ข่าวสุขภาพ
ข่าวสุขภาพทั่วไป ข่าวธุรกิจสุขภาพไทย ข่าว/กิจกรรม/สาระ รพ.ต่างๆ ข้อมูลบริการ รพ.ต่างๆ สาระความรู้สุขภาพ กิจกรรม ESG CSR Health Economy บริจาครพ.ต่างๆ
น่าสนใจไทยแลนด์
About us เผยแพร่เนื้อหา สถิติเว็บไซต์ สำรวจความเห็นสุขภาพ โฆษณา
healthserv.net@gmail.com

[บัตรทอง] 10 ข้อ เพื่อความเข้าใจที่ถูกต้อง เรื่องสิทธิบัตรทองในพื้นที่กรุงเทพมหานคร

[บัตรทอง] 10 ข้อ เพื่อความเข้าใจที่ถูกต้อง เรื่องสิทธิบัตรทองในพื้นที่กรุงเทพมหานคร Thumb HealthServ.net
[บัตรทอง] 10 ข้อ เพื่อความเข้าใจที่ถูกต้อง เรื่องสิทธิบัตรทองในพื้นที่กรุงเทพมหานคร ThumbMobile HealthServ.net

10 ข้อ เพื่อความเข้าใจที่ถูกต้องเรื่องสิทธิบัตรทองในพื้นที่กรุงเทพมหานคร

[บัตรทอง] 10 ข้อ เพื่อความเข้าใจที่ถูกต้อง เรื่องสิทธิบัตรทองในพื้นที่กรุงเทพมหานคร HealthServ
10 ข้อเพื่อความเข้าใจบัตรทอง กทม.รักษาทุกที่ ในหน่วยบริการชุมชนอบอุ่น 
เพื่อไม่ให้เกิดความคลาดเคลื่อนต่อความเข้าใจ สำนักงานหลักประกันสังคมแห่งชาติ (สปสช) ขออธิบายสาระสำคัญนโยบาย "บัตรทองรักษาทุกที่" ตามที่นายอนุทิน ชาญวีรกุล รองนายกรัฐมนตรีและรมว.สาธารณสุข สั่งเดินหน้า เพื่อยกระดับการให้บริการผู้ใช้สิทธิบัตรทอง

ที่มา

10 ข้อ เพื่อความเข้าใจที่ถูกต้อง

 
 

1. ผู้ป่วยไม่สามารถรักษาได้ทุกที่ทั่วทั้งประเทศ

 

2. ต้องเป็นผู้มีสิทธิในกรุงเทพมหานคร เท่านั้น

 

3. คำว่ารักษาทุกที่หมายถึงรักษาได้ใน เครือข่ายหน่วยบริการชุมชนอบอุ่น ทุกที่ภายในเขตตัวเอง

 

4.เครือข่ายหน่วยบริการชุมชนอบอุ่นมี 2 ประเภท

ได้แก่ คลินิกชุมชนอบอุ่น (รักษาเต็มเวลา) และคลินิกเฉพาะทาง ชุมชนอบอุ่น (คลินิกเฉพาะทาง คลินิกทันตกรรม คลินิกการพยาบาลและการผดุงครรภ์ คลินิกกายภาพบำบัด ร้านขายยา ขย.1 ฯลฯ ในและนอกเวลาราชการ) 

5. ทั้ง 50 เขตมีคลินิกชุมชนพร้อมให้บริการหลายแห่ง

 นั่นหมายความว่าในกทม.มีทั้งสิ้น 50 เขต (แบ่งตามสำนักงานเขต) ในแต่ละเขตจะมีคลินิกชุมชนอบอุ่น และเฉพาะทางชุมชนอบอุ่น ตั้งอยู่หลายแห่ง

6. เดินทางไปรักษาที่ไหนก็ได้ในเขตตัวเอง เท่านั้น

 ผู้ป่วยสามารถเดินทางไปรักษาใน เครือข่ายหน่วยบริการชุมชนอบอุ่น ที่ไหนก็ได้ ภายในเขตตัวเอง แต่ไม่สามารถข้ามเขตได้

7. สามารถไปรักษาที่ศูนย์บริการสาธารณสุข กทม. ในเขตตัวเองได้ด้วย

 นอกจากเครือข่ายหน่วยบริการชุมชนอบอุ่นแล้ว สามารถไปรักษาที่ ศูนย์บริการสาธารณสุข กทม. ในเขตตัวเองได้ด้วย

8. หากป่วยด้วยอาการรุนแรงเกินศักยภาพคลินิก จะส่งต่อไป รพ.ขนาดใหญ่ในเขตตัวเองต่อไป

 หากป่ว่ยด้วยอาการที่รุนแรงจนเกินศักยภาพที่คลินิกชุมชนอบอุ่น, คลินิกเฉพาะทางชุมชนอบอุ่น, ศูนย์บริการสาธารณสุข กทม. รักษาไหว ทั้งคลินิก-ศูนย์บริการฯ จะส่งผู้ป่วยไปรักษาต่อใน "โรงพยาบาลขนาดใหญ่" ในเขตตัวเองต่อไป

9. ทั้งหมดนี้เรียกว่าการทำงานแบบเครือข่ายหน่วยบริการนั่นเอง

ทั้งหมดนี้เรียกว่าการทำงานแบบเครือข่ายหน่วยบริการ ซึ่งช่วยอำนวยความสะดวกให้กับประชาชนมากขึ้นกว่าในอดีต เพราะแต่เดิม ผู้ป่วยจะถูกจับคู่กับคลินิกประจำตัวเพียงแห่งเดียว ทำให้ไม่มีทางเลือกในการใช้บริการ

10. โรงพยาบาลขนาดใหญ่จะทำหน้าที่รับส่งต่อเป็นหลัก

โรงพยาบาลขนาดใหญ่จะทำหน้าที่รับส่งต่อเป็นหลัก ฉะนั้นเมื่อเกินศักยภาพของหน่วยบริการปฐมภูมิ ก็จะถูกส่งต่อมาที่โรงพยาบาล

ข่าว/บทความล่าสุด
เนื้อหาอ่านล่าสุด