ระยะฟักตัวของโรค
โรคไวรัสมาร์บวร์ค ประมาณ 2 - 21 วัน โดยเฉลี่ย 5–9 วัน
อาการของโรคไวรัสมาร์บวร์ค
ช่วงวันที่ 1–5 ไข้สูงทันทีทันใด ปวดศีรษะอย่างรุนแรงเฉียบพลัน อ่อนเพลีย ปวดกล้ามเนื้อ คลื่นไส้ อาเจียน ท้องร่วง คอหอยอักเสบ ผื่นนูนแบน ปวดท้อง เยื่อตาอักเสบ อาการเจ็บคอ และมีผื่นนูนแดงตามตัว (maculopapular rash)
ช่วงวันที่ 5–13 ผู้ป่วยจะมีภาวะสิ้นกำลัง หายใจลำบาก บวมน้ำ ไข้ออกผื่น จะมีอาการทางสมอง เช่น สมองอักเสบ สับสน เพ้อ ในช่วงปลาย ผู้ป่วยจะมีอาการตกเลือดซึ่งจะนำไปสู่ช่วงฟื้นตัวหรือทรุดหนัก
ช่วงวันที่ 13–21 อาการผู้ป่วยสามารถแบ่งเป็นสองประเภท
หากฟื้นตัวผู้ป่วยจะมีอาการปวดกล้ามเนื้อ ไฟโบรไมอัลเจีย ตับอักเสบ และอ่อนแรง
หากผู้ป่วยที่ไม่ฟื้น จะมีอาการทรุดลง จะมีไข้ต่อเนื่อง ภาวะตื้อ โคม่า ชัก การแข็งตัวของเลือดผิดปกติ และช็อก
ผู้ป่วยมักเสียชีวิต 8–16 วันหลังเริ่มแสดงอาการ
ในรายที่รุนแรงหรือในบางรายที่เสียชีวิต อาการเลือดออกง่ายมักเกิดร่วมกับภาวะตับถูกทำลาย ไตวายอาการทางระบบประสาทส่วนกลาง และช็อก โดยอวัยวะหลายระบบเสื่อมหน้าที่
การวินิจฉัยโรค
อาจใช้วิธี RT-PCR หรือการตรวจหาแอนติเจนโดยวิธี ELISA ในตัวอย่างเลือด นํ้าเหลือง หรือจากอวัยวะ การวินิจฉัยมักจะเป็นการตรวจผสมผสานระหว่างการตรวจหาแอนติเจนหรือ RNA ร่วมกับหาแอนติบอดี IgM หรือ IgG (การตรวจพบแอนติบอดี IgMแสดงให้เห็นว่าเพิ่งพบการติดเชื้อไม่นานมานี้)
การแยกเชื้อไวรัสโดยการเพาะเชื้อ หรือการเลี้ยงในหนูตะเภาต้องทำให้ในห้องทดลองที่มีการป้องกันอันตรายระดับสูงสุด (BSL-4) การตรวจด้วยวิธี ELISA จะใช้เพื่อตรวจหาความเฉพาะเจาะจงกับแอนติเจนชนิด IgM และ IgG ในนํ้าเหลือง (serum) ของผู้ป่วย บางครั้งอาจตรวจพบเชื้อได้จากการส่องด้วยกล้องจุลทรรศน์อิเล็กตรอนในชื้นเนื้อจากตับ ม้าม ผิวหนัง หรืออวัยวะอื่นๆ
การชันสูตรศพโดยการตรวจชื้นเนื้อ (Formalin-fi xed skin biopsy)หรือการผ่าศพพิสูจน์ด้วยการตรวจหาภูมิคุ้มกันหรือองค์ประกอบทางเคมีของเซลล์และเนื้อเยื่อสามารถทำได้การตรวจหาเชื้อด้วยวิธี IFA เพื่อหาแอนติบอดี มักทำให้แปลผลผิดพลาด โดยเฉพาะในการตรวจนํ้าเหลืองเพื่อดูการติดเชื้อในอดีต
เนื่องจากโรคนี้มีอันตรายต่อมนุษย์สูงมากดังนั้นการตรวจและศึกษาทางห้องปฏิบัติการที่เกี่ยวข้องกับโรคนี้ กระทำได้เฉพาะในระบบป้องกันอันตรายที่อาจเกิดแกผู่ป้ ฏิบัติงาน รวมทั้งชุมชนในระดับสูงสุด (BSL ระดับ 4)
การรักษา
ปัจจุบันยังไม่มีการรักษาจำเพาะ ในรายที่มีอาการรุนแรงต้องการการดูแลอย่างใกล้ชิด ให้สารนํ้าอย่างเพียงพอ
วัคซีนรักษา
ปัจจุบันยังไม่มีวัคซีนรักษาโรคไวรัสมาร์บวร์ค ที่ผ่านการรับรองจากองค์การอาหารและยาสหรัฐ
ข้อมูล
https://www.pidst.or.th/A236.html
https://th.wikipedia.org/wiki/โรคไวรัสมาร์บวร์ค
https://www.who.int/health-topics/marburg-virus-disease