ข่าวสุขภาพ
ข่าวสุขภาพทั่วไป ข่าวธุรกิจสุขภาพไทย ข่าว/กิจกรรม/สาระ รพ.ต่างๆ ข้อมูลบริการ รพ.ต่างๆ สาระความรู้สุขภาพ กิจกรรม ESG CSR Health Economy บริจาครพ.ต่างๆ
น่าสนใจไทยแลนด์
About us เผยแพร่เนื้อหา สถิติเว็บไซต์ สำรวจความเห็นสุขภาพ โฆษณา
healthserv.net@gmail.com

นั่งเครื่องบินแล้วหูอื้อทำยังไงดี?

นั่งเครื่องบินแล้วหูอื้อทำยังไงดี? Thumb HealthServ.net
นั่งเครื่องบินแล้วหูอื้อทำยังไงดี? ThumbMobile HealthServ.net

อาการหูอื้อมักมีสาเหตุมาจากการเปลี่ยนแปลงระดับความสูงอย่างกะทันหัน หรือกรณีที่ผู้โดยสารเป็นหวัด ขณะโดยสารเครื่องบินหรือนอนหลับ ขณะที่เครื่องบินทะยานขึ้นหรือลดระดับ ส่งผลให้รู้สึกเจ็บหรือแน่นตื้อภายในหู ไม่สบาย หรือได้ยินเสียงเบาลง

นั่งเครื่องบินแล้วหูอื้อทำยังไงดี? HealthServ
นั่งเครื่องบินแล้วหูอื้อทำไงดี?
 
โดยทั่วไป ในเครื่องบินจะปรับระดับความดันไว้ที่เทียบเท่ากับ ความดันบรรยากาศที่ความสูงประมาณ 8,000 ฟุต (ค่าเฉลี่ย) เพื่อให้ผู้โดยสารยังสามารถใช้ชีวิตได้อย่างปกติ เพราะหากปรับความดันมากกว่านี้ โครงสร้างของเครื่องบินจะรับไม่ไหว แต่ตลอดการเดินทางโดยเครื่องบิน ความดันอาจมีการเปลี่ยนแปลงอยู่บ้าง จึงอาจทำให้เกิดอาการปวดหูหูอื้อ ซึ่งมักเป็นตอนเครื่องบินร่อนลงมากกว่าตอนบินขึ้น ในช่วงเครื่องบินบินขึ้น ความดันบรรยากาศจะลดลงเรื่อยๆ ปริมาตรอากาศในหูชั้นกลางจึงขยายตัวขึ้นไปกดที่เยื่อแก้วหู ทำให้เกิดอาการหูอื้อหรือปวดหู เช่นเดียวกับช่วงเวลาที่เครื่องบินลดระดับลง ความดันบรรยากาศภายนอกเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ถ้าปริมาตรอากาศในหูชั้นกลางไม่ได้รับการปรับตัว เราก็จะมีอาการหูอื้อได้อีก

อาการหูอื้อมักมีสาเหตุมาจากการเปลี่ยนแปลงระดับความสูงอย่างกะทันหัน หรือกรณีที่ผู้โดยสารเป็นหวัด ขณะโดยสารเครื่องบินหรือนอนหลับ ขณะที่เครื่องบินทะยานขึ้นหรือลดระดับ ส่งผลให้รู้สึกเจ็บหรือแน่นตื้อภายในหู ไม่สบาย หรือได้ยินเสียงเบาลง
 
วิธีที่จะสามารถบรรเทาอาการปวดหรือหูอื้อได้ มีดังนี้
  1. การหาวเป็นวิธีการที่ง่ายที่สุดที่จะทำให้เราสามารถบรรเทาอาการหูอื้อได้
  2. เกร็งคอ
  3. เคี้ยวหมากฝรั่งเนื่องจากการขยับกราบทำให้การระบายอากาศในหูชั้นกลางดีขึ้นแต่การเคี้ยวหมากฝรั่งทำให้กลืนลมเข้าในทางเดินอาหารมากขึ้นอาจทำให้ปวดท้องได้
  4. กลืนน้ำลายจะทำให้ท่อEustachianที่อยู่ในหูถูกเปิดออก
  5. ใช้มือบีบจมูกปิดปากให้สนิทและพยายามพ่นลมออกจากจมูกที่เราบีบวิธีนี้จะช่วยกระตุ้นให้สามารถปรับความดันอากาศภายในให้เท่ากับภายนอกได้เป็นอย่างดี(Valsalvamaneuver)แต่ไม่แนะนำให้ทำรุนแรงหรือนานเกินไปเนื่องจากอาจทำให้ปอดไปกดที่เส้นเลือดใหญ่ด้านหลังเลือดไปเลี้ยงสมองช้าลงเกิดอาการเวียนศีรษะได้
 สำนักงานการบินพลเรือนแห่งประเทศไทย

ข่าว/บทความล่าสุด
เนื้อหาอ่านล่าสุด