ข่าวสุขภาพ
ข่าวสุขภาพทั่วไป ข่าวธุรกิจสุขภาพไทย ข่าว/กิจกรรม/สาระ รพ.ต่างๆ ข้อมูลบริการ รพ.ต่างๆ สาระความรู้สุขภาพ กิจกรรม ESG CSR Health Economy บริจาครพ.ต่างๆ
น่าสนใจไทยแลนด์
About us เผยแพร่เนื้อหา สถิติเว็บไซต์ สำรวจความเห็นสุขภาพ โฆษณา
healthserv.net@gmail.com

รู้จักไขมันต่างๆ ทั้งร้ายและดีเพื่อสุขภาพที่ดีของหัวใจและหลอดเลือด

ไขมันที่เรารับประทานมีทั้งดีและไม่ดี

บางคนคิดว่าไขมันมักก่อให้เกิดปัญหาต่อสุขภาพ แต่ข้อเท็จจริงแล้ว เรายังต้องการไขมันเพื่อสุขภาพที่ดีของร่างกายเช่นกัน การหลีกเลี่ยงไม่รับประทานเลยจะเป็นผลเสียต่อร่างกายอย่างมาก ดังนั้นควรเลือกผลิตภัณฑ์ที่มีส่วนประกอบของไขมันที่ดีต่อร่างกาย อ่านรายละเอียดต่อเลยค่ะ

รู้จักไขมันต่างๆ ทั้งร้ายและดี
เพื่อสุขภาพที่ดีของหัวใจและหลอดเลือด


การป้องกันหัวใจและหลอดเลือด

นอกจากการออกกำลังกายแล้ว การเลือกรับประทานอาหารที่ดี จะมีส่วนช่วยปกป้องสุขภาพของหัวใจและหลอดเลือด เช่น การรับประทานผักและผลไม้ และลดการรับประทานเนื้อติดมันหรืออาหารที่มีโคเลสเตอรอลสูง ซึ่งมักจะหลีกเลี่ยงไม่ค่อยได้

ชนิดของไขมัน

ไขมันอิ่มตัว (Saturated fat)
สังเกตง่าย ๆ คือ ไขมันที่มีแนวโน้มแข็งตัวหรือเป็นไขเมื่ออุณหภูมิเย็นลง เช่น เนยต่าง ๆ มาร์การีน ไขมันสัตว์ น้ำมันพืชบางชนิด น้ำมันปาล์ม ฯลฯ มีประโยชน์ในการใช้เป็นแหล่งพลังงานของร่างกาย แต่ถ้ารับประทานมากจะทำให้ไขมันในเลือดสูงได้ ดังนั้นจึงต้องจำกัดการรับประทานไม่ควรเกิน 10% ของพลังงาน หรือน้อยกว่า 22 กรัม ต่อวัน หรือ 1½ ช้อนโต๊ะ สำหรับผู้ที่ต้องการพลังงาน 2,000 กิโลแคลอรีต่อวัน

ไขมันไม่อิ่มตัว (Unsaturated fat)
มี 2 จำพวก คือ
1.ไขมันไม่อิ่มตัวเชิงซ้อน (PUFA)
2.ไขมันไม่อิ่มตัวเชิงเดี่ยว (MUFA) หรือ กรดโอเลอิก

•ไขมันไม่อิ่มตัวเชิงซ้อน
คนทั่วไปรู้จักดี มี 2 กลุ่ม คือ กลุ่มโอเมก้า 3 (กรดไลโนเลนิก) และ กลุ่มโอเมก้า 6 (กรดไลโนเลอิก) ซึ่งทั้ง 2 กลุ่มจัดเป็นกรดไขมันจำเป็นสำหรับร่างกาย การรับประทานไขมันกลุ่มนี้ มีประโยชน์จะช่วยลด โคเลสเตอรอลได้ แต่การรับประทานมากเกินกว่า 10% อาจจะลดไขมันที่ดี คือ HDL ซึ่งเป็นตัวลดโคเลสเตอรอล ในเลือด

•ไขมันไม่อิ่มตัวเชิงเดี่ยว หรือ MUFA
เป็นสารอาหารที่แพทย์ นักกำหนดอาหารนักโภชนาการ แนะนำให้รับประทานเพราะสามารถช่วยลดโคเลสเตอรอล และไตรกลีเซอร์ไรด์ นอกจากนี้ยังช่วยให้น้ำเลือดไม่หนืดข้น ซึ่งให้ผลดีต่อสุขภาพหัวใจและหลอดเลือด และยังพบว่ายังมีส่วนช่วยเพิ่ม HDL ช่วยในการลดโคเลสเตอรอลในเลือด ขนาดที่แนะนำให้รับประทาน คือสามารถให้ได้ถึง 20% ของพลังงาน แหล่งที่มี MUFA สูง คือ น้ำมันดอกทานตะวันชนิดเฉพาะที่มีกรด โอเลอิกสูง ไม่ใช่น้ำมันดอกทานตะวันที่มีขายทั่วไป อย่างใดก็ตาม จำนวนไขมันทั้งหมดที่เรารับประทานก็ไม่ควรเกิน 30% ของพลังงานที่ได้รับจากอาหารในแต่ละวัน

ข้อมูลจากบริษัท แอบบ๊อต ประเทศไทย จำกัด

ข่าว/บทความล่าสุด
เนื้อหาอ่านล่าสุด