ข่าวสุขภาพ
ข่าวสุขภาพทั่วไป ข่าวธุรกิจสุขภาพไทย ข่าว/กิจกรรม/สาระ รพ.ต่างๆ ข้อมูลบริการ รพ.ต่างๆ สาระความรู้สุขภาพ กิจกรรม ESG CSR Health Economy บริจาครพ.ต่างๆ
น่าสนใจไทยแลนด์
About us เผยแพร่เนื้อหา สถิติเว็บไซต์ สำรวจความเห็นสุขภาพ โฆษณา
healthserv.net@gmail.com

เครื่องเอกซเรย์ตรวจสวนหัวใจหลอดเลือดหัวใจและหลอดเลือดสมอง คืออะไร

เครื่องเอกซเรย์ตรวจสวนหัวใจหลอดเลือดหัวใจและหลอดเลือดสมอง คืออะไร

เครื่องเอกซเรย์ตรวจสวนหัวใจ หลอดเลือดหัวใจ และหลอดเลือดสมอง คืออะไร
 
เป็นเครื่องมือสำหรับการตรวจทางรังสีวินิจฉัยหลอดเลือด (Angiography) ถือเป็นหัตถการทางรังสีวินิจฉัยที่เป็นมาตรฐานในการตรวจวินิจฉัยหลอดเลือด ซึ่งให้ความถูกต้องและแม่นยำมากกว่าการตรวจหลอดเลือดด้วยเอกซเรย์คอมพิวเตอร์หรือคลื่นสนามแม่เหล็กไฟฟ้า เป็นหัตถการอย่างหนึ่งที่ต้องอาศัยความเชี่ยวชาญของแพทย์เฉพาะทางโรคหัวใจและทางรังสีในการวินิจฉัยและรักษา รวมทั้งในผู้ป่วยบางรายที่พบรอยโรคและไม่สามารถรักษาได้ด้วยการผ่าตัด หรือมีความเสี่ยงสูงหากทำการผ่าตัด

การรักษาด้วยหัตถการทางรังสีร่วมรักษา(Intervention) ซึ่งเป็นหัตถการต่อยอดของทางรังสีวิทยาหลอดเลือดจะเป็นทางเลือกหนึ่งในการรักษาโรคเหล่านั้น โดยทางรังสีร่วมรักษามีชนิดของหัตถการจำนวนมาก ซึ่งมีข้อดีคือทำให้เกิดคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นของผู้ป่วย และการพักฟื้นหลังหัตถการน้อย บางหัตถการทำเสร็จแล้วสามารถกลับบ้านในวันเดียวได้

อาการที่มีความเสี่ยงของโรคหัวใจ

  1. ความผิดปกติที่เกิดขึ้นในส่วนของหัวใจที่ต่างกัน ทำให้โรคหัวใจมีอาการต่างกันไปในแต่ละชนิด โรคหลอดเลือดหัวใจ  มักเจ็บหรือแน่นหน้าอก ร้าวไปกราม แขน ลำคอ ท้อง หรือบริเวณหลัง อาจมีอาการเหนื่อย อ่อนเพลีย ไม่มีแรง หรือหมดสติได้
  2. โรคหัวใจเต้นผิดจังหวะ  อาการผิดปกติของจังหวะการเต้นของหัวใจ อาจเต้นเร็วหรือช้าผิดปกติ หรือเต้นไม่สม่ำเสมอ ทำให้รู้สึกใจสั่นเหนื่อยง่าย แน่นหน้าอก เวียนศีรษะ หรือคล้ายจะเป็นลมได้เช่นกัน  
  3. โรคกล้ามเนื้อหัวใจ เหนื่อยง่าย หายใจไม่อิ่ม อาการจะมากขึ้นเมื่อต้องออกแรงหนัก ๆ หากรุนแรงมากขึ้นจะเหนื่อยแม้ขณะนั่งอยู่เฉย ๆ มีอาการบวมตามแขน ขา หนังตา ร่วมกับอ่อนเพลีย นอนราบไม่ได้ และตื่นขึ้นมาไอในเวลากลางคืน
  4. โรคหัวใจพิการแต่กำเนิด  เกิดขึ้นเมื่อทารกอยู่ในครรภ์มารดา อาจแสดงอาการทันทีเมื่อแรกคลอด หรือภายหลัง เช่น เหนื่อยง่ายเวลาออกกำลังกายหรือทำกิจกรรมเมื่อเทียบกับเด็กวัยเดียวกัน กลุ่มที่มีอาการมากจะทำให้เลี้ยงไม่โต  ในทารกมีอาการเหนื่อยขณะให้นมหรือติดเชื้อทางเดินหายใจบ่อย ๆ เป็นต้น
  5. โรคลิ้นหัวใจ อาการขึ้นอยู่กับความผิดปกติของลิ้นหัวใจที่เกิดขึ้น อาจไม่แสดงอาการใด ๆ หรืออาจได้ยินเสียงผิดปกติจากการตรวจร่างกายเท่านั้น แต่หากมีความผิดปกติของลิ้นหัวใจมากก็จะมีอาการเหนื่อยง่าย และเกิดภาวะหัวใจวายหรือน้ำท่วมปอดได้
  6. โรคติดเชื้อบริเวณหัวใจ  มักจะเป็นไข้เรื้อรัง  อ่อนเพลีย เหนื่อยล้า หัวใจเต้นผิดปกติ หายใจหอบเหนื่อย ไอเรื้อรังแห้ง ๆ ขาหรือช่องท้องบวม รวมถึงมีผื่นหรือจุดขึ้นตามผิวหนัง
นอกจากนี้ยังสามารถตรวจหลอดเลือดสมองและทำการรักษาทางรังสี แก้ไขปัญหาที่เกิดจากหลอดเลือดสมอง
 
อาการที่ผิดปกติและเป็นสัญญาณเตือนว่ามีโอกาสเป็นโรคหลอดเลือดสมอง ได้แก่
  1. แขน ขา อ่อนแรงครึ่งตัว (Hemiparesis)
  2. แขน ขา ชาครึ่งซีก (Hemianesthesia)
  3. พูดไม่ชัดลิ้นแข็ง (Dysarthria)
  4. พูดไม่ออกฟังไม่เข้าใจ (Aphasia)
  5. ลานสายตาผิดปกติครึ่งซีก (Homonymous  Hemianopsia)
  6. มองเห็นภาพซ้อน (Binocular Diplopia)
  7. เดินเซ (Ataxia or Incoordination)
  8. ซึมลง (Impaired Consciousness)
  9. เวียนศีรษะบ้านหมุน (Vertigo)
สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม ศูนย์หัวใจ รพ.วิภาวดี
โทร 02-561-1111 ต่อ 1322,1323
 
 
 

ข่าว/บทความล่าสุด
เนื้อหาอ่านล่าสุด