ข่าวสุขภาพ
ข่าวสุขภาพทั่วไป ข่าวธุรกิจสุขภาพไทย ข่าว/กิจกรรม/สาระ รพ.ต่างๆ ข้อมูลบริการ รพ.ต่างๆ สาระความรู้สุขภาพ กิจกรรม ESG CSR Health Economy บริจาครพ.ต่างๆ
น่าสนใจไทยแลนด์
About us เผยแพร่เนื้อหา สถิติเว็บไซต์ สำรวจความเห็นสุขภาพ โฆษณา
healthserv.net@gmail.com

เคล็ดลับสร้างสุขภาพจิตในครอบครัว หลังน้ำท่วม

หลายๆท่านที่ประสบปัญหาอุทกภัย คงต้องประสบกับภาวะเครียดไปตามๆกัน การดูแลสุขภาพจิตใจ จึงเป็นเรื่องที่สำคัญ โดยเฉพาะการสร้างสุขภาพจิตที่ดีของคนในครอบครัว เสมือนเป็นภูมิต้านทานต่อแรงกดดันที่กระทบต่อสมาชิกทุกคนในครอบครัว ครอบครัวที่มีสุขภาพจิตดีย่อมช่วยให้ทุกคนมีกำลังใจดี และพร้อมเผชิญวิกฤตในชีวิตได้ดี วิกฤตการณ์อาจทำให้บางคนและบางครอบครัวอาจล้มป่วยหรือครอบครัวล่มสลายสิ้นสภาพไป แต่สำหรับครอบครัวที่มีสุขภาพจิตดี วิกฤตกลับทำให้สมาชิกในครอบครัวทุกคน ร่วมแรง ร่วมใจ สามัคคี ที่จะฟันฝ่าอุปสรรคไปด้วยกัน และมีวุฒิภาวะมากขึ้น ทั้งส่วนบุคคลและครอบครัว

เคล็ดลับสร้างสุขภาพจิตในครอบครัว หลังน้ำท่วม

นพ.วีรวุฒิ เอกกมลกุล   จิตแพทย์ รพ.วิภาวดี
 
            หลายๆท่านที่ประสบปัญหาอุทกภัย คงต้องประสบกับภาวะเครียดไปตามๆกัน  การดูแลสุขภาพจิตใจ จึงเป็นเรื่องที่สำคัญ  โดยเฉพาะการสร้างสุขภาพจิตที่ดีของคนในครอบครัว    เสมือนเป็นภูมิต้านทานต่อแรงกดดันที่กระทบต่อสมาชิกทุกคนในครอบครัว  ครอบครัวที่มีสุขภาพจิตดีย่อมช่วยให้ทุกคนมีกำลังใจดี และพร้อมเผชิญวิกฤตในชีวิตได้ดี   วิกฤตการณ์อาจทำให้บางคนและบางครอบครัวอาจล้มป่วยหรือครอบครัวล่มสลายสิ้นสภาพไป  แต่สำหรับครอบครัวที่มีสุขภาพจิตดี วิกฤตกลับทำให้สมาชิกในครอบครัวทุกคน ร่วมแรง ร่วมใจ สามัคคี ที่จะฟันฝ่าอุปสรรคไปด้วยกัน  และมีวุฒิภาวะมากขึ้น ทั้งส่วนบุคคลและครอบครัว  
 

การสร้างสุขภาพจิตในครอบครัวมีเคล็ดลับหลายประการ 

เคล็ดลับ 1

คือ การมีความรู้  ความเข้าใจ และปรับตัวได้ดีต่อการเปลี่ยนแปลงของสภาพครอบครัว  สังคมไทยในอดีตเป็นแบบเกษตรกรรม  ครอบครัวมีขนาดใหญ่โดยมีสมาชิกมาก  คนในครอบครัวมีเวลาให้แก่กันมาก  อบอุ่นใกล้ชิด  มีความเข้าใจกันเป็นอย่างดี  อีกทั้งช่วยเหลือเกื้อกูลแก่กัน  ปัจจุบัน สังคมเปลี่ยนมาเป็นแบบตะวันตก ครอบครัวไทยจึงมีขนาดเล็กลง โดยมีจำนวนสมาชิกน้อยลง  เวลาที่ให้แก่กันน้อยลง  อีกทั้งสังคมมีการแข่งขันสูง  ชีวิตเร่งรีบและบีบคั้น กดดันสูง  ปัจจุบันจึงพบว่าอัตราการหย่าร้างสูงขึ้นมาก  และอัตราการแต่งงานที่ลดต่ำลง สะท้อนให้เห็นความอ่อนแอของครอบครัว  และความศรัทธาที่มีต่อครอบครัวลดลง 
 

เคล็ดลับข้อ 2 

สมาชิกในครอบครัว ควรมีเวลาให้แกกันและมีกิจกรรมร่วมกัน เช่น ออกกำลังกาย  ทำครัว  ช่วยกันทำความสะอาด  เยี่ยมญาติมิตร  กิจกรรมทางศาสนา  ทัศนาจรร่วมกัน  เป็นต้น
 

เคล็ดลับข้อ 3

ควรมีความรู้และความเข้าใจเรื่องจิตวิทยาของคนวัยต่างๆ  ตั้งแต่   ทารก  เด็กเล็ก   เด็กโต  วัยรุ่น  วัยทำงาน  วัยทอง  วัยสูงอายุ  เพื่อที่จะพัฒนาความสัมพันธ์ที่ดีต่อกันในครอบครัว

เคล็ดลับข้อ 4  

การสร้างนิสัยที่ส่งเสริมสุขภาพจิต  ได้แก่  ความคิดเชิงบวก  เป็นคนอารมณ์ดี  รู้จักปรับความคาดหวังให้อยู่ในระดับที่สอดคล้องกับสถานการณ์ที่เปลี่ยนไป  ไม่ใช่มุ่งเป้าหมายที่เกินความสามารถ โดยคิดผิดว่าเป็นสิ่งท้าทายที่ต้องเอาชนะให้ได้  ซึ่งทำให้เครียดโดยไม่จำเป็น
 

เคล็ดลับข้อ 5

ควรสนใจธรรมมะ เป็นการสร้างความต้านทานและทุกข์ให้สมาชิกแต่ละคน  โดยเฉพาะการฝึกสมาธิ  ฝึกสติ  และรู้จักให้อภัย  การตั้งสติได้ดี  ทำให้รู้การควรไม่ควร สามารถลดข้อผิดพลาดทั้งที่ตั้งใจและไม่ตั้งใจได้มากๆ  เมื่อตั้งสติได้ก็จะไม่เผลอเป็นเหยื่อความเครียด  ความโกรธ  เกลียด  ท้อแท้  ความคิดลบ  และพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสมต่างๆ   ผู้ที่ตั้งสติได้ดีย่อมรู้จักการให้อภัยและให้อภัยได้  แม้แต่ผู้เผลอสติกลายเป็นเหยื่อดังกล่าวแล้ว
 
        โดยสรุป  ครอบครัวจะเป็นสถาบันที่สร้างความสุขให้ทุกคน  ถ้าสมาชิกทุกคนในครอบครัวมีสุขภาพจิตดีก็จะทำให้สามารถผ่านวิกฤตต่างๆไปได้ด้วยครับ 
 
 

ข่าว/บทความล่าสุด
เนื้อหาอ่านล่าสุด