ข่าวสุขภาพ
ค้นหา รพ.-คลินิก-ร้านยาทั่วไทย ร้านยาคุณภาพ บริการสุขภาพ คลินิกเอกชน งาน รพ.
บริการวัคซีนโควิดบริการตรวจโควิด
ตำแหน่งงาน
ข่าวสุขภาพทั่วไป ข่าวธุรกิจสุขภาพไทย ข่าว/กิจกรรม/สาระ รพ.ต่างๆ ข้อมูลบริการ รพ.ต่างๆ สิทธิสุขภาพชาวไทย สาระความรู้สุขภาพ ท่องเที่ยวสุขภาพ กิจกรรม ESG CSR กิจกรรม Event Health Economy ข่าวธุรกิจสุขภาพรอบโลก บริจาค
น่าสนใจไทยแลนด์
English
About us เผยแพร่เนื้อหา สถิติเว็บไซต์ สำรวจความเห็นสุขภาพ โฆษณา
healthserv.net@gmail.com

5 เคล็ดลับสารอาหารสำหรับคุณแม่ที่เพิ่งตั้งครรภ์จาก Bangkok Central Clinic

5 เคล็ดลับสารอาหารสำหรับคุณแม่ที่เพิ่งตั้งครรภ์จาก Bangkok Central Clinic Thumb HealthServ.net
5 เคล็ดลับสารอาหารสำหรับคุณแม่ที่เพิ่งตั้งครรภ์จาก Bangkok Central Clinic ThumbMobile HealthServ.net

5 เคล็ดลับสารอาหารสำหรับคุณแม่ที่เพิ่งตั้งครรภ์จาก Bangkok Central Clinic

5 เคล็ดลับสารอาหารสำหรับคุณแม่ที่เพิ่งตั้งครรภ์จาก Bangkok Central Clinic HealthServ
 
คุณแม่ตั้งครรภ์ จะต้องได้รับการบำรุงที่มากกว่าคนทั่วไป เพื่อให้สารอาหารไปหล่อเลี้ยงเด็กในครรภ์ให้เพียงพอ ส่งเสริมต่อการเจริญเติบโตและพัฒนาการต่าง ๆ ทั้งด้านร่างกายและสมอง ครั้งนี้เราก็มีข้อมูลเกี่ยวกับ 5 เคล็ดลับสารอาหารสำหรับคุณแม่ที่เพิ่งตั้งครรภ์จาก BCC (Bangkok Central Clinic) มาฝาก  ดังนี้ 
 
 


1.เน้นบำรุงสำหรับไตรมาสแรก 


ทำไมต้องเน้นไตรมาสแรก
 
ระยะเวลาในการตั้งครรภ์ แบ่งออกเป็น 3 ไตรมาส ซึ่งช่วงระยะเวลาตั้งครรภ์คือ 9 เดือน ไตรมาสแรกจึงหมายถึง 3 เดือนแรก เป็นช่วงที่ตัวอ่อนเพิ่งถือกำเนิดขึ้นมา และจะต้องเจริญเติบโตต่อไป จึงมีความต้องการสารอาหารที่จำเป็นต่อการเจริญเติบโต สารอาหารที่จำเป็นอย่างมาก สำหรับการตั้งครรภ์ไตรมาสแรกก็คือ “กรดโฟลิก” เพื่อป้องกันภาวะบกพร่องของระบบประสาท รวมถึงภาวะปากแหว่งเพดานโหว่และภาวะหัวใจพิการแต่กำเนิดของในทารกที่อยู่ในครรภ์ ซึ่งคุณแม่ควรได้รับกรดโฟลิกอย่างน้อย 600 mcg


ท้องไตรมาสแรกบำรุงอย่างไร
 
รับประทานอาหารที่มีโฟเลตสูง
 
คุณแม่ที่ตั้งครรภ์ช่วง 1-3 เดือน ควรรับประทานอาหารที่มีโฟเลตสูง เพื่อให้ได้กรดโฟลิกที่เป็นโฟเลตสังเคราะห์รูปแบบหนึ่งอย่างเพียงพอ อาหารที่มีโฟเลตสูง ได้แก่ ผักใบเขียว ผลไม้ที่มีรสเปรี้ยว ถั่ว และไข่ 

รับประทานอาหารที่มีโปรตีนเพียงพอ 
 
ช่วงตั้งครรภ์ 1-3 เดือน คุณแม่ควรได้รับสารอาหารประเภทโปรตีนที่เพียงพอคือ  75 กรัมต่อวันโดยประมาณ โดยแหล่งโปรตีนที่แนะนำคือไข่ โยเกิร์ต และไก่

รับประทานอาหารที่มีแคลเซียมเพียงพอ 
 
ในช่วง 1-3 เดือนแรกของการตั้งครรภ์ คุณแม่ควรได้รับแคลเซียมที่เพียงพอด้วย เพื่อส่งเสริมความแข็งแรงของฟันและกระดูกในเด็ก หากขาดแคลเซียมอาจทำให้เด็กมีภาวะกระดูกพรุนแต่กำเนิดได้ 
 
 

2.รับประทานอาหารตามหลัก “โภชนาการคนท้อง”

 
หนึ่งในเคล็ดลับสารอาหารของคุณแม่ตั้งครรภ์ ก็คือการรับประทานอาหารตามหลักโภชนาการคนท้อง ซึ่งจะแตกต่างกับโภชนาการอาหารของคนทั่วไป เพื่อบำรุงคุณแม่และเด็กในครรภ์โดยเฉพาะ ซึ่งหลักโภชนาการคนท้องมี ดังนี้ 
 
พลังงานที่ควรได้รับ
 
คุณแม่ที่กำลังตั้งครรภ์ ควรได้รับพลังงานที่เพียงพอ เพิ่มเติมจากเดิมประมาณ 300 แคลอรี่ในแต่ละวัน แคลอรี่เหล่านั้นควรมาจากอาหารที่มีโปรตีน ผลไม้ ผัก และธัญพืช นอกจากนี้ควรลดการรับประทานของหวานและไขมันให้น้อยลง
 
อาหารที่เหมาะกับคนท้อง
 
อาหารที่มีประโยชน์ต่อสุขภาพและพัฒนาการของทารกในครรภ์ระหว่างตั้งครรภ์ มีดังนี้
 
  1. อาหารจำพวกผัก ได้แก่ แครอท มันเทศ ฟักทอง ผักโขม ผักใบเขียวปรุงสุก มะเขือเทศ และพริกหวานแดง ช่วยเสริมวิตามินเอและโพแทสเซียม
  2. อาหารจำพวกผลไม้ ได้แก่ แคนตาลูป น้ำหวาน มะม่วง ลูกพรุน กล้วย แอปริคอต และส้ม ช่วยเสริมโพแทสเซียม
  3. ผลิตภัณฑ์จากนม ได้แก่ โยเกิร์ตไร้ไขมันหรือไขมันต่ำ นมพร่องมันเนยหรือนม 1% นมถั่วเหลือง ช่วยเสริมแคลเซียม โพแทสเซียม วิตามินเอ วิตามินดี
  4. กลุ่มธัญพืช ได้แก่ ธัญพืชพร้อมรับประทานหรือธัญพืชปรุงสุก ช่วยเสริมธาตุเหล็กและกรดโฟลิก
  5. อาหารกลุ่มโปรตีน ได้แก่ ถั่ว ถั่วลันเตา เนื้อสัตว์ไม่ติดมัน ปลาแซลมอน และปลาซาร์ดีน 
 
 

3.เพิ่มมื้ออาหารว่างวันละ 1-2 ครั้ง

 
เคล็ดลับที่สำคัญในการรับสารอาหารของคุณแม่ตั้งครรภ์ คือการเพิ่มมื้ออาหารว่างวันละ 1-2 ครั้ง เพื่อให้คุณแม่ได้รับพลังงานที่เพิ่มขึ้นจากเดิม และเพียงพอต่อทารกในครรภ์ อาหารว่างที่ช่วยเพิ่มพลังงาน ได้แก่ นม ผลไม้จานเล็ก ไข่ ขนมปัง เป็นต้น
 
 

4.รับประทานอาหารที่ให้พลังงานเพียงพอ 

 
พลังงานเป็นสิ่งที่ต้องได้รับเพิ่มขึ้นจากเดิมเมื่อมีการตั้งครรภ์ คุณแม่ควรได้รับพลังงานเพิ่มขึ้นจากเดิม 300 แคลอรี่ต่อวัน ส่วนพลังงานทั้งหมดที่ควรได้รับต่อวันในคุณแม่ตั้งครรภ์มีความแตกต่างกันในแต่ละไตรมาส ดังนี้ 
 
  • ไตรมาสที่ 1 คุณแม่ควรได้รับพลังงานประมาณ 1,800 แคลอรี่ต่อวัน
  • ไตรมาสที่ 2 คุณแม่ควรได้รับพลังงานประมาณ 2,200 แคลอรี่ต่อวัน
  • ไตรมาสที่ 3 คุณแม่ควรได้รับพลังงานประมาณ 2,400 แคลอรี่ต่อวัน
 
แนะนำอาหารที่เหมาะกับการให้พลังงานในช่วงตั้งครรภ์ เช่น นม โยเกิร์ต ขนมปัง เนื้อสัตว์ เป็นต้น
 

5.หลีกเลี่ยงอาหารที่มีความเสี่ยงต่อเด็กในครรภ์ 

 
สิ่งสำคัญที่คุณแม่ตั้งครรภ์ต้องรู้คืออาหารที่มีความเสี่ยงต่อเด็กในครรภ์ อย่างเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ เป็นสิ่งที่ต้องห้ามที่ต้องงดโดยเด็ดขาด เพราะอาจทำให้เด็กมีภาวะสมองพิการตั้งแต่กำเนิดได้ และอาจทำให้แท้งได้ด้วย  นอกจากนี้คนท้องไม่ควรรับประทานอาหารดิบหรืออาหารที่ไม่สด เพราะเสี่ยงต่อการติดเชื้อ ซึ่งเป็นอันตรายต่อเด็กในครรภ์ได้ 
 
 
กล่าวโดยสรุปคำแนะนำจาก Bangkok Central Clinic คือคุณแม่ควรับประทานอาหารให้เพียงพอ และต้องเลือกรับประทานที่มีประโยชน์ เพื่อบำรุงร่างกายของตนเองและส่งเสริมพัฒนาทารกในครรภ์ให้เกิดมามีความสมบูรณ์ 
 
 
ที่มา https://www.healthline.com/health/pregnancy/folic-acid 
https://www.whattoexpect.com/pregnancy/eating-well-menu/first-trimester.aspx 
https://www.hopkinsmedicine.org/health/wellness-and-prevention/nutrition-during-pregnancy
https://medlineplus.gov/ency/patientinstructions/000584.htm  
ข่าว/บทความล่าสุด
เนื้อหาอ่านล่าสุด