ่มต้นบนสนทนาบนวอตส์แอปป์
ไม่เพียงเท่านั้น องค์การอนามัยโลก สหภาพโทรคมนาคมนานาชาติ (International Telecommunication Union: ITU) และองค์การยูนิเซฟ (United Nations Childrens Fund: UNICEF) ซึ่งเป็น 3 หน่วยงานของสหประชาชาติ ร่วมมือกับเครือข่ายโทรศัพท์มือถือ ส่งข่าวสารเรื่องโควิดให้ผู้คน รวมทั้งผู้ที่ไม่สามารถใช้งานสื่อออนไลน์ให้ได้รับข้อมูล เป้าหมายมากกว่า 3.6 พันล้านคน
ส่วนองค์การยูเนสโกก็ทำงานอย่างใกล้ชิดกับสื่อมวลชนในหลายประเทศ เสริมทักษะ สร้างความรู้ ชี้แนะแหล่งข่าวเพื่อการทำงานอย่างปลอดภัย ตั้งแต่ช่วงแรกที่โควิดแพร่ระบาด มีการจัดคอร์สออนไลน์อบรมการรายงานข่าว ตรวจหาเฟคนิวส์ประเด็นโควิดโดยมีสื่อมวลชนจากทั่วโลกกว่า 9,000 คน เข้าร่วมแล้ว
ส่วนในไทย องค์การระหว่างประเทศเพื่อการโยกย้ายถิ่นฐาน (International Organization for Migration: IOM) องค์การเพื่อการส่งเสริมความเสมอภาคระหว่างเพศและเพิ่มพลังของผู้หญิงแห่งสหประชาชาติ (UN Women) และองค์การอนามัยโลก ช่วยเหลือกลุ่มเปราะบางและแรงงานข้ามชาติด้วยการจัดตั้งศูนย์ข้อมูลออนไลน์ให้คำปรึกษาและสายด่วนด้านสุขภาพถึง 5 ภาษา (พม่า, ลาว, กัมพูชา, ไทย และอังกฤษ) เพื่อกระจายข่าวสารอย่างทั่วถึง โดยตลอดปี 2564 ข้อมูลด้านโควิด-19 ของสหประชาชาติเข้าถึงผู้ใช้โซเชียลมีเดียในไทยมากถึง 25 ล้านคน
เมื่อปี 2563 ประเทศไทยเป็นประเทศท่ี 2 ถัดจากจีนที่มีรายงานพบผู้ติดเชื้อโควิด-19 ส่ิงที่เกิดขึ้นหลังจากนั้นคือการตอบสนองระดับชาติอย่างรวดเร็วจนประสบความสำเร็จในการลดยอดผู้ติดเชื้อ และรักษาอัตราการเสียชีวิตให้อยู่ในระดับต่ำ ที่ผ่านมา สหประชาชาติได้ร่วมมือกับกระทรวงต่าง ๆ ที่เก่ียวข้องเพื่ออำนวยความสะดวกในการประเมินผลกระทบของการระบาดใหญ่ที่มีต่อทุกภาคส่วน ขณะท่ีทีมงานสหประชาชาติในไทยก็ได้จัดทำกรอบความร่วมมือว่าด้วยการพัฒนาที่ยั่งยืน วาระปี พ.ศ. 2565 - 2569 (United Nations Sustainable Development Cooperation Framework: UNSDCF) เป็นกรอบที่เเสดงถึงการทำงานของระบบสหประชาชาติเพื่อการพัฒนาในการสนับสนุนการดำเนินตามพันธกรณีของประเทศให้บรรลุผลสำเร็จตามวาระการพัฒนาที่ยั่งยืน สอดคล้องกับสถานการณ์โควิด-19 รวมถึงสนับสนุนความมุ่งหมายของประเทศไทยในการเป็นประเทศที่มีรายได้สูง มีการพัฒนาที่ครอบคลุม ยั่งยืน มีภูมิคุ้มกัน และมีความก้าวหน้า
3. เมื่อรู้ทันแล้วจะรับมือกับข่าวปลอมได้อย่างไร?
ทุกคนสามารถร่วมต่อต้านข้อมูลเกี่ยวกับไวรัสโควิด-19 ที่บิดเบือน (combat misinformation) โดยสหประชาชาติเร่งขยายโครงการ ShareVerified ไปทั่วโลกเพื่อป้องกันผลเสียจากข้อมูลเท็จ รวมทั้งมีการเปิดคอร์สออนไลน์ สอนวิธีตรวจสอบข้อมูลและยับยั้งเฟคนิวส์ >> ดูรายละเอียดเพิ่มเติมและสมัครเรียนออนไลน์
สิ่งสำคัญคือการให้ข้อมูลทางวิทยาศาสตร์และงานวิจัยที่ถูกต้องน่าเชื่อถือสู่สาธารณะ ลดความเสียหายจากโรคระบาดที่อาจจะเกิดขึ้นจากกระแสข่าวลือ ข่าวปลอม และเมื่อเร็ว ๆ นี้ มีการเปิดตัว การสำรวจภาคประชาสังคมทั่วโลกเกี่ยวกับโควิด-19 มีองค์กรกว่า 1,900 แห่งทั่วโลก เข้าร่วมในการรายงานสถานการณ์โควิด-19 รวมทั้งปัญหาและข้อมูลบิดเบือนที่พบบ่อย และวิธีการแก้ปัญหาในแต่ละครั้ง โดยผู้ที่สนใจสามารถติดตามรายละเอียดกิจกรรมเพิ่มเติมได้ที่นี่ นอกจากนี้ การเตรียมพร้อมให้เยาวชนรู้ทันข้อมูลข่าวสารเพื่อเป็นนักเคลื่อนไหวทางสังคมที่ดีได้ในอนาคตก็สำคัญ เช่นการเสริมทักษะในเรื่องโซเชียลมีเดียควบคู่ไปกับการสอนเรื่องสิทธิขั้นพื้นฐานบนโลกออนไลน์ สำนักงานผู้แทนพิเศษเลขาธิการสหประชาชาติด้านเยาวชนจึงร่วมกับ Twitter จัดทำ คู่มือความปลอดภัยทางดิจิทัลและการปกป้องคนหนุ่มสาวออนไลน์ (Youth Activist Checklist: Guidance on Digital Safety and Online Protection of Young People) ความยาวเพียง 5 หน้า แต่เป็น ‘ชุดเครื่องมือ’ ช่วยให้ใช้สื่อออนไลน์ได้อย่างมั่นใจมากขึ้น >> ดาวน์โหลด Youth Activist Checklist
องค์กรของสหประชาชาติที่มีส่วนร่วมในโครงการนี้
ITU สหภาพโทรคมนาคมระหว่างประเทศ
ยูเอ็น สหประชาชาติ
UNESCO องค์การเพื่อการศึกษา วิทยาศาสตร์และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ
UNICEF กองทุนเพื่อเด็กแห่งสหประชาชาติ
WHO องค์การอนามัยโลก