โรคไต การป้องกันและการรักษา
ไต
ไตมี 2 ข้าง อยู่บริเวณด้านหลัง ใต้ชายโครง บริเวณบั้นเอว มีรูปร่างคล้ายถั่วเหลือง ยาวประมาณ 12เซนติเมตร
- ไต ประกอบด้วยหลอดเลือดฝอยมากมาย เรียกว่า “หน่วยไต” (nephron)
- หน่วยไตจะลดจำนวน และเสื่อมสภาพตามอายุไข
ไตทำหน้าที่อะไร ?
- กำจัดของเสีย
- ดูดซึม และเก็บสารที่เป็นประโยชน์ต่อร่างกาย
- รักษาสมดุลน้ำของร่างกาย
- รักษาสมดุลเกลือแร่ของร่างกาย
- รักษาสมดุลกรดด่างของร่างกาย
- ควบคุมความดันโลหิต
- สร้างฮอร์โมน
1.กำจัดของเสีย ได้แก่ ยูเรีย ครีเอดินิน
- เมื่อร่างกายได้รับสารอาหาร จะย่อยสลาย นำส่วนที่เป็นประโยชน์ไปใช้ และปล่อยของเสียออกสู่กระแสเลือด ผ่านมายังไต และถูกขับออกมากับปัสสาวะ
- ขับยา และสารแปลกปลอมอื่น ๆ
2.ดูดซึม และเก็บสารที่เป็นประโยชน์ต่อร่างกายไว้
- สารที่เป็นประโยชน์ต่อร่างกาย จะถูกดูดกลับโดยเซลล์ของหน่วยไตเช่น น้ำ ฟอสเฟด โปรตีน
3.รักษาสมดุลน้ำของร่างกาย
- ถ้าน้ำมีมากเกินความต้องการของร่างกาย ไตจะทำหน้าที่ขับน้ำออกมาทางปัสสาวะ
- ถ้าอยู่ในภาวะขาดน้ำ ไตจะพยายามสงวนน้ำไว้ให้ร่างกาย ปัสสาวะจะมีปริมาณน้อยและเข้มข้น
4.รักษาสมดุลเกลือแร่ของร่างกาย
- ไตที่ปกติจะขับเกลือส่วนเกินได้เสมอ แม้จะรับประทานรสเค็มจัด
- แต่ถ้าเสื่อมสมรรถภาพ ผู้ป่วยจะมีอาการบวมถ้ารับประทานเกลือมากเกินไป
5.รักษาสมดุลกรดด่างของร่างกาย
- ร่างกายจะผลิตกรดทุกวัน จากการเผาผลาญอาหารโปรตีน
- ถ้าไตทำหน้าที่ปกติ จะไม่มีกรดคั่ง
- ถ้าไตเสื่อมสมรรถภาพ ร่างกายจะมีปัสสาวะเป็นกรด
6.ควบคุมความดันโลหิต
- ความดันโลหิตสูง เกิดจากความผิดปกติในการควบคุมสมดุลน้ำ และเกลือ รวมถึงสารบางชนิด
- ผู้ป่วยโรคไต จึงมักมีความดันโลหิตสูง เพราะไตถูกกระตุ้นให้สร้างสารที่ทำให้ความดันสูง
- ถ้าความดันโลหิตสูงมาก ทำให้หัวใจทำงานหนัก หรืออาจเกิดโรคหลอดเลือดสมองตีบ หรือ แตก เป็นอัมพฤกษ์ และอัมพาตได้
7.สร้างฮอร์โมน
- ไต ปกติสามารถสร้างฮอร์โมนได้หลายชนิด
- ถ้าเป็นโรคไต การสร้างฮอร์โมนจะบกพร่องไป
ตัวอย่างฮอร์โมนที่สร้างจากไต
- ฮอร์โมนเออริโธรพอยอิติน ( erythropoietin) ทำหน้าที่สร้างเม็ดเลือดแดง ดังนั้นผู้ป่วยจะมี อาการซีด อ่อนเพลีย ไม่มีแรง หัวใจทำงานหนัก วิงเวียน หน้ามืด เหนื่อย ใจสั่น เป็นลมบ่อย
- วิตามินดีชนิด calcitriol ทำหน้าที่ช่วยควบคุมการดูดซึมแคลเซี่ยม ซึ่งการที่วิตามีนดี และแคลเซี่ยมในเลือดต่ำ ทำให้ต่อมพาราธัยรอยด์หลั่งฮอร์โมนมากกว่าปกติ เป็นผลเสียต่ออวัยวะหลายอย่างในร่างกาย โดยเฉพาะกระดูก ทำให้ไม่แข็งแรง
ไตเสื่อมทำให้เกิดผลเสียต่ออวัยวะต่าง ๆ
ใครมีโอกาสเสี่ยงต่อการเกิดโรค ไต
- อายุเกิน 60 ปีขึ้นไป ไต จะเริ่มเสื่อม
- ความดันโลหิตสูง
- โรคหัวใจ เช่น หลอดเลือดหัวใจตีบ
- โรคหลอดเลือดสมอง
- โรคเบาหวาน
- โรคเก๊าท์
- โรคไตอักเสบชนิดต่าง ๆเช่น โรคไตอักเสบตั้งแต่วัยเด็ก ไตอักเสบ เอส-แอล –อี โรคไตเป็นถุงน้ำ นิ่ว เนื้องอก หลอดเลือดฝอยอักเสบ
- มีสมาชิกในครอบครัวเป็นโรคไต
- โรคทางเดินปัสสาวะอักเสบจากการติดเชื้อ
- ใช้ยาแก้ปวด หรือสัมผัสสารเคมีบางชนิดติดต่อกันเป็นเวลานาน
รู้ได้อย่างไรว่าเป็นโรคไต
อาการแสดงเมื่อเป็นโรคไต
- หนังตา ใบหน้า เท้า ขา และลำตัวบวม
- ปัสสาวะผิดปกติ เช่น ขุ่น เป็นฟอง เป็นเลือด สีชาแก่ / น้ำล้างเนื้อ
- การถ่ายปัสสาวะผิดปกติเช่น บ่อย แสบ ขัด ปริมาณน้อย
- ปวดหลัง คลำได้ก้อน บริเวณไต
- ความดันโลหิตสูง
- ซีด อ่อนเพลีย เหนื่อยง่าย ไม่มีแรง ไม่กระฉับกระเฉง
- ท้องอืด ท้องเฟ้อ คลื่นไส้ อาเจียน
- เบื่ออาหาร การรับรสอาหารเปลี่ยนไป
- ปวดศีรษะ นอนหลับไม่สนิท
อาการสังเกตเมื่อไตเสื่อม
ไตเริ่มเสื่อม
- อาการบวม
- ซีด
- อ่อนเพลีย
- เหนื่อยง่าย
- ความดันโลหิตสูง
ไตวายเรื้อรัง
- ซีดมากขึ้น
- เบื่ออาหาร
- คันตามตัว
อาการสังเกตเมื่อไตเสื่อม
- อาการบวมที่หน้า และหนังตา
- อาการบวมที่ขา
- อาการบวมที่เท้า
- ปัสสาวะเป็นเลือด
โรคไตวาย
ไตวายเฉียบพลัน
- ไตเสื่อมอย่างรวดเร็ว ภายในเวลาเป็นวัน หรือสับดาห์ มักมีอาการมากกว่าแบบเรื้อรัง อัตราการเสียชีวิตสูง ถ้าพ้นอันตราย ไตมักจะเป็นปกติได้
โรคไตวายเรื้อรัง
- เนื้อไตถูกทำลายอย่างถาวร ทำให้ไตค่อย ๆ ฝ่อเล็กลง แม้อาการจะสงบ แต่ไตจะค่อย ๆ เสื่อม และเข้าสู่ไตวายเรื้อรังระยะสุดท้ายในที่สุด
สาเหตุของโรคไตวายเรื้อรัง
ปัจจุบันพบว่าผู้ป่วยด้วยโรคไต เข้าสู่โรคไตวายเรื้อรังระยะสุดท้าย มีสาเหตุจาก
- อันดับหนึ่ง โรคเบาหวาน
- อันดับสอง ความดันโลหิตสูง และ โรคหลอดเลือดฝอยไตอักเสบ เช่น โรค เอส- แอล – อี
- สาเหตุอื่นๆ ได้แก่
- โรคนิ่วในไต
- โรคไตอักเสบเรื้อรังจากการติดเชื้อ
- โรคเก๊าส์
- โรคไตจากการกินยาแก้ปวดต่อเนื่องเป็นเวลานาน ๆ
- โรคถุงน้ำในไตที่ถ่ายทอดทางกรรมพันธุ์
สาเหตุต่าง ๆ เหล่านี้ มักทำให้เกิดโรคกับไตทั้ง 2 ข้างพร้อม ๆ กัน
โรคไตจากเบาหวาน
- ผู้ที่เป็นเบาหวานมานานหลายปี จะเกิดภาวะแทรกซ้อนของอวัยวะต่าง ๆ
- โดยเฉพาะหลอดเลือดทั่วร่างกายจะแข็ง และหนา ทำให้เลือดไป เลี้ยงส่วนต่าง ๆ ของร่างกายลดลง
- ถ้าควบคุมเบาหวานไม่ดี ภาวะแทรกซ้อนต่าง ๆ จะเกิดเร็วกว่าปกติ
- โดยเฉลี่ยโรคไตมักจะเกิดตามหลังโรคเบาหวานมากกว่า 10 ปี ขึ้นไป
- ถ้าเริ่มมีอาการบวมตามแขน ขา ใบหน้า และลำตัว เป็นการบ่งชี้ว่าเริ่มมีความผิดปกติทางไต
- การตรวจพบโรคไตระยะเริ่มแรกในผู้ป่วยเบาหวาน คือความดันโลหิตสูง ไข่ขาวหรือโปรตีนรั่วในปัสสาวะ
- เมื่อไตเริ่มเสื่อมลง จะต้องเจาะเลือดเพื่อตรวจหน้าที่ไต โดยค่ายูเรียไนโตรเจน ( BUN ) และคริเอตินิน ( Creatinine ) จะสูงกว่าคนปกติ
ภาวะแทรกซ้อนทางไตในผู้ป่วยเบาหวาน
- กระเพาะปัสสาวะอักเสบ
- อาการบวม
- ไตอักเสบจากการติดเชื้อ
- ไตวายฉับพลัน
- ไตวายเรื้อรัง
ปัจจัยเสี่ยงของการเกิดโรคไตในผู้ป่วยเบาหวาน
โรคไตพบประมาณ 30 – 35 % ของผู้ป่วยโรคเบาหวาน
ปัจจัยเสี่ยงของการเกิดโรคไต ได้แก่
- เพศชาย
- พันธุกรรม
- ระดับน้ำตาลสูง
- ความดันโลหิตสูง
- โปรตีนรั่วในปัสสาวะ
- การสูบบุหรี่
ทราบได้อย่างไรว่าเป็นโรคไตจากเบาหวาน
- มีอาการซีด
- บวม
- ความดันโลหิตสูง
- อาการคันตามตัว
- เบื่ออาหาร น้ำหนักลด
- ระยะสุดท้ายจะอ่อนเพลีย คลื่นใส้ อาเจียน
อย่างไรก็ดี การเกิดโรคไตจากเบาหวาน มักมีสิ่งตรวจพบเพิ่มเติมจากผู้ป่วยไตวายเรื้อรังจากสาเหตุอื่นซึ่งก็คือ ภาวะแทรกซ้อนที่เกิดจากเบาหวาน ได้แก่
- อาการชาตามปลายมือ – เท้า
- เจ็บหน้าอก
- ตามัว
- แขนขาอ่อนแรง
- แผลเรื้อรังตามผิวหนังและปลายเท้า
การดูแลผู้ป่วยเบาหวาน เพื่อป้องกันโรคไต
- ตรวดปัสสาวะ เพื่อหาโปรตีนทุกปี
- ควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดให้เท่ากับ หรือใกล้เคียงปกติ เท่าที่สามารถทำได้
- รักษาความดันโลหิตให้อยู่ในเกณท์ปกติ
- หลีกเลี่ยงการใช้ยา หรือ สารที่เป็นอันตรายต่อไต เช่น ยาต้านการอักเสบระงับปวด สารทึบรังสี
- สำรวจ และให้การรักษาโรค หรือ ภาวะอื่นที่ทำให้ไตเสื่อมสมรรถภาพ เช่น การติดเชื้อทางปัสสาวะ
การดูแลผู้ป่วยเบาหวาน และเป็นโรคไต
- ตรวดปัสสาวะและเลือด เพื่อดูหน้าที่ไตเป็นระยะๆ
- กินยาตามแพทย์สั่งติดต่อกันและพบแพทย์ตามนัด
- งดบุหรี่ และแอลกอฮอล์ ซึ่งมีผลต่อหลอดเลือด
- ถ้าต้องรับประทานยาแก้ปวด หรือ ยาอื่น ๆ ควรอยู่ภายใต้คำแนะนำของแพทย์ และเภสัชกร
- เมื่อมีอาการบวม ควรงดอาหารเค็ม รสจัด หมักดอง และอาหารกระป๋อง
- ควบคุมความดันโลหิตให้ปกติ หรือ ใกล้เคียงมากที่สุด กินยาสม่ำเสมอ ไม่หยุดยาเองเพราะคิดว่าสบายดีแล้ว
- ระวังอาหารที่มี โคเลสเตอรอลสูง
- รับประทานผักและปลามากขึ้น
- ควรตรวจอวัยวะอื่น ๆ ด้วย เช่น ตา หัวใจ ปอด
- สำรวจผิวหนัง และเท้าให้สะอาด ไม่มีแผลเรื้อรัง
- ระหว่างการรักษาด้วยเครื่องไตเทียม ควรรับประทานเนื้อสัตว์ และอาหารเค็มให้น้อยที่สุด
- ควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดอย่างเคร่งครัด
ตัวอย่างอาหารไขมันสูงที่ควรระวัง
1. อาหารโคเลสเตอรอลสูง
- อาหารทะเล
- เนื้อ – หมู ติดมัน
- กุ้ง
- หอย
- ทุเรียน
- เนย
2. อาหารไตรกลีเซอร์ไรด์สูง
- อาหารจำพวกแป้ง
- ของหวาน
- ผลไม้รสหวาน
- เครื่องดื่มที่ผสมแอลกอฮอล์
ข้อเขียนโดย ศจ.พญ.ลีนา องอาจยุทธ
สาขาวิชาวักกะวิทยา ภาควิชาอายุรศาสตร์
คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล นายกสมาคมโรคไต แห่งประเทศไทย