ข่าวสุขภาพ
ข่าวสุขภาพทั่วไป ข่าวธุรกิจสุขภาพไทย ข่าว/กิจกรรม/สาระ รพ.ต่างๆ ข้อมูลบริการ รพ.ต่างๆ สาระความรู้สุขภาพ กิจกรรม ESG CSR Health Economy บริจาครพ.ต่างๆ
น่าสนใจไทยแลนด์
About us เผยแพร่เนื้อหา สถิติเว็บไซต์ สำรวจความเห็นสุขภาพ โฆษณา
healthserv.net@gmail.com

คุณรู้จัก folic acid ดีหรือยัง?

คุณรู้จัก folic acid ดีหรือยัง?

Folic acid
Folic acid เป็น B vitamin ชนิดหนึ่งซึ่งมีบทบาทสำคัญในการสร้าง cells ใหม่ในร่างกาย คำว่า “folic acid” เป็นชื่อเรียกสารที่สังเคราะห์ขึ้นด้วยกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ ไม่ได้เกิดเองตามธรรมชาติ เป็นรูปแบบหนึ่งของ “folate” บ่อยครั้งมีการใช้สองคำนี้แทนกันได้ folate ในธรรมชาติสามารถพบได้มากในอาหารบางประเภท เช่น ผักใบเขียว ผลไม้รสเปรี้ยว ถั่ว ฯลฯ ในบางประเทศมีการเติม folic acid ลงไปในอาหารบางประเภท เช่น ข้าว ขนมปัง pasta cereals ฯลฯ การได้รับ folate อย่างเพียงพอตั้งแต่ก่อนตั้งครรภ์จนถึงช่วงแรกของการตั้งครรภ์ช่วยป้องกันภาวะหลอดประสาทไม่ปิด (neural tube defects) ในทารกได้
 
 ภาวะหลอดประสาทไม่ปิด (neural tube defects) ในทารกคืออะไร?
ในช่วงแรกของการตั้งครรภ์ หลอดประสาทจะม้วนตัวปิดตามแนวยาวและพัฒนากลายเป็นสมองและไขสันหลังของทารก ซึ่งช่วงเวลานี้สตรีอาจยังไม่ทราบว่าตนเองเริ่มตั้งครรภ์แล้ว ภาวะหลอดประสาทไม่ปิดจึงเป็นพยาธิสภาพที่เกิดขึ้นตั้งแต่ในช่วงแรกของการตั้งครรภ์ และเป็นความผิดปกติแต่กำเนิดที่มีความรุนแรงเกี่ยวเนื่องกับสมองและไขสันหลัง ภาวะนี้มีหลายชนิดแต่ที่พบบ่อยที่สุดคือภาวะ spina bifida (หลอดประสาทไม่ปิดบริเวณไขสันหลัง) และ anencephaly (หลอดประสาทไม่ปิดที่สมองและกระโหลกศีรษะ)
 
 ภาวะหลอดประสาทไม่ปิดป้องกันได้อย่างไร?
Folic acid มีบทบาทช่วยในการเจริญของหลอดประสาททารก อย่างไรก็ตามการตั้งครรภ์ส่วนใหญ่เกิดขึ้นโดยไม่ได้มีการวางแผนมาก่อน และภาวะหลอดประสาทไม่ปิดเกิดขึ้นในช่วง 3-4 สัปดาห์หลังปฏิสนธิซึ่งสตรีอาจยังไม่ทราบว่าตนเองตั้งครรภ์ ดังนั้นการรับประทาน folic acid เสริมอย่างเพียงพอทั้งก่อนและระหว่างตั้งครรภ์จึงมีความสำคัญในการช่วยลดโอกาสการเกิดความผิดปกติแต่กำเนิดชนิดนี้ แม้ folate จะมีอยู่ในอาหารหลายประเภทแต่สตรีมักได้รับ folate ในระดับที่ไม่เพียงพอจากการรับประทานอาหาร ต้องอาศัยการรับประทาน folic acid เสริมด้วย ปริมาณ folic acid เสริมที่แนะนำต่อวันคือ 400 micrograms ร่วมกับการรับประทานอาหารที่มี folate อยู่ด้วย การรอจนกระทั่งมาตรวจฝากครรภ์ครั้งแรก (ทั่วไปมักเป็นในช่วงอายุครรภ์ 6-12 สัปดาห์) แล้วจึงเริ่มรับประทาน folic acid อาจไม่ได้ประโยชน์ในการป้องกันภาวะหลอดประสาทไม่ปิด
 
สตรีที่มีประวัติภาวะหลอดประสาทไม่ปิดในครรภ์ก่อนควรเริ่มรับประทาน folic acid 400 micrograms วันละครั้งตั้งแต่ยังไม่ได้วางแผนมีบุตร เมื่อวางแผนจะมีบุตรควรปรึกษาแพทย์ผู้เชี่ยวชาญและรับประทาน folic acid 4,000 micrograms วันละครั้ง 1 เดือนก่อนการตั้งครรภ์เป็นอย่างน้อยตลอดจนสิ้นสุดไตรมาสที่ 1 ของการตั้งครรภ์
 
อย่างไรก็ตามการรับประทาน folic acid ในช่วงเวลาและปริมาณที่เหมาะสม ไม่ได้เป็นการป้องกันภาวะหลอดประสาทไม่ปิดได้ 100% เนื่องจากภาวะหลอดประสาทไม่ปิดอาจเกิดได้จากสาเหตุอื่นอีกมาก 
 
โดย นพ.พริษฐ์ วาจาสิทธิศิลป์
ผู้ชำนาญการด้านเวชศาสตร์เชิงกรานสตรีและศัลยกรรมซ่อมเสริม

ข่าว/บทความล่าสุด
เนื้อหาอ่านล่าสุด