ข่าวสุขภาพ
ข่าวสุขภาพทั่วไป ข่าวธุรกิจสุขภาพไทย ข่าว/กิจกรรม/สาระ รพ.ต่างๆ ข้อมูลบริการ รพ.ต่างๆ สาระความรู้สุขภาพ กิจกรรม ESG CSR Health Economy บริจาครพ.ต่างๆ
น่าสนใจไทยแลนด์
About us เผยแพร่เนื้อหา สถิติเว็บไซต์ สำรวจความเห็นสุขภาพ โฆษณา
healthserv.net@gmail.com

โรคไตเรื้อรัง

โรคไตเรื้อรัง Thumb HealthServ.net
โรคไตเรื้อรัง ThumbMobile HealthServ.net

ไต มีรูปร่างคล้ายเมล็ดถั่ว ขนาดเท่ากำปั้น (~150 กรัม) ในคนปกติ มีอยู่ 2 อัน วางอยู่สองข้างของกระดูกสันหลัง ประมาณซี่โครงซี่ที่ 12

 โรคไตเรื้อรัง
     ไต มีรูปร่างคล้ายเมล็ดถั่ว ขนาดเท่ากำปั้น (~150 กรัม) ในคนปกติ มีอยู่ 2 อัน วางอยู่สองข้างของกระดูกสันหลัง ประมาณซี่โครงซี่ที่ 12
 
 
 
หน้าที่ของไต
     1. ขับถ่ายของเสียออกทางปัสสาวะ
ไตสามารถกรองของเสียออกจากเลือด ได้ประมาณ 120-125 ml./นาที
     2. รักษาดุลน้ำ เกลือแร่ และกรดด่าง
          - รักษาดุลน้ำ
          - รักษาดุลเกลือแร่
          - รักษาดุลกรดด่าง
     3. ช่วยสร้างเอนไซม์ และฮอร์โมน
          - แองจิโอเทนซิน
          - อิริโธรปัวอิติน 
          - วิตามิน D
 
รู้ได้อย่างไร เมื่อไตทำงานลดลง
     - รู้สึกไม่สุขสบาย เนื่องจากมีของเสียสะสมในเลือดมาก ง่วงซึม สับสน คลื่นไส้ และเบื่ออาหาร
     - ซีด เหนื่อยง่าย 
 
 
ไตวายเรื้อรัง
     ภาวะการณ์ทำงานของไตบกพร่องเป็นเวลานาน และมีการดำเนินของโรคไปถึงระยะสุดท้าย ESRD (End Stage Renal Disease)
 
 
 
 

วิธีการบำบัดผู้ป่วยโรคไต


     1. Hemodialysis ฟอกเลือดด้วยเครื่องไตเทียม
     2. CAPD (Continuous Ambulatory Peritoneal Dialysis) การล้างทางช่องท้องถาวร
     3. การผ่าตัดปลูกถ่ายไต
 

การล้างไตด้วยเครื่องไตเทียม
 

     คือ การนำเลือดออกจากร่างกาย ผ่านตัวกรองที่เครื่องไตเทียม เพื่อกำจัดของเสียและน้ำส่วนเกิน แล้วนำเลือดที่ดีกลับเข้าสู่ร่างกาย 
 
 

ข้อดีของการทำ Hemodialysis
 

     1. สามารถ กำจัดน้ำที่เกินและของเสีย ได้อย่างรวดเร็ว
     2. สามารถให้สารอาหารและยาได้เพิ่มขึ้น
     3. เกิดการติดเชื้อน้อยกว่าการล้างทางช่องท้อง
     4. สะดวกรวดเร็ว และมีประสิทธิภาพ
     5. ต้องมีเครื่อง Hemodialysis และเครื่องกรองน้ำ RO
     6. ต้องมาทำในโรงพยาบาล อาทิตย์ละ 2-3 ครั้ง
     7. ต้องใช้ยากันเลือดแข็งตัว
     8. เกิดภาวะแทรกซ้อนขณะทำ เช่น ความดันโลหิตต่ำ ปวดศีรษะ ตะคริว ฯลฯ
 
 

การล้างไตทางช่องท้องถาวร

 
     เป็นการกำจัดของเสีย และส่วนเกินออกจากร่างกาย โดยวิธีฝังสายใส่น้ำยาเข้าทางช่องท้อง หลอดเลือดฝอยที่เลี้ยงอวัยวะภายในช่องท้อง จะพาเลือดที่มีของเสีย ซึมผ่านเยื่อบุช่องท้อง อาศัยเป็นตัวกรองแลกเปลี่ยนของเสีย 
 
 
 

ข้อดีของการทำ CAPD
 

     1. ใช้จำนวนบุคลากรน้อยกว่าทำ Hemodialysis
     2. ผู้ป่วยสามารถรับประทานอาหารได้ทุกชนิด
     3. การล้างทางหน้าท้อง ผู้ป่วยสามารถเดิน และทำงานได้ตามปกติ ช่วยเหลือตัวเองได้เต็มที่
     4. เหมาะสำหรับผู้ป่วยที่เป็นโรคหัวใจ และผู้ป่วยที่เป็นโรคเบาหวานมานาน
     5. ผู้ป่วยที่รักษาโดยวิธีนี้ มักจะไม่มีผิวคล้ำ ดำ เหมือนผู้ป่วยที่ล้างเลือดด้วยไตเทียม
     6. สามารถทำเองได้ที่บ้าน
     7. เสียค่าใช้จ่ายน้อยกว่าการทำ Hemodialysis
     8. สภาพการทำงานของไตที่เหลืออยู่ดีกว่า
     9. Quality of life ดีกว่า
 
ข้อเสียของการทำ CAPD
     1. มีการติดเชื้อทางช่องท้องง่าย
     2. แน่นอึดอัดเมื่อน้ำอยู่ในท้อง
 
 

การพยาบาล

ระยะแรก
     1. ให้ยาตามแผน การรักษาของแพทย์
     2. ให้ผู้ป่วยได้รับความสุขสบาย ทั้งด้านร่างกาย จิตใจ
     3. รับประทานอาหารที่ถูกต้องกับโรค
 
ระยะบำบัดทดแทนไต
     1. ให้ยาตามแผนการรักษาของแพทย์
     2. ให้การพยาบาลตามอาการ
     3. ควบคุมภาวะโภชนาการ
 

คนไข้ที่ทำ Hemodialysis


ขณะทำ
     1. เกิดภาวะแทรกซ้อนได้ง่าย พยาบาลต้องดูแลอย่างใกล้ชิด
     2. วัด Vital Signs ทุก 15 นาที 1 ชั่วโมง
 
หลังทำ
     1. ดูแลภาวะแทรกซ้อนที่จะเกิดขึ้น เช่น หน้ามืด เป็นลม
     2. Record Vital Signs เป็นระยะ ๆ
     3. ประเมินระดับความรู้สึก
     4. ชั่งน้ำหนัก เปรียบเทียบกับน้ำหนักก่อนทำ
     5. ตรวจสอบที่แทงเข็มดู Bleeding
     6. มีอาการหน้ามืด เป็นลม ให้รายงานแพทย์
 
อาหารที่เหมาะสำหรับผู้ป่วยโรคไตวายเรื้อรังที่ทำการฟอกเลือด
     - อาหารโปรตีนต่ำ 40 กรัมโปรตีนต่อวัน
     - ใช้ไข่ขาวและปลาเป็นแหล่งอาหารโปรตีน
     - หลีกเลี่ยงเครื่องในสัตว์
     - หลีกเลี่ยงไขมันสัตว์และกะทิ
     - งดอาหารเค็ม จำกัดน้ำ
     - งดผลไม้ ยกเว้นเช้าวันฟอกเลือด
     - งดอาหารที่มีฟอสเฟตสูง เช่น เมล็ดพืช นมสด เนย ไข่แดง 
     - รับประทานวิตามิน B รวม, C และกรดโฟลิก รับประทานวิตามิน D ตามแพทย์สั่ง
 
การดูแลคนไข้ที่ทำ CAPD
 
     - การดูแลต้องอาศัยทีมแพทย์ พยาบาล นักโภชนาการ ทำการสอนญาติหรือคนไข้ ในการเปลี่ยนน้ำยา
     - ดูแลสุขอนามัย รักษาความสะอาดของร่างกาย
     - ผิวแห้ง ให้ใช้โลชั่นทา
     - ชั่งน้ำหนัก วัดความดัน ทุกวัน
     - ออกกำลังกายตามความเหมาะสม
     - คนไข้สามารถรับประทานอาหารได้ทุกชนิด

ข่าว/บทความล่าสุด
เนื้อหาอ่านล่าสุด