ข่าวสุขภาพ
ข่าวสุขภาพทั่วไป ข่าวธุรกิจสุขภาพไทย ข่าว/กิจกรรม/สาระ รพ.ต่างๆ ข้อมูลบริการ รพ.ต่างๆ สาระความรู้สุขภาพ กิจกรรม ESG CSR Health Economy บริจาครพ.ต่างๆ
น่าสนใจไทยแลนด์
About us เผยแพร่เนื้อหา สถิติเว็บไซต์ สำรวจความเห็นสุขภาพ โฆษณา
healthserv.net@gmail.com

ตรวจโควิด-19 กับหน่วยรถพระราชทาน ดูผลตรวจได้ที่ไหน?

ตรวจโควิด-19 กับหน่วยรถพระราชทาน ดูผลตรวจได้ที่ไหน? Thumb HealthServ.net
ตรวจโควิด-19 กับหน่วยรถพระราชทาน ดูผลตรวจได้ที่ไหน? ThumbMobile HealthServ.net

หากท่านตรวจหาเชื้อโควิด-19 กับหน่วยรถพระราชทาน ดูผลตรวจได้ที่ไหน?
1. เข้าลิงค์ตาม QR Code
2. ใส่หมายเลขบัตรประชาชน
3.ใส่รหัส (หมายเลขโทรศัพท์ที่ลงทะเบียน)
4. เปิดไฟล์ PDF ผลตรวจห้องปฏิบัติการ (LAB)
ที่มา สำนักอนามัย กรุงเทพมหานคร

 

การเข้ารับบริการตรวจโควิด กับสถาบันฯ

ท่านสามารถติดต่อเข้ารับการตรวจได้ที่ คลินิก ARI สถาบันป้องกันควบคุมโรคเขตเมือง ตั้งเเต่ 08.30 - 15.00 น. ในวันราชการ หยุดเสาร์ - อาทิตย์ และวันหยุดนักขัตฤกษ์ นัดจองคิวตรวจได้ที่เบอร์ 02 5211668 และ 061 6424406 หรือ จองผ่านระบบ บริการนัดหมายตรวจโควิด ONLINE ได้ที่ http://aps.ddc.moph.go.th
*กรณีไม่ได้จองผ่านระบบฯ สามารถ walk in ได้ ตั้งเเต่เวลา 8.00 – 15.00 น. จนกว่าจะครบกำหนดคิวตรวจที่กำหนดไว้
ราคาค่าตรวจ 1,500 บาท
*กรณีตรวจ โดย รถพระราชทาน ขอให้ท่านติดตามข่าวสารผ่าน เพจ Facebook สถาบันป้องกันฯ


กรณีท่านที่รับการตรวจจากสถานพยาบาลอื่น ๆ ที่ไม่ใช่การตรวจที่ สปคม. หรือการตรวจเชิงรุกจากรถเก็บตัวอย่างชีวนิรภัย พระราชทาน (ในพื้นที่ กทม.) เราจะไม่สามารถเช็คผลให้กับท่านได้ ท่านสามารถสอบถามผลการตรวจได้จากสถานพยาบาลที่ท่านเข้ารับการตรวจค่ะ

 

วิธีการตรวจดูผลเชื้อโควิด 19 หลังรับการตรวจ และ กรณีไม่สามารถเปิดดูผลการตรวจได้

  • ผลการตรวจจะทราบภายใน 1 - 3 วัน หลังจากได้รับการตรวจ       
  • ท่านสามารถตรวจสอบผลได้ที่ ระบบที่ท่านได้ลงทะเบียนไว้ในวันที่ตรวจ iudcthailand.org/icntracking/โดยใส่เลขบัตรประชาชน เเละเบอร์โทรศัพท์ ที่ท่านได้ลงทะเบียนไว้
  • กรณีเข้าระบบตรวจสอบไม่ได้ กรุณาเเจ้ง ชื่อ นามสกุล เลขบัตรประชาชน เบอร์โทรศัพท์ วันที่ได้รับการตรวจ เเละสถานที่ตรวจ ไว้ใน Inbox นี้ เพื่อให้เจ้าหน้าที่ตรวจสอบข้อมูลให้ค่ะ
ตรวจโควิด-19 กับหน่วยรถพระราชทาน ดูผลตรวจได้ที่ไหน? HealthServ

รถเก็บตัวอย่างชีวนิรภัย (Biosafety Mobile Unit)

ความเป็นมา
กระทรวงสาธารณสุข ได้มอบหมายให้ สถาบันป้องกันควบคุมโรคเขตเมือง (สปคม.) กรมควบคุมโรค จัดส่งเจ้าหน้าที่ไปรับ "รถตรวจโรคติดเชื้อชีวนิรภัยพร้อมระบบสารสนเทศ (ต้นแบบ)" เพื่อใช้ในการเก็บสิ่งส่งตรวจเคลื่อนที่และทดสอบประสิทธิภาพ เมื่อวันที่ 30 เมษายน 2563 จำนวน 1 คัน หมายเลขทะเบียน 2 ฒอ 648
 
เกิดจากการน้อมเกล้าฯ ถวายรถคันนี้ โดย ศจ.นพ.วิปร วิประกษิต คณะแพทยศาสตร์ ศิริราชพยาบาล ประธานคณะกรรมการบริหาร บ.แอท-ยีนส์ จำกัด พร้อม ด้วย บ. THINK NET จำดั และ บ. PLUSE SCIENCE จำกัด ขอพระราชทานน้อมเกล้าฯ ถวายรถตรวจโรคติดเชื้อชีวนิรภัย พร้อมระบบสารสนเทศ (ต้นแบบ) แด่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว โดยได้ประสานกับกรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข ในการนำรถต้นแบบไปทดลองใช้
 
การได้รับพระราชทานรถตรวจโรคติดเชื้อชีวนิรภัย ถือเป็นพระมหากรุณาธิคุณอย่างยิ่ง ต่อประชาชนและประเทศชาติ ในการต่อสู้กับภัยโควิด-19 ทำให้ค้นหาผู้สงสัยผู้ติดเชื้อในชุมชนได้อย่างรวดเร็ว เข้าถึงประชาชนได้ง่ายทุกชุมชน เจ้าหน้าที่ผู้เก็บตัวอย่างปลอดภัย ลดการใช้ชุดอุปกรณ์ป้องกันส่วนบุคคล (PPE) ในขณะที่มีความขาดแคลนทั่วโลก
 
ความสำคัญและความจำเป็นของรถตรวจโรคติดเชื้อชีวนิรภัยพร้อมระบบสารสนเทศ

จำเป็นในการเฝ้าระวังและค้นหาผู้ป่วยเชิงรุก (Active Case Finding)
  • พื้นที่เสี่ยง เช่น ชุมชนแออัด
  • สถานที่เสี่ยง เช่น สถานที่ที่มีผู้คนมารวมกลุ่มกัน จำนวนมาก
  • ประชากรกลุ่มเสี่ยง เช่น แรงงานต่างด้าว
 
ผลการดำเนินงาน 
เริ่มใช้งานครั้งแรก เมื่อ 2 พค 63 ณ สถานควบคุมโรคแห่งรัฐ (State Quarantine) แห่งหนึ่งในกรุงเทพฯ ต่อมาได้ขยายการให้บริการที่หลากหลายกลุ่มมากขึ้นทั่วประเทศ ปัจจุบันรถตรวจโรคติดเชื้อชีวนิรภัยให้บริการไปแล้วครอบคลุมประชาชนกลุ่มเสี่ยง 12,094 ราย (ข้อมูลปี 63) ซึ่งที่ผ่านมาประเทศไทยมีการตรวจไปแล้วทั้งสิ้น ประมาณ 315,433 ราย (ข้อมูลปี 63) 
 
แผนการใช้รถตรวจโรคติดเชื้อชีวนิรภัยที่ได้รับพระราชทานในการเผชิญเหตุการณ์ระบาดของโควิด19
  1. เน้นแหล่งท่องเที่ยว เช่น ผับ บาร์ ที่เคยเป็นจุดเริ่มต้นของการระบาดรอบแรก
  2. เข้าถึงประชาชนในชุมชน เช่น ผู้ด้อยโอกาสกลุ่มเปราะบาง คนเร่ร่อน แรงงานข้ามชาติ ในจังหวัดที่เป็นแหล่งท่องเที่ยวโดยเฉพาะเขตเมือง และปริมณฑล
 
ประโยชน์
  1. เพิ่มความรวดเร็วในการค้นหาผู้ป่วย ณ จุดที่มีการระบาดได้อย่างรวดเร็ว เปลี่ยนวิธีการทำงาน จากตั้งรับในโรงพยาบาล เป็นการทำงานเชิงรุกเข้าถึงจุดเกิดเหตุที่บ้านและชุมชน ทำให้ค้นหาผู้สงสัย ผู้ติดเชื้อในชุมชนทำได้อย่างรวดเร็ว
  2. เจ้าหน้าที่เก็บตัวอย่างอยู่ประจำรถ มีความปลอดภัย
  3. ลดค่าใช้จ่าย ด้วยการลดการใช้อุปกรณ์ป้องกันส่วนบุคคล (ชุด PPE หน้ากากอนามัยชนิด N95) มีราคาสูงและขาดแคลน


 
ตรวจโควิด-19 กับหน่วยรถพระราชทาน ดูผลตรวจได้ที่ไหน? HealthServ

รถวิเคราะห์ผลด่วนพิเศษ (Express Analysis Mobile Unit)

รถวิเคราะห์ผลด่วนพิเศษ ต้นแบบ ใช้งานคู่กับรถเก็บตัวอย่างชีวนิรภัยฯ ค้นหาเชิงรุกแบบเบ็ดเสร็จในพื้นที่ ทราบผลภายใน 3 ชั่วโมง เพื่อรอดพ้นจากโรคโควิด 19

พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงมีพระราชดำริให้คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และทีมผู้เชี่ยวชาญ สร้างห้องปฏิบัติการเคลื่อนที่เพื่อออกไปตรวจวิเคราะห์ผลได้นอกโรงพยาบาลหรือหน่วยงาน จะช่วยลดปัญหาการขนส่งตัวอย่างและระยะเวลาในการรอผลการวิเคราะห์ และได้พระราชทาน “รถวิเคราะห์ผลด่วนพิเศษ” ต้นแบบ ใช้งานคู่กับรถเก็บตัวอย่างชีวนิรภัยฯ ค้นหาเชิงรุกแบบเบ็ดเสร็จในพื้นที่ ทราบผลที่รวดเร็ว เพื่อให้ปวงชนรอดพ้นจากโรคโควิด 19 ซึ่งได้นำมาใช้เป็นครั้งแรกในสถานการณ์จริงในการปฏิบัติการค้นหาเชิงรุกทันที กรณีพบผู้ประกาศข่าวสถานีโทรทัศน์ช่อง 11 (NBT) ถนนวิภาวดี กรุงเทพฯ ติดเชื้อโควิด 19 ในวันที่ 22 มกราคม 2564 ที่ผ่านมา ตรวจจำนวน 222 ตัวอย่าง ได้ผลที่รวดเร็วตามที่คาดหมาย

วัตถุประสงค์ของรถพระราชทานนี้ เพื่อเสริมการปฏิบัติงานของบุคลการด้านสาธารณสุข สามารถเก็บตัวอย่าง และวิเคราะห์ผลการตรวจในพื้นที่ที่รวดเร็ว แม่นยำ และมีความปลอดภัยต่อบุคลากรทางการแพทย์สูงสุด อันเป็นการลดปัญหาความล่าช้าในการขนส่งสิ่งส่งตรวจกลับมาตรวจที่หน่วยงาน ที่โดดเด่นคือสามารถนำไปใช้วิเคราะห์เชื้ออื่นๆ ที่วิเคราะห์ด้วยเทคนิคการเพิ่มปริมาณสารพันธุกรรมดีเอ็นเอด้วยปฏิกิริยาโพลีเมอเรส (Real Time Polymerase Chain Reaction (PCR)) โดยใช้เวลาวิเคราะห์เพียง 3 ชั่วโมง และวิเคราะห์ได้ 70 ตัวอย่างต่อ 1 รอบต่อเครื่อง

รถวิเคราะห์ผลด่วนพิเศษ เป็นห้องปฏิบัติการเคลื่อนที่ ซึ่งมีพื้นที่ใช้สอย 16.8 ตารางเมตร (7 เมตร x 2.4 เมตร) ภายในประกอบด้วย 3 ห้องหลัก ได้แก่ ห้องสกัดสารพันธุกรรม ห้องเตรียมน้ำยาวิเคราะห์ และห้องวิเคราะห์ผลด้วยเทคนิคการเพิ่มปริมาณสารพันธุกรรมดีเอ็นเอด้วยปฏิกิริยาโพลีเมอเรส (Real Time Polymerase Chain Reaction (PCR)) ให้ผู้ปฏิบัติงานสามารถตรวจวิเคราะห์ผลได้อย่างถูกต้อง แม่นยำ สะดวกและปลอดภัย มีห้องบัฟเฟอร์เพื่อควบคุมและป้องกันการรั่วไหลของเชื้อโรค พร้อมเครื่องมือที่ติดตั้งภายในรถ ได้แก่ ตู้ปลอดเชื้อ, ตู้ปฏิบัติงานพีซีอาร์ (PCR cabinet), เครื่องสกัดสารพันธุกรรมอัตโนมัติ เครื่องเพิ่มปริมาณสารพันธุกรรมดีเอ็นเอด้วยปฏิกิริยาโพลีเมอเรส (real-time PCR), ตู้แช่แข็ง -20องซาเซลเซียส, ตู้ทำความเย็น 4 องศาเซลเซียส, ช่องส่งตัวอย่าง,เครื่องเขย่าผสมสาร, เครื่องปั่นเหวี่ยงตกตะกอน, ไมโครปิเปต (Micropipette), ระบบยูวีฆ่าเชื้อ, ระบบสื่อสารสองทาง, ระบบกล้องวงจรปิด และเครื่องล้างมือแอลกอฮอล์อัตโนมัติ
 

“ รถวิเคราะห์ผลด่วนพิเศษนี้ เป็นประโยชน์สามารถนำไปใช้งานคู่กับรถพระราชทานเก็บตัวอย่างชีวนิรภัยได้ เพื่อให้การออกตรวจเชื้อ COVID-19 มีความสมบูรณ์แบบมากยิ่งขึ้น และสามารถนำมาประยุกต์ใช้ในกรณีที่เกิดภัยพิบัติหรือเหตุฉุกเฉิน ทำให้สามารถเข้าช่วยเหลือประชาชนได้อย่างทันท่วงที ซึ่งการจัดสร้างรถวิเคราะห์ผลด่วนพิเศษคันนี้ ได้รับการรับรองจากกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข เรียบร้อยแล้ว” 

ตรวจโควิด-19 กับหน่วยรถพระราชทาน ดูผลตรวจได้ที่ไหน? HealthServ
ตรวจโควิด-19 กับหน่วยรถพระราชทาน ดูผลตรวจได้ที่ไหน? HealthServ
ตรวจโควิด-19 กับหน่วยรถพระราชทาน ดูผลตรวจได้ที่ไหน? HealthServ

ข่าว/บทความล่าสุด
เนื้อหาอ่านล่าสุด