หมอยง กล่าวถึงโอกาสการเปลี่ยนแปลงของโรคโควิด 19 จากโรคระบาด เป็นโรคประจำถิ่นมาตั้งแต่ช่วงหลังสงกรานต์ ท่านได้เขียนไว้เมื่อวันที่
"การศึกที่ผ่านมากว่า 2 ปี แม้มีการสูญเสีย ประเทศไทยเป็นประเทศหนึ่งที่มีการจัดการได้ดี ยอดผู้ป่วยตายต่อจำนวนประชากรดีกว่าหลายประเทศที่พัฒนาแล้ว เช่น สหรัฐอเมริกา อังกฤษ ฝรั่งเศส "
การได้รับวัคซีนอย่างครอบคลุมในประชาชนไทย ส่งผลดีอย่างที่ฝ่ายการแพทย์คาดการณ์ไว้
"การเกิดภูมิต้านทานจากวัคซีน หรือการติดเชื้อ ในการติดเชื้อจะมี แบบไม่มีอาการ มีอาการน้อย จนกระทั่งมีอาการมาก การศึกษาของศูนย์ ในเด็กอายุ 5-6 ขวบ พบการติดเชื้อแบบไม่มีอาการทราบจากการตรวจเลือด ประมาณร้อยละ 8 ถ้านับเด็กที่มีอาการด้วย ขณะนี้ก็น่าจะมีการติดเชื้อในกลุ่มดังกล่าวมากกว่า 1 เท่าตัว การติดเชื้อครั้งแรก ส่วนใหญ่จะมีอาการมากที่สุด และเมื่อติดเชื้อซ้ำอาการจะลดน้อยลง เช่นเดียวกับโรคทางเดินหายใจชนิดอื่น เช่น RSV พบความรุนแรงในเด็กเล็กที่เป็นครั้งแรก และในปีต่อๆไปก็มีการติดเชื้อซ้ำอีก อาการจะลดลง และเมื่อเป็นเด็กโตหรือผู้ใหญ่การติดเชื้อจะเป็นแบบไม่มีอาการ จึงไม่มีปัญหาในผู้ใหญ่ในอนาคต ประชากรมีภูมิต้านทานมากขึ้น โรครุนแรงน้อยลง มียาที่ใช้รักษาดีขึ้น เราจะมุ่งเน้นให้ความสำคัญกับกลุ่มเสี่ยง ผู้สูงอายุ ที่เป็นแล้วจะทำให้เกิดความรุนแรง เช่นเดียวกับไข้หวัดใหญ่ในปัจจุบัน เรามุ่งเน้นให้วัคซีนเพิ่มภูมิต้านทานในกลุ่มเสี่ยง"
เป็นข้อมูลที่สนับสนุนและสอดคล้องกับความพยายามของฝ่ายสาธารณสุข ที่มุ่งดำเนินทุกกลยุทธ์ เพื่อ นำประเทศกลับมาสู่สภาวะปกติ
"โควิด 19 จะอยู่กับเราตลอดไป และจะเป็นโรคประจำถิ่นในที่สุด เมื่อคนส่วนใหญ่มีภูมิต้านทานที่เกิดจากวัคซีนหรือการติดเชื้อ ความรุนแรงของโรคจะน้อยลง และจะมียารักษาเพิ่มขึ้น เหมือนไข้หวัดใหญ่ มียา oseltamivir และจะมีการพัฒนายารักษาได้ดียิ่งขึ้น การศึกษา สังคม เศรษฐกิจและการท่องเที่ยว ต้องเดินหน้าให้กลับมาสู่ภาวะปกติใกล้เคียงกับก่อนการเกิดระบาดของโรค เดินหน้าไปด้วยความรอบคอบ ชีวิตต้องเดินหน้าด้วยความไม่ประมาท เราจะผ่านพ้นปัญหาต่างๆ ได้ในที่สุด"
10 เหตุผล นำโควิด 19 สู่โรคประจำถิ่น หรือโรคประจำฤดูกาล
หมอได้จำแนก
เหตุผล 10 ข้อที่ชี้ว่าโรคโควิด พร้อมจะปรับเป็นโรคประจำถิ่น
1. เราไม่สามารถที่จะกำจัดไวรัส covid-19 ให้หมดไปจากโลกใบนี้ของเราได้ เราจะต้องอยู่กับไวรัสนี้ตลอดไป
2. การระบาดของโรคในช่วง 2 ปีที่ผ่านมา มีแนวโน้มการติดต่อง่ายขึ้น และความรุนแรงของโรคลดลง จากการเปลี่ยนแปลงสายพันธุ์มาโดยตลอด
3. ระยะฟักตัวของโรคสั้น 2 ถึง 5 วัน แนวโน้มในการกักตัวสั้นลง เป็น 7 + 3 หมายถึงกักตัวแค่ 7 วัน และอีก 3 วันใช้วิธีการดูแลป้องกันการแพร่กระจายโรค
4. ไม่มีการหา time line เพราะโรคกระจายอยู่ทั่วไป จึงเป็นการยากที่จะบอก
5. การระบาดเกิดกลุ่มในครอบครัว ได้ง่าย จึงทำให้มีจำนวนผู้ติดเชื้อเป็นจำนวนมาก เมื่อติดเชื้อแล้วก็จะมีภูมิต้านทานเกิดขึ้นมาด้วยเช่นกัน ในอนาคตการระบาดในโรงเรียน สถานที่มีคนหมู่มากเกิดขึ้นได้ เช่นเดียวกับไข้หวัดใหญ่ที่เราได้พบเห็น
6. ความรุนแรงของโรค จะพบในกลุ่มเปราะบาง อายุมาก มีโรคประจำตัว
7. การสร้างภูมิต้านทาน ด้วยวัคซีนมีความจำเป็น ลดความรุนแรงของโรค จำเป็นที่จะต้องมีเข็มกระตุ้น
8. ยาต้านไวรัส จะมีการพัฒนาออกมา และจะมีประสิทธิภาพดีขึ้น เพื่อใช้กับกลุ่มเสี่ยงที่จะเกิดโรครุนแรง
9. การศึกษาวิจัยให้ได้องค์ความรู้ มาใช้ประโยชน์ในการควบคุมโรค ป้องกัน รักษามีความจำเป็น
10. มาตรการในการป้องกันโรค สุขอนามัย ล้างมือ หน้ากากอนามัย กำหนดระยะห่าง ยังมีความจำเป็น จนกว่า โรคนี้จะเข้าสู่โรคประจำถิ่น หรือประจำฤดูกาลเช่นโรคทางเดินหายใจทั่วไป การใช้ต่อไปก็มีประโยชน์ต่อโรคทางเดินหายใจเช่นเดียวกัน
ถึงแม้ว่าจะเข้าสู่โรคประจำถิ่น หรือตามฤดูกาล ก็ยังคงต้องติดตามความรุนแรงของโรค การเปลี่ยนแปลงวิวัฒนาการ ของโรคให้อยู่ในสภาวะควบคุมได้