ข่าวสุขภาพ
ข่าวสุขภาพทั่วไป ข่าวธุรกิจสุขภาพไทย ข่าว/กิจกรรม/สาระ รพ.ต่างๆ ข้อมูลบริการ รพ.ต่างๆ สาระความรู้สุขภาพ กิจกรรม ESG CSR Health Economy บริจาครพ.ต่างๆ
น่าสนใจไทยแลนด์
About us เผยแพร่เนื้อหา สถิติเว็บไซต์ สำรวจความเห็นสุขภาพ โฆษณา
healthserv.net@gmail.com

เช็คสัญญาณ อาการทอนซิลอักเสบ อย่าปล่อยให้อักเสบเรื้อรัง

เช็คสัญญาณ อาการทอนซิลอักเสบ อย่าปล่อยให้อักเสบเรื้อรัง Thumb HealthServ.net
เช็คสัญญาณ อาการทอนซิลอักเสบ อย่าปล่อยให้อักเสบเรื้อรัง ThumbMobile HealthServ.net

ต่อมทอนซิล หมายถึง ต่อมน้ำเหลืองที่อยู่ข้างผนังคอ เมื่อเราอ้าปากเต็มที่จะมองเห็นต่อมทอนซิลอยู่ที่ผนังคอด้านข้างซ้ายและขวา ต่อมทอนซิลมีหน้าที่ในการกักและทำลายเชื้อโรคในปาก สร้างภูมิคุ้มกันโรค เพื่อต่อต้านกับเชื้อโรคและสารแปลกปลอมต่างๆ ที่เข้าสู่ร่างกาย

เช็คสัญญาณ อาการทอนซิลอักเสบ อย่าปล่อยให้อักเสบเรื้อรัง HealthServ
     อาการทอนซิลอักเสบ มักมีสาเหตุมาจากการติดเชื้อไวรัสหรือแบคทีเรีย ซึ่งแบคทีเรียที่พบในอาการนี้ ส่วนมากเป็นแบคทีเรียชนิด สเตปโตคอคคัส (Streptococcus pyogenes)  ลักษณะอาการจำแนกได้เป็น

สัญญาณและอาการที่พบในผู้ป่วยโดยทั่วไป
มักประกอบด้วย: 
  • เจ็บคอ
  • ต่อมทอนซิลบวมและแดง
  • อาการเจ็บขณะกลืน
  • อุณหภูมิร่างกายสูง (มีไข้)
  • อาการไอ
  • ปวดหัว
  • อ่อนเพลีย
  • รู้สึกหนาว
  • มีจุดขาวบริเวณต่อมทอนซิล
  • ต่อมน้ำเหลืองในลำคอเกิดการบวม
  • เจ็บในหูหรือลำคอ
  • น้ำหนักตัวลด


สัณญาณและอาการที่พบได้ในผู้ป่วยส่วนน้อย
ประกอบด้วย:
 
  • คลื่นไส้
  • หมดแรง
  • เจ็บกระเพาะอาหาร
  • อาเจียน
  • ลิ้นเป็นคราบ
  • มีกลิ่นปากรุนแรง
  • เสียงเปลี่ยน
  • อ้าปากได้ลำบาก
  • ไม่อยากอาหาร
  • กระวนกระวายใจ

     
     ปกติในผู้ป่วย 40% อาการจะบรรเทาลงเองภายในสามวัน และในผู้ป่วย 85% อาการจะบรรเทาลงเองภายในหนึ่งสัปดาห์
 

     ถ้าไม่ได้รับการรักษาจะมีการอักเสบอย่างรุนแรง ลุกลามไปถึงกล้ามเนื้ออ่อนรอบๆ ทอนซิล ก็จะเกิดฝีรอบต่อมทอนซิล ซึ่งมีอาการรุนแรงกว่าการอักเสบธรรมดา หรืออ้าปากไม่ขึ้น รับประทานอาหารไม่ได้ มีไข้สูง ร่างกายขาดน้ำ จำเป็นที่จะต้องได้รับการรักษาโดยผ่าเอาหนองออก และอาจจะต้องรับเข้าอยู่ในโรงพยาบาลเพื่อให้ยาทางเส้นเลือด

 
การรักษาทอนซิลอักเสบ
     โดยทั่วไปจะใช้ยาต้านการอักเสบ เช่น ไอบูโปรเฟน (ibuprofen) เพราะส่วนใหญ่เกิดจากเชื้อไวรัส และคนไข้ส่วนใหญ่ก็จะหายได้หรืออาการดีขึ้นจากการให้ยา หรือหากมีสาเหตุมาจากเชื้อแบคทีเรีย จะมีการรักษาโดยการใช้ยาปฏิชีวนะ สำหรับยาปฏิชีวนะก็มีหลายชนิด ซึ่งควรรับประทานตามที่แพทย์สั่งและรับประทานให้นานพอ เช่น 7-10 วัน นอกจากการรักษาแบบให้ยาปฏิชีวนะแล้วต้องให้การรักษาแบบประคับประคองรวมด้วย เช่น การให้ยาลดไข้, การให้ดื่มน้ำมากๆ หรืออาจต้องให้น้ำเกลือถ้าผู้ป่วยทานอาหารไม่ค่อยได้ และให้ทานอาหารอ่อนๆ
 

 

การผ่าตัดต่อมทอนซิลออก

     คนที่มีการอักเสบของต่อมทอนซิลบ่อยๆ ขนาดของต่อมจะโตขึ้น เกิดเป็นการอักเสบเรื้อรัง ประโยชน์มีน้อยลง ประสิทธิภาพในการทำลายเชื้อโรคก็ลดลง  เชื้อโรคที่เป็นสาเหตุสำคัญที่จะลุกลามไปยังอวัยวะอื่นๆ ของร่างกาย ทำให้เกิดการอักเสบของหูชั้นกลาง กลายเป็นหูน้ำหนวก เกิดไตอักเสบ ลิ้นหัวใจรั่ว ซึ่งเป็นอันตรายต่อชีวิตได้ ฉะนั้นเมื่อมีอาการเจ็บคอต่อมทอนซิลอักเสบ ควรจะได้พบแพทย์เพื่อให้ได้รับการรักษาอย่างถูกต้อง และให้พิจารณาเป็นรายๆ ไป

     การผ่าตัดต่อมทอนซิล (tonsillectomy) จะทำเมื่อมีข้อบ่งชี้ในเรื่องของการติดเชื้อเรื้อรัง หรือเป็นๆ หายๆ ทำให้มีไข้, เจ็บคอ, กลืนเจ็บ หรือกลืนลำบากเรื้อรังหรือเป็นๆ หายๆ จนรบกวนคุณภาพชีวิตของผู้ป่วย ต้องหยุดเรียนหรือขาดงานบ่อย หรือมีการอุดกั้นทางเดินหายใจส่วนบน ทำให้เกิดอาการนอนกรน  และ/หรือมีภาวะหยุดหายใจขณะหลับ หรือในรายที่สงสัยว่าเป็นมะเร็งของต่อมทอนซิล

     ต่อมทอนซิลที่โตขึ้นจากการอักเสบบ่อยๆ นั้น เนื้อเยื่อของต่อมที่ทำหน้าที่สร้างภูมิคุ้มกันจะถูกแทนที่ด้วยเนื้อเยื่อพังผืด ซึ่งเกิดตามหลังการอักเสบ จึงทำให้ต่อมทำหน้าที่ได้น้อยลงเรื่อยๆ ขณะเดียวกันร่างกายยังมีต่อมน้ำเหลืองอีก จำนวนมากในบริเวณศีรษะและคอ ที่ทำหน้าที่สร้างภูมิคุ้มกันต่อเชื้อโรค

     ดังนั้น การตัดต่อมทอนซิลในผู้ป่วยที่มีข้อบ่งชี้ จึงไม่ทำให้ภูมิคุ้มกันต่ำแต่ประการใด
     ปัจจุบันการผ่าตัดต่อมทอนซิลออก ทำได้ง่าย ใช้เวลาพักฟื้นเพียง 1- 2 วัน



สำหรับข้อเสียในการตัดต่อมทอนซิล
            ในการตัดต่อมทอนซิลทิ้งไม่มีข้อเสียเมื่อเราตัดสินใจจะตัดทิ้งตามข้อบ่งชี้ที่ถูกต้องมักจะเป็นต่อมที่ไม่ทำงานแล้ว ต่อมที่ไม่ทำงานจะไม่ฆ่าเชื้อโรคแต่จะเป็นแหล่งสะสมเชื้อโรคเราจึงต้องตัดทิ้ง แล้วต่อมน้ำเหลืองในช่องคอที่ทำงานจับเชื้อโรคแทนต่อมทอนซิลนี้ก็มีมาก ไม่ได้ทำให้ผู้ป่วยเสียภูมิต้านทานไป สรุปข้อเสียไม่มีแต่จะทำให้ร่างกายแข็งแรงอีกด้วย
 

ข้อบ่งชี้ในการผ่าตัดต่อมทอนซิล

1. เจ็บคอบ่อยจากต่อมทอนซิลเรื้อรัง เช่น ปีละหลายหลัง หรืออาการรุนแรง
2. ต่อมทอนซิลโตมาก อาจเป็นเหตุของโรคหยุด
3.ต่อมทอนซิลโตข้างเดียว
4. สงสัยจะเป็นมะเร็งต่อมทอนซิล
5. อาการอักเสบเรื้อรัง อาจทำให้หายใจทางจมูกไม่สะดวก หรือกลืนลำบาก หูอักเสบบ่อยๆ โดยมีสาเหตุจากการติดเชื้อในลำคอ
6. มีอาการอักเสบของต่อมทอนซิลบ่อยๆ เช่น ในผู้ใหญ่อักเสบปีละ 3-4 ครั้ง ถึงแม้ว่าขนาดจะไม่โตก็ตาม
7. เคยเป็นฝีรอบๆ ต่อมทอนซิล
8. นอนหายใจลำบาก นอนกรนเสียงดัง (OBSTRUCTIVE SLEEP APNEA) ซึ่งตรวจพบว่าเกิดเนื่องจากต่อมทอนซิลโต และปิดกั้นทางเดินหายใจ
9. พบว่ามีเชื้อดิฟทีเรียในคอตลอดเวลา
10. มีการอักเสบของอวัยวะอื่นๆ ที่สงสัยว่ามีสาเหตุมาจากการอักเสบของต่อมทอนซิล เช่น ข้ออักเสบ ไตอักเสบ ลิ้นหัวใจรั่ว
 

ผู้ที่ต้องการตัดทอนซิลจะต้องได้รับการตรวจจากแพทย์ และรักษาให้หายอักเสบเสียก่อน และแพทย์จะเป็นผู้พิจารณาว่าควรตัดหรือไม่
 

ภาะแทรกซ้อนของการผ่าตัดต่อมทอนซิล

            ถึงแม้ว่าการผ่าตัดต่อมทอนซิลนี้จะไม่ยาก แต่ก็อาจเกิดผลแทรกซ้อนได้ ถ้าวิธีการเลือกผู้ป่วยหรือวิธีการผ่าตัดไม่ดี  ผลแทรกซ้อนหลังการผ่าตัดที่อาจพบได้ เลือดออกหลังการผ่าตัดบางครั้งเลือดอาจจออกมากจนผู้ป่วยเกิดภาวะ shock จากการขาดเลือดได้  , อาการปวดแผลหลังผ่าตัด พบทุกรายแล้วแต่จะมากน้อย , การติดเชื้อของแผลผ่าตัด , ภาวะขาดน้ำ และ ที่สำคัญคือ ภาวะภูมิคุ้มกันเปลี่ยนแปลง ในปัจจุบันยังไม่มีรายงานสนับสนุน ดังนั้นไม่ต้องกลัวว่าผ่าตัดต่อมทอนซิลแล้วจะเกิดการอักเสบติดเชื้อง่ายกว่าเดิมเพราะไม่มีตัวจับเชื้อโรค จริงแล้วยังมีต่อมน้ำเหลืองอื่นๆที่เหลือทำหน้าที่ทดแทนได้ดีพอเพียง
 

การปฏิบัติดูแลหลังการผ่าตัดต่อมทอนซิล

 
1.ใน 2 – 3  วันแรกหลังการผ่าตัดบุตรหลานของท่าน ควรพักฟื้นอยู่ภายในบ้าน  หลีกเลี่ยงการเล่นกระโดดโลดเต้นอย่างน้อยเป็นเวลา 10 วันหลังการผ่าตัด และเด็ก ๆควรจะหยุดไปโรงเรียนอย่างน้อย 1 สัปดาห์

2. เด็กควรได้รับอาหารและน้ำอย่างเพียงพอ แนะนำให้รับประทานอาหารเหลวเป็นเวลานาน 3-4 วัน จำพวกไอศครีม เยลลี่ นมสด  อาหารบดหรือปั่นทั้งหลาย  ให้หลีกเลี่ยงอาหารร้อน ๆ รสจัด รสเผ็ด หรือเปรี้ยว หรืออาหารแข็ง   หลังจากนั้น ถ้าอาการเจ็บคอดีขึ้น จึงรับประทานอาหารเหลวประเภทข้าวต้ม โจ๊ก และ หลัง 7 วันเมื่อแผลผ่าตัดหายดีจึงเริ่มรับประทานอาหารได้ตามปกติ

3. หลังผ่าตัด เด็กจะมีอาการเจ็บคอ และปวดร้าวไปยังกกหู แนะนำให้กินยาลดไข้แก้ปวดที่แพทย์จัดให้ก่อนกินอาหารประมาณครึ่งชั่วโมง จะช่วยทำให้เด็กกลืนอาหารได้ดีขึ้น  หลีกเลี่ยงการใช้ยาแก้ปวดจำพวกแอสไพริน เพราะ จะเป็นสาเหตุของเลือดออกได้

4. เลือดออกหลังผ่าตัดปัญหาที่สำคัญของการผ่าตัดต่อมทอนซิล ซึ่งจะสามารถเกิดขึ้นได้ในช่วง 12 ชั่วโมงแรกหลังการผ่าตัด ทำให้เด็กต้องนอนพักในโรงพยาบาลเป็นเวลา 1 คืน เพื่อสังเกตอาการอันนี้

5. เด็กจะมีไข้ต่ำๆ ประมาณ 37.5 องศาเซลเซียส ได้หลังการผ่าตัดต่อมทอนซิลภายใน 1 -2 วันแรก หลังจากนั้นถ้าเด็กยังมีไข้อยู่แสดงว่าอาจเกิดจากการติดเชื้อ หรือ ขาดน้ำ ควรจะให้เด็กดื่มน้ำให้มากเพียงพอก่อน และถ้าไข้ยังมีอยู่ควรจะมาพบแพทย์

6. ท่านจะเห็นฝ้าขาวบริเวณแผลผ่าตัดของต่อมทอนซิล ซึ่งจะเกิดได้ชั่วคราว และจะหลุดลอกออกไปเองภายใน 1-2 สัปดาห์
 

ข้อแนะนำสำหรับผู้ป่วยที่ตัดต่อมทอนซิลแล้ว

ดูแลตั้งแต่ 24 ชั่วโมงแรกที่ตัดทิ้งไป
1. ควบคุมอาหารหลังผ่าตัด จะต้องรับประทานอาหารเหลวเท่านั้น เพื่อไม่ให้เจ็บคอและไม่ให้เลือดออกจากแผล
2. หลังจาก 7 วันแรกที่ตัดให้รับประทานอาหารอ่อนและไม่ร้อนด้วย เพื่อไม่ให้เลือดออกอีก
3. หลังจาก 14 วันไปแล้วก็ไม่มีปัญหาอะรก็ทานยาปฎิชีวนะหลังผ่าตัดและป้อนน้ำสะอาดให้เสมอ และหลังจากนั้นร่างกายก็เป็นปกติการตัดต่อมทอนซิลไม่ได้ทำให้เราอ่อนแอลงหรือติดเชื้อง่ายขึ้นแต่ประการใด

ข่าว/บทความล่าสุด
เนื้อหาอ่านล่าสุด