☰
ข้อมูลบริการสุขภาพ
ข่าวสุขภาพ
|
โรงพยาบาล
|
คลินิก ร้านยา
|
รพ.ประกันสังคม 2568
|
justView
×
ข่าวสุขภาพ
โรงพยาบาล [+]
รพ.รายจังหวัด (รัฐ-เอกชน)
รพ.รัฐบาล
รพ.เอกชน
รพ.เอกชน ประกันสังคม
รพ.เอกชน บัตรทอง
รพ.มหาวิทยาลัย
ศูนย์แพทย์มหาวิทยาลัย
สถาบัน/ศูนย์แพทย์
รพ.สังกัดกทม.
ศูนย์สาธารณสุข กทม.
รพ.ศูนย์
รพ.ทั่วไป (จังหวัด)
รพ.ชุมชน (อำเภอ)
รพ.สต.(ตำบล)
รพ.กองทัพ
รพ.สมเด็จพระยุพราช
รพ.จิตเวช
รพ.มะเร็ง
รพ.แพทย์แผนไทย
รพ.รัฐวิสาหกิจ/กระทรวงอื่น
คลินิกรัฐบาล-ศูนย์อนามัย
คลินิก-ร้านยา
ข่าวสุขภาพ [+]
ข่าวสุขภาพทั่วไป
ข่าวธุรกิจสุขภาพไทย
ข่าว/กิจกรรม/สาระ รพ.ต่างๆ
ข้อมูลบริการ รพ.ต่างๆ
สาระความรู้สุขภาพ
กิจกรรม ESG CSR
Health Economy
บริจาครพ.ต่างๆ
น่าสนใจไทยแลนด์
About us
เผยแพร่เนื้อหา
สถิติเว็บไซต์
สำรวจความเห็นสุขภาพ
โฆษณา
healthserv.net@gmail.com
@healthserv
มาตรฐานอาหารและผลิตภัณฑ์เกษตรอินทรีย์
รู้จักกับมาตรฐานอาหารและ ผลิตภัณฑ์เกษตรอินทรีย์ในแบบง่ายๆ ที่ผู้ประกอบเช่นคุณและชุมชนก็สามารถสร้างเองได้ โดยเราได้ร่วมพูดคุยและแลกเปลี่ยนความรู้จากพี่อ้อยหรือ คุณนาถฤดี นาครวาจา ผู้จัดการสำนักงานมาตรฐานเกษตรอินทรีย์(มกท.)หน่วยงานที่ให้การตรวจสอบ รับรองมาตรฐานในระดับสากล และได้การรับรองระบบ (Accreditation) จาก IFOAM
Home
/
ความรู้สุขภาพ
/
(ข้อมูลจาก "
สรุปงานวงสนทนาเกษตรอินทรีย์ ครั้งที่ ๒ (Green Dialogue)
")
รู้จักกับมาตรฐานอาหารและ ผลิตภัณฑ์เกษตรอินทรีย์ในแบบง่ายๆ ที่ผู้ประกอบเช่นคุณและชุมชนก็สามารถสร้างเองได้ โดยเราได้ร่วมพูดคุยและแลกเปลี่ยนความรู้จากพี่อ้อยหรือ คุณนาถฤดี นาครวาจา ผู้จัดการสำนักงานมาตรฐานเกษตรอินทรีย์(มกท.)หน่วยงานที่ให้การตรวจสอบ รับรองมาตรฐานในระดับสากล และได้การรับรองระบบ (Accreditation) จาก IFOAM
1. เกษตรอินทรีย์ คือ
ระบบการเกษตรที่ผลิตอาหารและเส้นใยด้วย ความยั่งยืนทางสิ่งแวดล้อม สังคม และเศรษฐกิจ
หลักการปรับปรุงบำรุงดิน การเคารพต่อศักยภาพทางธรรมชาติของพืช สัตว์ และนิเวศการเกษตร
ลดการ ใช้ปัจจัยการผลิตจากภายนอก และหลีกเลี่ยงการใช้สารเคมีสังเคราะห์ เช่น ปุ๋ย สารกำจัดศัตรูพืช และเวชภัณฑ์สำหรับสัตว์
ขณะเดียวกันก็พยายาม ประยุกต์ใช้ธรรมชาติในการเพิ่มผลผลิต และพัฒนาความต้านทานต่อโรคของพืชและสัตว์เลี้ยง
เป็นหลักการสากลที่สอด คล้องกับเงื่อนไขทางเศรษฐกิจ สังคม ภูมิอากาศ และวัฒนธรรมท้องถิ่นด้วย
เกษตร อินทรีย์มุ่งที่จะผลิตผลผลิตอินทรีย์บนความสมดุลของระบบนิเวศโดย
- สร้างความอุดมสมบูรณ์ของดิน เป็นหัวใจของเกษตรอินทรีย์ เพราะทำให้ “ดินมีชีวิต” คือมีสิ่งมีชีวิตและจุลินทรีย์ในดินย่อยสลายอินทรีย์วัตถุ และปลดปล่อยธาตุอาหารแก่พืช ทำให้เกิด “การหมุนเวียนของธาตุอาหาร” อย่างต่อเนื่อง
- อนุรักษ์และฟื้นฟูระบบนิเวศ ด้วยการเพิ่มความหลากหลายทางชีวภาพ และความหลากหลายของพืช
- พึ่งพาตัวเองด้านปัจจัยการผลิต โดยลดการใช้ปุ๋ย เมล็ดพันธุ์ ฯลฯ จากภายนอก
- ควบคุมและป้องกันมลพิษ ทั้งต่อสิ่งแวดล้อม และที่จะมาปนเปื้อนภายในฟาร์ม
2. การรับรองมาตรฐานเกษตรอินทรีย์คืออะไร?
กระบวนการประกันคุณภาพ เพื่อยืนยันว่าผลิตภัณฑ์ดังกล่าวผลิตตามมาตรฐานเกษตรอินทรีย์ที่กำหนด
ดำเนินการโดยหน่วยงานอิสระที่ไม่ได้เป็นทั้งผู้ผลิตหรือผู้ซื้อ (third party) ซึ่งมีความเป็นกลาง และมีความโปร่งใส
เป็นการรับรองกระบวนผลิต ตั้งแต่การเพาะปลูก การเก็บเกี่ยว จนถึงการแปรรูป การบรรจุ และจัดจำหน่าย (ไม่ใช่การนำผลิตภัณฑ์มาทดสอบในห้องปฏิบัติการ)
การรับรองครอบคลุมทั้งพื้นที่ที่ทำการผลิต (ฟาร์ม) และผลผลิตที่ได้จากฟาร์มนั้น โดยผู้ผลิตสามารถใช้ตราเกษตรอินทรีย์ของหน่วยงานรับรองบนผลิตภัณฑ์ได้
3. ใครรับรององค์กรรับรองมาตรฐานเกษตรอินทรีย์?
ปี 2540 IFOAM จัดทำเกณฑ์การรับรองระบบงานเกษตรอินทรีย์ (IFOAM Accreditation Criteria) โดยอิงกับ ISO Guide 65 เพื่อประกันคุณภาพว่าองค์กรรับรองดังกล่าวมีการทำงานที่โปร่งใส มีประสิทธิภาพ และน่าเชื่อถือ
มีองค์กรรับรองเอกชน 32 องค์กร ในหลายประเทศ ที่ได้รับการรับรองจาก IFOAM (ACBs – Accredited Certification Bodies) รวมทั้ง มกท.
สินค้าอินทรีย์ที่ได้รับการรับรองโดย ACBs จะได้รับการยอมรับจาก ACBs ด้วยกัน ซึ่งช่วยให้ส่งออกสินค้าไปขายโดยใช้ฉลากของ ACBs ในประเทศนั้นๆ ได้ง่ายขึ้น
4. องค์กรรับรองมาตรฐานเกษตรอินทรีย์ (Organic Certification Body)
5.ขั้นตอนการตรวจและรับรองมาตรฐานเกษตร อินทรีย์
การสมัครขอรับรอง: ติดต่อองค์กรรับรอง กรอกใบสมัคร (ข้อมูลฟาร์ม/สถานที่ประกอบการ ประวัติฟาร์ม แผนการผลิต แผนผังฟาร์ม ส่วนประกอบผลิตภัณฑ์ ฯลฯ) และลงนามในสัญญาข้อตกลงว่าจะปฏิบัติตามมาตรฐานเกษตรอินทรีย์ และส่งกลับให้องค์กรรับรอง พร้อมกับชำระค่าตรวจรับรอง
การตรวจเอกสาร/การประเมินเบื้องต้น: เพื่อประเมินว่าผู้สมัครมีการปฏิบัติที่อยู่ในขอบข่ายที่จะขอรับรองหรือไม่ โดยดูจากเอกสาร หรืออาจมีการไปตรวจประเมินเบื้องต้นที่ฟาร์ม/สถานที่ประกอบการ
การตรวจฟาร์ม/สถานที่ประกอบการ: องค์กรรับรองส่งผู้ตรวจไปตรวจ ผู้ตรวจทำการสัมภาษณ์ สังเกต เดินสำรวจรอบฟาร์ม/สถานที่ประกอบการ และประเมินว่าผู้สมัครทำการผลิตตามมาตรฐานเกษตรอินทรีย์หรือไม่ และสรุปผลการตรวจให้ผู้สมัครทราบ จากนั้นจัดทำรายงานการตรวจส่งให้องค์กรรับรอง
การรับรอง: เจ้าหน้าที่รับรองหรือคณะกรรมการรับรองพิจารณาผลการตรวจจากรายงานของผู้ตรวจ และตัดสินใจว่าจะรับรองหรือไม่ อย่างไร โดยการรับรอง อาจรับรองโดยมีเงื่อนไขให้ผู้สมัครปฏิบัติในระยะเวลาที่กำหนดเพื่อให้เป็นไป ตามมาตรฐาน
การแจ้งผลการรับรองและออกใบประกาศนียบัตร : แจ้งเป็นลายลักษณ์อักษรให้ผู้สมัครทราบ พร้อมกับออกใบประกาศนียบัตรให้ในกรณีที่ได้รับการรับรอง
การอุทธรณ์: ในกรณีที่ผู้สมัครไม่เห็นด้วยกับผลการรับรอง สามารถยื่นอุทธรณ์ต่อองค์กรรับรองได้
การติดตามผล: การติดตามเงื่อนไขการรับรอง ผู้สมัครจะต้องได้รับการตรวจและรับรองอย่างต่อเนื่อง อย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง
6. มาตรฐานเกษตรอินทรีย์
มาตรฐานเกษตรอินทรีย์ที่ต้องปฏิบัติ: เป็นมาตรฐานหรือกฎระเบียบของรัฐ/ประเทศ ซึ่งต้องปฏิบัติเมื่อต้องการนำสินค้าอินทรีย์เข้าไปขายในประเทศนั้นๆ เช่น กฎระเบียบ EEC 2092/91 ของยุโรป, มาตรฐาน NOP ของอเมริกา, มาตรฐาน JAS ของญี่ปุ่น ฯลฯ
มาตรฐานเกษตรอินทรีย์เอกชน: เป็นมาตรฐานที่ไม่บังคับ (สมัครใจขอรับรอง) มักมีมาตรฐานที่สูงกว่ามาตรฐาน/กฎระเบียบของรัฐ และ เช่น มาตรฐาน Soil Association ของอังกฤษ เกิดขึ้นตั้งแต่ปี พ.ศ. 2510 และมาตรฐาน มกท.
มาตรฐานเกษตรอินทรีย์ที่ใช้เป็นเกณฑ์มาตรฐาน ได้แก่ มาตรฐาน IFOAM ซึ่งเป็นเกณฑ์มาตรฐานขั้นต่ำสำหรับให้องค์กรรับรองต่างๆนำไปใช้กำหนดราย ละเอียดมาตรฐานของตน และมาตรฐาน Codex ซึ่งเป็นเกณฑ์มาตรฐานที่กำหนดโดย FAO และ WHO
โปรดใช้ถ้อยคำสุภาพ เหมาะสม เพื่อบรรยากาศที่ดีในการสนทนา และแบ่งปันข้อมูลอันมีคุณค่าต่อกัน
ข่าว/บทความล่าสุด
จุฬาฯ-รามาฯ-ศิริราช-ธรรมศาสตร์ MOU ประชุมวิชาการแพทย์ฯ 4 สถาบัน ปี 2568
Global Wellness ชี้ เศรษฐกิจสุขภาพไทยเติบโตอันดับ 1 ของโลก
เทรนด์ Digital Nomad กับโอกาสของธุรกิจบริการไทย
รพ.เทศบาลนครอุดรธานี ให้บริการตรวจพยาธิใบไม้ตับ ตรวจอัลตราซาวด์ช่องท้อง ฟรี ทุกสิทธิการรักษา
รายชื่อคลินิกทันตกรรมชุมชนอบอุ่น ปริมณฑล 30 บาทรักษาทุกที่ (นนทบุรี ปทุมธานี สมุทรปราการ + สมุทรสาคร สมุทรสงคราม นครปฐม)
รายชื่อคลินิกทันตกรรมชุมชนอบอุ่น ในกรุงเทพ (50 เขต) - 30 บาทรักษาทุกที่ ใกล้ที่ไหนใช้บริการที่นั่น
2 สุดยอดโรงพยาบาลเฉพาะทางของไทย ในอันดับโลก 2025
สุดยอดโรงพยาบาลเอกชนชั้นนำแห่งเอเชีย 2025 (Asia Top Private Hospital 2025)
Top 20 โรงพยาบาลอัจฉริยะที่ดีที่สุดในโลก 2025 ไทยติด 2 แห่ง
กรุงเทพ จับมือ ปักกิ่ง MOU แนวทางสู้มลพิษ PM2.5
เทศบาลนครพิษณุโลก กำหนดออกหน่วยฉีดวัคซีนป้องกันโรคพิษสุนัขบ้า เดือนกุมภาพันธ์ - พฤษภาคม 2568
หมอเตือน ไข้หวัดใหญ่รุนแรงกว่าที่คิด
ตรวจ มะเร็งฟรี กับสำนักงานประกันสังคม ปี 2568
คาราวานสุขภาพ กทม. ฟรี ที่ห้างเซ็นทรัล 4 แห่ง 14 - 16 กุมภาพันธ์ 2568 นี้
กทม.จับมือ CIB เชื่อมระบบ CCTV รับสงกรานต์ปลอดภัย เริ่มย่านถนนข้าวสาร
[ ทั้งหมด]
เนื้อหาอ่านล่าสุด
มาตรฐานอาหารและผลิตภัณฑ์เกษตรอินทรีย์
Thai Night: Where Films Come Alive ณ เทศกาลภาพยนตร์เมืองคานส์
2 สัปดาห์หลังเหตุถังดับเพลิงระเบิด กทม.ปูพรมตรวจสอบ-เปลี่ยนถังใหม่หมด
เปิดปฏิทินงานปั่นจักรยานทั่วไทย ปี 2566
[Archive] กิจกรรมเทศกาลในจ.ราชบุรี ที่จัดไปแล้ว
โรงงานผลิตยาสมุนไพรโรงพยาบาลกุดชุม
เยียวยาจิตใจคนในชุมชน ด้วยพลัง บ.ว.ร @ชุมชนบ้านคลองเหมืองใหม่ สมุทรสงคราม
โซลูชันใหม่เพื่อการสร้างมวลกล้ามเนื้อ เมื่อการออกกำลังกายไม่ใช่ทางออกสำหรับทุกคน
เลเซอร์ ฟรี กับแพทย์อาสา ปธพ.10 โรงพยาบาลพระปกเกล้า
นายกสมาคมออร์โธปิดิกส์ฯ คนใหม่ไฟแรง เดินหน้ายกระดับคุณภาพชีวิตคนไทย
ศัลยกรรม กระดูกและข้อ / ศัลยกรรมเฉพาะทางและการผ่าตัดด้วยการส่องกล้อง
ชวนเที่ยวงานเกษตรทั่วไทย งานเกษตรแฟร์ ทั่วประเทศ ปี 2568
การผ่าตัดทางนรีเวชผ่านกล้อง
ยาลิ้นฟ้า ยาโรฮิบนอล 542 ยาควบคุม หมอแล็บแพนด้าเตือนอันตรายจริง
สรรพคุณของน้ำมันกัญชาสกัด - นพ.ดร. ปัตพงษ์ เกษสมบูรณ์
[ทั้งหมด]
🔝