ปวดศรีษะไมเกรน
สาเหตุของปวดศีรษะไมเกรน เชื่อว่าสมองของผู้ป่วยที่เป็นไมเกรนมีการไวในการตอบสนองต่อสิ่งแวดล้อมซึ่งอาจจะอยู่นอกร่างกายหรืออยู่ภายในร่างกาย
อาการและอาการแสดง
• ปวดศีรษะมากจนทำงานไม่ได้ บางคนปวดจนน้ำตาไหล ส่วนใหญ่ปวด 4-72 ชั่วโมง
• ปัจจัยที่ทำให้ปวดศีรษะมากขึ้นคือการเคลื่อนศีรษะ
• ปวดศีรษะอาจมีอาการคลื่นไส้ ถ้าเป็นมากจะอาเจียน
• โดยมากจะมีสิ่งที่กระตุ้นทำให้ปวดศีรษะได้แก่ แสงจ้า เย็นหรือร้อนจัด เสียงดัง
• โดยมากเป็นในอายุน้อย
ชนิดของไมเกรนที่พบบ่อย
1.Classic migrain : อาการมักเกิดในช่วงวัยรุ่น เมื่ออายุมากขึ้นอาการปวดศีรษะจะลดลงจนกระทั่งหายขาด แต่ผู้ป่วยบางคนอาจจะมีอาการนำมาก่อน เช่น เห็นแสงแลบ ตามองไม่เห็น ชาซีกใดซีกหนึ่งเราเรียก classic migrain
2.Common migrain : อาการแสดงมักเกิดบริเวณหน้าผาก รอบดวงตา ขมับและขากรรไกร ปวดมักเป็นข้างใดข้างหนึ่ง แต่ส่วนใหญ่ไม่มีอาการนำเรียก common migrain ไมเกรนเป็นโรครักษาไม่หายขาดแต่ถ้าเข้าใจและปฏิบัติตามคำแนะนำสามารถทำให้ควบคุมโรคได้
ชนิดของไมเกรนที่พบไม่บ่อย
• Hemiplegic migraine อ่อนแรงของแขนขาข้างหนึ่งเป็นระยะเวลาช่วงสั้นๆ
• ophthalmoplegic migraine ปวดศีรษะร่วมกับหนังตาตก เห็นภาพซ้อน
• Basilar artery migraine ก่อนปวดศีรษะจะมีอาการเวียนศีรษะ ทรงตัวไม่ได้ เห็นภาพซ้อน
• Status migrainosus ผู้ป่วยจะมีอาการปวดศีรษะนานกว่า 72 ชั่วโมงและมีอาการมากกว่าปกติ
การวินิจฉัย
อาศัยประวัติและการตรวจร่างกายเป็นส่วนใหญ่ เกณฑ์การวินิจฉัยมี ดังนี้
• จะต้องมีอาการปวดศีรษะ อย่างน้อย 5 ครั้ง
• ปวดศีรษะนาน 4-72 ชั่วโมง
• ลักษณะปวดศีรษะต้องประกอบด้วยลักษณะอย่างน้อย 2 ประการ
• ปวดข้างเดียว และมีอาการปวดตุ๊บๆๆ
• ปวดตุ๊บๆๆ
• ปวดมากจนทำงานประจำไม่ได้
• ขึ้นบันไดหรือเคลื่อนไหวทำให้ปวดมากขึ้น
• ขณะปวดศีรษะจะต้องมีอาการข้างล่างนี้อย่างใดอย่างหนึ่ง
o คลื่นไส้หรืออาเจียน
o แสงจ้าหรือเสียงดังทำให้ปวดศีรษะ
การรักษาในผู้ป่วยไมเกรน
1.รักษาด้วยการควบคุมอาการ
การควบคุมปัจจัยชักนำ
• หลีกเลี่ยงอาหารที่กระตุ้นไมเกรน เช่น แอลกอฮอล์โดยเฉพาะไวน์แดง ผงชูรส เนย นม ชอคโกแลต กล้วยหอม ผงชูรส ผลไม้ประเภทส้ม กาแฟและชา
• การนอน ควรนอนให้เป็นเวลา
• งดการใช้ฮอร์โมน เช่นยาคุมกำเนิด
• ควบคุมความเครียด เช่น ออกกำลังกาย ทำสมาธิ
• ควบคุมปัจจัยสิ่งแวดล้อม การเปลี่ยนแปลงของอุณหภูมิ อากาศ แสงไฟกระพริบ กลิ่นที่ฉุนเฉียว
2.การรักษาด้วยการให้ยา
ส่วนมากเป็นยาลดและบรรเทาอาการปวด ซึ่งถ้ารับประทานเป็นเวลานานอาจส่งผลกระทบกับร่างกาย เช่น ระคายเคืองกับกระเพาะอาหาร มีผลทำลายตับ เป็นต้น
3.การรักษาโดยไม่ต้องใช้ยา
มีรายงานว่าการรักษาโดยไม่ต้องใช้ยาก็สามารถบรรเทาอาการปวดศีรษะ
• การทำสมาธิ
• การจัดการกับความเครียด
• การฝังเข็ม
• การออกกำลังกาย