ข่าวสุขภาพ
ข่าวสุขภาพทั่วไป ข่าวธุรกิจสุขภาพไทย ข่าว/กิจกรรม/สาระ รพ.ต่างๆ ข้อมูลบริการ รพ.ต่างๆ สาระความรู้สุขภาพ กิจกรรม ESG CSR Health Economy บริจาครพ.ต่างๆ
น่าสนใจไทยแลนด์
About us เผยแพร่เนื้อหา สถิติเว็บไซต์ สำรวจความเห็นสุขภาพ โฆษณา
healthserv.net@gmail.com

มะเร็งรังไข่ ตรวจพบไวเพิ่มโอกาสรักษาหายได้

มะเร็งรังไข่ ตรวจพบไวเพิ่มโอกาสรักษาหายได้ Thumb HealthServ.net
มะเร็งรังไข่ ตรวจพบไวเพิ่มโอกาสรักษาหายได้ ThumbMobile HealthServ.net

มะเร็งรังไข่เป็นมะเร็งที่ทำให้สตรีไทยเสียชีวิตมากเป็นอันดับ 4 เหตุสำคัญที่ทำให้มีผู้ป่วยมากและเสียชีวิตสูงเพราะโรคมะเร็งรังไข่นี้จะไม่แสดงอาการในระยะแรก หรือหากมีก็เป็นอาการที่ไม่เจาะจงว่าเป็นโรคนี้นั่นเอง

มะเร็งรังไข่ ตรวจพบไวเพิ่มโอกาสรักษาหายได้ HealthServ
มะเร็งรังไข่ (Ovarian cancer) คือ เป็นโรคที่เกิดจากการมีเซลล์มะเร็งเกิดขึ้นและเติบโตที่รังไข่ อวัยวะสืบพันธุ์ผู้หญิงที่มีหน้าที่สร้างฮอร์โมนเพศและผลิตไข่  ในประเทศไทย มะเร็งรังไข่เป็นมะเร็งที่พบมากเป็นอันดับ 5 ของมะเร็งที่พบในสุภาพสตรีและอัตราการเสียชีวิตเป็นอันดับ 4 ในต่างประเทศ มะเร็งชนิดนี้เป็นสาเหตุของการเสียชีวิตอันดับ 1 ในบรรดามะเร็งนรีเวช 

เหตุสำคัญที่ทำให้มีผู้ป่วยมากและเสียชีวิตสูง เพราะโรคมะเร็งรังไข่นี้ จะไม่แสดงอาการในระยะแรก หรือหากมีก็เป็นอาการที่ไม่เจาะจงว่าเป็นโรคนี้นั่นเอง
 
การตรวจเจอโดยเร็วหรือในระยะแรกของโรคก่อนที่มะเร็งจะแพร่กระจาย จะเพิ่มโอกาสรักษาให้หายได้

ความเสี่ยงต่อการเป็นมะเร็งรังไข่

ผู้หญิงที่มีอาการต่อไปนี้มีความเสี่ยงที่จะเป็นโรคนี้
  • ยังไม่เคยคลอดลูก
  • เกิดวัยหมดระดูตอนอายุมาก
  • สมาชิกในครอบครัวมีประวัติเป็นมะเร็งรังไข่ (โดยเฉพาะมารดา พี่สาวหรือน้องสาวและน้าสาว)
  • ทำแท้งเฉียบพลันหรือภาวะไม่เจริญพันธุ์
  • มีประวัติเคยเป็นมะเร็งรังไข่
  • รับการรักษาด้วยฮอร์โมนทดแทนเป็นเวลานาน หรือหลังหมดระดู
  • มีประวัติเยื่อบุโพรงมดลูกเจริญผิดปกติ (endometriosis) หรือช็อคโกแลตซิสต์
  • มีภาวะเยื่อบุโพรงมดลูกเจริญผิดที่
  • สัมผัสสารเคมีต่างๆ เป็นประจำ เช่น แร่ใยหิน การใช้แป้งฝุ่นทาบริเวณอวัยวะเพศ
  • มีน้ำหนักเกิน รับประทานอาหารไขมันสูง
  • สูบบุหรี่
มะเร็งรังไข่ ตรวจพบไวเพิ่มโอกาสรักษาหายได้ HealthServ

สาเหตุของมะเร็งรังไข่

ยังไม่ทราบสาเหตุที่แท้จริงของมะเร็งรังไข่ แต่พบว่ามีความถี่ของการเกิดมะเร็งในคนที่โสดมากกว่าคนที่เคยมีบุตร และมักพบมากในช่วงอายุตั้งแต่ 40 ปีขึ้นไป จะเกิดตอนวัยทองคนที่มีปัจจัยเสี่ยงมาก มิได้หมายความเขาจะเป็นมะเร็ง แต่เขามีโอกาสเกิดมะเร็งมากกว่าคนอื่น ปัจจัยที่เกี่ยวข้องคือ
 
1. พันธุกรรม  ท่านที่มีญาติเป็นมะเร็ง ก็กังวลว่าท่านจะมีพันธุกรรมของมะเร็งด้วยหรือไม่ ให้ท่านไปปรึกษาผู้เชี่ยวชาญเกี่ยวกับพันธุกรรมเพื่อซักประวัติเกี่ยวกับโรคมะเร็งในครอบครัว หากพบว่าท่านมีความเสี่ยง แพทย์จะแนะนำท่านตรวจคัดกรองหาโรคมะเร็งในระยะเริ่มแรก ความเสี่ยงทางพันธุกรรม ได้แก่
  • ญาติสายตรงของท่าน (แม่หรือพี่สาว หรือน้องสาว) เป็นมะเร็งรังไข่ 2 คน
  • ญาติสายตรงคนหนึ่งเป็นมะเร็งรังไข่ อีกคนเป็นมะเร็งเต้านม ซึ่งเกิดก่อนอายุ 50 ปี
  • ญาติสายตรงเป็นมะเร็งรังไข่ และประวัติในครอบครัว 2 คน เป็นมะเร็งเต้านมก่อนอายุ 60 ปี
  • คนในครอบครัว 3 คน เป็นมะเร็งลำไส้ใหญ่ (หนึ่งคนเป็นก่อนอายุ 50 ปี) และมีคนในครอบครัวคนหนึ่งเป็นมะเร็งรังไข่
2. อายุ  อายุมากจะเสี่ยงต่อการเกิดมาก โดยเฉพาะอายุมากกว่า 40 ปี
 
3. ผู้หญิงที่มีประจำเดือนอายุน้อยกว่า 12 ปี และไม่ได้ตั้งครรภ์ และเกิดประจำเดือนหมด หลังอายุ 50 ปี จะเป็นกลุ่มเสี่ยงต่อการเกิดมะเร็ง
 
4. การตั้งครรภ์ พบว่าผู้ที่ไม่เคยมีบุตรจะเสี่ยงต่อการเกิดมะเร็งสูงกว่าคนที่เคยมีบุตร
 
5. ผู้ที่เคยเป็นมะเร็งเต้านม หรือมะเร็งลำไส้ใหญ่จะเสี่ยงต่อการเกิดมะเร็ง
 
6. ยากระตุ้นให้ไข่ตก ก็เพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิดโรค แต่ต้องกินต่อเนื่องนานเกิน 12 เดือน
 
7. หลายการศึกษาพบว่า การใช้แป้งบริเวณอวัยวะเพศเป็นเวลานาน จะเพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิดมะเร็งรังไข่ แต่แป้งสมัยก่อนอาจจะมีสารปนเปื้อน
 
หากท่านมีประวัติเหมือนตัวอย่างข้างต้น ให้ปรึกษาแพทย์เพื่อคัดกรองโรค หลายท่านที่มีความเสี่ยงว่าจะเกิดมะเร็งรังไข่อยากจะตัดรังไข่ทิ้ง ท่านต้องปรึกษาแพทย์พิจารณาถึงผลดีและผลเสียของการผ่าตัด
 
การค้นหามะเร็งแรกเริ่ม
 
โรคมะเร็งทุกชนิด จะเหมือนกันยิ่งพบเร็วการรักษาก็จะได้ผลดี มะเร็งรังไข่ก็เช่นกัน แต่มะเร็งรังไข่มักจะวินิจฉัยได้ช้าเนื่องจากอยู่ภายในช่องท้อง และมักจะไม่มีอาการในระยะแรกของโรค ผู้ป่วยร้อยละ 25 จะวินิจฉัยมะเร็งรังไข่ได้ก่อนที่มะเร็งจะแพร่กระจาย การค้นพบแรกเริ่มจะเพิ่ม โอกาสในการรักษาให้หายขาด วิธีการค้นหามะเร็งแรกเริ่มได้แก่
 
1. การตรวจภายในประจำปี การตรวจภายในจะค้นหามะเร็งปากมดลูก แต่ไม่สามารถ ตรวจมะเร็งรังไข่ในระยะเริ่มแรกได้ มักจะพบมะเร็งรังไข่ในระยะท้ายของโรค แต่การ ตรวจภายในก็เป็นสิ่งที่จำเป็นต้องตรวจเป็นประจำ มีคำแนะนำให้เริ่มตรวจตั้งแต่อายุ มากกว่า 18 ปี
 
2. พบแพทย์เมื่อมีอาการ อาการที่ควรจะพบแพทย์โดยเร็วได้แก่ ท้องบวม แน่นท้อง เลือดออกทางช่องคลอดผิดปกติ แน่นท้องน้อย ปวดหลัง ปวดขา ปวดท้อง แน่นท้องโดยที่หาสาเหตุไม่ได้
 
3. การเจาะเลือดหรือการตรวจพิเศษ การตรวจ Ultrasound ผ่านทางช่องคลอดจะช่วย พบก้อนในช่องเชิงกรานได้เร็วขึ้น การเจาะเลือดหา CA-125 ก็ยังไม่สามารถบอก มะเร็งในระยะแรกเริ่มได้ จึงไม่แนะนำการตรวจพิเศษทั้งสองแก่คนทั่วไป
 
4. เจาะเลือดตรวจหา CA-125 ซึ่งหากเป็นมะเร็งค่านี้จะสูง แต่ก็พบว่าผู้ป่วยที่เป็น มะเร็งค่านี้สูงไม่มาก
 
5. การทำ Ultrasound ผ่านทางช่องคลอด ซึ่งจะใช้เครื่อง Ultrasound สอดเข้าไปใน ช่องคลอดซึ่งจะปล่อยคลื่นเสียงความถี่สูง เมื่อคลื่นเสียงกระทบกับวัตถุ คลื่นเสียงจะสะท้อนกลับเครื่องจะแปลงคลื่นเสียงเป็นสัญญาณภาพระหว่างการตรวจไม่มีความเจ็บปวด




ระยะของมะเร็งรังไข่

ระยะที่ 1: เป็นระยะที่พบเซลล์มะเร็งในรังไข่หรือท่อนำไข่ 1 หรือทั้ง 2 ข้าง
 
ระยะที่ 2: เป็นระยะที่พบเซลล์มะเร็งในรังไข่หรือท่อนำไข่ 1 หรือทั้ง 2 ข้าง และเซลล์มะเร็งมีการแพร่ กระจายไปยังเนื้อเยื่อรอบๆ รังไข่ แต่ยังอยู่ภายในเยื่อบุอุ้งเชิงกราน
 
ระยะที่ 3: เป็นระยะที่พบเซลล์มะเร็งในรังไข่หรือท่อนำไข่ 1 หรือทั้ง 2 ข้าง และเซลล์มะเร็งมีการแพร่กระจายไปยังเยื่อบุช่องท้องด้านบนหรือต่อมน้ำเหลืองบริเวณใกล้เคียง
 
ระยะที่ 4: เป็นระยะที่เซลล์มะเร็งได้แพร่กระจายไปยังส่วนอื่นๆของร่างกาย เช่น ตับ ปอด เป็นต้น
 

อาการของมะเร็งรังไข่

มะเร็งรังไข่ในระยะแรกเริ่มมักจะไม่มีอาการ แต่จะมีอาการในระยะท้ายของโรคอาการที่พบได้
  • แน่นท้อง อึดอัดท้อง (บางรายสงสัยว่ามีก๊าซในท้อง)
  • คลื่นไส้อาเจียน ท้องผูก ปัสสาวะบ่อย
  • เบื่ออาหาร
  • รู้สึกแน่นท้องหลังจากรับประทานอาหาร
  • น้ำหนักขึ้นโดยไม่มีหตุผล
  • เลือดออกช่องคลอด
 
 

การรักษามะเร็งรังไข่

แนวทางการรักษาโรคมะเร็งรังไข่มีหลายวิธี โดยแพทย์จะพิจารณาหลายปัจจัย ได้แก่ ระยะและอาการของโรค  สภาพโดยรวมของผู้ป่วย อายุ-วัยของผู้ป่วย ความต้องการมีบุตรในอนาคตของผู้ป่วย ซึ่งการรักษาจะประกอบไปด้วยแพทย์หลายแผนก เช่น สูตินรีแพทย์ แพทย์ทางรังสีรักษา แพทย์ทางเคมีบำบัด
 
1) การรักษาโดยการผ่าตัด
 
เหตุผลในการผ่าตัดผู้ป่วยที่สงสัยว่าจะเป็นมะเร็งรังไข่
 
1. ผ่าตัดเพื่อการวินิจฉัยโรค โดยแพทย์จะผ่าเข้าไปดูเนื้องอกและตัดชิ้นเนื้อเพื่อส่งตรวจ
2. ผ่าตัดเพื่อบอกระยะของโรค โดยแพทย์จะผ่าเข้าดูว่าเนื้องอกลุกลามแค่ไหน และตัดต่อมน้ำเหลือง
3. ผ่าตัดเพื่อการรักษา แพทย์จะผ่าเอามดลูก ท่อรังไข่ รังไข่ออกและตัดต่อมน้ำเหลืองไปตรวจ เพื่อจะได้ทราบระยะของโรค หากพบว่ามะเร็งเริ่มแพร่ กระจายในท้อง แพทย์จะผ่าเอาส่วนที่สงสัยว่าจะเป็นมะเร็งออกให้มากที่สุด เพื่อที่จะให้การรักษา ด้วยรังสีหรือเคมีได้ผลดีขึ้น
 
ผลของการรักษา โดยการผ่าตัดในระยะแรก ก็อาจจะปวดแผลบ้างแต่ก็บรรเทาโดยยาแก้ปวด ในระยะต่อมาเมื่อรังไข่ถูกตัดก็ไม่สามารถสร้างฮอร์โมนเพศ (Estrogen, Progesterone) ก็ทำให้ช่องคลอดแห้ง ร้อนตามตัวเกิดอาการของคนวัยทอง




2) การรักษาโดย
เคมีบำบัด
 
คือการให้ยาเพื่อทำลายเซลล์มะเร็ง ซึ่งยานี้ก็มีผลต่อเซลล์ปกติของร่างกาย มีด้วยกัน 2 วิธีคือ
 
1. การให้เคมีหลังการผ่าตัด เราเรียกว่า Adjuvant Chemotherapy จะให้ยา 4-6 ครั้งใช้เวลา 3-6 เดือน แพทย์จะพิจารณาให้ในกรณีที่แพทย์คิดว่าผ่าตัดเอาเนื้อร้ายออกไม่หมด หรือการผ่าตัดนั้นยาก
 
2. ให้เคมีก่อนผ่าตัด เรียก Neo-Adjuvant Chemotherapy แพทย์คิดว่าเนื้อร้ายก้อนใหญ่ผ่าตัดยากหรือผ่าตัดออกไม่หมด แพทย์จะให้เคมีเพื่อก้อนจะได้มีขนาดเล็กลง
 
ยาเคมีมีทั้งชนิดรับประทานและชนิดฉีดซึ่งส่วนใหญ่ใช้ชนิดฉีด แต่ก็มีการให้ยาเคมีเข้าช่องท้องซึ่งอยู่ในช่วงการทดลอง หลังจากให้เคมีบำบัดแพทย์อาจจะผ่าเข้าช่องท้อง เพื่อดูว่ามะเร็งถูกทำลายมากน้อยแค่ไหน หากมีมะเร็งหลงเหลือแพทย์จะผ่าตัดเอามะเร็งส่วนที่เหลือออก
 
ผลของการรักษา ด้วยวิธีนี้ขึ้นกับชนิดของยา และปริมาณยา ผลข้างเคียงที่พบได้คือ คลื่นไส้อาเจียน ท้องร่วง เบื่ออาหาร ผมร่วง
 


3) การรักษาโดย
การฉายแสง
 
แพทย์จะใช้รังสีฉายไปยังส่วนที่เป็นมะเร็งเพื่อทำลายมะเร็ง ผลเสียคือ อ่อนเพลีย น้ำหนักลด เบื่ออาหาร ปัสสาวะลำบาก
 

ข้อมูลจากโรงพยาบาลวิภาวดี
Photo : Mayo Clinic Pixabay

ข่าว/บทความล่าสุด
เนื้อหาอ่านล่าสุด