☰
ข้อมูลบริการสุขภาพ
ข่าวสุขภาพ
|
โรงพยาบาล
|
คลินิก ร้านยา
|
รพ.ประกันสังคม 2568
|
justView
×
ข่าวสุขภาพ
โรงพยาบาล [+]
รพ.รายจังหวัด (รัฐ-เอกชน)
รพ.รัฐบาล
รพ.เอกชน
รพ.เอกชน ประกันสังคม
รพ.เอกชน บัตรทอง
รพ.มหาวิทยาลัย
ศูนย์แพทย์มหาวิทยาลัย
สถาบัน/ศูนย์แพทย์
รพ.สังกัดกทม.
ศูนย์สาธารณสุข กทม.
รพ.ศูนย์
รพ.ทั่วไป (จังหวัด)
รพ.ชุมชน (อำเภอ)
รพ.สต.(ตำบล)
รพ.กองทัพ
รพ.สมเด็จพระยุพราช
รพ.จิตเวช
รพ.มะเร็ง
รพ.แพทย์แผนไทย
รพ.รัฐวิสาหกิจ/กระทรวงอื่น
คลินิกรัฐบาล-ศูนย์อนามัย
คลินิก-ร้านยา
ข่าวสุขภาพ [+]
ข่าวสุขภาพทั่วไป
ข่าวธุรกิจสุขภาพไทย
ข่าว/กิจกรรม/สาระ รพ.ต่างๆ
ข้อมูลบริการ รพ.ต่างๆ
สาระความรู้สุขภาพ
กิจกรรม ESG CSR
Health Economy
บริจาครพ.ต่างๆ
น่าสนใจไทยแลนด์
About us
เผยแพร่เนื้อหา
สถิติเว็บไซต์
สำรวจความเห็นสุขภาพ
โฆษณา
healthserv.net@gmail.com
@healthserv
โรคกระเพาะไม่หายสักทีทำอย่างไรดี อาจเกิดจากความเครียด หรือยาแก้ปวดบางกลุ่ม
กระเพาะอาหารและลำไส้เล็กส่วนต้นเป็นอวัยวะที่มีน้ำย่อยและกรดที่เข้มข้น สำหรับใช้ในการย่อยอาหาร ดังนั้น ผนังของเยื่อบุกระเพาะอาหารและลำไส้ จึงต้องมีกลไกในการปรับสภาพให้ทนต่อกรดและน้ำย่อย จึงไม่ทำให้เกิดแผลในภาวะปกติ
Home
/
ความรู้สุขภาพ
/
Update: 05.04.2565
สาเหตุโรคกระเพาะอาหารอักเสบและแผลในกระเพาะอาหาร
เกิดจากการติดเชื้อแบคทีเรียที่เรียกว่า เอช.ไพโลไร (H.pylori) ซึ่งเป็นตัวที่ทำให้เกิดกระเพาะอาหารอักเสบเรื้อรังหรืออาจเกิดแผลในกระเพาะอาหารได้ (Chronic gastritis and/or peptic ulcer)
ยาแก้ปวดข้อและกระดูก หรือยาแก้ปวดในกลุ่ม NSAIDs ซึ่งจะทำให้เกิดกระเพาะอาหารอักเสบหรือเป็นแผลได้ หากมีการใช้ยากลุ่มนี้ยาจะไปทำลายชั้นผิวของกระเพาะอาหารเช่นกัน
การดื่มสุรา สูบบุหรี่ และรับประทานอาหารรสจัดบ่อยๆจะทำให้เกิดการกัดกร่อนทำลายเยื่อบุกระเพาะอาหารหรือลำไส้เล็ก เนื่องจากจะทำให้มีกรดในกระเพาะมากกว่าปกติ
ความเครียดก็เป็นสาเหตุให้เกิดการกระตุ้น ให้มีการหลั่งกรดในกระเพาะอาหารได้
อาการ
ปวดจุกแน่นท้องที่บริเวณลิ้นปี่ หรือแสบท้อง ท้องอืด มีลมในท้องมาก เรอบ่อย หรือแน่นขึ้นไปที่หน้าอก
คลื่นไส้ อาเจียน (ในกรณี ที่มีอาการมากขึ้น และไม่ได้รับการรักษา)
อาการปวดอาจสัมพันธ์กับมื้ออาหาร เช่น หิวแล้วปวด หรืออิ่มแล้วปวด บางรายมีอาการปวดแสบท้องตอนกลางคืนบ่อยๆ
อาการแทรกซ้อน จากแผลในกระเพาะอาหารและลำไส้ เช่น ถ่ายอุจจาระมีสีดำ อาเจียนเป็นเลือด การรั่วทะลุของกระเพาะอาหารหรือลำไส้
เบื่ออาหาร น้ำหนักลด
มีอาการเหมือนอาหารไม่ย่อย ท้องอืดมาก รู้สึกอิ่มตลอด รับประทานอาหารได้น้อยกว่าปกติ
การรักษาด้วยยา
Antacid เป็นยาตัวแรกที่ใช้มานาน เพื่อลดอาการที่เกิดขึ้น และป้องกันการระคายเคืองของกระเพาะอาหาร โดยลดความเป็นกรดในกระเพาะอาหารสามารถทานยาได้ตลอดเวลา ออกฤทธิ์ระยะสั้น
Histamine receptor antagonists โดยจะช่วยยับยั้งการหลั่งกรด การรักษาด้วยยานี้จะได้ผลเมื่อใช้นานประมาณ 1 เดือน
Proton pump inhibitors เป็นยาที่นิยมใช้ในปัจจุบันแต่มีราคาที่ค่อนข้างแพง มีฤทธิ์ยับยั้งการผลิตกรดและช่วยให้แผลในกระเพาะอาหารและลำไส้ส่วนต้นหายได้เร็วขึ้น
Mucosal protective agents มีผลในการเคลือบแผลทำให้หายได้เร็วขึ้น ไม่ให้เกิดการระคายเคืองของเยื่อบุทางเดินอาหาร
การรักษา H.pylori เมื่อมีการตรวจพบจะพิจารณาให้ยาตามแผนการรักษาของแพทย์
การปฏิบัติตัว
รับประทานอาหารอ่อนครั้งละน้อยๆแต่บ่อยครั้งได้เคี้ยวอาหารให้ช้าๆและเคี้ยวให้ละเอียด
รับประทานอาหารระหว่างมื้อ แต่ไม่ควรรับประทานอาหารแล้วนอนทันที เพราะเพิ่มการหลั่งกรดในช่วงกลางคืน
หลีกเลี่ยงการดื่มนม เพราะอาจทำให้เกิดอาการแน่นท้องหรือมีลมในกระเพาะอาหารมาก
งดหรือหลีกเลี่ยงการสูบบุหรี่ – การดื่ม Alcohol ลดภาวะเครียด
ข่าว/บทความล่าสุด
หมอมนูญ ชี้ ฝุ่น PM2.5 ในกรุงเทพมีมานานแล้ว แนะอย่าวิตกเกินไป
อัปเดต 10 เทรนด์ด้านเทคโนโลยีทางการแพทย์ในปี 2025
ปธน.ทรัมป์ ลงนามถอนสหรัฐฯ จากองค์การอนามัยโลก
BDMS Wellness Clinic ผนึก Thailand Privilege Card ส่งสิทธิประโยชน์อัลตรา ลักชัวรี ยกระดับไทยสู่การเป็น Wellness Hub Thailand ระดับโลก
อย.ร่วม CIB บุกจับสายหิ้วของจากญี่ปุ่น มูลค่ากว่า 6 แสน
บำรุงราษฎร์ จัดงานวิ่งการกุศล Bumrungrad Race to Heal 2025 ช่วยเหลือเด็กโรคหัวใจพิการแต่กำเนิด
เครือข่าย NCDs ออกโรงกระตุ้นเตือนภัย โรคอ้วนในเด็กไทยถึงจุดวิกฤติ
CNN จับตานวัตกรรมใหม่ ตรวจคัดกรองความเครียดด้วยเหงื่อ ฝีมือนักวิจัยไทย
แพทยสมาคมและเครือข่ายพันธมิตร ลงนามบันทึกข้อตกลงโรคหายากในไทยระยะที่ 2
รพ.วิชัยยุทธและศูนย์การแพทย์วิชัยยุทธ ได้รับรองคุณภาพ JCI ฉลองครบ 55 ปี
ราชวิถี 2 รังสิต เปิดรับประกันสังคมแล้ว เริ่มบริการ 1 มค 68 เลือกเปลี่ยนได้เลย
รายชื่อสถานพยาบาลประกันสังคม ปี 2568 (รพ.ใหม่ 7 รพ.ออก 3)
รพ.โรงเรียนแพทย์ ประกาศผู้ป่วยมะเร็งสิทธิบัตรทอง ต้องมีใบส่งตัว เริ่ม 1 มค 68
เลือกเปลี่ยนรพ.ประกันสังคม ปี 2568 ได้แล้ว ผ่าน 4 ช่องทาง
บอร์ดประกันสังคม เห็นชอบให้ผู้ประกันตนรักษามะเร็งได้ทุกที่ (SSO Cancer Care)
[ ทั้งหมด]
เนื้อหาอ่านล่าสุด
โรคกระเพาะไม่หายสักทีทำอย่างไรดี อาจเกิดจากความเครียด หรือยาแก้ปวดบางกลุ่ม
Tamoxifen (ทาม็อกซิเฟน)
บีสโปค เปิดตัว KANA PURE Dispensary สาขาแรกในไทย
บันไดเลื่อนดอนเมือง ทำผู้โดยสารหญิงขาขาด
"สร้างความมั่นคงให้อนาคตทางดิจิทัลของไทย" ภาระกิจท้าทายของ Tech For Good
บำรุงราษฎร์ปลื้ม ติดหนึ่งใน 150 โรงพยาบาลที่ดีที่สุดในโลกปี 2022 เป็นปีที่ 2 ติดต่อกัน
เซเรส นาโนไซเอนเซส เปิดศูนย์ความเป็นเลิศด้านระบาดวิทยาน้ำเสีย 16 แห่ง ภายใต้โครงการ NIH RADx
บัตรทอง : 3 วิธีเปลี่ยนหน่วยบริการประจำบัตรทอง (เปลี่ยนได้ปีละ 4 ครั้ง)
โรงพยาบาลที่ให้บริการตรวจสุขภาพแรงงานต่างด้าว
Phuket relaxes entry restrictions
เลโก้ ออกชุดตัวต่อเครื่องสแกน MRI ช่วยเด็กเรียนรู้ คุ้นเคย ลดกลัวคลายกังวล ก่อนใช้งาน
ตำรับยากัญชา สูตรโรงพยาบาลเจ้าพระยาอภัยภูเบศร
บริการตรวจรักษาโรคผิวหนัง สถาบันราชประชาสมาสัย
เช็คชื่อแบรนด์สุราท้องถิ่นไทย ที่กำลังจะก้าวไปสู่อีกระดับ
RamaCovid ดียังไง สถาบันการแพทย์จักรีนฤบดินทร์ คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล
[ทั้งหมด]
🔝