ข่าวสุขภาพ
ข่าวสุขภาพทั่วไป ข่าวธุรกิจสุขภาพไทย ข่าว/กิจกรรม/สาระ รพ.ต่างๆ ข้อมูลบริการ รพ.ต่างๆ สาระความรู้สุขภาพ กิจกรรม ESG CSR Health Economy บริจาครพ.ต่างๆ
น่าสนใจไทยแลนด์
About us เผยแพร่เนื้อหา สถิติเว็บไซต์ สำรวจความเห็นสุขภาพ โฆษณา
healthserv.net@gmail.com

กระเพาะปัสสาวะอักเสบ ผู้หญิงป่วยด้วยโรคนี้มากกว่าผู้ชายหลายเท่า

กระเพาะปัสสาวะอักเสบ ผู้หญิงป่วยด้วยโรคนี้มากกว่าผู้ชายหลายเท่า Thumb HealthServ.net
กระเพาะปัสสาวะอักเสบ ผู้หญิงป่วยด้วยโรคนี้มากกว่าผู้ชายหลายเท่า ThumbMobile HealthServ.net

โรคกระเพาะปัสสาวะอักเสบ หรือ Cystitis เกิดจากแบคทีเรียชนิดเดียวกับที่อยู่ในลำไส้ของคนเรา โดยเชื้อชนิดนี้มันจะเข้าไปทางท่อปัสสาวะ ดังนั้น จึงมักพบผู้หญิงป่วยด้วยโรคนี้มากกว่าผู้ชายหลายเท่า

โรคกระเพาะปัสสาวะอักเสบ หรือ Cystitis 

 
เกิดจากแบคทีเรียชนิดเดียวกับที่อยู่ในลำไส้ของคนเรา โดยเชื้อชนิดนี้มันจะเข้าไปทางท่อปัสสาวะ ดังนั้น จึงมักพบผู้หญิงป่วยด้วยโรคนี้มากกว่าผู้ชายหลายเท่า นั่นเพราะท่าปัสสาวะของผู้หญิงสั้นและอยู่ใกล้ทวารหนัก ซึ่งเป็นแหล่งที่มีเชื้อโรคมากนั่นเองเพราะฉะนั้นแล้ว ผู้หญิงแทบทุกคนมีโอกาสเป็นโรคนี้ ไม่ว่าจะอยู่ในช่วงวัยใดก็ตาม แต่จะพบมากเป็นพิเศษในกลุ่มหญิงมีครรภ์ (โดยเฉพาะอย่างยิ่งในช่วง 2-3 เดือนแรกของการตั้งครรภ์) รวมทั้งผู้หญิงที่ชอบอั้นปัสสาวะนานๆ และผู้หญิงที่แต่งงานใหม่ เพราะการมีเพศสัมพันธ์จะทำให้เชื้อเข้าไปในกระเพาะปัสสาวะได้ นอกจากนี้ คนที่ป่วยเป็นโรคเบาหวานนิ่วในกระเพาะปัสสาวะ และต่อมลูกหมากโต ก็อาจมีอาการกระเพาะปัสสาวะอักเสบแทรกซ้อนด้วย อาการกระเพาะปัสสาวะอักเสบ ที่สังเกตได้คือ เป็นแบบปัสสาวะบ่อยๆ แสบ ขัด ปัสสาวะครั้งละไม่มาก รู้สึกถ่ายไม่สุด พอปวดปุ๊บจะต้องรีบ เข้าห้องน้ำเลย มิฉะนั้นอาจกลั้นไม่อยู่ รวมทั้งจะเจ็บมากตอน ปลายของปัสสาวะ บางรายมีเลือดออกมาด้วย
 

สาเหตุ

 
          มาจากการกลั้นปัสสาวะ ไม่ควรกลั้นปัสสาวะถ้าไม่จำเป็น เพราะเชื้อโรคในกระเพาะปัสสาวะจะเจริญพันธุ์ได้มากขึ้น อีกทั้งกระเพาะปัสสาวะที่เต็มไปด้วยปัสสาวะจะยืดตัว ทำให้ความสามารถในการขจัดเชื้อโรคของเยื่อบุผิวกระเพาะปัสสาวะลดน้อยลง จึงทำให้เกิดการอักเสบของกระเพาะปัสสาวะได้ง่ายขึ้น และกรณีที่เป็นบ่อยๆ อาจมีความผิดปกติของกระเพาะปัสสาวะ ท่อปัสสาวะ นิ่วร่วมด้วย
 

การรักษา

 
แพทย์จะให้ทานยาแก้ปวด และยาปฏิชีวนะ เพื่อฆ่าเชื้อ แต่ผู้ป่วยก็ต้องรู้จักดูแลตัวเองด้วย การดื่มน้ำมากๆ จะช่วยเร่งการขับเชื้อ(ดื่มน้ำมากๆ คือ ดื่มจนกว่าปัสสาวะจะใสเหมือนน้ำที่ดื่มเข้าไป) ที่สำคัญคือ อย่ากลั้นปัสสาวะ ส่วนการรับประทานอาหารนั้น ควรหลีกเลี่ยงอาหาร ที่จะทำให้กระเพาะปัสสาวะระคายเคือง เช่น กาแฟ หรือแอลกอฮอล์ ซึ่งมีฤทธิ์กระตุ้นการปัสสาวะในไต และกระตุ้นให้กระเพาะปัสสาวะเกิดการหดตัว
กรณีที่เป็นบ่อยๆ อาจต้องวินิจฉัยเพิ่มเติม เช่น X-ray หรือส่องกล้อง (Cystoscope) เพื่อตรวจหาความผิดปกติ
 
 
  

ข่าว/บทความล่าสุด
เนื้อหาอ่านล่าสุด