วิธีทำความสะอาดบ้าน ฆ่าเชื้อโรค ช่วงโควิดระบาด
ช่วงนี้คงไม่มีเรื่องไหนทำให้อลหม่านกันไปทั้งโลกเท่ากับเรื่อง COVID-19 อีกแล้ว ถึงกับมีหลายคนพูดว่าโอกาสติด 1 % แต่โอกาสที่โรคประสาทจะถามหาน่ะ 100% แต่จะไม่ให้เครียดได้อย่างไรเพราะรู้หรือไม่ว่าการจามหรือไอเพียงครั้งเดียวสามารถแพร่กระจายไวรัสได้ถึง 3,000 จุด และยิ่งมีโอกาสเสี่ยงมากขึ้นถ้าอยู่ใกล้ผู้ติดเชื้อในระยะใกล้กว่า 1.8 เมตร หรือประมาณ 6 ฟุต ทำให้โอกาสที่จะติดก็ไม่ยากนัก ดังนั้นทั้งตัวบุคคลเองและสถานที่ส่วนใหญ่จึงหันมาเอาจริงเอาจังกับการทำความสะอาดอาคารบ้านเรือน เพราะโอกาสที่จะไปสัมผัสเชื้อโรคเข้ามาจะเกิดขึ้นเมื่อไหร่ก็ได้ วันนี้เรามีวิธีทำความสะอาดบ้านให้ปลอดเชื้อ เพื่อป้องกันเจ้าโควิดและโรคติดต่ออื่นๆ มาฝากกัน บ้านเราจะได้สะอาด ปราศจากเชื้อ อย่างน้อยก็สร้างความสบายใจและความมั่นใจได้อีกระดับหนึ่ง
การทำความสะอาดกับการฆ่าเชื้อโรคต่างกันอย่างไร?
จริงๆ ทั้งสองคำนี้มีความใกล้เคียงกันแต่ต่างกันอยู่บ้าง การทำความสะอาดคือการขจัด การเช็ดถูสิ่งแปลกปลอม สิ่งสกปรกทั้งหลาย เช่น ฝุ่น เชื้อโรคออกจากพื้นผิวต่างๆ ในขณะที่การฆ่าเชื้อโรคคือการใช้สารเคมีในการฆ่าเชื้อโรคบนพื้นผิว การทำความสะอาดก่อนช่วยอย่างมากในการทำให้สารเคมีฆ่าเชื้อโรคทำงานได้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น
ไวรัสโควิด 19 จะมีชีวิตอยู่ในบ้านเราได้กี่วัน?
จนถึงขณะนี้ยังไม่มีการยืนยันได้ว่าไวรัสโควิดจะมีชีวิตบนพื้นผิวต่างๆ ได้นานแค่ไหน อาจจะเป็นเวลาไม่กี่ชั่วโมง จนถึงมีชีวิตอยู่เป็นวัน ระยะเวลาขึ้นอยู่กับสภาพอากาศ ความชื้นและประเภทผิวสัมผัสที่ไวรัสเกาะอยู่ด้วย
พื้นผิวส่วนไหนในบ้านที่มีโอกาสสูงที่จะมีไวรัสเกาะติดอยู่?
จริงๆ เป็นสิ่งที่ระบุได้ยากมาก เพราะถ้ามีคนที่ป่วยสักคนไอ จามโดยไม่ใส่หน้ากากหรือปิดปาก เชื้อโรคสามารถไปเกาะตามพื้นที่ใกล้เคียงได้หมด และที่สำคัญคือมือของเราเองที่มีส่วนสำคัญในการนำเชื้อโรคจากที่หนึ่งไปอีกที่หนึ่ง ดังนั้นพื้นผิวหรืออุปกรณ์ที่ถูกสัมผัสบ่อยครั้งมีโอกาสสูงมากขึ้นในการมีเชื้อโรคแฝงอยู่ อุปกรณ์ที่ถูกจับบ่อยๆ เช่น รีโมทคอนโทรล มือเปิดปิดตู้เย็น ที่จับประตู ก๊อกน้ำ สวิทช์ไฟต่างๆ อุปกรณ์ในครัว โต๊ เก้าอี้ หรือแม้กระทั่งโทรศัพท์มือถือหรือแท็บเล็ตก็มีโอกาสสูงที่จะมีไวรัสแอบแฝงตัวอยู่
แล้วควรใช้อะไรในการทำความสะอาดและควรทำอย่างไร?
จริงๆ แล้วโควิดมีโครงสร้างที่เปราะบาง ความร้อนหรือสารเคมีทั่วไปในการทำความสะอาด เช่น ผงซักฟอก สบู่ น้ำยาล้างจาน น้ำยาฟอกขาว (bleach) หรือที่คนไทยมักเรียกติดปากว่าไฮเตอร์ก็สามารถฆ่าไวรัสได้แล้วโดยการใช้บรีช ให้ผสม 1/3 ถ้วย ต่อน้ำ 1 แกลลอน ทุกครั้งที่ทำความสะอาดควรใส่ถุงมือที่ใช้แล้วทิ้ง หลังจากนั้นเพื่อความสบายใจหลังการทำความสะอาดสามารถใช้น้ำยาฆ่าเชื้อตามได้อีก
พื้นผิวที่มีไวรัสเกาะติดแล้วต้องทำอย่างไร?
สำหรับพื้นผิวที่มีการปนเปื้อนหรือคาดว่าจะมีไวรัสเกาะติดแล้ว สามารถใช้อุปกรณ์และสารทำความสะอาดบ้านทั่วไปที่กล่าวข้างต้น โดยใช้กระดาษทิชชู ผ้าถูพื้น หรือผ้าทำความสะอาดแบบเปียกที่ใช้แล้วทิ้ง ทำความสะอาดก็สามารถฆ่าไวรัสได้แล้ว ถ้าใช้ผ้าถูพื้นต้องซักผ้าผืนนั้นทันทีหลังการทำความสะอาด น้ำยาซักผ้าทั่วไปก็สามารถฆ่าไวรัสได้ แต่ข้อควรระวังคือล้างมือให้สะอาดทั้งทุกครั้งด้วยสบู่หรือเจลแอลกอฮอล์ทำความสะอาดทุกครั้งหลังจากถอดถุงมือ และระวังอย่าให้มือสัมผัสดวงตา จมูก และปาก เพราะระหว่างการทำความสะอาดคุณอาจจะเคลื่อนไวรัสจากจุดหนึ่งไปสู่อีกจุดหนึ่งได้ ดังนั้นควรทำความสะอาดทีละด้านเป็นรูปตัวเอส (S) สามารถช่วยลดการกระจายเชื้อโรคระหว่างการทำความสะอาดได้
จานชาม มีด อุปกรณ์เครื่องครัวควรทำอย่างไร?
ถ้าเป็นไปได้ล้างด้วยน้ำร้อนกับน้ำยาล้างจานปกติก็เพียงพอ ยิ่งถ้าบ้านไหนใช้เครื่องล้างจานจะดีมากเพราะปกติเครื่องล้างจานจะใช้น้ำร้อนและมีการอบจานชามด้วยความร้อนอยู่แล้ว
เสื้อผ้า ผ้าเช็ดตัว ชุดเครื่องนอนควรทำอย่างไร?
สำหรับผ้าที่มีความเสี่ยงในการสัมผัสเชื้อ ถ้าใช้เครื่องซักผ้าให้ตั้งค่าเป็นน้ำร้อนและต้องตากหรืออบให้แห้งสนิท ข้อควรระวังคืออย่าสะบัดผ้าก่อนซักเพราะอาจกระจายเชื้อจากจุดหนึ่งไปสู่อีกจุดหนึ่งได้ และอย่าลืมล้างมือทุกครั้งหลังจากสัมผัสผ้าเหล่านั้น
การป้องกันเป็นวิธีการที่ดีที่สุด
พื้นผิวสัมผัสต่างๆ มีส่วนสำคัญมากในการกระจายไวรัส ดังนั้นการป้องกันไม่ให้พื้นผิวต่างๆ มีไวรัสเกาะติดตั้งแต่แรกเป็นวิธีที่ดีที่สุด คือใส่หน้ากากเพื่อป้องการแพร่กระจายเมื่อมีการไอ จาม หรือใช้ทิชชูปิดปาก ถ้าไม่มีจริงๆ ให้จามที่ข้อศอก และล้างมือทันทีหลังการไอ จาม หรือถึงแม้ไม่มีอาการไอ จามต้องหมั่นล้างมือให้บ่อยที่สุด ข้อแนะนำในการล้างมือฟอกสบู่อย่างน้อย 20 วินาที หรือถ้าใช้เจลแอลกอฮอล์ล้างมือต้องมีความเข้มข้นไม่ต่ำกว่า 70% โดยควรล้างมือก่อนและหลังการทำสิ่งเหล่านี้
- หลังการสั่งน้ำมูก ไอ จาม
- หลังใช้ห้องน้ำ
- หลังจากเล่นกับสัตว์เลี้ยง
- ก่อนทำอาหาร
- ก่อนรับประทานอาหาร
- ก่อนดูแลผู้อื่น เช่น เด็กหรือผู้สูงอายุ
SCB Stories & Tips
การเลือกใช้ผลิตภัณฑ์ทำความสะอาด
1. แอลกอฮอล์
สำหรับพื้นผิวที่เป็นโลหะ ไม่ต้องผสมน้ำ เช็ดเป็นเวลา 30 นาที
2. ผลิตภัณฑ์ฆ่าเชื้อโรค
สำหรับซักผ้า เช็ดทำความสะอาดพื้นผิว น้ำยา 25 ซีซี ผสม 1 ลิตร
สำหรับทำความสะอาดเครื่องใช้ในครัวเรือน น้ำยา 100 ซีซี ผสมแอลกอฮอล์ 70% 190 ซีซี
3. ผงซักฟอก
สำหรับทำความสะอาด เสื้อผ้า ผ้าม่าน ผ้าปูที่นอน ผสมน้ำร้อน 70 องศา ทำความสะอาด 25 นาที
4. น้ำยาฟอกขาว 5% Na Hypochloride
สำหรับพื้นผิวทั่วไป เช็ด 60 วินาที น้ำยา 1 ฝา ผสมน้ำ 1 ลิตร
สำหรับพื้นผิวที่มีน้ำมูก น้ำลาย เสมหะ สารคัดหลั่ง เช่น ห้องน้ำ โถส้วม ราดทิ้งไว้อย่างน้อย 15 นาที น้ำยา 10 ฝา ผสมน้ำ 1 ลิตร
5. สบู่ที่มีค่า PH มากกว่า 9
ฟอกมือ 20 นาที และใช้ชำระล้างร่างกาย
แนวทางการทําความสะอาดฆ่าเชื้อในสถานที่ที่ไม่ใช่สถานพยาบาล
น้ํายาที่แนะนําให้ใช้
กรมควบคุมโรค แนะนําให้ทําความสะอาดอุปกรณ์ให้เหมาะสมกับพื้นผิว เพื่อลดการแพร่กระจายเชื้อโรค
ติดเชื้อโคโรนา 2019 (COVID-19) ดังนี้
1. น้ํายาฟอกขาว หรือ ไฮเตอร์ (5% สารโซเดียมไฮโปคลอไรท์ (Sodium hypochlorite) สัดส่วน 1 ส่วน
ต่อน้ํา 99 ส่วน เหมาะสําหรับพื้นที่ผิวที่มีละอองเสมหะ น้ํามูก น้ําลาย
2. แอลกอฮอล์ 70% เหมาะสําหรับพื้นผิวที่เป็นโลหะ
ขั้นตอนการทําความสะอาดสําหรับพื้นที่สัมผัสเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ในสถานที่ที่ไม่ใช่สถานพยาบาล
1) ควรปิดกั้นบริเวณพื้นที่หรือพื้นผิวที่ปนเปื้อนเชื้อก่อนดําเนินการทําความสะอาดและฆ่าเชื้อเพื่อป้องกัน
ไม่ให้บุคคลที่ไม่เกี่ยวข้องสัมผัสกับเชื้อ
2) ควรสวมใส่อุปกรณ์ป้องกันส่วนบุคคลที่เหมาะสม (แว่นตา หน้ากากชุดคลุมพ่นยา รองเท้าบูท ถุงมือยาง)
ขณะทําความสะอาดพื้นที่หรือพื้นผิวที่ปนเปื้อนเชื้อ ระหว่างทําความสะอาด หากถุงมือชํารุดเสียหายมี รอยรั่ว ให้ถอดถุงมือออก และสวมถุงมือคู่ใหม่ทันที ควรกําจัดและทิ้งอุปกรณ์ป้องกันส่วนบุคคลแบบ ใช้แล้วทิ้งหลังจากทําความสะอาดเสร็จสิ้น ในกรณีที่ใช้แว่นตา ควรทําการฆ่าเชื้อหลังการใช้แต่ละครั้งและควรล้างมือด้วยสบู่และน้ําทันทีหลังจากถอดอุปกรณ์ป้องกัน
3) เลือกใช้อุปกรณ์ทําความสะอาดที่มีด้ามจับ เพื่อสัมผัสโดยตรงกับพื้นผิวให้น้อยที่สุด
4) เปิดประตู หน้าต่าง เพื่อการระบายอากาศ เมื่อใช้น้ํายาฆ่าเชื้อหรือน้ํายาฟอกขาว
5) ทําความสะอาดพื้นด้วยน้ํายาฆ่าเชื้อหรือน้ํายาฟอกขาวที่เตรียมไว้
6) เช็ดทําความสะอาด บริเวณที่มีการสัมผัสบ่อยๆ (เช่น ปุ่มกด, ราวจับ, ลูกบิดประตู, ที่วางแขน,พนักพิงที่นั่ง, โต๊ะ, รีโมท, คีย์บอร์ด, สวิตซ์ไฟ, ฯลฯ ) เปิดประตูหน้าต่างให้อากาศถ่ายเท
7) ทําความสะอาดห้องน้ํา รวมถึงสุขภัณฑ์ และพื้นผิวในน้ํา โดยการราดน้ํายาฟอกขาวทิ้งไว้อย่างน้อย 15 นาที แล้วล้างทําความสะอาดพื้นอีกครั้งด้วยผงซักฟอกหรือน้ํายาล้างห้องน้ําตามปกติ
8) เช็ดพื้นผิวทั้งหมดที่อาจปนเปื้อนด้วยน้ํายาฟอกขาว หรือ 70% แอลกอฮอล์ ตามความเหมาะสมของ
วัสดุ
9) ซักทําความสะอาด ผ้าม่าน / ผ้าห่ม กรณีที่ซักด้วยน้ําร้อน ใช้ผงซักฟอกในน้ําที่อุณหภูมิ 70 องศาเซล
เซีย ส เป็นเวลาอย่างน้อย 25 นาที
10) ทิ้งอุปกรณ์ทําความสะอาดที่ทําจากผ้าและวัสดุดูดซับ เช่น ผ้าถูพื้น ผ้าเช็ด หลังจากทําความสะอาด
และฆ่าเชื้อในแต่ละพื้นที่ โดยสวมถุงมือ และนําอุปกรณ์ทิ้งใส่ถุงขยะติดเชื้อ รัดปากถุงให้มิดชิด
11) ทําการฆ่าเชื้ออุปกรณ์ทําความสะอาดที่ต้องนํากลับมาใช้ใหม่ โดยการแช่ในน้ํายาฟอกขาว
12) ทําความสะอาดถังถูพื้น โดยแช่ในน้ํายาฟอกขาวหรือล้างในน้ําร้อน
13) การทําความสะอาดพื้นผิว ให้ใช้ผ้าชุบน้ําหมาด ๆ ไม่ควรพ่นด้วยสเปรย์เนื่องจากจะเป็นการสร้างละอองทําให้เสมหะ น้ํามูก น้ําลายที่ตกอยู่บนพื้นผิวฟุ้งกระจายขึ้นมาได้ ควรหลีกเลี่ยงการสร้าง ละอองในระหว่าง
การทําความสะอาด ควรใช้วิธีการเซ็ดอย่างต่อเนื่องเมื่อทําความสะอาดพื้นหรือพื้นผิวในแนวนอนแทน
14) เมื่อทําความสะอาดเรียบร้อยแล้ว หลีกเลี่ยงการใช้พื้นที่ในวันถัดไปเป็นเวลา 1 วัน 15)
ทําการกําจัดขยะติดเชื้ออย่างถูกต้องและเหมาะสม
อุปกรณ์ป้องกันส่วนบุคคล (PPE) สําหรับผู้ที่ทําความสะอาดและฆ่าเชื้อโรค
1. ควรสวมถุงมือชนิดใช้แล้วทิ้ง ชุดกันเปื้อนแขนยาวพลาสติกชนิดใช้แล้วทิ้ง แว่นตากันลม หรือเครื่อง
ป้องกันใบหน้า และหน้ากากอนามัยทางการแพทย์
2. ขณะทําความสะอาด หลีกเลี่ยงการสัมผัส ดวงตา จมูก และปาก
3. ควรถอดถุงมือและทิ้งทันทีหากชํารุดเสียหายมีรอยรั่ว และสวมถุงมือคู่ใหม่
4. ควรล้างมือด้วยสบู่และน้ําทันทีหลังจากถอด PPE แต่ละชิ้นออกหลังจากทําความสะอาด
กรมควบคุมโรค