ข่าวสุขภาพ
ข่าวสุขภาพทั่วไป ข่าวธุรกิจสุขภาพไทย ข่าว/กิจกรรม/สาระ รพ.ต่างๆ ข้อมูลบริการ รพ.ต่างๆ สาระความรู้สุขภาพ กิจกรรม ESG CSR Health Economy บริจาครพ.ต่างๆ
น่าสนใจไทยแลนด์
About us เผยแพร่เนื้อหา สถิติเว็บไซต์ สำรวจความเห็นสุขภาพ โฆษณา
healthserv.net@gmail.com

โรคไต ไตวายเฉียบพลัน โรคไตวายเรื้อรัง โรคไตจากเบาหวาน ร้ายแรงทั้งสิ้น

โรคไต ไตวายเฉียบพลัน โรคไตวายเรื้อรัง โรคไตจากเบาหวาน ร้ายแรงทั้งสิ้น Thumb HealthServ.net
โรคไต ไตวายเฉียบพลัน โรคไตวายเรื้อรัง โรคไตจากเบาหวาน ร้ายแรงทั้งสิ้น ThumbMobile HealthServ.net

โรคไต ไตวายเฉียบพลัน โรคไตวายเรื้อรัง โรคไตจากเบาหวาน ร้ายแรงทั้งสิ้น

โรคไต ไตวายเฉียบพลัน โรคไตวายเรื้อรัง โรคไตจากเบาหวาน ร้ายแรงทั้งสิ้น HealthServ
โรคไต การป้องกันและการรักษา
 
ไต     
 
ไตมี 2 ข้าง   อยู่บริเวณด้านหลัง  ใต้ชายโครง  บริเวณบั้นเอว    มีรูปร่างคล้ายถั่วเหลือง    ยาวประมาณ 12 เซนติเมตร

ไต   -  ประกอบด้วยหลอดเลือดฝอยมากมาย เรียกว่า “หน่วยไต” ( nephron )
        -  หน่วยไตจะลดจำนวน  และเสื่อมสภาพตามอายุไข
 
ไตทำหน้าที่อะไร?
  1. กำจัดของเสีย
  2. ดูดซึม  และเก็บสารที่เป็นประโยชน์ต่อร่างกาย
  3. รักษาสมดุลน้ำของร่างกาย
  4. รักษาสมดุลเกลือแร่ของร่างกาย
  5. รักษาสมดุลกรดด่างของร่างกาย
  6. ควบคุมความดันโลหิต
  7. สร้างฮอร์โมน
 
หน้าที่โดยละเอียด

1. กำจัดของเสีย  ได้แก่ ยูเรีย ครีเอดินิน
  • เมื่อร่างกายได้รับสารอาหาร   จะย่อยสลาย นำส่วนที่เป็นประโยชน์ไปใช้   และปล่อยของเสียออกสู่กระแสเลือด   ผ่านมายังไต   และถูกขับออกมากับปัสสาวะ
  • ขับยา   และสารแปลกปลอมอื่น ๆ

2. ดูดซึม  และเก็บสารที่เป็นประโยชน์ต่อร่างกายไว้
  • สารที่เป็นประโยชน์ต่อร่างกาย จะถูกดูดกลับโดยเซลล์ของหน่วยไต เช่น  น้ำ  ฟอสเฟด   โปรตีน

3. รักษาสมดุลน้ำของร่างกาย
  • ถ้าน้ำมีมากเกินความต้องการของร่างกาย   ไตจะทำหน้าที่ขับน้ำออกมาทางปัสสาวะ
  • ถ้าอยู่ในภาวะขาดน้ำ  ไตจะพยายามสงวนน้ำไว้ให้ร่างกาย   ปัสสาวะจะมีปริมาณน้อยและเข้มข้น

4. รักษาสมดุลเกลือแร่ของร่างกาย
  • ไตที่ปกติจะขับเกลือส่วนเกินได้เสมอ   แม้จะรับประทานรสเค็มจัด
  • แต่ถ้าเสื่อมสมรรถภาพ   ผู้ป่วยจะมีอาการบวมถ้ารับประทานเกลือมากเกินไป

5. รักษาสมดุลกรดด่างของร่างกาย
  • ร่างกายจะผลิตกรดทุกวัน จากการเผาผลาญอาหารโปรตีน
  • ถ้าไตทำหน้าที่ปกติ   จะไม่มีกรดคั่ง
  • ถ้าไตเสื่อมสมรรถภาพ   ร่างกายจะมีปัสสาวะเป็นกรด         
                 
6. ควบคุมความดันโลหิต
  • ความดันโลหิตสูง   เกิดจากความผิดปกติในการควบคุมสมดุลน้ำ  และเกลือ  รวมถึงสารบางชนิด
  • ผู้ป่วยโรคไต  จึงมักมีความดันโลหิตสูง   เพราะไตถูกกระตุ้นให้สร้างสารที่ทำให้ความดันสูง
  • ถ้าความดันโลหิตสูงมาก   ทำให้หัวใจทำงานหนัก  หรืออาจเกิดโรคหลอดเลือดสมองตีบ  หรือ แตก  เป็นอัมพฤกษ์  และอัมพาตได้

7. สร้างฮอร์โมน
  • ไต ปกติสามารถสร้างฮอร์โมนได้หลายชนิด
  • ถ้าเป็นโรคไต   การสร้างฮอร์โมนจะบกพร่องไป
ตัวอย่างฮอร์โมนที่สร้างจากไต
  • ฮอร์โมนเออริโธรพอยอิติน ( erythropoietin)
    ทำหน้าที่สร้างเม็ดเลือดแดง   ดังนั้นผู้ป่วยจะมี   อาการซีด   อ่อนเพลีย  ไม่มีแรง    หัวใจทำงานหนัก วิงเวียน   หน้ามืด   เหนื่อย   ใจสั่น   เป็นลมบ่อย
  • วิตามินดีชนิด  calcitriol 
    ทำหน้าที่ช่วยควบคุมการดูดซึมแคลเซี่ยม   ซึ่งการที่วิตามีนดี  และแคลเซี่ยมในเลือดต่ำ   ทำให้ต่อมพาราธัยรอยด์หลั่งฮอร์โมนมากกว่าปกติ   เป็นผลเสียต่ออวัยวะหลายอย่างในร่างกาย  โดยเฉพาะกระดูก   ทำให้ไม่แข็งแรง
 
ไตเสื่อมทำให้เกิดผลเสียต่ออวัยวะต่าง ๆ    
 
ใครมีโอกาสเสี่ยงต่อการเกิดโรค ไต
  1. อายุเกิน 60 ปีขึ้นไป   ไต จะเริ่มเสื่อม
  2. ความดันโลหิตสูง
  3. โรคหัวใจ   เช่น  หลอดเลือดหัวใจตีบ
  4. โรคหลอดเลือดสมอง
  5. โรคเบาหวาน
  6. โรคเก๊าท์
  7. โรคไตอักเสบชนิดต่าง ๆ  เช่น   โรคไตอักเสบตั้งแต่วัยเด็ก   ไตอักเสบ เอส-แอล –อี โรคไตเป็นถุงน้ำ  นิ่ว  เนื้องอก  หลอดเลือดฝอยอักเสบ
  8. มีสมาชิกในครอบครัวเป็นโรคไต 
  9. โรคทางเดินปัสสาวะอักเสบจากการติดเชื้อ
  10. ใช้ยาแก้ปวด   หรือสัมผัสสารเคมีบางชนิดติดต่อกันเป็นเวลานาน
 
รู้ได้อย่างไรว่าเป็นโรคไต
  • อาการแสดง
  • การสืบค้น
 
อาการแสดงเมื่อเป็นโรคไต
  1. หนังตา   ใบหน้า   เท้า   ขา  และลำตัวบวม
  2. ปัสสาวะผิดปกติ เช่น   ขุ่น  เป็นฟอง  เป็นเลือด  สีชาแก่  / น้ำล้างเนื้อ
  3. การถ่ายปัสสาวะผิดปกติ เช่น   บ่อย  แสบ ขัด  ปริมาณน้อย
  4. ปวดหลัง   คลำได้ก้อน บริเวณไต
  5. ความดันโลหิตสูง
  6. ซีด  อ่อนเพลีย  เหนื่อยง่าย  ไม่มีแรง  ไม่กระฉับกระเฉง
  7. ท้องอืด   ท้องเฟ้อ   คลื่นไส้   อาเจียน
  8. เบื่ออาหาร   การรับรสอาหารเปลี่ยนไป
  9. ปวดศีรษะ   นอนหลับไม่สนิท
 
อาการสังเกตเมื่อไตเสื่อม
 
ไตเริ่มเสื่อม
  • อาการบวม
  • ซีด
  • อ่อนเพลีย
  • เหนื่อยง่าย
  • ความดันโลหิตสูง
 
ไตวายเรื้อรัง
  • ซีดมากขึ้น
  • เบื่ออาหาร
  • คันตามตัว
 
อาการสังเกตเมื่อไตเสื่อม 
  1. อาการบวมที่หน้า และหนังตา
  2. อาการบวมที่ขา
  3. อาการบวมที่เท้า
  4. ปัสสาวะเป็นเลือด
 

โรคไตวาย
 
ไตวายเฉียบพลัน
ไตเสื่อมอย่างรวดเร็ว   ภายในเวลาเป็นวัน  หรือสับดาห์     มักมีอาการมากกว่าแบบเรื้อรัง    อัตราการเสียชีวิตสูง   ถ้าพ้นอันตราย ไตมักจะเป็นปกติได้
 
 
โรคไตวายเรื้อรัง
 เนื้อไตถูกทำลายอย่างถาวร   ทำให้ไตค่อย ๆ ฝ่อเล็กลง     แม้อาการจะสงบ  แต่ไตจะค่อย ๆ เสื่อม     และ
เข้าสู่ไตวายเรื้อรังระยะสุดท้ายในที่สุด


 
สาเหตุของโรคไตวายเรื้อรัง
 
ปัจจุบันพบว่าผู้ป่วยด้วยโรคไต เข้าสู่โรคไตวายเรื้อรังระยะสุดท้าย  มีสาเหตุจาก
  1. อันดับหนึ่ง   โรคเบาหวาน
  2. อันดับสอง   ความดันโลหิตสูง  และ โรคหลอดเลือดฝอยไตอักเสบ  เช่น  โรค เอส- แอล – อี
  3. สาเหตุอื่น ๆ  ได้แก่
  • โรคนิ่วในไต
  • โรคไตอักเสบเรื้อรังจากการติดเชื้อ
  • โรคเก๊าส์
  • โรคไตจากการกินยาแก้ปวดต่อเนื่องเป็นเวลานาน ๆ 
  • โรคถุงน้ำในไตที่ถ่ายทอดทางกรรมพันธุ์
 
 สาเหตุต่าง ๆ เหล่านี้   มักทำให้เกิดโรคกับไตทั้ง 2 ข้างพร้อม ๆ กัน
 
โรคไตจากเบาหวาน
  • ผู้ที่เป็นเบาหวานมานานหลายปี   จะเกิดภาวะแทรกซ้อนของอวัยวะต่าง ๆ
  • โดยเฉพาะหลอดเลือดทั่วร่างกายจะแข็ง  และหนา    ทำให้เลือดไป เลี้ยงส่วนต่าง ๆ ของร่างกายลดลง
  • ถ้าควบคุมเบาหวานไม่ดี   ภาวะแทรกซ้อนต่าง ๆ จะเกิดเร็วกว่าปกติ
  • โดยเฉลี่ยโรคไตมักจะเกิดตามหลังโรคเบาหวานมากกว่า 10 ปี  ขึ้นไป
  • ถ้าเริ่มมีอาการบวมตามแขน  ขา  ใบหน้า  และลำตัว    เป็นการบ่งชี้ว่าเริ่มมีความผิดปกติทางไต
  • การตรวจพบโรคไตระยะเริ่มแรกในผู้ป่วยเบาหวาน    คือความดันโลหิตสูง   ไข่ขาวหรือโปรตีนรั่วในปัสสาวะ
  • เมื่อไตเริ่มเสื่อมลง  จะต้องเจาะเลือดเพื่อตรวจหน้าที่ไต    โดยค่ายูเรียไนโตรเจน ( BUN )     และคริเอตินิน  ( Creatinine )   จะสูงกว่าคนปกติ
 
ภาวะแทรกซ้อนทางไตในผู้ป่วยเบาหวาน
  1. กระเพาะปัสสาวะอักเสบ
  2. อาการบวม
  3. ไตอักเสบจากการติดเชื้อ
  4. ไตวายฉับพลัน
  5. ไตวายเรื้อรัง
 
ปัจจัยเสี่ยงของการเกิดโรคไตในผู้ป่วยเบาหวาน  
 
 โรคไตพบประมาณ  30 – 35 % ของผู้ป่วยโรคเบาหวาน    ปัจจัยเสี่ยงของการเกิดโรคไต   ได้แก่
  • เพศชาย
  • พันธุกรรม
  • ระดับน้ำตาลสูง
  • ความดันโลหิตสูง
  • โปรตีนรั่วในปัสสาวะ
  • การสูบบุหรี่
 
ทราบได้อย่างไรว่าเป็นโรคไตจากเบาหวาน 
  • มีอาการซีด
  • บวม
  • ความดันโลหิตสูง
  • อาการคันตามตัว
  • เบื่ออาหาร  น้ำหนักลด
  • ระยะสุดท้ายจะอ่อนเพลีย  คลื่นใส้  อาเจียน
 
อย่างไรก็ดี  การเกิดโรคไตจากเบาหวาน  มักมีสิ่งตรวจพบเพิ่มเติมจากผู้ป่วยไตวายเรื้อรังจากสาเหตุอื่นซึ่งก็คือ   ภาวะแทรกซ้อนที่เกิดจากเบาหวาน  ได้แก่
  • อาการชาตามปลายมือ – เท้า
  • เจ็บหน้าอก
  • ตามัว
  • แขนขาอ่อนแรง
  • แผลเรื้อรังตามผิวหนังและปลายเท้า
 
การดูแลผู้ป่วยเบาหวาน  เพื่อป้องกันโรคไต 
  1. ตรวดปัสสาวะ  เพื่อหาโปรตีนทุกปี 
  2. ควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดให้เท่ากับ  หรือใกล้เคียงปกติ    เท่าที่สามารถทำได้
  3. รักษาความดันโลหิตให้อยู่ในเกณท์ปกติ
  4. หลีกเลี่ยงการใช้ยา  หรือ  สารที่เป็นอันตรายต่อไต    เช่น ยาต้านการอักเสบระงับปวด   สารทึบรังสี
  5. สำรวจ และให้การรักษาโรค  หรือ ภาวะอื่นที่ทำให้ไตเสื่อมสมรรถภาพ   เช่น การติดเชื้อทางปัสสาวะ
 
การดูแลผู้ป่วยเบาหวาน  และเป็นโรคไต
  1. ตรวดปัสสาวะ และ เลือด   เพื่อดูหน้าที่ไตเป็นระยะ ๆ
  2. กินยาตามแพทย์สั่งติดต่อกัน  และพบแพทย์ตามนัด
  3. งดบุหรี่ และแอลกอฮอล์    ซึ่งมีผลต่อหลอดเลือด
  4. ถ้าต้องรับประทานยาแก้ปวด หรือ ยาอื่น ๆ    ควรอยู่ภายใต้คำแนะนำของแพทย์ และเภสัชกร
  5. เมื่อมีอาการบวม   ควรงดอาหารเค็ม รสจัด หมักดอง และอาหารกระป๋อง
  6. ควบคุมความดันโลหิตให้ปกติ  หรือ  ใกล้เคียงมากที่สุด     กินยาสม่ำเสมอ  ไม่หยุดยาเองเพราะคิดว่าสบายดีแล้ว
  7. ระวังอาหารที่มี  โคเลสเตอรอลสูง
  8. รับประทานผัก  และปลามากขึ้น
  9. ควรตรวจอวัยวะอื่น ๆ ด้วย   เช่น ตา หัวใจ ปอด
  10. สำรวจผิวหนัง และเท้าให้สะอาด   ไม่มีแผลเรื้อรัง
  11. ระหว่างการรักษาด้วยเครื่องไตเทียม     ควรรับประทานเนื้อสัตว์ และอาหารเค็มให้น้อยที่สุด
  12. ควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดอย่างเคร่งครัด
 
ตัวอย่างอาหารไขมันสูงที่ควรระวัง

1. อาหารโคเลสเตอรอลสูง
  •  อาหารทะเล
  • เนื้อ – หมู ติดมัน
  • กุ้ง
  • หอย
  • ทุเรียน
  • เนย
2. อาหารไตรกลีเซอร์ไรด์สูง   
  • อาหารจำพวกแป้ง
  • ของหวาน
  • ผลไม้รสหวาน
  • เครื่องดื่มที่ผสมแอลกอฮอล์
 
ข้อเขียนโดย ศจ.พญ.ลีนา องอาจยุทธ
สาขาวิชาวักกะวิทยา  ภาควิชาอายุรศาสตร์   
คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล
นายกสมาคมโรคไต แห่งประเทศไทย

ข่าว/บทความล่าสุด
เนื้อหาอ่านล่าสุด