ตารางการให้บริการ ศูนย์บริการสาธารณสุข 7 บุญมี ปุรุราชรังสรรค์ : คลินิกตรวจโรค คลินิกทันตกรรม คลินิกสุขภาพเด็กดี คลินิกยาเสพติด(คลินิกก้าวใหม่พลัส) คลินิกวัณโรค งานสังคมสงเคราะห์ งานอนามัยโรงเรียน งานอนามัยชุมชน คลินิกตา คลินิกกายภาพบำบัด คลินิกสุขภาพพิเศษ คลินิกกระตุ้นพัฒนาการเด็ก คลินิกสูตินรีเวช คลินิกวัยทอง คลินิกเบาหวาน , ความดันโลหิตสูง คลินิกฝากครรภ์ คลินิกผู้สูงอายุครบวงจร งานป้องกันโรคพิษสุนัขบ้าในสัตว์เลี้ยง คลินิกส่งเสริมสุขภาพ
คลินิกตรวจโรค จันทร์ - ศุกร์ 08.00 - 12.00 น. (นอกเวลาราชการ จันทร์ - ศุกร์ 16.00 - 20.00 น.)
คลินิกตรวจโรค
วัน - เวลาทำการ
ในเวลาราชการ จันทร์ - ศุกร์ 08.00 - 12.00 น.
นอกเวลาราชการ จันทร์ - ศุกร์ 16.00 - 20.00 น.
นอกเวลาราชการ เสาร์ - อาทิตย์ 08.00 - 12.00 น.
บริการเจาะเลือดชุดใหญ่ (ตามนัด) ทุกวันอังคาร และ พฤหัสบดี 08.00 - 10.00 น.
โทรศัพท์ 0 - 2842331 ต่อ 100
ขอบเขตการให้บริการ
- คัดกรองความเสี่ยงด้านสุขภาพในผู้รับบริการทุกกลุ่มวัย ผู้ประกอบอาหาร ผู้สมัครงาน
- ตรวจ วินิจฉัยปัญหาความรุนแรงของอาการป่วยในผู้ป่วยโรคทั่วไป โรคเรื้อรัง โรคระบาดตามฤดูกาล
- ให้การรักษาผู้ป่วยตามมาตรฐานแบบองค์รวมอย่างเวชศาสตร์ครอบครัว
- บริการให้คำปรึกษาด้านสุขภาพ นัดตรวจเจาะเลือดตามข้อบ่งชี้ของโรค
- ประสานส่งต่อโรงพยาบาล ตรวจ รักษา วินิจฉัยเพิ่มเติม กรณีอาการซับซ้อน ฉุกเฉิน
- ออกใบรับรองตรวจสุขภาพ สมัครงาน สมัครเรียน ออกใบรับรองความพิการ
งานอนามัยโรงเรียน จันทร์–ศุกร์ 08.00 น. - 16.00 น.
งานอนามัยโรงเรียน
งานอนามัยโรงเรียน
วัน-เวลาทำการ จันทร์ – ศุกร์ 08.00 น. - 16.00 น.
ขอบเขตการให้บริการ
- รับผิดชอบดูแลสุขภาพอนามัยนักเรียนทั้งหมด 12 โรงเรียนในเขตรับผิดชอบ
- ตรวจสุขภาพนักเรียนกลุ่มเป้าหมาย, ให้การพยาบาลและส่งต่อรายที่มีปัญหาด้านสุขภาพทั้งกายและจิต
- ให้ภูมิคุ้มกันโรคแก่นักเรียนกลุ่มเป้าหมาย ได้แก่ วัคซีนป้องกันคอตีบ-บาดทะยัก แก่นักเรียน ชั้นประถม 1 และ 6, วัคซีนป้องกันโรคหัดและหัดเยอรมัน แก่นักเรียน ชั้นประถม 1, วัคซีนป้องกันมะเร็งปากมดลูก แก่นักเรียนหญิง ชั้นประถม 5, วัคซีนป้องกันไข้หวัดใหญ่ แก่นักเรียน ชั้นประถม 1 และ 2
- ติดตามเยี่ยมนักเรียนที่มีปัญหาทั้งที่โรงเรียนและที่บ้าน, เฝ้าระวังโรคในเด็กวัยเรียน
- จัดอบรมอสร. แก่โรงเรียนในสังกัดกทม. และสังกัดรัฐบาล
- สำรวจสุขาภิบาลอาหารในโรงเรียนพร้อมทั้งให้ความรู้ด้านสุขาภิบาลอาหาร, เฝ้าระวังโรคติดต่อในระบบทางเดินอาหารกับผู้ประกอบอาหารในโรงเรียน
- ให้สุขศึกษาแก่นักเรียนและครูในโรงเรียนที่รับผิดชอบ พร้อมทั้งจัดนิทรรศการเรื่องต่างๆในโรงเรียนตามสถานการณ์
- จัดทำโครงการพิเศษด้านการส่งเสริมสุขภาพ, ป้องกันและควบคุมโรคแก่ครู เจ้าหน้าที่และนักเรียนทุกสังกัด
คลินิกตา คลินิกจักษุกรรม วันจันทร์ วันพุธ และ วันศุกร์
คลินิกจักษุกรรม
วัน - เวลาทำการ : วันจันทร์ วันพุธ และ วันศุกร์ เวลา 08.00 - 12.00 น. (ยกเว้นวันหยุดราชการ)
เบอร์โทรติดต่อ : 02-2842331 ต่อ 107
คลินิกกายภาพบำบัด วันจันทร์ – วันศุกร์ เวลา 08.00 - 16.00 น. (ยกเว้นวันหยุดราชการ)
คลินิกกายภาพบำบัด
วัน - เวลาทำการ : วันจันทร์ – วันศุกร์ เวลา 08.00 - 16.00 น. (ยกเว้นวันหยุดราชการ)
เบอร์โทรติดต่อ : 02-2842331 ต่อ 207
คลินิกสุขภาพเด็กดี วันอังคาร และ วันพฤหัสบดี 13.00 - 16.00 น.
บริการ
1. ตรวจสุขภาพทั่วไป ได้แก่ ชั่งน้ำหนัก วัดส่วนสูง วัดรอบศีรษะ วัดรอบอก
2. ประเมินกาวะโกชนาการ และให้คำแนะน้ำในการเลี้ยงดูบุตร
3. ตรวจร่างกายโดยแพทย์ - พยาบาล
4. นัดฉีดวัคชีนเพื่อเสริมสร้างภูมิคุ้มกันโรค
5. ตรวจสุขภาพช่องปากโดยทันตแพทย์
6. ตรวจพัฒนาการและส่งเสริมพัฒนาการตามวัย โดยนักจิตวิทยา
7. บริการฉีดวัคชีนตามเกณฑ์มาตรฐานของเด็กไทย
วัน - เวลาทำการ วันอังคาร และ วันพฤหัสบดี 13.00 - 16.00 น.
โทรศัพท์ 02-2842331 ต่อ 108
คลินิกกายภาพบำบัด วันจันทร์ – วันศุกร์ เวลา 08.00 - 16.00 น. (ยกเว้นวันหยุดราชการ)
คลินิกกายภาพบำบัด
วัน - เวลาทำการ : วันจันทร์ – วันศุกร์ เวลา 08.00 - 16.00 น. (ยกเว้นวันหยุดราชการ)
เบอร์โทรติดต่อ : 02-2842331 ต่อ 207
ขอบเขตการให้บริการ
1. งานด้านส่งเสริมและป้องกัน
- ให้คำปรึกษาแนะนำเรื่องการออกกำลังกายเพื่อเพิ่มสมรรถภาพในด้านต่างๆ
- ให้คำปรึกษาแนะนำเกี่ยวกับการดูแลรักษาสุขภาพ
- ให้คำปรึกษาเรื่องโรคข้อต่างๆ โรคระบบประสาท เด็กสมองพิการ เด็กพิการแขนขา
- ให้คำปรึกษาแนะนำการป้องกันความพิการด้านต่างๆ
- ให้คำปรึกษาแนะนำภาวะแทรกซ้อนต่างๆ จากภาวะของโรค เช่น โรค เบาหวาน เป็นต้น
- ให้คำปรึกษาแนะนำเกี่ยวกับการดำเนินชีวิตประจำวันเพื่อลดการเกิดโรคต่างๆ เช่น โรคปวดหลังเรื้อรัง, เอ็นกล้ามเนื้ออักเสบ,
การบาดเจ็บจากการทำงานและการเล่นกีฬา และอื่นๆ
- เป็นวิทยากรนำการออกกำลังกายตามโครงการต่างๆ
2. งานด้านการรักษา
- ตรวจ ประเมิน วินิจฉัย และให้การรักษาทางกายภาพบำบัดแก่ผู้ป่วยที่มีปัญหาด้าน Orthopedic, Neuro, Chest and pediatric
3. งานด้านฟื้นฟู
- ฟื้นฟูสภาพผู้ป่วยทางระบบประสาทอัมพาต อัมพฤกษ์ ผู้พิการทางสมอง ผู้ป่วยเรื้อรังหรือผู้ป่วยหัวใจและหลอดเลือด เด็กที่มี ปัญหาการเคลื่อนไหว และผู้ป่วยกระดูกกล้ามเนื้อทั้งในคลินิกและเยี่ยมบ้าน
4. งานด้านการให้ความรู้
- ให้ความรู้ด้านกายภาพบำบัดในคลินิกตรวจรักษาและคลินิกส่งเสริมสุขภาพต่างๆ ในศูนย์บริการสาธารณสุข เช่น การตรวจเท้าในคลินิกเบาหวาน คลินิกผู้สูงอายุครบวงจร
- ให้ความรู้ด้านกายภาพบำบัดในชุมชนทั้งรายบุคคลและรายกลุ่ม
ขั้นตอนการให้บริการ
1.ประชาสัมพันธ์ (Public relation)
- รับบัตรคิว
- แสดงหลักฐาน (สูติบัตร หรือ บัตรประชาชน หรือบัตรนัด)
- กรอกประวัติ (เฉพาะรายใหม่)
- ชั่งน้ำหนัก วัดส่วนสูง วัดความดันโลหิต วัดอุณหภูมิร่างกาย
2.เวชระเบียน (Registration)
- ถ่ายรูป (เฉพาะรายใหม่)
- OPD (ประวัติผู้มารับบริการ)
3.เตรียมตรวจ (General Assessment)
- ซักประวัติโรคประจำตัว
- เตรียมส่งเข้าพบแพทย์ (เฉพาะรายใหม่)
4.พบแพทย์คลินิก (Physical Examination)
- ตรวจโรคทั่วไป (เฉพาะรายใหม่)
- พบนักกายภาพบำบัดเพื่อนัดหมายวัน (เฉพาะรายใหม่)
5.ชำระเงิน (Cashier)
6.พบคลินิกกายภาพบำบัด (Physical Therapy Clinic)
- พบแพทย์เวชศาสตร์ฟื้นฟู (เฉพาะรายใหม่)
- รักษาทางกายภาพบำบัด
7.นัดครั้งต่อไป (Next appointment)
คลินิกยาเสพติด (คลินิกก้าวใหม่พลัส)
คลินิกยาเสพติด(คลินิกก้าวใหม่พลัส) เป็นหน่วยบริการด้านการบำบัดรักษาและฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาเสพติดทั้งทางร่างกาน จิตใจ อารมณ์ สังคมอย่างครบถ้วน จนผู้เข้ารับการบำบัดสามารถกลับไปใช้ชีวิตได้ตามปกติ โดยไม่ต้องพึ่งพายาเสพติด มี 4 คลินิก ได้แก่ คลินิกเมทาโดน (เฮโรอีน) คลินิก กายจิต สังคมบำบัด (ยาเสพติด) คลินิกฟ้าใส บำบัดบุหรี คลินิกบำบัดแอลกอฮอล์
วัน-เวลา ทำการ :
- ในเวลาราชการ จันทร์ – ศุกร์ เวลา 08.00 น. – 16.00 น. (ยกเว้นวันหยุดนักขัตฤกษ์)
- นอกเวลาราชการ จันทร์, พุธ, ศุกร์ เวลา 16.00 น. – 20.00 น. (ยกเว้นวันหยุดนักขัตฤกษ์)
- เสาร์, อาทิตย์, วันหยุดนักขัตฤกษ์ เวลา 08.00 น. – 12.00 น. (เฉพาะผู้รับยาเมทาโดนต่อเนื่อง)
โทร : 02 2943305 ต่อ 208, 209
เอกสารที่ใช้ : บัตรประชาชน ใบขับบี่ หรือหลักฐานที่ยืนยันตัวตนได้
เยาวชนอายุต่ำกว่า 18 ปี ต้องมีผู้ปกครองมาด้วย เพื่อให้การยินยอม ในการเข้าบำบัดรักษา
คลินิกสูตินรีเวช ทุกวันอังคาร และ วันพุธ 13.00 น. - 16.00 น.
คลินิกสูตินรีเวช
วัน-เวลา ทำการ : ทุกวันอังคาร และ วันพุธ 13.00 น. - 16.00 น.
เบอร์โทรติดต่อ : 02 2842331 ต่อ 203
กลุ่มเป้าหมาย : สตรีวัยเจริญพันธุ์และสตรีกลุ่มเสี่ยง
คลินิกวัณโรค
คลินิกวัณโรค บริการตรวจวินิจฉัยผู้ที่สงสัยว่าจะป่วยเป็นวัณโรค และผุ้ที่เป็นกลุ่มเสี่ยงป่วยที่ให้การดูแลรักษาผู้ป่วยวัณโรค มีบริการเอกซเรย์ทรวงอก แก่ผู้มีอาการน่าสงสัยว่าป่วย เช่น มีอาการไอเรื้อรังนานเกิน 2 สัปดาห์ หรือกลุ่มเสี่ยง เช่น ผู้ป่วยเบาหวาน ผู้สูงอายุ ผู้ใกล้ชิดผู้ป่วย
วัน - เวลาทำการ จันทร์ - ศุกร์ 08.00 - 16.00
แพทย์เฉพาะทาง เฉพาะ วันพฤหัสบดี 08.00 - 12.00 น.
โทรศัพท์ 02-2842331 ต่อ 203
คลินิกวัยทอง ทุกวันอังคาร 8.00 น. - 12.00 น.
คลินิกวัยทอง
วัน-เวลาทำการ ทุกวันอังคาร 8.00 น. - 12.00 น.
เบอร์ติดต่อ : 02 2943305 ต่อ 11
กลุ่มเป้าหมาย ผู้หญิงอายุ 40-59 ปี
ขอบเขตการให้บริการ
1. ตรวจสุขภาพทั่วไป
2. ตรวจสมรรถภาพร่างกาย
3. ตรวจมวลสารในร่างกาย (Body Composition)
4. ตรวจเช็คสุขภาพ โดยเสียค่าใช้จ่ายตามสมควร ได้แก่ เจาะเลือด เอกซเรย์ ตรวจคลื่นหัวใจ
5. ตรวจสุขภาพในช่องปากโดยทันตแพทย์
6. ให้คำปรึกษาด้านสุขภาพ
งานป้องกันโรคพิษสุนัขบ้าในสัตว์เลี้ยง
งานป้องกันโรคพิษสุนัขบ้าในสัตว์เลี้ยง
วัน-เวลาทำการ ทุกวันศุกร์ เวลา 13.00 - 16.00 น. (ยกเว้นวันหยุดนักขัตฤกษ์)
** ออกหน่วยรณรงค์ในชุมชนพื้นที่ในช่วงเดือนมีนาคม และ กันยายน ของทุกปี **
เบอร์ติดต่อ : 02 2842331 ต่อ 108
ขอบเขตการให้บริการ
ผู้รับบริการสามารถนำสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมทุกชนิด มารับบริการฉีดวัคซีนป้องกันโรคพิษสุนัขบ้าในวันและเวลาที่กำหนด
หมายเหตุ : หากสัตว์เลี้ยงเจ็บป่วยอยู่ ไม่ควรนำมารับวัคซีน
คลินิกเบาหวาน , ความดันโลหิตสูง
คลินิกผู้สูงอายุครบวงจร วันอังคาร เวลา 08.00 น. - 12.00 น.
คลินิกผู้สูงอายุครบวงจร
วัน-เวลา ทำการ : วันอังคาร เวลา 08.00 น. - 12.00 น.
เบอร์โทรติดต่อ : 02-2842331 ต่อ 203
ขอบเขตการให้บริการ
1. ให้บริการตรวจคัดกรองทั้ง 11 รายการ แบบจุดเดียวเบ็ดเสร็จให้ผู้ที่เป็นกลุ่มผู้สูงอายุ โดยแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ ทุกวันอังคาร เวลา 08.00น.-12.00น.
2. ให้บริการตรวจคัดกรองทั้ง 11 รายการให้ผู้ที่เป็นกลุ่มผู้สูงอายุ ได้แก่
1.การตรวจสุขภาพ
2.เจาะเลือดตรวจวัดระดับน้ำตาลในเลือด ตรวจวัดระดับเม็ดเลือด ระดับไขมัน
3.วัดภาวะความซึมเศร้า
4.วัดภาวะสมองเสื่อม
5.ดูเรื่องโภชนาการ
6.ประเมินการใช้ชีวิตประจำวัน หรือ ADL
7.ประเมินเรื่องการใช้ยา และ
8.ประเมินภาวะกระดูกพรุน
9.การคัดกรองภาวะการกลั้นปัสสาวะไม่ได้
10.การวัดภาวะพลัดตกหกล้ม และ
11.ให้คำแนะนำปรึกษาด้านการดูแลสุขภาพโดยสหสาขาวิชาชีพไม่น้อยกว่า 3 สาขา
3. ให้บริการติดต่อประสานงานเครือข่ายในการตรวจวินิจฉัยโรค และส่งต่อผู้ป่วยกลุ่มผู้สูงอายุไปรับการรักษาในหน่วยงานที่เหมาะสม
คลินิกฝากครรภ์ ทุกวันจันทร์ 13.00 น. - 16.00 น. (จับบัตรคิว เวลา 12.30 น.)
คลินิกฝากครรภ์
วัน-เวลาทำการ ทุกวันจันทร์ 13.00 น. - 16.00 น.
( แนะนำจับบัตรคิว เวลา 12.30 น. )
เบอร์ติดต่อ : 02 2842331 ต่อ 108
ขอบเขตการให้บริการ
1.ผู้รับบริการรายใหม่ (ฝากครรภ์ครั้งที่ 1)
- ซักประวัติการตั้งครรภ์ ตรวจร่างกายทั่วไป
- ให้คำปรึกษาโดยแพทย์-พยาบาล-นักสังคมสงเคราะห์
- เจาะเลือดตรวจโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์และโรคทางพันธุกรรมธาลัสซีเมีย
- บริการฉีดวัคซีนป้องกันโรคคอตีบ - บาดทะยัก
- ตรวจครรภ์โดยแพทย์-พยาบาลเวชปฏิบัติ
2. ผู้รับบริการรายเก่า (ฝากครรภ์ครั้งที่ 2)
- ตรวจร่างกายทั่วไป ได้แก่ ชั่งน้ำหนัก วัดความดันโลหิต ตรวจปัสสาวะ
- ให้ความรู้เรื่องเตรียมความพร้อมสู่การเป็นพ่อ-แม่
- ให้ความรู้เรื่องทันตสุขภาพ ตรวจสุขภาพในช่องปากและขูดหินปูนโดยทันตแพทย์ (ฟรี)
- ตรวจครรภ์ และให้คำปรึกษาโดยพยาบาลวิชาชีพ
งานสังคมสงเคราะห์ จันทร์ - ศุกร์ เวลา 08.00 - 16.00 น.
งานสังคมสงเคราะห์
วัน เวลาทำการ : จันทร์ - ศุกร์ เวลา 08.00 - 16.00 น.
เบอร์ติดต่อ : 02 2842331 ต่อ 306
งานสังคมสงเคราะห์ตั้งอยู่บริเวณชั้น 3 (ห้องเบอร์ 1)
งานสังคมสงเคราะห์ของศูนย์บริการสาธารณสุข เป็นการปฏิบัติงานครอบคลุมบริการ 4 ด้าน
คือการป้องกันปัญหา การแก้ไข การบำบัดฟื้นฟู และการพัฒนาให้กับผู้รับบริการในกลุ่มเป้าหมาย 5 กลุ่มด้วยกัน คือกลุ่มเด็ก สตรี ผู้สูงอายุ คนพิการ และประชาชนทั่วไป โดยให้บริการทั้งในเชิงรับ และเชิงรุก
เชิงรับ เป็นการให้ความช่วยเหลือผู้รับบริการในการแก้ปัญหา ฟื้นฟูสมรรถภาพ โดยรับการส่งต่อจากแพทย์ คลินิกต่างๆ ชุมชน และจากหน่วยงานอื่นๆ
เชิงรุก เป็นการให้บริการด้านการป้องกันปัญหาสังคมและการพัฒนา โดยจัดกิจกรรมเพื่อป้องกันปัญหาสังคมต่างๆ ที่อาจเกิดขึ้นกับกลุ่มเป้าหมายทางสังคมสงเคราะห์ โดยอาศัยแนวคิดและกระบวนการทางสังคมสงเคราะห์ในการปฏิบัติงาน และยึดผู้รับบริการเป็นศูนย์กลางในการจัดบริการเพื่อความเป็นอยู่ที่ดีขึ้นของประชาชน
ขอบเขตการให้บริการ
1. การให้ความช่วยเหลือ
- ช่วยเหลือเด็กที่มีปัญหาโภชนาการ
- ช่วยเหลืออาหารเสริมแก่สตรีมีครรภ์ มารดาติดเชื้อเอดส์ หรือผู้สูงอายุที่มีปัญหาสุขภาพ
- พิจารณาส่งต่อเพื่อรับการบำบัดรักษา กรณีต้องรักษาต่อเนื่องในกลุ่มผู้ด้อยโอกาส
- ส่งต่อเพื่อขอรับการช่วยเหลือกายอุปกรณ์ สำหรับคนพิการ
- ส่งต่อเพื่อรับบริการ ลดภาวะเครียดหรือความวิตกกังวล ที่มีผลต่อการดำเนินชีวิตประจำวัน
- จัดหาสถานที่และบริการที่เหมาะสมสำหรับเด็ก สตรี ผู้สูงอายุที่ขาดผู้ดูแล ถูกทอดทิ้ง ถูกกระทำทารุณหรือถูกล่วงเกินทางเพศ
- จัดหาแหล่งสนับสนุนการประกอบอาชีพ และการเสริมรายได้ให้แก่ผู้มีปัญหาเศรษฐกิจ
- ส่งต่อหน่วยงานที่จัดหางานกรณีว่างงาน
- ช่วยเหลือนักเรียนที่มีปัญหาการศึกษาให้สามารถศึกษาต่อไปได้ตามความสามารถ
- ช่วยเหลือครอบครัวที่มีปัญหา ให้สามารถดำรงชีวิตได้ตามอัตภาพ
- ช่วยให้ผู้ที่ขาดสิทธิทางกฎหมาย เข้าถึงบริการของรัฐได้ตามสิทธิพึงได้รับ เช่น การขึ้นทะเบียนคนพิการ เป็นต้น
- จัดกิจกรรม/โครงการเพื่อป้องกันและแก้ไขปัญหา
2. บริการให้คำปรึกษา
- ด้านสุขภาพ เช่น การขาดสารอาหาร ความพิการ เจ็บป่วยเรื้อรัง ติดยาเสพติด โรคเอดส์ เป็นต้น
- ด้านจิตใจ เช่น มีภาวะเครียด หรือมีความวิตกกังวล เป็นต้น
- ด้านปัญหาขาดการดูแล ถูกทอดทิ้ง หรือถูกกระทำทารุณ
- ด้านปัญหาความสัมพันธ์ในครอบครัว หรือความสัมพันธ์กับผู้อื่นในสังคม
- ด้านปัญหาครอบครัว เศรษฐกิจ การงาน และอาชีพ ด้านปัญหาการใช้สิทธิทางกฎหมายในการใช้บริการของรัฐ เช่น การเข้าเรียนในโรงเรียน การขึ้นทะเบียนคนพิการ การใช้สิทธิด้านการรักษาพยาบาล เป็นต้น