alumni
แล้วมันช่วยควบคุมน้ำหนักได้ด้วยไหมคะ
อ ศราวุฒิ
คำว่า GI ย่อมาจาก glycaemic index ใช้บอกว่าอาหารชนิดใดเมืื่อย่อยแล้วปล่อยน้ำตาลเข้าสู่กระแสเลือดได้เร็วหรือช้า อาหารที่ค่า GI สูงเช่น ข้าวขาว ขนมปังขาว มันฝรั่ง เค้ก ไอศครีม น้ำอัดลม พวกนี้ไม่มีไฟเบอร์เป็นองค์ประกอบ ดังนั้นถูกย่อยและดูดซึมได้เร็ว ทำให้น้ำตาลกลูโคสถูกปล่อยออกมาอย่างรวดเร็วและถูกดูดซึมเข้ากระแสเลือดได้เร็วเป็นผลให้ความเข้มข้นของน้ำตาลในกระแสเลือดสูงขึ้นอย่างรวดเร็ว ทำให้อินซูลินถูกปล่อยออกมาอย่างรวดเร็วเพื่อลดระดับน้ำตาลในเลือด ถ้าคนเป็นโรคเบาหวานบริโภคอาหารชนิดนี้ก็จะเกิดปัญหาเพราะคนเบาหวานมีภาวะดื้ออินซูลิน รวมทั้งระดับอินซูลินที่ปล่อยจากตับอ่อน ต่ำกว่าคนปกติ ทำให้มีอินซูลินไม่พอที่จะออกฤทธิ์ดึงน้ำตาลเข้าเซลล์ ทำให้ร่างกายขาดน้ำตาลซึ่งเป็นแหล่งพลังงาน ระดับน้ำตาลความเข้มข้มสูงที่ค่างในเลือดจะส่งผลต่อการทำงานของระบบหลอดเลือด หัวใจ ดังนัี้นผู้ป่วยโรคเบาหวานจึงควรเลือกอาหารที่มี GI ต่ำ เช่น ข้าวกล้อง ขนมปังโฮลวีท พาสต้า (ที่มี ไฟเบอร์สูง) การที่มีไฟเบอร์เป็นองค์ประกอบทำให้ในขบวนการย่อยมีการปล่อยน้ำตาลออกมาช้า ๆ ดูดซึมเข้ากระแสเลือดก็จะไม่มีระดับสูงเกินไป ทำให้ตับอ่อนไม่ต้องทำงานหนักในการปล่อยอินซูลิน เพื่อลดระดับน้ำตาลในเลือด ส่วนคนน้ำหนักเกิน ก็แน่นอนว่าอาหารมี GI ต่ำช่วยลดน้ำนักเพราะใช้เวลาย่อยนานกว่าปกติทำให้ไม่รู้สึกหิวบ่อย น้ำตาลที่ดูดซึมเข้ากระแสเลือดไม่สูงขึ้นพรวดพราด อย่าลืมว่า insulin ที่ปล่อยออกมานอกจากดึงน้ำตาลเข้าเซลล์แล้ว ยังออกฤทธิ์กระตุ้น glycolysis + de novo fatty acid synthesis ทำให้น้ำตาลที่ถูกดูดซึมไปที่เซลล์ตับถูกเปลี่ยนเป็นไขมัน ทำให้เราอ้วนขึ้น ดังนั้นการพยายามกินอาหารที่มีค่า GI ต่ำก็จะเป็นการช่วยลดระดับอินซูลินไม่ให้ปล่อยออกมาสูงมาก ดังนั้นการสะสมไขมันก็จะลดลง น้ำหนักตัวไม่เกินครับ
อ ศราวุฒิ
บ้านเราคำว่า GI ยังไม่คุ้นหู และองค์การอาหารและยาก็ยังไม่ใช้กฏข้อบังคับให้ ขนม อาหารยี่ห้อต่าง ๆ ระบุค่า GI บนภาชนะบรรจุ ขณะที่ประเทศในยุโรป อเมริกา ออสเตรีเลียมีกฏหมายให้ระบุค่า GI ที่อยู่ข้างถุง เนื่องจากโรคอ้วนในประเทศดังกล่าวเป็นปัญหาสำคัญมีเด็กน้ำหนักเกินอยู่มาก
alumni
ค่า Glycemic index วัดได้อย่างไรคะ เข้าใจว่าวัดได้ทั้ง invio และ invitro ที่เมืองไทยมีที่ไหนรับวิเคราะห์ไหมคะ
อ ศราวุฒิ
ดูรายละเอียดที่
http://www.glycemicindex.com/
เข้าใจว่าเมื่องไทยไม่มีหน่วยงานไหนรับวิเคราะห์ครับ
alumni
ขอบคุณมากมายค่ะอาจารย์
ดร.ณพล
ค่า GI มีการวิเคราะห์ที่ยุ่งยากครับ ในการทดลองบางครั้งก็จะวัดโดยวิธี RAG , SAG แทน โดยการวัดค่าการเปลี่ยนแป้งเป็นน้ำตาลนั่นเอง ดัง thesis นี้ครับ
แต่เนื่องจากมีหลายปัจจัยที่มีผลต่อค่าGI และการได้มาซึ่งค่าGI ที่ทำการทดลองในคนนั้นค่อนข้างยุ่งยากและเสียค่าใช้จ่ายค่อนข้างสูงประการสำคัญคือทำการทดลองตัวอย่างได้น้อยดังนั้นในปีค.ศ. 1992 Englyst และคณะ17 จึงพัฒนาวิธีการวัดอัตราการย่อยแป้ง (starch) หรือคาร์โบไฮเดรตในอาหารเป็นน้ำตาลในหลอดทดลองที่เรียกว่าพapidly available glucose (RAG) ซึ่งหมายถึงปริมาณน้ำตาลกลูโคสที่ได้จากการย่อยคาร์โบไฮเดรต (starch) ด้วยเอนไซม์อย่างรวดเร็วภายในเวลา 20 นาที และslowly available glucose (SAG) หมายถึงปริมาณน้ำตาลกลูโคสที่ได้จากการย่อยคาร์โบไฮเดรต (starch) ที่เหลือด้วยเอนไซม์อีก 100 นาทีถัดมาซึ่งวิธีการนี้เลียนแบบวิธีการย่อยการดูดซึมของน้ำตาลในคนการทดสอบด้วยวิธีนี้พบว่าให้ผลสอดคล้องกับการทดลองในมนุษย์โดยเฉพาะความสัมพันธ์ระหว่างค่าRAG และค่าGI มีความสอดคล้องกัน18-20จากผลการทำวิจัยเบื้องต้นของการศึกษาครั้งนี้พบว่าค่าRAG สอดคล้องกับการวิเคราะห์ค่าGI ในคนโดยพบว่ากัวกัม (guar gum; RAG = 0.70 กรัมต่อ 100 กรัม) น้ำตาลเทียมซอร์บิทอล (sorbitol; RAG = 0.35 กรัมต่อ 100 กรัม) รำข้าว (RAG = 4.52 กรัมต่อ 100 กรัม) และวุ้นเส้น (RAG = 9.71 กรัมต่อ 100 กรัม) มีปริมาณค่าRAG ต่ำมากซึ่งผลที่ได้ใกล้เคียงกับค่าดัชนีน้ำตาลที่ทดลองในคนดังนั้นการใช้ค่าRAG เป็นตัวบ่งชี้ในการคัดเลือกหรือปรับปรุงพันธุ์ข้าวให้มีค่าดัชนีน้ำตาลต่ำน่าจะเป็นทางเลือกอีกวิธีหนึ่งที่จะช่วยทำให้สามารถคัดเลือกพันธุ์ข้าวได้ในปริมาณที่มากก่อนที่จะนำไปทดลองต่อในมนุษย์นอกจากนี้ยังรวดเร็วประหยัดเวลาและลดค่าใช้จ่าย
วัตถุประสงค์ในการวิจัยครั้งนี้เพื่อหาค่าดัชนีน้ำตาลในข้าวสายพันธุ์ต่างๆโดยเลียนแบบการย่อยการดูดซึมน้ำตาลภายในร่างกายด้วยวิธีการทดสอบในหลอดทดลองได้แก่rapidly available glucose (RAG) และslowly available glucose (SAG) รวมถึงหาค่าAC และRS พร้อมทั้งความสัมพันธ์ของปริมาณสารอาหารเหล่านี้