อาการ
ผู้ใหญ่ มีอาการจาม และน้ำมูกไหลจะนำมาก่อน อ่อนเพลีย ปวดศีรษะเล็กน้อย แต่มักไม่ค่อยมีไข้ เชื้อจะออกจากทางเดินหายใจของผู้ป่วย 2-3 ชั่วโมงและหมดใน 2 สัปดาห์ บางรายอาจมีอาการปวดหู เยื่อแก้วหูมีเลือดคั่ง บางรายเยื่อบุตาอักเสบ เจ็บคอกลืนลำบาก โรคมักเป็นไม่เกิน 2-5 วัน แต่อาจมีน้ำมูกไหลนานถึง 2 สัปดาห์ ในเด็กอาจจะรุนแรง และมักมีการแพร่ไปเป็นหลอดลมอักเสบ ปอดบวม เป็นต้น
การติดต่อ
โรคนี้มักจะระบาดฤดูหนาวเนื่องจากความชื้นต่ำและอากาศเย็น เราสามารถติดต่อจากน้ำลาย และเสมหะผู้ป่วย นอกจากนั้นมือที่เปื้อนเชื้อโรคก็สามารถทำให้เกิดโรคได้โดยผ่านทางจมูกและตา ผู้ป่วยสามารถแพร่เชื้อได้ก่อนเกิดอาการและ 1-2 วันหลังเกิดอาการ ผู้ที่มีโอกาสเป็นไข้หวัดง่ายคือ เด็กอายุน้อยกว่า 2 ปีเด็กที่ขาดอาหาร เด็กที่เลี้ยงในสถานเลี้ยงเด็ก
วิธีการติดต่อ
- มือของเด็ก หรือผู้ใหญ่ที่สัมผัสเชื้อจากเสมหะของผู้ป่วย หรือสิ่งแวดล้อม แล้วขยี้ตา หรือเอาเข้าปากหรือจมูก
- หายใจเอาเชื้อ ที่ผู้ป่วยที่ไอออกมา
- หายใจเอาเชื้อที่กระจายอยู่ในอากาศ
การรักษา
- ไม่มียารักษาเฉพาะ ถ้ามีไข้ให้ยาลดไข้ Paracetamol ห้ามให้ Aspirin
- ให้ยาช่วยรักษาตามอาการ เช่น ยาลดคัดจมูก ลดน้ำมูก ยาแก้ไออ่อนๆ
- ให้พัก และดื่มน้ำมากๆ
- โดยทั่วไปจะเป็นมาก 2-4 วัน หลังจากนั้นจะดีขึ้น ในเด็กโรคแทรกซ้อนที่สำคัญคือหูชั้นกลางอักเสบ ต้องได้รับยาปฏิชีวนะรักษา
การป้องกัน
- หลีกเลี่ยงที่ชุมชน เช่น โรงภาพยนต์ ภัตราคาร ในช่วงที่ไข้หวัดกำลังระบาด
- ไอหรือจามให้ใช้ผ้าเช็ดหน้าหรือ ทิสชูปิดปาก
- ให้ล้างมือบ่อยๆ
- ไม่เอามือเข้าปากหรือขยี้ตาเพราะอาจนำเชื้อเข้าสู่ร่างกายได้
- อย่าอยู่ใกล้ชิดกับผู้ที่เป็นหวัดเป็นเวลานาน
เป็นการยาก ที่จะป้องกันการติดเชื้อไข้หวัด และยังไม่มีวัคซีนที่ป้องกันไข้หวัด ดังนั้นการดูแลสุขภาพตัวเองเป็นสิ่งสำคัญที่สุด
นพ.ชิดเวทย์ วรเพียรกุล อายุรแพทย์ รพ.วิภาวดี