ข่าวสุขภาพ
ข่าวสุขภาพทั่วไป ข่าวธุรกิจสุขภาพไทย ข่าว/กิจกรรม/สาระ รพ.ต่างๆ ข้อมูลบริการ รพ.ต่างๆ สาระความรู้สุขภาพ กิจกรรม ESG CSR Health Economy บริจาครพ.ต่างๆ
น่าสนใจไทยแลนด์
About us เผยแพร่เนื้อหา สถิติเว็บไซต์ สำรวจความเห็นสุขภาพ โฆษณา
healthserv.net@gmail.com

โอมิครอนสายพันธุ์ย่อยที่ตรวจพบในไทย

โอมิครอนสายพันธุ์ย่อยที่ตรวจพบในไทย Thumb HealthServ.net
โอมิครอนสายพันธุ์ย่อยที่ตรวจพบในไทย ThumbMobile HealthServ.net

ศูนย์จีโนมทางการแพทย์ คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล ได้โพสต์ผ่านเพจ Center for Medical Genomics รายงานการตรวจสายพันธุ์ย่อยโอมิครอนในประเทศไทย พบว่า สายพันธุ์ย่อยที่ตรวจพบในไทย BA.5, BA.2.75, BF.7, BQ.1, XBB และ XBB





1 ควรรักษาด้วยยาแอนติบอดีประเภทใด?
 
โอมิครอนสายพันธุ์ย่อยที่ตรวจพบในประเทศไทยจากการถอดรหัสพันธุกรรมทั้งจีโนมและแชร์ข้อมูลบนฐานข้อมูลโควิดโลก “กิสเสด (GISAID)”   
 
6 อันดับแรกคือ
 
1. BA.5* (BA.5.X)          จำนวน 2,550 ราย  33%
2. BA.2.75* (BA.2.75.X) จำนวน 61 ราย  1.4%
3. BF.7                          จำนวน 2 ราย  <0.5%
4. BQ.1                         จำนวน 1 ราย  <0.5%
5. XBB                           จำนวน 1 ราย  <0.5%
6. XBB.1                        จำนวน 2 ราย (อยู่ในระหว่างคำนวณ %)
 
 
ณ. วันที่ 15/11/2565
 
 
อนึ่งโอมิครอนที่พบจากผู้ติดเชื้อในประเทศไทยมีจำนวนมากว่า 17,781 ราย คิดเป็นร้อยละ 71 (ระหว่าง 12 กย 2564- 27 กย 2565)
 
โดยยังไม่พบโอมิครอนสายพันธุ์ย่อย  BQ.1.1, และ สายพันธุ์ลูกผสม XBC จากฐานข้อมูลโควิดโลก “กิสเสด” ในขณะนี้ (15/11/2565)   
 
 
ประเทศไทยมีการจัดเตรียมแอนติบอดีสำเร็จรูป แบบ Long Acting Antibodies (LAAB) ที่มีชื่อว่า "อีวูชีลด์" (Evusheld) เพื่อรักษาการติดเชื้อโควิด-19 ในกลุ่มประชาชนเปราะบาง โดยเฉพาะผู้ที่มีภูมิคุ้มกันบกพร่อง หรือร่างกายสร้างภูมิคุ้มกันต่อไวรัสโคโรนา 2019 ได้ไม่ดี เช่น ผู้มีภูมิคุ้มกันบกพร่องจากการติดเชื้อไวรัส ผู้ป่วยไตวายเรื้อรัง ปลูกถ่ายอวัยวะ ปลูกถ่ายไขกระดูก หรือผู้ที่ได้รับยากดภูมิคุ้มกัน ซึ่งเป็นกลุ่มเสี่ยงเกิดอาการรุนแรงและเสียชีวิตจากโควิด-19 ได้โดยยา"อีวูชีลด์"สามารถใช้รักษาการติดเชื้อสายพันธุ์ BA.5*, BA.2.75* และสายพันธุ์ลูกผสม XBC (ยังไม่พบในประเทศไทย) ได้ดี
 
ส่วนโอมิครอนสายพันธุ์ย่อย BQ.1,BQ.1.1, XBB, และ XBB.1 จากการทดสอบในห้องปฏิบัติการพบว่าดื้อต่อแอนติบอดีสำเร็จรูป "อีวูชีลด์" อาจต้องเปลี่ยนไปใช้แอนติบอดีค็อกเทลที่มีศักยภาพสามารถยับยั้งไวรัสโคโรนา 2019 หรือ SARS-CoV-2 ได้ทุกสายพันธุ์ (Broadly Neutralizing Monoclonal Antibodies) อาทิ แอนติบอดีค็อกเทล SA55 และ SA58 ซึ่งผลจากห้องปฏิบัติการพบว่าสามารถยับยั้ง ไวรัสโคโรนา 2019 ได้ทุกสายพันธุ์ทั้งในอดีตและปัจจุบัน
 
ดร.อาชิช จา (Ashish Jha) หัวหน้าคณะทำงานเฉพาะกิจด้านโควิดของทำเนียบขาว ได้กล่าวว่าด้วยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีที่ก้าวหน้าไปอย่างมากในช่วง 3 ปีที่ผ่านมา  ทำให้ปัจจุบันความเสี่ยงของการเจ็บป่วยรุนแรงถึงเสียชีวิตจากโควิด-19 แทบจะเป็น “ศูนย์” สำหรับผู้ที่ได้รับการฉีดวัคซีนเข็มกระตุ้นตามกำหนดและผู้ติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ที่ได้รับการรักษาด้วยยาต้านไวรัสในทันทีไม่ว่าจะเป็นยาเม็ดหรือยาฉีดภายใต้ดุลพินิจของแพทย์ผู้รักษา 

Center for Medical Genomics 15 พฤศจิกายน 65
 
 

สหรัฐเฝ้าจับตาสายพันธุ์ BN.1

 
ศูนย์ควบคุมและป้องกันโรคแห่งชาติสหรัฐฯ (U.S. CDC) กำลังติดตามโอมิครอน สายพันธุ์ใหม่ “BN.1” ซึ่งถูกจัดให้เป็นสายพันธุ์ย่อยลำดับที่ 6 ที่สหรัฐต้องเฝ้าติดตาม ไทยพบแล้วไม่น้อยกว่า 5 ราย มีความเป็นไปได้ที่อาจระบาดมาแทนที่ BA.5
 
โอมิครอน “BN.1”   พบการติดเชื้อในสหรัฐฯมากกว่า 4.3% ทำให้เป็นสายพันธุ์ที่พบได้บ่อยที่สุดอันดับที่ 6 ของประเทศ ตามหลังโอมิครอน BA.4.6 (5.5%)
 
 
โอมิครอน BN.1 มีชื่อเต็มว่า  B.1.1.529.2.75.5.5.1 เป็นทายาทของโอมิครอน BA.2 มีศักยภาพสูงในการหลบหนีภูมิคุ้มกันที่ได้รับจากการติดเชื้อและการฉีดวัคซีน 
 
จากฐานข้อมูลรหัสพันธุกรรมโควิดโลก “GISAID” พบ BN.1 ในประเทศไทยจากผู้ติดเชื้อไม่น้อยกว่า 5 ราย ถือเป็นสายพันธุ์ย่อยลำดับที่ 3 ที่ไทยควรเฝ้าติดตาม (อันดับ1 คือ BA.5 ลำดับสองคือ BA.2.75)

 
โอมิครอน BN.1* [BN.1.3 (87.50%), BN.1 (6.25%), BN.1.2 (6.25%)] ในประเทศไทยมีความได้เปรียบในการเติบโต-แพร่ระบาด เหนือกว่า BA.5* [BA.5.2 (55.04%), BA.5.2.26 (13.51%), BA.5.2.1 (11.69%), BA.5.2.22 (6.57%), BA.5.1 (3.02%)] ถึง 131% 
 
 
โอมิครอน BN.1* มีความได้เปรียบในการเติบโต-แพร่ระบาด เหนือกว่า BA.2.75* [BA.2.75 (24.49%), BA.2.75.1 (8.16%), BA.2.75.2 (8.16%), etc.] ประมาณ  47% 


 
จึงมีความเป็นไปได้เช่นกันที่โอมิครอน BN.1 จะระบาดมาแทนที่โอมิครอน BA.5 ในประเทศไทย เมื่อ BA.5 อ่อนกำลังลง เนื่องจากมีความได้เปรียบในการเติบโต-แพร่ระบาด เหนือกว่า BA.2.75* ซึ่งเป็นโอมิครอนลำดับสองรองจาก BA.5 ที่ระบาดในไทย
 
การทดสอบในห้องปฏิบัติการพบว่าเชื้อโอมิครอน BN.1 ยังไม่ดื้อต่อยาแอนติบอดีสำเร็จรูป "อีวูชีลด์" 

Center for Medical Genomics 15 พฤศจิกายน 65

ข่าว/บทความล่าสุด
เนื้อหาอ่านล่าสุด