การฟื้นฟูสมรรถภาพการทรงตัวโดยวิธีบริหารลำตัวและศีรษะ
1. การบริหารสายตาและกล้ามเนื้อคอ (นั่งทำ)
1.1 มองขึ้น-ลง ซ้ำ 20 ครั้ง พักแล้วมองไปทางซ้าย มองไปทางขวา 20 ครั้ง ช้าๆ และเร็วขึ้น เมื่อคล่องแล้วมองไปด้วยเคลื่อนไหวศีรษะไปด้วย เช่น มองขวาก็หันขวา มองบนก็เงยศีรษะ มองลงล่างขณะก้มศีรษะ
1.2 มองที่ปลายนิ้วชี้ตัวเองแล้วขยับมือเข้ามาใกล้ตัว 1 ฟุต แล้วถอยกลับไปที่เดิม ทำ 20 ครั้ง
1.3 หลับตาก้มศีรษะมากๆเหมือนคำนับเงยตรงแล้วหงายศีรษะไปด้านหลัง ทำ 20 ครั้ง
1.4 หันศีรษะไปซ้าย ตรง ขวา 20 ครั้ง แล้วลืมตาทำ
1.5 เอียงหูขวาชิดไหล่ขวา ตรง เอียงหูซ้ายชิดไหล่ซ้าย ตรง ทำ 20 ครั้ง แล้วลืมตา
2. ท่าบริหารเพื่อกระตุ้นการทรงตัวทั้งระบบ (5-10 นาที)
2.1 ยืนที่มุมห้องผู้ช่วยอยู่ด้านหลังเท้าชิดหมุนศีรษะไปมา 15-20 ครั้ง
2.2 หมุนทั้งตัวไปมา (ข้อเท้ายังชิดกันเหมือนเดิม) 15-20 ครั้ง
2.3 ยืนเท้าชิดกัน หันหน้าเข้าหามุมห้องมือ ยันข้างฝา (ถ้าจำเป็น) ให้ผู้ช่วยผลักสะโพกเบาๆ ทีละข้าง ผลักเข่าเบาๆ ทีละข้าง พยายามปรับสมดุลด้วยตนเอง
2.4 ยืนท่าเดิม ยกเข่าขึ้นทีละข้าง พยายามยืนขาเดียว 5-10 วินาที ทำสลับขา
3. การบริหารในท่าที่เวียน (ประมาณ 10 นาที)
3.1 ถ้าผู้ป่วยเวียนเวลานอนตะแคง ให้นั่งบนเตียง โดยยกตัวให้หูซ้ายแตะเตียง นั่งตรงหูขวาแตะเตียง
3.2 ถ้าเวียนเวลานอนหงาย หรือเงยศีรษะ
ให้นั่งเก้าอี้ตัวตรง ก้มพยายามให้จมูกแตะเข่าซ้ายค้างไว้ 10-20 นาที แล้วยืดตัวขึ้นพร้อมๆกับเอียง หูขวาแตะไหล่ขวา ทำสลับข้างพยายามค้างในแต่ละท่า 10 – 20 วินาที แม้จะมีอาการเวียน เพื่อเอาชนะอาการ ทำประมาณ 5 – 10 นาที
4. การบริหารร่างกายทั่วไป
เป็นการบริหารที่ไม่เป็นระบบแต่ผู้ป่วยจะมีความสุขกับวิธีนี้มากกว่าโดยให้เลือกทำอะไรก็ได้ดังต่อไปนี้ วันละ 20 นาที หรือมากกว่าที่ต้องการ เช่น
4.1 ไปนั่งชมกีฬาในสถานที่จริงๆ เช่น แบดมินตัน เทนนิส กอล์ฟ ฟุตบอล ฯลฯ
4.2 เดินเล่นชมนกชมไม้ มองพื้น มองท้องฟ้า ก้มหยิบเก็บของ (ต้องมีผู้ช่วย) หัดเดินบนฟูก
4.3 เล่นกีฬาเบาๆที่ชอบ เช่น ปิงปอง เลี้ยงบาส พัตกอล์ฟ เป็นต้น (ห้ามว่ายน้ำ)