ข่าวสุขภาพ
ข่าวสุขภาพทั่วไป ข่าวธุรกิจสุขภาพไทย ข่าว/กิจกรรม/สาระ รพ.ต่างๆ ข้อมูลบริการ รพ.ต่างๆ สาระความรู้สุขภาพ กิจกรรม ESG CSR Health Economy บริจาครพ.ต่างๆ
น่าสนใจไทยแลนด์
About us เผยแพร่เนื้อหา สถิติเว็บไซต์ สำรวจความเห็นสุขภาพ โฆษณา
healthserv.net@gmail.com

อัมพาตครึ่งท่อน หรือทั้งตัวคุณกลัวไหม..

อัมพาตครึ่งท่อน หรือทั้งตัวคุณกลัวไหม.. Thumb HealthServ.net
อัมพาตครึ่งท่อน หรือทั้งตัวคุณกลัวไหม.. ThumbMobile HealthServ.net

กระดูกสันหลังของคนเรา กระดูกแต่ละชิ้นจะวางเรียงกันเป็นแนวยาวลงมาตามลำตัว โดยเชื่อมกันด้วยข้อต่อและหมอนรองกระดูก ช่วงกลางของแนวกระดูกจะมีช่องว่าง ซึ่งเป็นที่อยู่ของเส้นประสาทใหญ่ไขสันหลัง ดังนั้นเมื่อเกิดความผิดปกติขึ้นที่กระดูก ข้อต่อ หรือ หมอนรองกระดูก จึงมีโอกาสที่เส้นประสาทดังกล่าวจะได้รับอันตราย จนถึงขั้นเป็นอัมพาตได้




 
 
อาการที่บ่งบอกว่ามีการกระทบกระเทือนต่อเส้นประสาท มีดังนี้
  • ส่วนคอ – ปวดต้นคอ ไหล่ แขน และศีรษะ อ่อนแรงหรือชา แขน มือ นิ้วมือ ถ้ารุนแรงมากทำให้เป็นอัมพาตทั้งตัวหรือครึ่งตัวได้
  • ส่วนอก – ปวดหลัง บริเวณกลางหลัง หรือ ระหว่างสะบักทั้งสองข้าง ชา และอ่อนแรง ตั้งแต่ระดับอกลงไป ถึงปลายเท้า สูญเสียการควบคุม การขับถ่าย อุจจาระ ปัสสาวะ
  • ส่วนเอว – ปวดหลัง ปวดขาร้าวลงไปถึงนิ้วเท้า กล้ามเนื้ออ่อนแรงเป็นส่วนๆ อาจมีเดินแล้วสะดุด รองเท้าหลุดได้
  • ส่วนก้น – ปวดกระดูกส่วนก้น ชารอบก้นและอวัยวะเพศ ไม่สามารถกลั้นอุจจาระได้


สาเหตุ

  1. ความเสื่อมตามอายุของกระดูก ข้อต่อ และหมอนรองกระดูก
  2. โรคบางชนิด เช่น โรครูมาตอยด์ โรคภูมิคุ้มกันบางอย่างที่มีต่อกระดูก ภาวะกระดูกพรุน
  3. ภาวะติดเชื้อ เช่น วัณโรคกระดูกสันหลัง กระดูกสันหลังติดเชื้อแบคทีเรีย 
  4. โรคเนื้องอกกระดูกสันหลังเอง หรือมะเร็งแพร่กระจายมาที่กระดูกสันลัง
  5. ภาวะกระดูกสันหลังผิดปกติตั้งแต่เกิด
  6. ภาวะกระดูกสันหลังบาดเจ็บจากอุบัติเหตุ



การรักษา

ทางเลือกในการรักษา เช่น การรับประทานยา เช่น กลุ่มยาระงับปวด ยาบำรุงเส้นประสาทและการทำกายภาพบำบัดซึ่งจะเหมาะกับ ผู้ป่วยที่มีอาการไม่รุนแรง ส่วนผู้ป่วยที่อาการรุนแรง หรือรักษาด้วยยาไม่ได้ผล อาจพิจารณาการรักษาโดยวิธีผ่าตัด

 

การรักษาโดยการผ่าตัด

การรักษาโดยการผ่าตัดนั้นมีวัตถุประสงค์เพื่อ

  1. นำสิ่งที่กดทับเส้นประสาทออกเพื่อป้องกันไม่ให้เกิดความพิการมากขึ้น
  2. สร้างความแข็งแรงกระดูกสันหลังให้อยู่ในภาวะปกติมากที่สุด
  3. สามารถฟื้นฟูสภาพร่างกายและระบบประสาทได้เร็วขึ้น
  4. ป้องกันภาวะแทรกซ้อนที่ตามมา เช่น ภาวะแผลกดทับ ภาวะปอดติดเชื้อ ภาวะกล้ามเนื้อลีบและอ่อนแรง เป็นต้น
 
ผ่าตัดมีหลายวิธี ขึ้นอยู่กับชนิดและ ลักษณะของโรคนั้นๆ อย่างไรก็ตาม การผ่าตัดในปัจจุบันแบ่งออกเป็นประเภทใหญ่ได้ 2 ประเภท คือ
  1. การผ่าตัดกระดูกสันหลังทั่วไป
  2. การผ่าตัดกระดูกสันหลังที่มีบาดแผลขนาดเล็กขนาดประมาณ 2.5 ซม.โดยสอดท่อเข้าช่วยผ่าตัด เพื่อให้ผู้ป่วยเจ็บน้อยฟื้นตัวเร็วกลับไปทำงานในระยะเวลาอันสั้น 
 
น.พ. เสรี เสน่ห์ลักษณา 
ศัลยแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ ด้านระบบประสาท แพทย์ที่ปรึกษาคลินิกโรคกระดูกสันหลัง รพ.วิภาวดี

ข่าว/บทความล่าสุด
เนื้อหาอ่านล่าสุด