ข่าวสุขภาพ
ข่าวสุขภาพทั่วไป ข่าวธุรกิจสุขภาพไทย ข่าว/กิจกรรม/สาระ รพ.ต่างๆ ข้อมูลบริการ รพ.ต่างๆ สาระความรู้สุขภาพ กิจกรรม ESG CSR Health Economy บริจาครพ.ต่างๆ
น่าสนใจไทยแลนด์
About us เผยแพร่เนื้อหา สถิติเว็บไซต์ สำรวจความเห็นสุขภาพ โฆษณา
healthserv.net@gmail.com

ตรวจวัดความหนาแน่นของกระดูก ส่องหาภาวะกระดูกพรุน (Osteoporosis)

แผนกรังสีวินิจฉัย โรงพยาบาลวิภาวดี ให้บริการตรวจวัดความหนาแน่นของกระดูกทุกวัน โดยเครื่องวัดความหนาแน่นกระดูกที่ทันสมัยของ HOLOGIC ซึ่งเป็นชนิดใช้พลังรังสีเอกซ์ 2 ค่าพลังงาน (DEXA) ทำให้สามารถตรวจกระดูกส่วนที่หนาๆได้ เช่น กระดูกสันหลัง กระดูกข้อสะโพก ทำไมเราจึงต้องวัดความหนาแน่นของกระดูก

การตรวจวัดความหนาแน่นของกระดูก (Bone Mineral Density) 
 
เมื่อคนเราอายุมากขึ้น ร่างกายจะสร้างแคลเซียม (Ca) ได้น้อยลง เป็นเหตุให้กระดูกขาดความแข็งแรง เปราะบาง จนกลายเป็นโรคกระดูกพรุน (Osteoporosis) เครื่องวัดความหนาแน่นของกระดูกสามารถตรวจเช็คปริมาณความหนาแน่นของกระดูกได้ และทำให้สามารถวางแผนป้องกันและสามารถรักษาโรคกระดูกพรุนได้อย่างถูกต้อง


กระดูกพรุน (Osteoporosis) คือ อะไร
 
คือภาวะที่กระดูกมีเนื้อกระดูกที่มีความหนาแน่นน้อย ทำให้มีโอกาสกระดูกแตกหัก หรือยุบตัวได้ กระดูกปกติจะมีโครงสร้างเส้นใย ที่มีโพรงเป็นตาข่ายในเนื้อกระดูก เมื่อเกิดกระดูกโพรงระหว่างเส้นใยจะใหญ่ขึ้น ทำให้เกิดการแตกของกระดูกได้ง่าย กระดูกจะไม่สามารถตั้งตรงได้ เช่น กระดูกสันหลัง เมื่อเกิดเป็นโรคกระดูกพรุนจะยุบตัวทำให้หลังงอผิดปกติ เสียบุคลิกภาพไป โรคกระดูกพรุนโดยทั่วไปมักพบในคนอายุมากประมาณ 50 ปีขึ้นไป และในสตรีวัยหมดประจำเดือน
 
 
สาเหตุโรคกระดูกพรุน
 
• อายุมาก 
• วัยหมดประจำเดือน 
• ขาดแคลเซียม (Ca) 
• การรักษาโรคบางชนิดด้วยฮอร์โมน หรือ Steroid 
• มีประวัติครอบครัวเป็นโรคกระดูกพรุน
 
 
การวินิจฉัยโรคกระดูกพรุน
 
มีหลายวิธี แต่วิธีที่ง่ายที่สุด คือ ใช้เครื่องวัดความหนาแน่นกระดูก สามารถทราบผลได้ทันที เครื่องมือตรวจวัดความหนาแน่นกระดูกที่ทันสมัย มีรายละเอียดของเครื่องดังนี้ 
• สามารถตรวจ ส่วนต่าง ๆ ของร่างกายได้เกือบทั้งหมด 
• ใช้เวลาตรวจน้อย 
• ภาพคมชัดและถูกต้องแม่นยำ 
• ปริมาณรังสีต่ำ เพียงเท่ากับ เมื่อได้รับขณะอยู่บนเครื่องบินใครต้องตรวจบ้าง 
• เมื่อคุณรู้สึกว่ากระดูกสันหลังผิดปกติ 
• มีปัญหาเกี่ยวกับฮอร์โมน เช่น โรคต่อมไทรอยด์เป็นพิษ (Hyperthyroid) 
• ผู้หญิงที่มีระดับเอสโตรเจน (Estrogen) ต่ำ และวัยหมดประจำเดือน 
• คนผอมมาก ๆ 
• คนที่มีประวัติครอบครัวเป็นโรคกระดูกพรุน 
• คนที่ไม่ค่อยได้ออกกำลังกาย 
• คนที่ดื่มเครื่องดื่มที่มี Alcohol เป็นประจำทำอย่างไรบ้าง ถ้าคุณเป็นโรคกระดูกพรุน 
• แพทย์จะอธิบายวิธีการป้องกันและการรักษาที่ถูกต้อง 
• การออกกำลังกายทุกวัน ร่างกายจะสร้างแคลเซียม และเลี่ยงการดื่มเครื่องดื่มที่มี Alcohol และงดการสูบบุหรี่ จะช่วยลดอัตราการเกิดโรคกระดูกพรุน
 

การเตรียมตัวเพื่อตรวจ 
 
• ไม่ต้องเตรียมตัวอะไร รับประทานอาหารได้ตามปกติ 
• ถ้ากำลังให้ยา Thyroid โปรดแจ้งต่อเจ้าหน้าที่ทราบ 
• กำลังกินแคลเซียม โปรดแจ้งเจ้าหน้าที่ทราบ 
• ถ้ามีการตรวจทางรังสีด้วยแบเรียมมาก่อน ต้องแจ้งเจ้าหน้าที่เพื่อนัดตรวจ 
• การตรวจระบบไตด้วยสารทึบรังสี ต้องแจ้งเจ้าหน้าที่เพื่อนัดตรวจ 
• การตรวจร่างกายด้วยสารกัมมันตรังสี บริเวณใกล้กับกระดูกสันหลังส่วนเอว ต้องแจ้งเจ้าหน้าที่เพื่อนัด
 
 

ข่าว/บทความล่าสุด
เนื้อหาอ่านล่าสุด